คำเตือน : สปอยล์เนื้อหาสำคัญๆแทบทั้งเรื่องนะครับ แต่ถ้าไม่หวั่นก็อ่านได้เลยครับ เพราะหนังก็หลายปีแล้ว
เป็นหนังที่ถ้านับความสนุกคือเฉยๆนะ ไม่ได้สนุกอะไรมาก แต่ประเด็นที่หนังสอดแทรกไว้เรียกว่าเยอะมาก และหลายประเด็นน่าสนใจมากด้วย เลยขอเขียนรีวิวแบบสปอยล์ซะหน่อยแล้วกันนะครับ
::การแบ่งชนชั้นและความเท่าเทียม::
หนังนำเสนอประเด็นเรื่องการแบ่งชนชั้นไว้ชัดเจนมากที่สุดในเรื่อง โดยระบุไว้ว่าคนที่ขึ้นรถไฟจะมีตั๋วFirst Class ไปจนถึง ขึ้นฟรี
แน่นอนว่ากลุ่มคนที่ขึ้นฟรีนั้นมีอยู่เต็มไปหมด และไม่ได้รับการดูแลอย่างดีเหมือนกับกลุ่มคนที่อยู่หัวขบวน
มันจึงไม่แปลกที่จะเกิดการเปรียบเทียบ
‘ทำไมเขาได้กินสเต๊ก แต่เราได้กินแค่แท่งโปรตีน’
นั่นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของความไม่เท่าเทียม
ที่นำไปสู่การปฏิวัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนรถไฟขบวนนี้
แต่หากมองกลับไปที่จุดเริ่มต้นแล้ว
ในมุมของเจ้าของรถไฟหรือชนชั้นนำที่เสียเงินขึ้นมา
ถ้ารถไฟขบวนนี้ไม่เปิดให้ขึ้นฟรี
คนกลุ่มนี้คงจะตายเรียบ
และไม่มีโอกาสได้มีชีวิตมาเรียกร้องอะไรอีก
ในเมื่อขึ้นมาฟรีก็ไม่ควรได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมรึเปล่า?
ก็ขึ้นมาฟรี อยู่ฟรี ยังจะขอกินของดีๆฟรีๆอีกอย่างนั้นหรือ?
ถ้าแบบนั้นจะมีการเสียเงินขึ้นมาบนขบวนทำไม
ในเมื่อตั้งแต่ก้าวเท้าขึ้นรถไฟ มันก็ไม่เท่าเทียมกันแล้ว
คนเสียเงิน ได้จ่ายเพื่อแลกเปลี่ยนกับความสะดวกสบาย
แต่คนขึ้นฟรี ไม่ได้จ่ายอะไร แต่กลับเรียกร้องไม่มีที่สิ้นสุด (จนกว่าจะเท่าเทียม)
::ชนชั้นหรือหน้าที่?::
หากมองดูในช่วงแรก หนังเหมือนจะพาเราไปสู่โลกย่อส่วนที่มีการแบ่งชนชั้น
แต่หากมองดีๆแล้วมันไม่ใช่แค่เรื่องของชนชั้น แต่มีเรื่องของหน้าที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
คนท้ายขบวนที่มีความสามารถ เช่น
คนที่เล่นดนตรีได้ จะถูกเรียกไปขับกล่อมเพื่อความบันเทิงของคนหัวขบวน
เด็กที่มีส่วนสูงตามที่กำหนด จะต้องไปทำหน้าที่แทนเครื่องจักรที่ชำรุด
รวมไปถึงคนที่เป็นพ่อครัวทำโปรตีนแท่ง
นี่จึงเป็นสาเหตุที่มีตั๋วฟรี เพราะถ้าขบวนนี้มีแต่ชนชั้นนำ
แล้วใครจะมาทำหน้าที่เหล่านี้
จ่ายค่าตั๋วมาตั้งแพง ย่อมอยากอยู่สบายๆ ไม่งั้นจะจ่ายทำไม
ในเมื่อจ่ายมาแล้ว คนที่ขึ้นฟรี ก็เหมือนถูกจ้างให้มาทำหน้าที่เหล่านี้แทน
::ไม่ทำหน้าที่ ไม่เสียสละ = ไม่รอด::
ภาพเด็กถูกนำไปทำหน้าที่แทนเครื่องจักร ดูเป็นอะไรที่โหดร้ายมาก
แต่หากฟังเงื่อนไขของคนสร้างรถไฟขึ้นมาแล้ว มันเป็นประเด็นที่น่าสนใจนะ
ประเด็นนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อนและเถียงกันได้ไม่จบ (มันไม่มีใครถูกหรือผิด 100%หรอก อยู่ที่เราเชื่อแบบไหน)
ถามว่าใช้แรงงานเด็กต่อเนื่องแบบนั้น ถูกต้องมั้ย ในมุมของเด็กหรือแม่เด็ก ก็คงต้องมองว่าไม่ถูก ไม่ควร
แต่หากมองภาพรวมทั้งระบบแล้ว มันมีแต่เด็กที่ส่วนสูงเท่านี้เท่านั้น ที่สามารถทำแบบนี้ได้
การเสียสละของเด็ก ทำให้คนบนรถไฟทั้งขบวนอยู่รอดได้ ไม่ใช่แค่ชนชั้นสูงที่นั่งทำผม หรือ เสพยาไปวันๆ แต่รวมถึงพวกที่กำลังปฏิวัติด้วย
เรากำลังมองว่าอยากให้เด็กรอด หรือ อยากให้คนทั้งรถไฟรอดกันล่ะ?
คำถามแบบนี้เถียงกันให้ตายก็ไม่จบ
เพราะเรามักจะมีหลักคิดที่ต้องเสียสละให้เด็ก
แต่เรื่องนี้มันก็มีแต่เด็กที่ทำได้
และถ้ารถไฟไปต่อไม่ได้ เด็กซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟก็ต้องตายด้วยอยู่ดี
เราจะยอมโหดร้ายกับเด็กเพื่อรักษาระบบ หรือ เราจะทิ้งระบบเพื่อที่จะรักษาคุณธรรม (แต่อาจไม่มีใครรอดเลย)
ซึ่งพระเอกรู้สึกว่าสิ่งนี้มันไม่ถูก เลยระเบิดประตูรถไฟ ทำให้รถไฟคว่ำ
ซึ่งจะมองว่า ‘โห พระเอกเป็นคนดีจังเลย ยอมช่วยเด็ก’
แต่อย่าลืมว่าบนรถนั่น ทั้งทหาร คนท้ายขบวน(ที่ยังอาจเหลือรอด)
เด็กที่เรียนหนังสือ (เป็นเด็กเหมือนกันนะ) ชนชั้นนำที่ทำผม ดมกาวไปวันๆ ต้องตายเรียบทั้งหมด
แบบนี้เราจะเรียกว่าสิ่งที่พระเอกทำมีคุณธรรมได้รึเปล่า?
::ความอำมหิต/ความหิว/ความผิดของใคร::
พระเอกบอกว่าเกลียดคนสร้างรถไฟขบวนนี้ เพราะปล่อยเค้าไว้ท้ายขบวนโดยไม่มีอาหารเป็นเดือน
ทำให้พระเอกฆ่าแม่ของเด็กคนนึง เพราะอยากจะกินเด็ก
นาทีนั้นพระเอกหิว แต่ไม่มีแท่งโปรตีนแจกเหมือนช่วงที่หนังเริ่มเล่า
ถ้ามองในมุมพระเอกแล้ว อาจจะเหมือนว่าคนคุมขบวนได้กินของดีๆ แต่ทำไมไม่แบ่ง
ทำให้ความอำมหิตของพระเอกถูกปลุกขึ้นมาจากความหิว
แต่ในมุมของเจ้าของขบวน คนพวกนี้ขึ้นมาก็ฟรี เรียกร้องจะกิน จะกิน
ซึ่งยังไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้ขบวนรถไฟนี้เลย
และสมดุลก็ยังไม่เกิด ถ้าทุกคนได้กินของดีๆกันหมด
มันดูเหมือนจะดี แต่รถไฟก็คงอยู่ต่อไปไม่ได้
เพราะปลาที่จะกลายเป็นซูชิ ก็คงจะเกิดไม่ทัน
สุดท้ายอาจจะไม่ใช่แค่ท้ายขบวนที่ฆ่ากันตาย
แต่รวมถึงพวกหัวขบวนด้วย
ทรัพยากรบนโลกของเราเอง ก็มีจำนวนจำกัดเช่นกัน
ทุกวันนี้มันดูเหมือนพวกเรากินดีอยู่ดีได้ แต่พวกเราก็กำลังเผาผลาญทรัพยากรบนโลกนี้ไปเหมือนกัน
ระบบทุนนิยมว่ามีเงินก็ซื้อนั่นซื้อนี่ได้ เป็นแค่มายา
ของจริงคือ บนโลกใบนี้เหลือทรัพยากรเท่าไหร่
พระเอกขึ้นมาก็ฟรี แต่เรียกร้องอยากได้นั่นอยากได้นี่
พอไม่ได้ก็โทษว่าเป็นความผิดของคนสร้างรถไฟที่ทำให้พระเอกอดอยากจนต้องโหดเหี้ยม
ทั้งๆที่ยังมีคนอื่นที่ยอมสละแขนตัวเองเพื่อให้เด็กรอดด้วยซ้ำ
ถ้ามองอีกมุมนึง มันก็ไม่ต่างกับการที่เรามองว่า
คนที่ไม่จ่ายอะไรเลย แต่เรียกร้องอยากได้นั่นได้นี่ไปหมด แล้วใครจะไปทำให้ได้
ทรัพยากรมีจำกัด คนลงทุน ลงแรง ก็ควรจะได้สิ่งตอบแทนดีๆ
ไม่งั้นก็ไม่มีใครลงทุน ไม่มีใครซื้อตั๋ว รถไฟก็คงไม่เกิดขึ้นมา
บางมุมผมก็เหมือนจะเข้าข้างเจ้าของรถไฟนะ แม้จะโหด แต่ถ้าไม่ทำระบบก็ล่ม
ในมุมพระเอกเอง จริงๆก็อาจจะไม่ผิดที่คิดว่าคนอื่นเรียกขึ้นรถ แล้วปล่อยทิ้งๆขว้างๆ ทำให้คนต้องฆ่ากันเอง
แต่ผมว่ามันก็เหมือนพระเอกอิจฉาคนหัวขบวนที่ได้กินดีอยู่ดีนั่นแหละ
มันเลยเกิดการเรียกร้องว่า ทำไมคนนั้นได้ แล้วเราไม่ได้แบบเขา
ทั้งๆที่จุดเริ่มต้นของแต่ละคนมันก็ไม่เท่ากันแล้ว (จ่ายไม่เท่ากัน)
::สงครามไม่ทำให้อะไรดีขึ้น::
สิ่งที่แสบที่สุดของหนังเรื่องนี้ คือ ตาแก่หลังรถไฟที่จริงๆแล้วเป็นเพื่อนกับคนที่หัวรถไฟ คอยยุยงปลุกปั่นให้คนตีกัน เพื่อจะลดจำนวนประชากรบนรถไฟ
เอาจริงๆ เหตุการณ์นี้ ผมแอบนึกถึงบรรดาม๊อบทั้งหลายแหล่เหมือนกันนะ มีคนสั่งการ และก็มีคนที่คลุกคลีกับคนที่ต้องการเรียกร้อง
แท้จริงแล้วผลประโยชน์จากสงครามนี้ (กลับมาในหนังนะ) คือ คนที่รอดชีวิตจากสงคราม ที่ไม่มีประชากรมาแย่งอาหารที่มีจำกัดนั่นเอง
แต่พระเอกไม่เข้าใจตรงจุดนี้ในตอนแรก เลยบุกต่อไปจนถึงหัวขบวน พระเอกไม่ได้คิดเรื่องลดจำนวนประชากร เพื่อรักษาระบบ แต่พระเอกกำลังคิดทำสงคราม
คิดแต่ว่าจะชนะ ไม่หยุดตั้งแต่ตอนที่ได้เนื้อที่เพิ่ม
ซึ่งเมื่อถึงจุดสุดท้ายที่ความแค้นทั้งหลายแหล่พรั่งพรูออกมา
ความแค้นและไฟสงครามก็ทำให้มนุษยชาติเหลือเพียงเด็กสองคนที่ไม่เคยอยู่นอกขบวนรถไฟมาก่อน (แล้วจะไปรอดมั้ย)
คนที่เหลือตายเรียบ ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น มีบางคนยังได้กินซูชิ บางคนยังได้กินสเต๊ก บางคนอาจจะได้แท่งโปรตีน แต่ก็ยังมีชีวิตรอด
สงครามทำลายทุกสิ่ง ทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และทรัพยากรบนรถไฟ
::ความสงบสุขบนรถไฟ::
เราอาจคาดหวังให้รถไฟขบวนนี้สงบสุข (โลก)
แต่ตราบใดที่คนกลุ่มหนึ่งบนรถขบวนนี้ยังรู้สึกไม่เท่าเทียม ก็จะเกิดการเรียกร้อง
ในขณะที่คนที่อยู่หัวขบวน
ก็ไม่อยากจะสละความสุขสบายส่วนตัวมาเพื่อแบ่งคนกลุ่มนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนหัวขบวนก็จะขัดขวางการเปลี่ยนแปลงระบบ
ส่วนคนท้ายขบวนก็พยายามจะเปลี่ยนแปลงระบบ
เพราะคาดหวังว่าระบบมันจะดีขึ้น
ซึ่งเมื่อคนท้ายขบวนต่อสู้จนถึงที่สุดแล้ว
มันก็เหลือเพียงตัวเลือกว่าจะทำลายทั้งระบบ ซึ่งอาจจะมีคนเสียชีวิตตามมาอีกเยอะ
(ผลกระทบแบบเปิดประตูระเบิดบนโลกแห่งความจริง เช่น ถ้าโลกนี้ไม่ใช่ทุนนิยม ไม่มีระบบเงินตรา ทุกคนก็ต้องไปออกป่าล่าสัตว์เอาเอง ปลูกข้าวเอง ไม่มีชลประทาน คนจะรอดมั้ยนะ?)
หรือเราจะยอมเป็นส่วนหนึ่งของระบบ โดยประพฤติตนเป็นคนหัวขบวนแทน
ซี่งการปฏิวัติจากคนท้ายขบวนก็จะตามมาอีก ไม่จบไม่สิ้น
ความสงบสุขบนรถไฟอาจจะเกิดขึ้นได้ถ้ามีการแบ่งปัน
และทำให้ทุกคนเข้าใจหน้าที่ของตัวเองมากกว่านี้
แต่ถึงจะเข้าใจ มันก็น่าคิดต่อว่า ถ้าจำนวนประชากรเกิน
ใครล่ะจะอาสาเป็นผู้เสียสละ เพื่อให้ประชากรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกันล่ะ ?
----------------------------------------
ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ
ขอฝากบล็อกไว้สักเล็กน้อย
ปกติผมเขียนรีวิวหนังอยู่ที่นี่นะครับ
นี่เป็นกระทู้รีวิวหนังกระทู้แรกของผมใน PANTIP เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/mereviewth/
[CR] Snowpiercer [วิเคราะห์หนัง] การแบ่งชนชั้นและความเท่าเทียม (Spoil) by Me Review
เป็นหนังที่ถ้านับความสนุกคือเฉยๆนะ ไม่ได้สนุกอะไรมาก แต่ประเด็นที่หนังสอดแทรกไว้เรียกว่าเยอะมาก และหลายประเด็นน่าสนใจมากด้วย เลยขอเขียนรีวิวแบบสปอยล์ซะหน่อยแล้วกันนะครับ
::การแบ่งชนชั้นและความเท่าเทียม::
หนังนำเสนอประเด็นเรื่องการแบ่งชนชั้นไว้ชัดเจนมากที่สุดในเรื่อง โดยระบุไว้ว่าคนที่ขึ้นรถไฟจะมีตั๋วFirst Class ไปจนถึง ขึ้นฟรี
แน่นอนว่ากลุ่มคนที่ขึ้นฟรีนั้นมีอยู่เต็มไปหมด และไม่ได้รับการดูแลอย่างดีเหมือนกับกลุ่มคนที่อยู่หัวขบวน
มันจึงไม่แปลกที่จะเกิดการเปรียบเทียบ
‘ทำไมเขาได้กินสเต๊ก แต่เราได้กินแค่แท่งโปรตีน’
นั่นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของความไม่เท่าเทียม
ที่นำไปสู่การปฏิวัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนรถไฟขบวนนี้
แต่หากมองกลับไปที่จุดเริ่มต้นแล้ว
ในมุมของเจ้าของรถไฟหรือชนชั้นนำที่เสียเงินขึ้นมา
ถ้ารถไฟขบวนนี้ไม่เปิดให้ขึ้นฟรี
คนกลุ่มนี้คงจะตายเรียบ
และไม่มีโอกาสได้มีชีวิตมาเรียกร้องอะไรอีก
ในเมื่อขึ้นมาฟรีก็ไม่ควรได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมรึเปล่า?
ก็ขึ้นมาฟรี อยู่ฟรี ยังจะขอกินของดีๆฟรีๆอีกอย่างนั้นหรือ?
ถ้าแบบนั้นจะมีการเสียเงินขึ้นมาบนขบวนทำไม
ในเมื่อตั้งแต่ก้าวเท้าขึ้นรถไฟ มันก็ไม่เท่าเทียมกันแล้ว
คนเสียเงิน ได้จ่ายเพื่อแลกเปลี่ยนกับความสะดวกสบาย
แต่คนขึ้นฟรี ไม่ได้จ่ายอะไร แต่กลับเรียกร้องไม่มีที่สิ้นสุด (จนกว่าจะเท่าเทียม)
::ชนชั้นหรือหน้าที่?::
หากมองดูในช่วงแรก หนังเหมือนจะพาเราไปสู่โลกย่อส่วนที่มีการแบ่งชนชั้น
แต่หากมองดีๆแล้วมันไม่ใช่แค่เรื่องของชนชั้น แต่มีเรื่องของหน้าที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
คนท้ายขบวนที่มีความสามารถ เช่น
คนที่เล่นดนตรีได้ จะถูกเรียกไปขับกล่อมเพื่อความบันเทิงของคนหัวขบวน
เด็กที่มีส่วนสูงตามที่กำหนด จะต้องไปทำหน้าที่แทนเครื่องจักรที่ชำรุด
รวมไปถึงคนที่เป็นพ่อครัวทำโปรตีนแท่ง
นี่จึงเป็นสาเหตุที่มีตั๋วฟรี เพราะถ้าขบวนนี้มีแต่ชนชั้นนำ
แล้วใครจะมาทำหน้าที่เหล่านี้
จ่ายค่าตั๋วมาตั้งแพง ย่อมอยากอยู่สบายๆ ไม่งั้นจะจ่ายทำไม
ในเมื่อจ่ายมาแล้ว คนที่ขึ้นฟรี ก็เหมือนถูกจ้างให้มาทำหน้าที่เหล่านี้แทน
::ไม่ทำหน้าที่ ไม่เสียสละ = ไม่รอด::
ภาพเด็กถูกนำไปทำหน้าที่แทนเครื่องจักร ดูเป็นอะไรที่โหดร้ายมาก
แต่หากฟังเงื่อนไขของคนสร้างรถไฟขึ้นมาแล้ว มันเป็นประเด็นที่น่าสนใจนะ
ประเด็นนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อนและเถียงกันได้ไม่จบ (มันไม่มีใครถูกหรือผิด 100%หรอก อยู่ที่เราเชื่อแบบไหน)
ถามว่าใช้แรงงานเด็กต่อเนื่องแบบนั้น ถูกต้องมั้ย ในมุมของเด็กหรือแม่เด็ก ก็คงต้องมองว่าไม่ถูก ไม่ควร
แต่หากมองภาพรวมทั้งระบบแล้ว มันมีแต่เด็กที่ส่วนสูงเท่านี้เท่านั้น ที่สามารถทำแบบนี้ได้
การเสียสละของเด็ก ทำให้คนบนรถไฟทั้งขบวนอยู่รอดได้ ไม่ใช่แค่ชนชั้นสูงที่นั่งทำผม หรือ เสพยาไปวันๆ แต่รวมถึงพวกที่กำลังปฏิวัติด้วย
เรากำลังมองว่าอยากให้เด็กรอด หรือ อยากให้คนทั้งรถไฟรอดกันล่ะ?
คำถามแบบนี้เถียงกันให้ตายก็ไม่จบ
เพราะเรามักจะมีหลักคิดที่ต้องเสียสละให้เด็ก
แต่เรื่องนี้มันก็มีแต่เด็กที่ทำได้
และถ้ารถไฟไปต่อไม่ได้ เด็กซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟก็ต้องตายด้วยอยู่ดี
เราจะยอมโหดร้ายกับเด็กเพื่อรักษาระบบ หรือ เราจะทิ้งระบบเพื่อที่จะรักษาคุณธรรม (แต่อาจไม่มีใครรอดเลย)
ซึ่งพระเอกรู้สึกว่าสิ่งนี้มันไม่ถูก เลยระเบิดประตูรถไฟ ทำให้รถไฟคว่ำ
ซึ่งจะมองว่า ‘โห พระเอกเป็นคนดีจังเลย ยอมช่วยเด็ก’
แต่อย่าลืมว่าบนรถนั่น ทั้งทหาร คนท้ายขบวน(ที่ยังอาจเหลือรอด)
เด็กที่เรียนหนังสือ (เป็นเด็กเหมือนกันนะ) ชนชั้นนำที่ทำผม ดมกาวไปวันๆ ต้องตายเรียบทั้งหมด
แบบนี้เราจะเรียกว่าสิ่งที่พระเอกทำมีคุณธรรมได้รึเปล่า?
::ความอำมหิต/ความหิว/ความผิดของใคร::
พระเอกบอกว่าเกลียดคนสร้างรถไฟขบวนนี้ เพราะปล่อยเค้าไว้ท้ายขบวนโดยไม่มีอาหารเป็นเดือน
ทำให้พระเอกฆ่าแม่ของเด็กคนนึง เพราะอยากจะกินเด็ก
นาทีนั้นพระเอกหิว แต่ไม่มีแท่งโปรตีนแจกเหมือนช่วงที่หนังเริ่มเล่า
ถ้ามองในมุมพระเอกแล้ว อาจจะเหมือนว่าคนคุมขบวนได้กินของดีๆ แต่ทำไมไม่แบ่ง
ทำให้ความอำมหิตของพระเอกถูกปลุกขึ้นมาจากความหิว
แต่ในมุมของเจ้าของขบวน คนพวกนี้ขึ้นมาก็ฟรี เรียกร้องจะกิน จะกิน
ซึ่งยังไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้ขบวนรถไฟนี้เลย
และสมดุลก็ยังไม่เกิด ถ้าทุกคนได้กินของดีๆกันหมด
มันดูเหมือนจะดี แต่รถไฟก็คงอยู่ต่อไปไม่ได้
เพราะปลาที่จะกลายเป็นซูชิ ก็คงจะเกิดไม่ทัน
สุดท้ายอาจจะไม่ใช่แค่ท้ายขบวนที่ฆ่ากันตาย
แต่รวมถึงพวกหัวขบวนด้วย
ทรัพยากรบนโลกของเราเอง ก็มีจำนวนจำกัดเช่นกัน
ทุกวันนี้มันดูเหมือนพวกเรากินดีอยู่ดีได้ แต่พวกเราก็กำลังเผาผลาญทรัพยากรบนโลกนี้ไปเหมือนกัน
ระบบทุนนิยมว่ามีเงินก็ซื้อนั่นซื้อนี่ได้ เป็นแค่มายา
ของจริงคือ บนโลกใบนี้เหลือทรัพยากรเท่าไหร่
พระเอกขึ้นมาก็ฟรี แต่เรียกร้องอยากได้นั่นอยากได้นี่
พอไม่ได้ก็โทษว่าเป็นความผิดของคนสร้างรถไฟที่ทำให้พระเอกอดอยากจนต้องโหดเหี้ยม
ทั้งๆที่ยังมีคนอื่นที่ยอมสละแขนตัวเองเพื่อให้เด็กรอดด้วยซ้ำ
ถ้ามองอีกมุมนึง มันก็ไม่ต่างกับการที่เรามองว่า
คนที่ไม่จ่ายอะไรเลย แต่เรียกร้องอยากได้นั่นได้นี่ไปหมด แล้วใครจะไปทำให้ได้
ทรัพยากรมีจำกัด คนลงทุน ลงแรง ก็ควรจะได้สิ่งตอบแทนดีๆ
ไม่งั้นก็ไม่มีใครลงทุน ไม่มีใครซื้อตั๋ว รถไฟก็คงไม่เกิดขึ้นมา
บางมุมผมก็เหมือนจะเข้าข้างเจ้าของรถไฟนะ แม้จะโหด แต่ถ้าไม่ทำระบบก็ล่ม
ในมุมพระเอกเอง จริงๆก็อาจจะไม่ผิดที่คิดว่าคนอื่นเรียกขึ้นรถ แล้วปล่อยทิ้งๆขว้างๆ ทำให้คนต้องฆ่ากันเอง
แต่ผมว่ามันก็เหมือนพระเอกอิจฉาคนหัวขบวนที่ได้กินดีอยู่ดีนั่นแหละ
มันเลยเกิดการเรียกร้องว่า ทำไมคนนั้นได้ แล้วเราไม่ได้แบบเขา
ทั้งๆที่จุดเริ่มต้นของแต่ละคนมันก็ไม่เท่ากันแล้ว (จ่ายไม่เท่ากัน)
::สงครามไม่ทำให้อะไรดีขึ้น::
สิ่งที่แสบที่สุดของหนังเรื่องนี้ คือ ตาแก่หลังรถไฟที่จริงๆแล้วเป็นเพื่อนกับคนที่หัวรถไฟ คอยยุยงปลุกปั่นให้คนตีกัน เพื่อจะลดจำนวนประชากรบนรถไฟ
เอาจริงๆ เหตุการณ์นี้ ผมแอบนึกถึงบรรดาม๊อบทั้งหลายแหล่เหมือนกันนะ มีคนสั่งการ และก็มีคนที่คลุกคลีกับคนที่ต้องการเรียกร้อง
แท้จริงแล้วผลประโยชน์จากสงครามนี้ (กลับมาในหนังนะ) คือ คนที่รอดชีวิตจากสงคราม ที่ไม่มีประชากรมาแย่งอาหารที่มีจำกัดนั่นเอง
แต่พระเอกไม่เข้าใจตรงจุดนี้ในตอนแรก เลยบุกต่อไปจนถึงหัวขบวน พระเอกไม่ได้คิดเรื่องลดจำนวนประชากร เพื่อรักษาระบบ แต่พระเอกกำลังคิดทำสงคราม
คิดแต่ว่าจะชนะ ไม่หยุดตั้งแต่ตอนที่ได้เนื้อที่เพิ่ม
ซึ่งเมื่อถึงจุดสุดท้ายที่ความแค้นทั้งหลายแหล่พรั่งพรูออกมา
ความแค้นและไฟสงครามก็ทำให้มนุษยชาติเหลือเพียงเด็กสองคนที่ไม่เคยอยู่นอกขบวนรถไฟมาก่อน (แล้วจะไปรอดมั้ย)
คนที่เหลือตายเรียบ ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น มีบางคนยังได้กินซูชิ บางคนยังได้กินสเต๊ก บางคนอาจจะได้แท่งโปรตีน แต่ก็ยังมีชีวิตรอด
สงครามทำลายทุกสิ่ง ทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และทรัพยากรบนรถไฟ
::ความสงบสุขบนรถไฟ::
เราอาจคาดหวังให้รถไฟขบวนนี้สงบสุข (โลก)
แต่ตราบใดที่คนกลุ่มหนึ่งบนรถขบวนนี้ยังรู้สึกไม่เท่าเทียม ก็จะเกิดการเรียกร้อง
ในขณะที่คนที่อยู่หัวขบวน
ก็ไม่อยากจะสละความสุขสบายส่วนตัวมาเพื่อแบ่งคนกลุ่มนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนหัวขบวนก็จะขัดขวางการเปลี่ยนแปลงระบบ
ส่วนคนท้ายขบวนก็พยายามจะเปลี่ยนแปลงระบบ
เพราะคาดหวังว่าระบบมันจะดีขึ้น
ซึ่งเมื่อคนท้ายขบวนต่อสู้จนถึงที่สุดแล้ว
มันก็เหลือเพียงตัวเลือกว่าจะทำลายทั้งระบบ ซึ่งอาจจะมีคนเสียชีวิตตามมาอีกเยอะ
(ผลกระทบแบบเปิดประตูระเบิดบนโลกแห่งความจริง เช่น ถ้าโลกนี้ไม่ใช่ทุนนิยม ไม่มีระบบเงินตรา ทุกคนก็ต้องไปออกป่าล่าสัตว์เอาเอง ปลูกข้าวเอง ไม่มีชลประทาน คนจะรอดมั้ยนะ?)
หรือเราจะยอมเป็นส่วนหนึ่งของระบบ โดยประพฤติตนเป็นคนหัวขบวนแทน
ซี่งการปฏิวัติจากคนท้ายขบวนก็จะตามมาอีก ไม่จบไม่สิ้น
ความสงบสุขบนรถไฟอาจจะเกิดขึ้นได้ถ้ามีการแบ่งปัน
และทำให้ทุกคนเข้าใจหน้าที่ของตัวเองมากกว่านี้
แต่ถึงจะเข้าใจ มันก็น่าคิดต่อว่า ถ้าจำนวนประชากรเกิน
ใครล่ะจะอาสาเป็นผู้เสียสละ เพื่อให้ประชากรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกันล่ะ ?
----------------------------------------
ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ
ขอฝากบล็อกไว้สักเล็กน้อย
ปกติผมเขียนรีวิวหนังอยู่ที่นี่นะครับ
นี่เป็นกระทู้รีวิวหนังกระทู้แรกของผมใน PANTIP เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้