บัณเฑาะว์ในคำสอนของพระพุทธเจ้าหมายถึงผู้ที่มีเครื่องเพศมากกว่าหนึ่ง ไม่ได้หมายถึงผู้ที่มีรสนิยมรักร่วมเพศใช่มั๊ยคะ

กระทู้คำถาม
จากการที่หนูได้ศึกษาพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวไว้ว่าผู้ที่ทำผิดศีลข้อสามจะเกิดมาเป็นรักร่วมเพศ แต่มีการกล่าวถึงว่าข้อดีของการรักษาศีลข้อสามคือไม่ต้องเกิดมาเป็นบัณเฑาะว์หมายถึงผู้ที่มีเครื่องเพศมากกว่าหนึ่ง ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผู้ที่มีรสนิยมรักร่วมเพศ และในการบวชเรียนนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามผู้ที่เป็นรักร่วมเพศบวชแต่มีการห้ามบัณเฑาะว์หมายถึงผู้ที่มีเครื่องเพศมากกว่าหนึ่ง และผู้ที่มีอวัยวะไม่ครบ32บวชเท่านั้น ไม่ทราบว่าหนูเข้าใจถูกมั๊ยคะ แล้วไม่ทราบว่าหนูสามารถอ้างอิงบทไหนในพระไตรปิฎกถึงคำสอนนี้ได้บ้างคะ
ขอบคุณค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thepathofpurity&month=16-04-2011&group=3&gblog=3
(ก็อปมาครับ)

บัณเฑาะก์อาจแบ่งออกได้ ๕ จำพวก คือ
๑ อาสิตฺตปณฺฑก ๒ อุสุยฺยปณฺฑก ๓ โอปกฺกมิยปณฺฑก
๔ ปกฺขปณฺฑก ๕ นปุงสกปณฺฑก

ผมจะสรุปความหมายให้สั้นกระทัดลง ดังนี้นะครับ

๑ อาสิตตบัณเฑาะก์ ได้แก่ ชายที่มีกิจกรรมทางเพศกับชาย
๒ อุสุยยบัณเฑาะก์ ได้แก่ ชายที่ไม่ถึงกับมีกิจกรรมแต่พอใจที่จะดู
กิจกรรมทางเพศ โดยตัวเป็นชายแต่ก็ไปชอบใจในชายที่ดูอยู่นั้น
๓ โอปักกมิยบัณเฑาะก์ ได้แก่ บุคคลผู้ที่ถูกตอนไปแล้ว เช่นขันที
๔ ปักขบัณเฑาะก์ ได้แก่ บุคคลบางคนข้างแรมเกิดความกำหนัด
ยินดีกระวนกระวายด้วยอำนาจแห่งอกุศลกรรม เมื่อถึงข้างขึ้น
ความกระวนกระวายนั้นก็หายไป
๕ นปุงสกับบัณเฑาะก์ ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีเพศหญิงเพศชายไม่ปรากฏทั้ง ๒ เพศ
มีแต่ช่องที่สำหรับถ่ายปัสสาวะเท่านั้น

ในบัณเฑาะก์ ๕ ชนิดนั้น
อาสิตตบัณเฑาะก์ และอุสุยยบัณเฑาะก์ ไม่ห้ามบรรพชา,
โอปักกมิยบัณเฑาะก์ นปุงสกับบัณเฑาะก์ ห้ามบรรพชา
ส่วน ปักขบัณเฑาะก์ ห้ามบรรพชาแก่เขาเฉพาะปักข์ที่เป็นบัณเฑาะก์เท่านั้น.

ในกรณีของ บัณเฑาะก์ สองประเภทที่ว่าบวชได้นั้น หมายถึง
เป็นบัณเฑาะก์ก็แต่เมื่อก่อนบวช แต่เมื่อมาบวชแล้วต้องรักษาวินัย
และสละความประพฤติเบี่ยงเบนนั้นออกให้หมด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่