สะพานกล้องท่องบุรีรัมย์เมืองแห่งปราสาทขอมโบราณ มีมากกว่า 60 แห่ง ซึ่งอยู่กระจายไปทั่วทั้งจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่า เป็นสิ่งสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น ปราสาทที่ท่านจะได้เห็นจากการที่ผมได้เดินทางออกไปค้นหาตามที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว วันนี้เอามาแบ่งปัน เมื่อยามท่านมาเที่ยวบุรีรัมย์แล้วอยากชมปราสาทหินแต่ละที่อยู่อำเภออะไรบ้าง เชิญชมครับผม
ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ห่างจากเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 65 กม จากเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งขึ้นได้สองทาง ทางมาจากอำเภอนางรองวิ่งตรงถึงแยก ต.ตาเป็ก อีกหนึ่งเส้นทางจากอำเภอประโคนชัย ผ่านปราสาทบ้านบุ กู่หนองบัวราย ขึ้นพนมรุ้ง
ปราสาทหินพนมรุ้ง
ด้านหน้า
ด้านหลัง
ตรงกลาง
ปราสาทหินเมืองต่ำ อ.ประโคนชัย อีกหนึ่งความงดงามของบุรีรัมย์
ปราสาทไบรบัด อ.ประโคนชัย ปราสาทที่กำลังอยู่ระหว่างบูรณะ ไกลจากปราสาทเมืองต่ำประมาณ 5 กม อยู่บนเขาไบรบัด
ปราสาทบ้านบุ อ.ประโคนชัย อีกหนึ่งปราสาทที่ได้รับการบูรณะไปแล้วบ้างส่วน ก่อนขึ้นพนมรุ้ง อยู่ในโรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์
กุฏิฤๅษีบ้านหนองบัวราย หรือ ปราสาทหนองกง ตั้งอยู่ในเขตบ้านหนองบัวราย หมู่ที่ 7 ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อเป็นอโรคยาศาล ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ปรุงยา และยังเป็นที่พักแก่ผู้แสวงบุญอีกด้วย
กุฏิฤๅษีบ้านโคกเมือง ต.โคกเมือง อ.ประโคนชัย ห่างปราสาทเมืองต่ำประมาณ 500 เมตร เป็นปราสาทหินขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ [img]เป็นอโรคยาศาลสำหรับผู้ที่เดินมาประกอบพิธีกรรมที่ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทวัดโคกงิ้ว อำเภอปะคำ จ.บุรีรัมย์ ห่างจากบุรีรัมย์ประมาณ 70 กม อยู่บนทางสายนางรอง-ปะคำก่อนถึงอำเภอปะคำ 3 กิโลเมตร ตั้งอยู่ด้านหลังวัดโคกงิ้ว เป็นอโรคยาศาลหรือโรงพยาบาล
ปราสาททอง อ.บ้านกรวด อยู่หลังตลาดเทศบาลบ้านกรวด เทวสถานที่ได้รับการบูรณะแล้ว
ปราสาทหนองหงษ์ อ.โนนดินแดง ห่างจากเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 85 กม ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของแนวสันเขื่อนลำนางรอง ห่างจากตัวเขื่อน ประมาณ 500 เมตร เป็นโบราณสถานขนาดเล็ก ประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ซึ่งก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงต่อเนื่องเป็นฐานเดียว หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ปราสาทกู่สวนแตง หรือ ปรางค์กู่สวนแตง ตั้งอยู่ที่บ้านดงยาง ตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากบุรีรัมย์ประมาณ 85 กม
เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมสมัยนครวัดเป็นโบราณสถานอีกแห่งที่ถูกวางระเบิดจนองค์ปรางค์พังทลายลงมาเพื่อโจรกรรม ชิ้นส่วนปราสาทไปขาย ภายหลังกรมศิลปากรได้บูรณะใหม่จนมีความสมบูรณ์ และประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2547
กู่ฤาษีหนองเยือง ต.หนองเยือง อ.บ้านใหม่ อยู่ใกล้บ่อทำน้ำปะปา ห่างจากบุรีรัมย์ประมาณ 90 กม สร้างศิลาแลงวางเรียงซ้อนกัน และวงเป็นกำแพงล้อมตัวกู่ ภายในมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ และรูปปั้นฤาษี ประดิษฐานอยู่ ภายในบริเวณบริเวณศิลาแลงด้านในมีต้นจำปีปลูกล้อมรอบ 7 ต้น ด้วยกัน และบริเวณรอบนอกศิลาแลงด้านทิศเหนือ มีบารายขนาดเล็กด้านข้าง
บ้างส่วนจากปราสาทของจังหวัดบุรีรัมย์ทั้งหมด และอยู่ระหว่างค้นหาเพิ่มเติมมาเล่าให้ฟังครับ
ตา
บุรีรัมย์ เมืองปราสาทหิน
ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ห่างจากเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 65 กม จากเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งขึ้นได้สองทาง ทางมาจากอำเภอนางรองวิ่งตรงถึงแยก ต.ตาเป็ก อีกหนึ่งเส้นทางจากอำเภอประโคนชัย ผ่านปราสาทบ้านบุ กู่หนองบัวราย ขึ้นพนมรุ้ง
ปราสาทหินพนมรุ้ง
ด้านหน้า
ด้านหลัง
ตรงกลาง
ปราสาทหินเมืองต่ำ อ.ประโคนชัย อีกหนึ่งความงดงามของบุรีรัมย์
ปราสาทไบรบัด อ.ประโคนชัย ปราสาทที่กำลังอยู่ระหว่างบูรณะ ไกลจากปราสาทเมืองต่ำประมาณ 5 กม อยู่บนเขาไบรบัด
ปราสาทบ้านบุ อ.ประโคนชัย อีกหนึ่งปราสาทที่ได้รับการบูรณะไปแล้วบ้างส่วน ก่อนขึ้นพนมรุ้ง อยู่ในโรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์
กุฏิฤๅษีบ้านหนองบัวราย หรือ ปราสาทหนองกง ตั้งอยู่ในเขตบ้านหนองบัวราย หมู่ที่ 7 ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อเป็นอโรคยาศาล ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ปรุงยา และยังเป็นที่พักแก่ผู้แสวงบุญอีกด้วย
กุฏิฤๅษีบ้านโคกเมือง ต.โคกเมือง อ.ประโคนชัย ห่างปราสาทเมืองต่ำประมาณ 500 เมตร เป็นปราสาทหินขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ [img]เป็นอโรคยาศาลสำหรับผู้ที่เดินมาประกอบพิธีกรรมที่ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทวัดโคกงิ้ว อำเภอปะคำ จ.บุรีรัมย์ ห่างจากบุรีรัมย์ประมาณ 70 กม อยู่บนทางสายนางรอง-ปะคำก่อนถึงอำเภอปะคำ 3 กิโลเมตร ตั้งอยู่ด้านหลังวัดโคกงิ้ว เป็นอโรคยาศาลหรือโรงพยาบาล
ปราสาททอง อ.บ้านกรวด อยู่หลังตลาดเทศบาลบ้านกรวด เทวสถานที่ได้รับการบูรณะแล้ว
ปราสาทหนองหงษ์ อ.โนนดินแดง ห่างจากเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 85 กม ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของแนวสันเขื่อนลำนางรอง ห่างจากตัวเขื่อน ประมาณ 500 เมตร เป็นโบราณสถานขนาดเล็ก ประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ซึ่งก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงต่อเนื่องเป็นฐานเดียว หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ปราสาทกู่สวนแตง หรือ ปรางค์กู่สวนแตง ตั้งอยู่ที่บ้านดงยาง ตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากบุรีรัมย์ประมาณ 85 กม
เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมสมัยนครวัดเป็นโบราณสถานอีกแห่งที่ถูกวางระเบิดจนองค์ปรางค์พังทลายลงมาเพื่อโจรกรรม ชิ้นส่วนปราสาทไปขาย ภายหลังกรมศิลปากรได้บูรณะใหม่จนมีความสมบูรณ์ และประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2547
กู่ฤาษีหนองเยือง ต.หนองเยือง อ.บ้านใหม่ อยู่ใกล้บ่อทำน้ำปะปา ห่างจากบุรีรัมย์ประมาณ 90 กม สร้างศิลาแลงวางเรียงซ้อนกัน และวงเป็นกำแพงล้อมตัวกู่ ภายในมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ และรูปปั้นฤาษี ประดิษฐานอยู่ ภายในบริเวณบริเวณศิลาแลงด้านในมีต้นจำปีปลูกล้อมรอบ 7 ต้น ด้วยกัน และบริเวณรอบนอกศิลาแลงด้านทิศเหนือ มีบารายขนาดเล็กด้านข้าง
บ้างส่วนจากปราสาทของจังหวัดบุรีรัมย์ทั้งหมด และอยู่ระหว่างค้นหาเพิ่มเติมมาเล่าให้ฟังครับ
ตา