สงสัยค่ะ ทำไมเงาของดวงจันทร์ถึงมีขนาดพอดีกับดวงอาทิตย์ ในการเกิดสุริยุปราคา

สงสัยว่า ทำไม๊ทำไม เวลาเกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวง เราถึงมองเห็นว่า เงามืดๆของดวงจันทร์มันทาบพอดีกับดวงอาทิตย์พอดิบพอดีหรือใกล้เคียงกันมาก จนทำให้เห็นวงแหวนบางๆ

ถ้า..ดวงจันทร์ไม่ได้มีขนาดเท่านี้
       ถ้า..ดวงจันทร์ไม่ได้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เท่านี้
               ถ้า..ดวงจันทร์ไม่ได้อยู่ห่างจากโลกเท่านี้

เราจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงพอดีแบบนี้มั้ยคะ


เราแค่คิดว่า หากดาวทั้ง 3 ดวงนี้เรียงตัวกัน มันก็มีความน่าจะเป็น 3 เรื่องคือ
1. กรณี ดวงจันทร์เล็กและอยู่ไกลจากโลก ทำให้ เราเห็นเงาดำเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก ทำให้เห็นขอบดวงอาทิตย์ใหญ่
2. กรณีดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งพอดี(นั่นล่ะ อะไรคือพอดี?) ทำให้ เราเห็นเงาดำทาบพอดี เห็นวงแหวนบางๆที่ขอบ
3. กรณีดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมาก ทำให้ เราเห็นแสงดวงอาทิตย์น้อยมาก เพราะเงาดวงจันทร์บัง

เราเข้าใจถูกมั้ยคะ

แล้วเหตุใด เราจึงเห็นดวงจันทร์ทาบพอดิบพอดีหรือใกล้เคียงมาก ๆ กับดวงอาทิตย์คะ???

ประเด็นคือ เหตุใด จึงเกิดความพอดีหรือใกล้เคียงของขนาดทั้ง 2 ดวง (ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์) ที่เรามองเห็นจากโลก ในกรณีที่ตำแหน่งของเราเห็นแบบสุริยุปราคาเต็มดวง
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ก่อนอื่นต้องบอกว่า ที่เห็นมืด ๆ นั่นไม่ใช่ "เงา" ของดวงจันทร์ครับ แต่เป็น "ดวงจันทร์" ตัวจริงเสียงจริงเลย

ส่วนขนาดก็ต้องบอกว่ามันเป็นความบังเอิญมาก ๆ ในจักรวาล ที่ทำให้ดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์มีขนาดปรากฎให้คนบนโลกเห็นใกล้เคียงกัน เราเลยเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงได้ในกรณีที่มันมาบังในตำแหน่งที่ลงตัวพอดี แต่...เมื่อมันมีขนาดใกล้เคียงกัน ทำให้การบังเต็มดวงไม่สามารถเกิดขึ้นได้นาน แค่ไม่กี่นาทีพอดวงจันทร์เคลื่อนไปแค่นิดเดียวก็บังไม่หมดดวงแล้ว

ถ้าดวงจันทร์ไกลมากจนเห็นเหมือนจุด ก็เหมือนกับถึงปรากฎการณ์ดาวพุธหรือดาวศุกร์ผ่านดวงอาทิตย์เลยครับ อย่างในรูปที่เห็นจุดสีดำเล็ก ๆ นั่นแหละคือดาวศุกร์กำลังเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่