คนไทยและชาวต่างชาติที่มาเยือนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ ไม่เพียงสถานที่ท่องเที่ยว,ร้านอาหาร และร้านค้าที่เนืองแน่นด้วยนักท่องเที่ยว หากแต่ศาลเจ้าและวัดก็เต็มไปด้วยคำขอพรที่เขียนด้วยภาษาไทย จนบางแห่งต้องจัดทำเซียมซีแปลเป็นภาษาไทยด้วย
เอะมะ หรือ ป้ายขอพรในศาลเจ้าและวัดของญี่ปุ่น เป็นสัญลักษณ์ใหม่ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาญี่ปุ่นอย่างคับคั่ง โดยป้ายของพรซึ่งเดิมมีแต่ภาษาญี่ปุ่น เริ่มปรากฏคำขอพรที่เขียนเป็นภาษาต่างชาติจำนวนมาก
วัดน้ำใส หรือ คิโยมิสุ เดระ ที่นครเกียวโต หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เปิดเผยว่า เดิมที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมถ่ายรูปคู่กับเอมะเป็นที่ระลึก แต่ 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเขียนคำขอพรลงในเอะมะมากขึ้น จากการสำรวจพบว่า คำขอพรภาษาต่างชาติที่พบบนเอะมะมากที่สุด คือ ภาษาจีน,เกาหลี,อังกฤษ และภาษาไทย
สื่อมวลชนญี่ปุ่นเคยสำรวจป้ายขอพรภาษาต่างชาติตามศาลเจ้าดังในแดนอาทิตย์อุทัย พบว่า คำขอพรของคนไทยมีเอกลักษณ์พิเศษ คือมักจะขอให้ครอบครัวมีความสุข พ่อแม่สุขภาพแข็งแรง ลูกหลานประสบความสำเร็จในการเล่าเรียน
คำขอพรเหล่านี้สะท้อนความผูกพันในครอบครัวของคนไทย และการให้ความสำคัญกับการศึกษา แตกต่างจากคำขอพรของชาวตะวันตกที่ขอพรให้เฉพาะตัวเอง บางคนเขียนแค่เป็นที่ระลึกว่าได้มาเยือนที่นี่แล้ว ขณะที่ชาวจีนและเกาหลีนิยมขอให้ทำมาค้าขึ้น
ชาวญี่ปุ่นที่คุ้นเคยกับประเทศไทยให้ความเห็นว่า คนไทยผูกพันกับศาสนาและความเชื่อเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คำขอพรของคนไทยยังแสดงถึงจิตใจที่โอบอ้อมอารีและนึกถึงคนอื่นของคนไทย โดยพบว่าคนไทยนิยมขอพรให้กับลูกหลานมากที่สุด
ชาวไทยบางคนยังประทับในแดนอาทิตย์อุทัย ถึงขนาดที่เขียนขอพรให้ "ได้กลับมาที่นี่อีก" หรือ "ได้มาหลายๆครั้ง" ซึ่งตรงกับความเชื่อของชาวไทยและชาวญี่ปุ่นที่ว่า "มีวาสนาจึงได้มา มีบุญต่อกันจึงได้พานพบ"
เอะมะ คือ ป้ายขอพรในศาลเจ้าหรือวัดญี่ปุ่น มีที่มาจากสมัยโบราณที่ผู้คนมักจะนำม้าไปบริจาคให้กับศาลเจ้า และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นป้ายไม้ที่มีรูปม้าแทน โดยปกติแล้วเอะมะจะเป็นแผ่นไม้รูปทรง 5 เหลี่ยมเพื่อเขียนคำขอพรและชื่อของเจ้าของ หากแต่ทุกวันนี้ศาลเจ้าและวัดหลายแห่งได้ปรับเปลี่ยนเอมะให้มีรูปร่างที่น่ารักและดึงดูดใจมากขึ้น เช่น ใช้ตัวการ์ตูนต่างๆ หรือที่ศาลเจ้าอินาริ ที่นครเกียวโต ก็ทำเอะมะเป็นรูปสุนัขจิ้งจอก เป็นต้น.
ข่าวจาก : MGR Online
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000018488
Exclusive! คนไทยเที่ยวญี่ปุ่นมากแค่ไหน พิสูจน์ได้ที่ “ศาลเจ้า”
คนไทยและชาวต่างชาติที่มาเยือนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ ไม่เพียงสถานที่ท่องเที่ยว,ร้านอาหาร และร้านค้าที่เนืองแน่นด้วยนักท่องเที่ยว หากแต่ศาลเจ้าและวัดก็เต็มไปด้วยคำขอพรที่เขียนด้วยภาษาไทย จนบางแห่งต้องจัดทำเซียมซีแปลเป็นภาษาไทยด้วย
เอะมะ หรือ ป้ายขอพรในศาลเจ้าและวัดของญี่ปุ่น เป็นสัญลักษณ์ใหม่ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาญี่ปุ่นอย่างคับคั่ง โดยป้ายของพรซึ่งเดิมมีแต่ภาษาญี่ปุ่น เริ่มปรากฏคำขอพรที่เขียนเป็นภาษาต่างชาติจำนวนมาก
วัดน้ำใส หรือ คิโยมิสุ เดระ ที่นครเกียวโต หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เปิดเผยว่า เดิมที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมถ่ายรูปคู่กับเอมะเป็นที่ระลึก แต่ 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเขียนคำขอพรลงในเอะมะมากขึ้น จากการสำรวจพบว่า คำขอพรภาษาต่างชาติที่พบบนเอะมะมากที่สุด คือ ภาษาจีน,เกาหลี,อังกฤษ และภาษาไทย
สื่อมวลชนญี่ปุ่นเคยสำรวจป้ายขอพรภาษาต่างชาติตามศาลเจ้าดังในแดนอาทิตย์อุทัย พบว่า คำขอพรของคนไทยมีเอกลักษณ์พิเศษ คือมักจะขอให้ครอบครัวมีความสุข พ่อแม่สุขภาพแข็งแรง ลูกหลานประสบความสำเร็จในการเล่าเรียน
คำขอพรเหล่านี้สะท้อนความผูกพันในครอบครัวของคนไทย และการให้ความสำคัญกับการศึกษา แตกต่างจากคำขอพรของชาวตะวันตกที่ขอพรให้เฉพาะตัวเอง บางคนเขียนแค่เป็นที่ระลึกว่าได้มาเยือนที่นี่แล้ว ขณะที่ชาวจีนและเกาหลีนิยมขอให้ทำมาค้าขึ้น
ชาวญี่ปุ่นที่คุ้นเคยกับประเทศไทยให้ความเห็นว่า คนไทยผูกพันกับศาสนาและความเชื่อเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คำขอพรของคนไทยยังแสดงถึงจิตใจที่โอบอ้อมอารีและนึกถึงคนอื่นของคนไทย โดยพบว่าคนไทยนิยมขอพรให้กับลูกหลานมากที่สุด
ชาวไทยบางคนยังประทับในแดนอาทิตย์อุทัย ถึงขนาดที่เขียนขอพรให้ "ได้กลับมาที่นี่อีก" หรือ "ได้มาหลายๆครั้ง" ซึ่งตรงกับความเชื่อของชาวไทยและชาวญี่ปุ่นที่ว่า "มีวาสนาจึงได้มา มีบุญต่อกันจึงได้พานพบ"
เอะมะ คือ ป้ายขอพรในศาลเจ้าหรือวัดญี่ปุ่น มีที่มาจากสมัยโบราณที่ผู้คนมักจะนำม้าไปบริจาคให้กับศาลเจ้า และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นป้ายไม้ที่มีรูปม้าแทน โดยปกติแล้วเอะมะจะเป็นแผ่นไม้รูปทรง 5 เหลี่ยมเพื่อเขียนคำขอพรและชื่อของเจ้าของ หากแต่ทุกวันนี้ศาลเจ้าและวัดหลายแห่งได้ปรับเปลี่ยนเอมะให้มีรูปร่างที่น่ารักและดึงดูดใจมากขึ้น เช่น ใช้ตัวการ์ตูนต่างๆ หรือที่ศาลเจ้าอินาริ ที่นครเกียวโต ก็ทำเอะมะเป็นรูปสุนัขจิ้งจอก เป็นต้น.
ข่าวจาก : MGR Online
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000018488