ชีวิต 3 วัย
"หากบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้ พึงรักษาตนนั้นไว้ให้ดี บัณฑิตควรประคับประคองตนไว้ ในบรรดาวัยทั้งสาม อย่างน้อยที่สุดก็รักษาตนไว้ในวัยใดวัยหนึ่ง"
ช่วงชีวิตสามารถแบ่งได้เป็น 3 วัย
1.วัยเด็ก ซึ่งช่วงนี้พ่อแม่เป็นบุคคลสำคัญ เป็นต้นแบบในการทำตนให้เป็นคนดี สอนให้รู้จักทำบุญกุศล ตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่อเติบโตขึ้น เด็กจะคุ้นกับการทำความดี และจะเป็นคนดีของสังคม
2.วัยหนุ่ม สาว เป็นวัยที่ควรได้ความรู้ที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต และรู้ว่าทำอย่างไรเรียกว่าความชั่ว ทำอย่างไรเป็นการทำความดี รู้เป้าหมายชีวิตชัดเจน เนื่องจากมีสิ่งยั่วยุรอบตัวให้เขวไปทำสิ่งไม่ดีได้ง่ายๆ
3.วัยชรา ความแข็งแรงของร่างกายเริ่มถดถอย มีโรคภัยไข้เจ็บมาเยือน แต่ถ้าหากเราตั้งใจจริงที่จะเรียนรู้ธรรมะและปฏิบัติตนตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ถือว่ายังไม่สายเกินไป
เนื่องจากความตายไม่มีนิมิตหมาย หากไม่ได้ทำความดีในวัยใดวัยหนึ่ง จะเป็นชีวิตที่สูญเปล่า พระพุทธองค์จึงตรัสว่า พวกคนเขลา ไม่กระทำความดี ไม่ขวนขวายหาทรัพย์ในคราวเป็นหนุ่ม ย่อมซบเซา ดังนกกระเรียนแก่ ที่ซบเซาอยู่ในเปือกตมที่หมดปลา เขาย่อมนอนทอดถอนใจถึงทรัพย์เก่าที่หมดไป
ผมว่าทั้ง 3 วัยมีความสำคัญ ถ้าเราไม่เจอคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นอันตรายอย่างยิ่ง จริงๆชีวิตของเรามันสั้นอายุขัยเฉลี่ย ก็แค่ 75 ปี ต้องหมั่นทำความดีทุกช่วงเวลาชีวิตครับ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๙๒ - ๗๒๐. หน้าที่ ๓๐ - ๓๑.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=692&Z=720&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=22
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[22]
http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=25&item=22&Roman=0
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๕
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_25
ชีวิต 3 วัย
"หากบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้ พึงรักษาตนนั้นไว้ให้ดี บัณฑิตควรประคับประคองตนไว้ ในบรรดาวัยทั้งสาม อย่างน้อยที่สุดก็รักษาตนไว้ในวัยใดวัยหนึ่ง"
ช่วงชีวิตสามารถแบ่งได้เป็น 3 วัย
1.วัยเด็ก ซึ่งช่วงนี้พ่อแม่เป็นบุคคลสำคัญ เป็นต้นแบบในการทำตนให้เป็นคนดี สอนให้รู้จักทำบุญกุศล ตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่อเติบโตขึ้น เด็กจะคุ้นกับการทำความดี และจะเป็นคนดีของสังคม
2.วัยหนุ่ม สาว เป็นวัยที่ควรได้ความรู้ที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต และรู้ว่าทำอย่างไรเรียกว่าความชั่ว ทำอย่างไรเป็นการทำความดี รู้เป้าหมายชีวิตชัดเจน เนื่องจากมีสิ่งยั่วยุรอบตัวให้เขวไปทำสิ่งไม่ดีได้ง่ายๆ
3.วัยชรา ความแข็งแรงของร่างกายเริ่มถดถอย มีโรคภัยไข้เจ็บมาเยือน แต่ถ้าหากเราตั้งใจจริงที่จะเรียนรู้ธรรมะและปฏิบัติตนตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ถือว่ายังไม่สายเกินไป
เนื่องจากความตายไม่มีนิมิตหมาย หากไม่ได้ทำความดีในวัยใดวัยหนึ่ง จะเป็นชีวิตที่สูญเปล่า พระพุทธองค์จึงตรัสว่า พวกคนเขลา ไม่กระทำความดี ไม่ขวนขวายหาทรัพย์ในคราวเป็นหนุ่ม ย่อมซบเซา ดังนกกระเรียนแก่ ที่ซบเซาอยู่ในเปือกตมที่หมดปลา เขาย่อมนอนทอดถอนใจถึงทรัพย์เก่าที่หมดไป
ผมว่าทั้ง 3 วัยมีความสำคัญ ถ้าเราไม่เจอคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นอันตรายอย่างยิ่ง จริงๆชีวิตของเรามันสั้นอายุขัยเฉลี่ย ก็แค่ 75 ปี ต้องหมั่นทำความดีทุกช่วงเวลาชีวิตครับ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๙๒ - ๗๒๐. หน้าที่ ๓๐ - ๓๑.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=692&Z=720&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=22
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[22] http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=25&item=22&Roman=0
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๕
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_25