เปิดเอกสารหลักฐานผู้ตรวจการแผ่นดินเคยไม่รับวินิจฉัยคำร้องเกี่ยวกับคณะสงฆ์ ระบุชัดไม่มีอำนาจ เพราะเจ้าอาวาสหรือพระสังฆาธิการไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีกทั้งวัดก็เป็นนิติบุคคลตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ไม่ใช่ส่วนราชการ เผยเป็นคำร้องเจ้าอาวาสในจังหวัดพิจิตรยื่นให้วินิจฉัยเนื่องจากถูกเจ้าคณะผู้ปกครองสั่งให้ออกจากวัด เพราะมีเรื่องร้องเรียน ด้านผอ.พศจ.พิจิตรก็งงทำไมมาตรฐานไม่เหมือนกัน ด้าน"บิ๊กตู่"ยอมรับกรณีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชต้องให้คดีความต่างๆ จบลงก่อน แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับมติมหาเถรสมาคม องค์กรชาวพุทธฯเตรียมเปิดเว็บให้ดาวน์โหลดแบบคำร้องถอดถอนผู้ตรวจการฯให้กรอกเร็วๆ นี้
เมื่อวันที่ 8 มี.ค. นายประพันธ์ ตันวัฒนา ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพิจิตร เปิดเผยกรณีที่เจ้าคณะปกครองคณะสงฆ์มี ข้อวินิจฉัยสมควรให้พระครูวิสิฐสีลาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดหิรัญญาราม อ.โพทะเล จ.พิจิตร ออกจากวัดหิรัญญาราม เนื่องจากถูกร้องเรียนหลายประเด็น เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2557 ต่อมา พระครูวิสิฐสีลาภรณ์ยื่นร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยระบุว่าคณะสงฆ์ออกคำสั่ง ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายมาลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพิจิตร
ต่อมา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีหนังสือตอบมาเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2558 แต่หนังสือฉบับนี้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพิจิตรเพิ่งได้รับเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2559 โดยสรุปว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่เฉพาะเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐหมายถึงข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมือง โดยไม่รวมคณะสงฆ์
นายประพันธ์กล่าวอีกว่า ในเมื่อผู้ตรวจการตรวจแผ่นดินเคยวินิจฉัยว่าไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการไปสอบเรื่องของพระสงฆ์ แต่ทำไมจึงไปวินิจฉัยมติมหาเถรสมาคมกรณีเสนอนามผู้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช โดยอ้างว่าไม่เป็นไปตามขั้นตอน โดยอ้างว่านายกฯ ต้องเป็นผู้เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะเพื่อให้มหาเถรสมาคมมีมติเห็นชอบแล้วส่งมาให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ
นายประพันธ์กล่าวว่า ตนมีความสับสนมาก เพราะก่อนหน้านี้ผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับคณะสงฆ์กรณีไม่รับวินิจฉัยคำร้องของอดีตเจ้าอาวาสวัดหิรัญญาราม แต่ทำไมกล้าวินิจฉัยมติของมหาเถรสมาคมการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช สำหรับตนมองว่าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่น่ามีสิทธิ์ในเรื่องไปวินิจฉัยกรณีดังกล่าว เพราะเคยวินิจฉัยในกรณีใกล้เคียงกันว่าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเกี่ยวกับคณะสงฆ์ เนื่องจากไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีนี้ เมื่อ วันที่ 26 มิ.ย. 2558 นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ทำหนังสือถึงผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพิจิตร หลังพระครูวิสิฐสีลาภรณ์ ยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของคณะกรรมการสังฆา ธิการ กรณีมีคำสั่งให้ออกจากวัดหิรัญญารามโดยไม่เป็นธรรม โดยมอบหมายให้พ.ท. เทพจิต วีณะคุปต์ เจ้าหน้าที่สอบสวนอาวุโสระดับสูง สำนักตรวจสอบยุติธรรมและกิจการพิเศษ พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในวันที่ 3 ก.ค. 2558 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาและวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ม.ค.59 นายสงัด ปัถวี รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำหนังสือแจ้งผลการวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ถึงผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพิจิตร ความว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินขอเรียนว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน (พล.อ.วิทวัส รชตะนันท์) ได้พิจารณาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการลงพื้นที่เพื่อเข้าร่วมประชุมแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งแล้วเห็นว่า ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2554 ได้วินิจฉัยความหมายของคำว่า เจ้าหน้าที่รัฐว่า ตามมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งเจ้าอาวาสไม่อยู่ในความหมายดังกล่าว และในปัจจุบันวัดจัดตั้งขึ้นโดยวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งออกตามความในพ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทน แต่ก็มีอำนาจอย่างจำกัดตามมาตรา 37 อันเป็นกิจการของสงฆ์ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมการศาสนา และกระทรวงศึกษาธิการ
นอกจากนี้ ยังวินิจฉัยต่อว่า วัดจึงหาใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดินไม่ ดังนั้น พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ ไม่ว่าในตำแหน่งเจ้าอาวาส หรือตำแหน่งอื่นใดก็ตาม จึงหาได้อยู่ในความหมายของคำจำกัดความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้นเรื่องร้องเรียนดังกล่าว เป็นกรณีที่ผู้ร้องเรียนขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาสอบสวนการปฏิบัติหน้าที่ของพระครูพิสุทธิวรากร รองเจ้าคณะอำเภอโพทะเล จ.พิจิตร ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าพนักงาน ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2525 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มิใช่ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 13(1) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2552 ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงวินิจฉัยยุติการพิจารณาตามมาตรา 28(3) แห่งพ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน
ด้านนายเมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ เลขาธิการสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา (สนพ.) กล่าวถึงความคืบหน้าไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ระบุว่ามหาเถรสมาคม (มส.) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ทำผิดขั้นตอนในการเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ เพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พร้อมล่ารายชื่อ 20,000 รายชื่อเพื่อยื่นถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่า ขณะนี้พระสงฆ์และคฤหัสถ์ได้แสดงความจำนงขอลงชื่อถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดินมาเป็นจำนวนมาก และล่าสุดกำลังเตรียมนำแบบฟอร์มลงชื่อส่งไปให้พระสงฆ์และองค์กรชาวพุทธทั่วประเทศ พร้อมจัดทำเว็บไซต์เพื่อให้ร่วมลงชื่อด้วย
นายเมธาพันธ์กล่าวต่อว่า กรณีที่มีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าไม่มีกฎหมายใดรองรับในการยื่นถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดิน เพราะผู้ตรวจการแผ่นดินมีพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2552 มาตรา 18 บัญญัติว่า "ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ต้องรับความผิดทั้งทางแพ่งหรือทางอาญา เนื่องจากการที่ตนได้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยสุจริตตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้" คุ้มครองอยู่นั้น แต่เครือข่ายจะรวบรวมชื่อยื่นถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดินตามกลไกของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 271 ที่บัญญัติว่า "ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดินออกจากตำแหน่งได้" อย่างไรก็ตาม คาดว่าใช้เวลาไม่นานจะได้รายชื่อครบ จากนั้นจะยื่นถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดิน ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. กล่าวถึง ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งคำวินิจฉัยมติของมหาเถรสมาคม (มส.) เรื่องเสนอชื่อสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เป็นสมเด็จพระสังฆราชผิดขั้นตอนมาที่นายกฯ ว่า ก็ส่งความเห็นเข้ามา ผิดถูกอย่างไรตน ไม่ทราบ เรื่องดังกล่าวเป็นการตีความด้านกฎหมาย จึงต้องศึกษาดูก่อน ทั้งนี้ ตนยัง ไม่เห็นหนังสือจากผู้ตรวจการฯ รวมทั้งยัง ไม่เห็นหนังสือเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่จาก มส. หรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เพราะขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งต้องคำนึงถึงกฎหมายของประเทศ ไม่ใช่นำกฎหมายฉบับต่างๆ มาตีกันไปมา คนในประเทศไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือพระสงฆ์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย วันนี้ความขัดแย้งค่อนข้างสูง ซึ่งเมื่อใครส่งความเห็นมาเราก็พิจารณาแล้วส่งฝ่ายกฎหมายเข้าไปตรวจสอบ ทุกอย่างไม่อยากให้มองว่าเป็นธรรมหรือไม่ แต่ต้องมองว่าทำถูกกฎหมายหรือไม่ ในเมื่อมีคนร้องเรียนก็ต้องตรวจสอบ ซึ่งต้องดูเป็นคดีๆไป อย่ากล่าวอ้างว่าทำคดีหนึ่งเพื่อให้คดีหนึ่งถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง เพราะถือเป็นคนละเรื่อง
เมื่อถามว่าหมายความว่าการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ต้องรอให้คดีความต่างๆ เรียบร้อยก่อนใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ควรจะเป็นอย่างนั้นไหมละ ก็เหมือนกับการตั้งทหาร ตำรวจ ถ้าตั้งคนที่ไม่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน มีคดีความก็ตั้งไม่ได้ ยังไงก็ตั้งไม่ได้ ไม่ใช่ว่าคนนี้จะถูกปลดอยู่แล้วเลยต้องตั้งตามนั้น ไม่ใช่ เพราะต้องตรวจสอบว่ามันใช่หรือไม่ใช่ วันนี้ทุกกระทรวงเสนอคนเข้ามาผมยังตรวจสอบเลย ถ้าผมเช็กแล้วคนนี้เป็นอย่างนี้ก็ส่งกลับไป มันตั้งให้ไม่ได้ เขาต้องไปเคลียร์ตัวเขามาสิ ผมยังไม่ได้ว่าใครผิดใครถูกทั้งสิ้น เป็นเรื่องของกฎหมาย กฎหมายเป็นกลไกการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ไม่ใช่ใช้ความรู้สึกตัดสินกันเอง ชอบบ้างไม่ชอบบ้าง ฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ไปกันใหญ่ ก็ไม่จบสักเรื่อง หลายคนบอกว่าบ้านเมืองสงบแล้ว แล้วสงบหรือยัง คิดว่าจะแก้กันเมื่อไหร่ รัฐบาลหน้าทำได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะทุกวันนี้ทุกคนเอามาตีกันหมดทั้งการเมือง ประชามติ รัฐธรรมนูญ อนาคต ปฏิรูป การศึกษา มันได้ไหมเล่า มันเกิดมากี่ปีแล้ว ปัญหาหลายปัญหา"
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เห็นมีข่าวเผยแพร่ว่าตนเป็นอิสลามไปแล้ว ซึ่งวันนั้นชาวมุสลิมได้เอาหมวกแต่งงานมาให้ใส่ ตนก็ใส่ แล้วมีคนบอกว่าเป็นอิสลามไปแล้ว ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมกับตน นอกจากนี้ภรรยาตนไปเปิดการประชุมอาเซียนที่มาเลเซีย มีคนเอาภาพในห้องประชุมใหญ่ไปโพสต์ ซึ่งถ่ายรูปติดกับมุมอิสลาม เลยหาว่าภรรยาเป็นมุสลิมไปด้วย ตนไหว้อยู่ทุกวัน แล้วมาบอกว่าลูกตนแต่งกันกับอะไรก็ไม่รู้ แต่สรุปแล้วทั้งตน ภรรยา ลูก เป็นมุสลิมไปหมด ก็คิดแบบนี้ แล้วจะ เชื่อเขาหรือ ต้องแก้ให้ตน ซึ่งตนห้อยพระเต็มคออยู่
ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม นายวิชาญ รัษฐปานะ เจ้าของอู่รถโบราณที่ทำรถโบราณ ยี่ห้อเมอร์เซเดสเบนซ์ ขม 99 ของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เข้าร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือจากกรมคุ้มครองสิทธิฯ เพื่อขอทนายความสู้คดี พร้อมทั้งขอค่าธรรมเนียมศาล และคุ้มครองพยาน หลังพระมหาศาสนมุนี (ธนกิจ สุภาโว) ผู้ช่วย เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท
นายวิชาญกล่าวว่า ตนมาขอทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล และขอให้คุ้มครองตนในฐานะพยานคดี แต่ไม่ทราบว่าจะได้หรือไม่ เนื่องจากคดียังไม่มีการฟ้องร้องอะไร และยังอยู่ในชั้นสอบสวน แต่ตนต้องการขอให้คุ้มครองเพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหรือไม่ ตนถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย 10,050,000 บาท แบ่งเป็นค่ารถ 4 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยรวมแล้ว 5 ล้านกว่าบาท ค่าเสียชื่อเสียงอีก 5 ล้านบาท ตนเพิ่งได้รับหมายศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 25 เม.ย. เวลา 13.30 น.
"หลังจากถูกฟ้องร้องดำเนินคดีและมีหมายศาลมาที่บ้าน ทำให้ผมและครอบครัวเกิดความเครียด ภรรยาร้องไห้ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยถูกฟ้องร้องอะไรแบบนี้เลย อีกทั้งไม่รู้เกี่ยวกับระบบทนายความ แต่เชื่อว่าถ้าอยู่บนความจริง ความจริงก็คือความจริง วันหนึ่งเขามาพึ่งพาให้ช่วยซ่อมรถให้ อีกวันมาบอกว่าเป็นโจรเอารถไปขายให้พระ วันหนึ่งเขาให้ผมช่วยเป็นธุระจัดการนำเงินมาผ่านยังผม เพื่อจะได้ไปจ่ายแทนให้ เพราะจะได้จ่ายเงินมาด้านเดียว แต่วันหนึ่งมากล่าวหาว่าผมเป็นคนรับเงินทั้งหมดและเอารถไปให้เขา" นายวิชาญกล่าว
หลักฐาน ปมมติมส. งงผู้ตรวจ ไม่รับวินิจฉัยคดีสงฆ์มาก่อน ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ แต่ดันมาชี้ตั้งสังฆราช เปิดเว็บให้ลงชื่อถอด
เปิดเอกสารหลักฐานผู้ตรวจการแผ่นดินเคยไม่รับวินิจฉัยคำร้องเกี่ยวกับคณะสงฆ์ ระบุชัดไม่มีอำนาจ เพราะเจ้าอาวาสหรือพระสังฆาธิการไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีกทั้งวัดก็เป็นนิติบุคคลตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ไม่ใช่ส่วนราชการ เผยเป็นคำร้องเจ้าอาวาสในจังหวัดพิจิตรยื่นให้วินิจฉัยเนื่องจากถูกเจ้าคณะผู้ปกครองสั่งให้ออกจากวัด เพราะมีเรื่องร้องเรียน ด้านผอ.พศจ.พิจิตรก็งงทำไมมาตรฐานไม่เหมือนกัน ด้าน"บิ๊กตู่"ยอมรับกรณีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชต้องให้คดีความต่างๆ จบลงก่อน แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับมติมหาเถรสมาคม องค์กรชาวพุทธฯเตรียมเปิดเว็บให้ดาวน์โหลดแบบคำร้องถอดถอนผู้ตรวจการฯให้กรอกเร็วๆ นี้
เมื่อวันที่ 8 มี.ค. นายประพันธ์ ตันวัฒนา ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพิจิตร เปิดเผยกรณีที่เจ้าคณะปกครองคณะสงฆ์มี ข้อวินิจฉัยสมควรให้พระครูวิสิฐสีลาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดหิรัญญาราม อ.โพทะเล จ.พิจิตร ออกจากวัดหิรัญญาราม เนื่องจากถูกร้องเรียนหลายประเด็น เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2557 ต่อมา พระครูวิสิฐสีลาภรณ์ยื่นร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยระบุว่าคณะสงฆ์ออกคำสั่ง ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายมาลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพิจิตร
ต่อมา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีหนังสือตอบมาเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2558 แต่หนังสือฉบับนี้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพิจิตรเพิ่งได้รับเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2559 โดยสรุปว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่เฉพาะเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐหมายถึงข้าราชการประจำ ข้าราชการการเมือง โดยไม่รวมคณะสงฆ์
นายประพันธ์กล่าวอีกว่า ในเมื่อผู้ตรวจการตรวจแผ่นดินเคยวินิจฉัยว่าไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการไปสอบเรื่องของพระสงฆ์ แต่ทำไมจึงไปวินิจฉัยมติมหาเถรสมาคมกรณีเสนอนามผู้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช โดยอ้างว่าไม่เป็นไปตามขั้นตอน โดยอ้างว่านายกฯ ต้องเป็นผู้เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะเพื่อให้มหาเถรสมาคมมีมติเห็นชอบแล้วส่งมาให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ
นายประพันธ์กล่าวว่า ตนมีความสับสนมาก เพราะก่อนหน้านี้ผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับคณะสงฆ์กรณีไม่รับวินิจฉัยคำร้องของอดีตเจ้าอาวาสวัดหิรัญญาราม แต่ทำไมกล้าวินิจฉัยมติของมหาเถรสมาคมการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช สำหรับตนมองว่าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่น่ามีสิทธิ์ในเรื่องไปวินิจฉัยกรณีดังกล่าว เพราะเคยวินิจฉัยในกรณีใกล้เคียงกันว่าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเกี่ยวกับคณะสงฆ์ เนื่องจากไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีนี้ เมื่อ วันที่ 26 มิ.ย. 2558 นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ทำหนังสือถึงผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพิจิตร หลังพระครูวิสิฐสีลาภรณ์ ยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของคณะกรรมการสังฆา ธิการ กรณีมีคำสั่งให้ออกจากวัดหิรัญญารามโดยไม่เป็นธรรม โดยมอบหมายให้พ.ท. เทพจิต วีณะคุปต์ เจ้าหน้าที่สอบสวนอาวุโสระดับสูง สำนักตรวจสอบยุติธรรมและกิจการพิเศษ พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในวันที่ 3 ก.ค. 2558 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาและวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ม.ค.59 นายสงัด ปัถวี รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำหนังสือแจ้งผลการวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ถึงผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพิจิตร ความว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินขอเรียนว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน (พล.อ.วิทวัส รชตะนันท์) ได้พิจารณาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการลงพื้นที่เพื่อเข้าร่วมประชุมแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งแล้วเห็นว่า ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2554 ได้วินิจฉัยความหมายของคำว่า เจ้าหน้าที่รัฐว่า ตามมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งเจ้าอาวาสไม่อยู่ในความหมายดังกล่าว และในปัจจุบันวัดจัดตั้งขึ้นโดยวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งออกตามความในพ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทน แต่ก็มีอำนาจอย่างจำกัดตามมาตรา 37 อันเป็นกิจการของสงฆ์ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมการศาสนา และกระทรวงศึกษาธิการ
นอกจากนี้ ยังวินิจฉัยต่อว่า วัดจึงหาใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดินไม่ ดังนั้น พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ ไม่ว่าในตำแหน่งเจ้าอาวาส หรือตำแหน่งอื่นใดก็ตาม จึงหาได้อยู่ในความหมายของคำจำกัดความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้นเรื่องร้องเรียนดังกล่าว เป็นกรณีที่ผู้ร้องเรียนขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาสอบสวนการปฏิบัติหน้าที่ของพระครูพิสุทธิวรากร รองเจ้าคณะอำเภอโพทะเล จ.พิจิตร ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าพนักงาน ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2525 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มิใช่ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 13(1) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2552 ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงวินิจฉัยยุติการพิจารณาตามมาตรา 28(3) แห่งพ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน
ด้านนายเมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ เลขาธิการสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา (สนพ.) กล่าวถึงความคืบหน้าไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ระบุว่ามหาเถรสมาคม (มส.) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ทำผิดขั้นตอนในการเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ เพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พร้อมล่ารายชื่อ 20,000 รายชื่อเพื่อยื่นถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่า ขณะนี้พระสงฆ์และคฤหัสถ์ได้แสดงความจำนงขอลงชื่อถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดินมาเป็นจำนวนมาก และล่าสุดกำลังเตรียมนำแบบฟอร์มลงชื่อส่งไปให้พระสงฆ์และองค์กรชาวพุทธทั่วประเทศ พร้อมจัดทำเว็บไซต์เพื่อให้ร่วมลงชื่อด้วย
นายเมธาพันธ์กล่าวต่อว่า กรณีที่มีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าไม่มีกฎหมายใดรองรับในการยื่นถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดิน เพราะผู้ตรวจการแผ่นดินมีพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2552 มาตรา 18 บัญญัติว่า "ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ต้องรับความผิดทั้งทางแพ่งหรือทางอาญา เนื่องจากการที่ตนได้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยสุจริตตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้" คุ้มครองอยู่นั้น แต่เครือข่ายจะรวบรวมชื่อยื่นถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดินตามกลไกของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 271 ที่บัญญัติว่า "ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดินออกจากตำแหน่งได้" อย่างไรก็ตาม คาดว่าใช้เวลาไม่นานจะได้รายชื่อครบ จากนั้นจะยื่นถอดถอนผู้ตรวจการแผ่นดิน ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. กล่าวถึง ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งคำวินิจฉัยมติของมหาเถรสมาคม (มส.) เรื่องเสนอชื่อสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เป็นสมเด็จพระสังฆราชผิดขั้นตอนมาที่นายกฯ ว่า ก็ส่งความเห็นเข้ามา ผิดถูกอย่างไรตน ไม่ทราบ เรื่องดังกล่าวเป็นการตีความด้านกฎหมาย จึงต้องศึกษาดูก่อน ทั้งนี้ ตนยัง ไม่เห็นหนังสือจากผู้ตรวจการฯ รวมทั้งยัง ไม่เห็นหนังสือเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่จาก มส. หรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เพราะขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งต้องคำนึงถึงกฎหมายของประเทศ ไม่ใช่นำกฎหมายฉบับต่างๆ มาตีกันไปมา คนในประเทศไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือพระสงฆ์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย วันนี้ความขัดแย้งค่อนข้างสูง ซึ่งเมื่อใครส่งความเห็นมาเราก็พิจารณาแล้วส่งฝ่ายกฎหมายเข้าไปตรวจสอบ ทุกอย่างไม่อยากให้มองว่าเป็นธรรมหรือไม่ แต่ต้องมองว่าทำถูกกฎหมายหรือไม่ ในเมื่อมีคนร้องเรียนก็ต้องตรวจสอบ ซึ่งต้องดูเป็นคดีๆไป อย่ากล่าวอ้างว่าทำคดีหนึ่งเพื่อให้คดีหนึ่งถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง เพราะถือเป็นคนละเรื่อง
เมื่อถามว่าหมายความว่าการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ต้องรอให้คดีความต่างๆ เรียบร้อยก่อนใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ควรจะเป็นอย่างนั้นไหมละ ก็เหมือนกับการตั้งทหาร ตำรวจ ถ้าตั้งคนที่ไม่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน มีคดีความก็ตั้งไม่ได้ ยังไงก็ตั้งไม่ได้ ไม่ใช่ว่าคนนี้จะถูกปลดอยู่แล้วเลยต้องตั้งตามนั้น ไม่ใช่ เพราะต้องตรวจสอบว่ามันใช่หรือไม่ใช่ วันนี้ทุกกระทรวงเสนอคนเข้ามาผมยังตรวจสอบเลย ถ้าผมเช็กแล้วคนนี้เป็นอย่างนี้ก็ส่งกลับไป มันตั้งให้ไม่ได้ เขาต้องไปเคลียร์ตัวเขามาสิ ผมยังไม่ได้ว่าใครผิดใครถูกทั้งสิ้น เป็นเรื่องของกฎหมาย กฎหมายเป็นกลไกการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ไม่ใช่ใช้ความรู้สึกตัดสินกันเอง ชอบบ้างไม่ชอบบ้าง ฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ไปกันใหญ่ ก็ไม่จบสักเรื่อง หลายคนบอกว่าบ้านเมืองสงบแล้ว แล้วสงบหรือยัง คิดว่าจะแก้กันเมื่อไหร่ รัฐบาลหน้าทำได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะทุกวันนี้ทุกคนเอามาตีกันหมดทั้งการเมือง ประชามติ รัฐธรรมนูญ อนาคต ปฏิรูป การศึกษา มันได้ไหมเล่า มันเกิดมากี่ปีแล้ว ปัญหาหลายปัญหา"
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เห็นมีข่าวเผยแพร่ว่าตนเป็นอิสลามไปแล้ว ซึ่งวันนั้นชาวมุสลิมได้เอาหมวกแต่งงานมาให้ใส่ ตนก็ใส่ แล้วมีคนบอกว่าเป็นอิสลามไปแล้ว ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมกับตน นอกจากนี้ภรรยาตนไปเปิดการประชุมอาเซียนที่มาเลเซีย มีคนเอาภาพในห้องประชุมใหญ่ไปโพสต์ ซึ่งถ่ายรูปติดกับมุมอิสลาม เลยหาว่าภรรยาเป็นมุสลิมไปด้วย ตนไหว้อยู่ทุกวัน แล้วมาบอกว่าลูกตนแต่งกันกับอะไรก็ไม่รู้ แต่สรุปแล้วทั้งตน ภรรยา ลูก เป็นมุสลิมไปหมด ก็คิดแบบนี้ แล้วจะ เชื่อเขาหรือ ต้องแก้ให้ตน ซึ่งตนห้อยพระเต็มคออยู่
ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม นายวิชาญ รัษฐปานะ เจ้าของอู่รถโบราณที่ทำรถโบราณ ยี่ห้อเมอร์เซเดสเบนซ์ ขม 99 ของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เข้าร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือจากกรมคุ้มครองสิทธิฯ เพื่อขอทนายความสู้คดี พร้อมทั้งขอค่าธรรมเนียมศาล และคุ้มครองพยาน หลังพระมหาศาสนมุนี (ธนกิจ สุภาโว) ผู้ช่วย เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท
นายวิชาญกล่าวว่า ตนมาขอทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล และขอให้คุ้มครองตนในฐานะพยานคดี แต่ไม่ทราบว่าจะได้หรือไม่ เนื่องจากคดียังไม่มีการฟ้องร้องอะไร และยังอยู่ในชั้นสอบสวน แต่ตนต้องการขอให้คุ้มครองเพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหรือไม่ ตนถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย 10,050,000 บาท แบ่งเป็นค่ารถ 4 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยรวมแล้ว 5 ล้านกว่าบาท ค่าเสียชื่อเสียงอีก 5 ล้านบาท ตนเพิ่งได้รับหมายศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 25 เม.ย. เวลา 13.30 น.
"หลังจากถูกฟ้องร้องดำเนินคดีและมีหมายศาลมาที่บ้าน ทำให้ผมและครอบครัวเกิดความเครียด ภรรยาร้องไห้ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยถูกฟ้องร้องอะไรแบบนี้เลย อีกทั้งไม่รู้เกี่ยวกับระบบทนายความ แต่เชื่อว่าถ้าอยู่บนความจริง ความจริงก็คือความจริง วันหนึ่งเขามาพึ่งพาให้ช่วยซ่อมรถให้ อีกวันมาบอกว่าเป็นโจรเอารถไปขายให้พระ วันหนึ่งเขาให้ผมช่วยเป็นธุระจัดการนำเงินมาผ่านยังผม เพื่อจะได้ไปจ่ายแทนให้ เพราะจะได้จ่ายเงินมาด้านเดียว แต่วันหนึ่งมากล่าวหาว่าผมเป็นคนรับเงินทั้งหมดและเอารถไปให้เขา" นายวิชาญกล่าว