โครงการผันน้ำโขงจากปากแม่น้ำเลย อ.เชียงคาน จ.เลย ผ่านอุโมงค์ส่งน้ำให้ไหลไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก (ไม่เสียค่าสูบน้ำ) เพื่อลดความแห้งแล้งให้แผ่นดินอีสานคืบหน้าไปอีกขั้น
สัปดาห์ที่ผ่านมา กรมชลประทานเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศด้านอุโมงค์ส่งน้ำ ให้มาช่วยกันระดมสมองเรื่อง “การออกแบบอุโมงค์ส่งน้ำที่มีความยาวมาก” เพราะบ้านเรายังไม่เคยมีการทำอุโมงค์ส่งน้ำที่มีความยาวมากขนาดนี้มาก่อน
ที่ทำๆกันมา อุโมงค์ส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ไปยังอ่างฯลำพะยังตอนบน ยาวแค่ 760 ม. อุโมงค์ส่งน้ำจากอ่างฯแม่งัดสมบูรณ์ชลไปยังอ่างฯ แม่กวงอุดมธารา นั่นก็ยาวแค่ 23 กม.
ในขณะที่โครงการเติมน้ำให้แผ่นดินอีสาน มีอุโมงค์ส่งน้ำ 2 เส้นทาง ...1.แนวผันน้ำโขงอีสาน ใช้อุโมงค์ส่งน้ำยาวถึง 54 กม. จากเลยไปลงหนองบัวลำภู เพื่อป้อนน้ำให้ภาคอีสานตอนบน...2.แนวผันน้ำชีมูล ใช้อุโมงค์ยาว 85 กม. จากเลยไปขอนแก่น ลงเขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อจ่ายให้แม่น้ำชีและมูล หล่อเลี้ยงภาคอีสานตอนใต้
ส่วนความเป็นไปได้ของโครงการ ดร.สมเกียรติ ประจำวงศ์ ผอ.สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน มองไปที่แนวผันน้ำชีมูล เพราะเป็นพื้นที่แห้งแล้งรุนแรงมากกว่า โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ประสบปัญหาขาดน้ำทุกปี จำเป็นต้องเร่งทำขึ้นมาก่อน
แต่เนื่องจากราคาค่าก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำ กม.ละ 600 ล้านบาท ถ้าไม่คิดคำนวณให้ดี เกิดมีปัญหาน้ำไม่ไหลได้เหมือนที่คิด งบประมาณจะสูญเปล่า...แม้อุโมงค์ที่จะสร้างขึ้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 เมตร ถ้าคิดง่ายๆ แบบชาวบ้าน อุโมงค์ออกใหญ่โตขนาดนั้น ยังไงน้ำต้องไหลได้แน่ๆ
แต่คนที่ทำงานด้านนี้มายาวนาน อย่าง ดร.สมเกียรติ ให้ความเห็น ถ้าเป็นระยะทางสั้นๆแค่ไม่กี่ กม.ไม่มีปัญหา...แต่นี่ยาวเกือบ 100 กม. ไม่ต่างอะไรกับเอาน้ำใส่หลอดกาแฟ ที่เลี้ยวลดคดไปมาตามภูมิประเทศ น้ำอาจจะไม่ไหลออกมามากเหมือนที่คิดก็เป็นได้ เพราะไม่ใช้เครื่องสูบน้ำช่วย ฉะนั้นจะทำอะไรต้องรอบคอบ ฟังผู้รู้ที่มีประสบการณ์จริงมาช่วยติติง และแก้ไขข้อบกพร่อง ก่อนจะลงมือทำจริง...จะได้มั่นใจทำไปแล้ว ได้น้ำคุ้มจริง
ก็ได้แต่หวัง...อย่าได้คิดนาน วิเคราะห์เพลิน เพราะภัยแล้งจี้ก้นถี่กระชั้นทุกปี จนชาวบ้านไม่มีจะกินแล้วนะท่าน.
***** โขง-เลย-ชี-มูล...กระดื๊บๆ !!!! สมกับเป็น รบ ที่มาจากระบบ ราชการ ( เต่า ) ****** ( by : Robinhood 9 )
โครงการผันน้ำโขงจากปากแม่น้ำเลย อ.เชียงคาน จ.เลย ผ่านอุโมงค์ส่งน้ำให้ไหลไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก (ไม่เสียค่าสูบน้ำ) เพื่อลดความแห้งแล้งให้แผ่นดินอีสานคืบหน้าไปอีกขั้น
สัปดาห์ที่ผ่านมา กรมชลประทานเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศด้านอุโมงค์ส่งน้ำ ให้มาช่วยกันระดมสมองเรื่อง “การออกแบบอุโมงค์ส่งน้ำที่มีความยาวมาก” เพราะบ้านเรายังไม่เคยมีการทำอุโมงค์ส่งน้ำที่มีความยาวมากขนาดนี้มาก่อน
ที่ทำๆกันมา อุโมงค์ส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ไปยังอ่างฯลำพะยังตอนบน ยาวแค่ 760 ม. อุโมงค์ส่งน้ำจากอ่างฯแม่งัดสมบูรณ์ชลไปยังอ่างฯ แม่กวงอุดมธารา นั่นก็ยาวแค่ 23 กม.
ในขณะที่โครงการเติมน้ำให้แผ่นดินอีสาน มีอุโมงค์ส่งน้ำ 2 เส้นทาง ...1.แนวผันน้ำโขงอีสาน ใช้อุโมงค์ส่งน้ำยาวถึง 54 กม. จากเลยไปลงหนองบัวลำภู เพื่อป้อนน้ำให้ภาคอีสานตอนบน...2.แนวผันน้ำชีมูล ใช้อุโมงค์ยาว 85 กม. จากเลยไปขอนแก่น ลงเขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อจ่ายให้แม่น้ำชีและมูล หล่อเลี้ยงภาคอีสานตอนใต้
ส่วนความเป็นไปได้ของโครงการ ดร.สมเกียรติ ประจำวงศ์ ผอ.สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน มองไปที่แนวผันน้ำชีมูล เพราะเป็นพื้นที่แห้งแล้งรุนแรงมากกว่า โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ประสบปัญหาขาดน้ำทุกปี จำเป็นต้องเร่งทำขึ้นมาก่อน
แต่เนื่องจากราคาค่าก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำ กม.ละ 600 ล้านบาท ถ้าไม่คิดคำนวณให้ดี เกิดมีปัญหาน้ำไม่ไหลได้เหมือนที่คิด งบประมาณจะสูญเปล่า...แม้อุโมงค์ที่จะสร้างขึ้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 เมตร ถ้าคิดง่ายๆ แบบชาวบ้าน อุโมงค์ออกใหญ่โตขนาดนั้น ยังไงน้ำต้องไหลได้แน่ๆ
แต่คนที่ทำงานด้านนี้มายาวนาน อย่าง ดร.สมเกียรติ ให้ความเห็น ถ้าเป็นระยะทางสั้นๆแค่ไม่กี่ กม.ไม่มีปัญหา...แต่นี่ยาวเกือบ 100 กม. ไม่ต่างอะไรกับเอาน้ำใส่หลอดกาแฟ ที่เลี้ยวลดคดไปมาตามภูมิประเทศ น้ำอาจจะไม่ไหลออกมามากเหมือนที่คิดก็เป็นได้ เพราะไม่ใช้เครื่องสูบน้ำช่วย ฉะนั้นจะทำอะไรต้องรอบคอบ ฟังผู้รู้ที่มีประสบการณ์จริงมาช่วยติติง และแก้ไขข้อบกพร่อง ก่อนจะลงมือทำจริง...จะได้มั่นใจทำไปแล้ว ได้น้ำคุ้มจริง
ก็ได้แต่หวัง...อย่าได้คิดนาน วิเคราะห์เพลิน เพราะภัยแล้งจี้ก้นถี่กระชั้นทุกปี จนชาวบ้านไม่มีจะกินแล้วนะท่าน.