หูดหงอนไก่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดความเสี่ยงต่ำ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสเอชพีวีกว่า 200 สายพันธุ์ แต่มีเพียง 40 สายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก แบ่งเพิ่มเติมลงไปอีกเป็นชนิดความเสี่ยงสูงซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18 เป็นต้น และ ชนิดความเสี่ยงต่ำซึ่งไม่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง ได้แก่ 6, 11 เป็นต้น ในกลุ่มหลังนี้สัมพันธ์กับการเกิดหูดหงอนไก่
ไม่ใช่ทุกคนที่ติดเชื้อเอชพีวีจะต้องเป็นโรคใดโรคหนึ่ง พบว่าร้อยละ 75 ของหญิงชายวัยเจริญพันธุ์ได้รับเชื้อนี้ไปแล้ว แต่ประมาณร้อยละ 80-90 จะสามารถกำจัดเชื้อไปได้เองที่ 2 ปี ยกเว้นผู้ที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เช่น การตั้งครรภ์ โรคเอดส์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดรอยโรคได้ อย่างไรก็ดี ผู้ที่ไม่มีอาการใดเลยก็สามารถถ่ายทอดเชื้อไปให้ผู้อื่นได้
ตั้งแต่รับเชื้อมาจนเกิดอาการเป็นได้ตั้งแต่ 1 เดือน – 2 ปี หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 เดือน เชื้อไวรัสชนิดนี้จะเข้าไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์ชั้นล่างสุดของเยื่อบุ ซึ่งมีการแบ่งตัวตลอดเวลาเพื่อซ่อมแซมชั้นที่เหนือขึ้นไป เมื่อมีการติดเชื้อไวรัส เซลล์ที่แบ่งตัวจะเปลี่ยนรูปร่างและหน้าที่จนควบคุมไม่ได้ เกิดเป็นเนื้องอกนูนออกมา
อาการของโรคหูดหงอนไก่เป็นได้ตั้งแต่ ไม่มีอาการเลย ไปจนถึงมีก้อนโตมากจนอุดกั้นช่องคลอด ทวารหนัก หรือท่อปัสสาวะ บางรายมีเลือดออกจากก้อน คันถึงคันมาก ตกขาวผิดปกติ หรือแม้แต่แสบร้อนที่อวัยวะเพศ
การวินิจฉัยมักทำได้โดยการดูรอยโรค ซึ่งเป็น 4 แบบ ได้แก่ นูนยื่นออกมาคล้ายดอกกะหล่ำปลี, ตุ่มนูนเล็กๆ แห้งๆ คล้ายมีขี้ไคลคลุม, ตุ่มนูนแบน, และ ตุ่มนูนเล็กสีเนื้อชุ่มชื้น บางคนมีหลายชนิดปนกันได้ หูดอาจมีขนาดแตกต่างกัน เรียงตัวติดกันหรือกระจายไปทั่ว อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อเอชพีวีกลับไม่พบว่ามีรอยโรคเลย
รอยโรคที่หลากหลายนี้ทำให้เกิดความสับสนกับโรคอื่นๆได้ ได้แก่ ผื่นของโรคซิฟิลิสระยะที่ 2 หูดข้าวสุก ไฝ โรคผิวหนังบางชนิด จนถึงลักษณะปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ของบางคนที่มีติ่งยื่นออกมาคล้ายหูดหงอนไก่
การรักษาโรคหูดหงอนไก่
เป้าหมายของการรักษาคือ ความสวยงาม บรรเทาอาการ และลดความกังวลใจ วิธีการรักษามีให้เลือกหลายรูปแบบทั้ง การใช้ยาหรือการใช้อุปกรณ์เพื่อกำจัดหูดออกไป แพทย์เป็นผู้ทำให้หรือผู้ป่วยทำเอง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกวิธีการรักษา ได้แก่ ความชอบของผู้ป่วย ราคา ผลข้างเคียงของการรักษา และประสบการณ์ของแพทย์ โดยทั่วไปหูดที่มีขนาดเล็กกว่าย่อมรักษาได้ง่ายกว่า โดยพบว่าถ้าขนาดเล็กกว่า 1 ตารางเซนติเมตรมักรักษาด้วยยาสำเร็จ ประสิทธิภาพของวิธีการรักษาแตกต่างกันไปและมีโอกาสเกิดซ้ำขึ้นได้อีกทุกวิธี โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรกหลังสิ้นสุดการรักษา
การรักษาด้วยยาชนิดที่แพทย์ทาให้ โดยแพทย์มักจะนัดทุก 1 สัปดาห์ โดยก่อนทายาทุกครั้งผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเสมอเพราะหลังจากทายาแล้วไม่ควรให้รอยทายาโดนน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ยามีหลายชนิดให้เลือกใช้ ชนิดแรก คือ โพโดฟีโลทอกซิน (Podophylotoxin) เป็นสารสีเหลืองน้ำตาล ลักษณะเหนียว ทำให้เซลล์ตายโดยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ยานี้อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง เป็นแผล และปวด หากเข้าสู่กระแสเลือดอาจทำให้เส้นประสาทอักเสบ ชาตามตัว เม็ดเลือดขาวต่ำ และ เกล็ดเลือดต่ำ ยาทาชนิดที่ 2 คือ ไตรคลอโรเซติกแอซิด (80-90% Trichloroacetic acid; TCA) ออกฤทธิ์โดยทำให้โปรตีนในเซลล์เสื่อมสภาพเป็นเซลล์ตาย หูดที่มีก้านมักหลุดออกไปภายใน 2-3 วัน ทำให้เกิดผิวหนังระคายเคือง เป็นแผลเลือดออกได้
ยาที่ให้ผู้ป่วยทาเองในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่ อิมิควิโมด (5% Imiquimod/ Aldara®) ทา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ไม่เกิน 16 สัปดาห์ ยานี้จะกระตุ้นภูมิต้านทานเฉพาะที่ ให้ร่างกายกำจัดไวรัสเอชพีวีด้วยตัวเอง ข้อเสียคืออาจทำให้เกิดผื่นแดงเฉพาะที่ และ โพโดฟิลอก (Podofilox 0.5%) เป็นยาที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์ วิธีการใช้คือทาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3วัน แล้วเว้น 4 วัน แต่ไม่เกิน 4 รอบ อาจทำให้เกิดระคายเคืองเล็กน้อย เช่นเดียวกับยาที่แพทย์ทาให้ ก่อนทายาเองทุกครั้งผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเสมอเพราะหลังจากทายาแล้วไม่ควรให้รอยทายาโดนน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง
หูดหงอนไก่สามารถป้องกันได้หรือไม่
ปัจจุบันมีการคิดค้นวัคซีนที่สามารถลดการเกิดโรคหูดหงอนไก่ได้ หากได้รับการฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อน จากหลักการที่ว่า ร้อยละ 90ของหูดหงอนไก่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ 6 และ 11 การผลิตวัคซีนได้ใช้ส่วนเปลือกของไวรัสส่วนเล็กๆ มาผสมกับสารกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกาย เมื่อฉีดแล้วร่างกายจะจะมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาในระดับที่สูงมาก จนสามารถลดการติดเชื้อของไวรัสที่เซลล์ของเยื่อบุได้ ดังนั้นการแบ่งตัวของเซลล์ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่เกิดเป็นตุ่มนูนขึ้นมา อย่างไรก็ตามวัคซีนนี้จะมาในรูปร่วมกับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเข็มเดียวกัน ไม่มีการทำวัคซีนแยกออกมา เป็นวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 16, และ 18
ขอขอบคุณข้อมูลจาก si.mahidol.ac.th และ รพ.สมิตเวช
Report by LIV APCO
หูดหงอนไก่...ไม่ถึงตายแต่ทำลายความมั่นใจ
ไม่ใช่ทุกคนที่ติดเชื้อเอชพีวีจะต้องเป็นโรคใดโรคหนึ่ง พบว่าร้อยละ 75 ของหญิงชายวัยเจริญพันธุ์ได้รับเชื้อนี้ไปแล้ว แต่ประมาณร้อยละ 80-90 จะสามารถกำจัดเชื้อไปได้เองที่ 2 ปี ยกเว้นผู้ที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เช่น การตั้งครรภ์ โรคเอดส์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดรอยโรคได้ อย่างไรก็ดี ผู้ที่ไม่มีอาการใดเลยก็สามารถถ่ายทอดเชื้อไปให้ผู้อื่นได้
ตั้งแต่รับเชื้อมาจนเกิดอาการเป็นได้ตั้งแต่ 1 เดือน – 2 ปี หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 เดือน เชื้อไวรัสชนิดนี้จะเข้าไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์ชั้นล่างสุดของเยื่อบุ ซึ่งมีการแบ่งตัวตลอดเวลาเพื่อซ่อมแซมชั้นที่เหนือขึ้นไป เมื่อมีการติดเชื้อไวรัส เซลล์ที่แบ่งตัวจะเปลี่ยนรูปร่างและหน้าที่จนควบคุมไม่ได้ เกิดเป็นเนื้องอกนูนออกมา
อาการของโรคหูดหงอนไก่เป็นได้ตั้งแต่ ไม่มีอาการเลย ไปจนถึงมีก้อนโตมากจนอุดกั้นช่องคลอด ทวารหนัก หรือท่อปัสสาวะ บางรายมีเลือดออกจากก้อน คันถึงคันมาก ตกขาวผิดปกติ หรือแม้แต่แสบร้อนที่อวัยวะเพศ
การวินิจฉัยมักทำได้โดยการดูรอยโรค ซึ่งเป็น 4 แบบ ได้แก่ นูนยื่นออกมาคล้ายดอกกะหล่ำปลี, ตุ่มนูนเล็กๆ แห้งๆ คล้ายมีขี้ไคลคลุม, ตุ่มนูนแบน, และ ตุ่มนูนเล็กสีเนื้อชุ่มชื้น บางคนมีหลายชนิดปนกันได้ หูดอาจมีขนาดแตกต่างกัน เรียงตัวติดกันหรือกระจายไปทั่ว อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อเอชพีวีกลับไม่พบว่ามีรอยโรคเลย
รอยโรคที่หลากหลายนี้ทำให้เกิดความสับสนกับโรคอื่นๆได้ ได้แก่ ผื่นของโรคซิฟิลิสระยะที่ 2 หูดข้าวสุก ไฝ โรคผิวหนังบางชนิด จนถึงลักษณะปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ของบางคนที่มีติ่งยื่นออกมาคล้ายหูดหงอนไก่
การรักษาโรคหูดหงอนไก่
เป้าหมายของการรักษาคือ ความสวยงาม บรรเทาอาการ และลดความกังวลใจ วิธีการรักษามีให้เลือกหลายรูปแบบทั้ง การใช้ยาหรือการใช้อุปกรณ์เพื่อกำจัดหูดออกไป แพทย์เป็นผู้ทำให้หรือผู้ป่วยทำเอง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกวิธีการรักษา ได้แก่ ความชอบของผู้ป่วย ราคา ผลข้างเคียงของการรักษา และประสบการณ์ของแพทย์ โดยทั่วไปหูดที่มีขนาดเล็กกว่าย่อมรักษาได้ง่ายกว่า โดยพบว่าถ้าขนาดเล็กกว่า 1 ตารางเซนติเมตรมักรักษาด้วยยาสำเร็จ ประสิทธิภาพของวิธีการรักษาแตกต่างกันไปและมีโอกาสเกิดซ้ำขึ้นได้อีกทุกวิธี โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรกหลังสิ้นสุดการรักษา
การรักษาด้วยยาชนิดที่แพทย์ทาให้ โดยแพทย์มักจะนัดทุก 1 สัปดาห์ โดยก่อนทายาทุกครั้งผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเสมอเพราะหลังจากทายาแล้วไม่ควรให้รอยทายาโดนน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ยามีหลายชนิดให้เลือกใช้ ชนิดแรก คือ โพโดฟีโลทอกซิน (Podophylotoxin) เป็นสารสีเหลืองน้ำตาล ลักษณะเหนียว ทำให้เซลล์ตายโดยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ยานี้อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง เป็นแผล และปวด หากเข้าสู่กระแสเลือดอาจทำให้เส้นประสาทอักเสบ ชาตามตัว เม็ดเลือดขาวต่ำ และ เกล็ดเลือดต่ำ ยาทาชนิดที่ 2 คือ ไตรคลอโรเซติกแอซิด (80-90% Trichloroacetic acid; TCA) ออกฤทธิ์โดยทำให้โปรตีนในเซลล์เสื่อมสภาพเป็นเซลล์ตาย หูดที่มีก้านมักหลุดออกไปภายใน 2-3 วัน ทำให้เกิดผิวหนังระคายเคือง เป็นแผลเลือดออกได้
ยาที่ให้ผู้ป่วยทาเองในปัจจุบันมี 2 ชนิด ได้แก่ อิมิควิโมด (5% Imiquimod/ Aldara®) ทา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ไม่เกิน 16 สัปดาห์ ยานี้จะกระตุ้นภูมิต้านทานเฉพาะที่ ให้ร่างกายกำจัดไวรัสเอชพีวีด้วยตัวเอง ข้อเสียคืออาจทำให้เกิดผื่นแดงเฉพาะที่ และ โพโดฟิลอก (Podofilox 0.5%) เป็นยาที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์ วิธีการใช้คือทาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3วัน แล้วเว้น 4 วัน แต่ไม่เกิน 4 รอบ อาจทำให้เกิดระคายเคืองเล็กน้อย เช่นเดียวกับยาที่แพทย์ทาให้ ก่อนทายาเองทุกครั้งผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเสมอเพราะหลังจากทายาแล้วไม่ควรให้รอยทายาโดนน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง
หูดหงอนไก่สามารถป้องกันได้หรือไม่
ปัจจุบันมีการคิดค้นวัคซีนที่สามารถลดการเกิดโรคหูดหงอนไก่ได้ หากได้รับการฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อน จากหลักการที่ว่า ร้อยละ 90ของหูดหงอนไก่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ 6 และ 11 การผลิตวัคซีนได้ใช้ส่วนเปลือกของไวรัสส่วนเล็กๆ มาผสมกับสารกระตุ้นภูมิต้านทานในร่างกาย เมื่อฉีดแล้วร่างกายจะจะมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาในระดับที่สูงมาก จนสามารถลดการติดเชื้อของไวรัสที่เซลล์ของเยื่อบุได้ ดังนั้นการแบ่งตัวของเซลล์ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่เกิดเป็นตุ่มนูนขึ้นมา อย่างไรก็ตามวัคซีนนี้จะมาในรูปร่วมกับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเข็มเดียวกัน ไม่มีการทำวัคซีนแยกออกมา เป็นวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 6, 11, 16, และ 18
ขอขอบคุณข้อมูลจาก si.mahidol.ac.th และ รพ.สมิตเวช
Report by LIV APCO