#เจาะลึกเลือกตั้ง โดย : 'ลูกแม่กิ่ง'
‘ประธานฟีฟ่า’ : สู่ยุคใหม่วงการลูกหนังจริงหรือไม่!?
ตลอดระยะเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมาสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือ“ฟีฟ่า” เผชิญกับวิกฤตินับครั้งไม่ถ้วนจากปัญหาการกระทำทุจริตมากมายในระดับของผู้บริหารชั้นสูงซึ่งส่งผลให้มีผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากถูกสั่งดำเนินคดีทางกฏหมายในเวลานี้
หนึ่งในนั้นคือเซปป์แบลตเตอร์ประธานฟีฟ่าที่ดำรงค์ตำแหน่งมากว่า 17 ปีนับตั้งแต่สืบทอดอำนาจต่อจากประธานคนเก่าโจอัวฮาเวลานจ์เมื่อปี 1998 ผู้ครองอำนาจสูงสุดในฟีฟ่ามาตั้งแต่ปี 1974 โดยประมุขลูกหนังชาวสวิตเซอร์แลนด์พ่ายแพ้ในเกมอำนาจที่พยายามยื้อทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้กับตัว
โดยแม้ว่าจะพยายามจนได้รับชัยชนะในการโหวตเลือกตั้งในวันที่ 29 พฤษภาคมปีกลายแต่เป็นการเลือกตั้งที่เสื่อมเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์เนื่องจากก่อนมีการเลือกตั้ง 2 วันทางการสวิตเซอร์แลนด์ร่วมกับ FBI บุกเข้ารวบผู้บริหารระดับสูงของฟีฟ่าจำนวน 14 รายและดำเนินคดีข้อหาคอร์รัปชั่นทำให้เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ได้รับการยอมรับ
ด้านแบลตเตอร์แถลงในวันที่ 2 มิถุนายนว่าเขาพร้อมลาออกจากตำแหน่งประธานฟีฟ่าแต่ก็กลับคำพูดในภายหลังและพยายามจะมีส่วนร่วมในการสมัครลงชิงตำแหน่งอีกสมัย
แต่ท้ายที่สุดแล้วการเลือกตั้งประธานฟีฟ่าคนใหม่ซึ่งถูกกำหนดขึ้นในวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ไม่มีชื่อของแบลตเตอร์ที่ถูกตัดสิทธิ์เนื่องจากถูกฟีฟ่าลงโทษแบนเป็นระยะเวลา 8 ปี (ก่อนจะลดเหลือ 6 ปีตามลำดับ)
เช่นกันกับ“นโปเลียนลูกหนัง” มิเชลพลาตินี่ที่ถูกสั่งลงโทษในกรณีเดียวกันจากการรับเงินทุจริตจำนวน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านฟีฟ่าซึ่งมีคณะกรรมการวินัยเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนกิจการทุกอย่างได้มีการกรองผู้สมัครจาก 8 ราย (โดยไม่มีแบลตเตอร์) เหลือเพียง 5 รายเท่านั้นได้แก่
เจ้าชายอาลีอัลฮุสเซนรองประธานฟีฟ่า, เชคซาลมานบินอิบราฮิมอัล-คาลีฟาประธานสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย, เฌอโรมชอมปาญจน์อดีตคณะกรรมการฟีฟ่า, โตเกียวเซ็กซ์เวลนักต่อต้านการเหยียดสีผิวชาวแอฟริกาใต้และจานนี่อินฟานติโน่เลขาณุการสหพันธ์ฟุตบอลแห่งชาติยุโรป
โดย 3 รายที่ถูกตัดสินออกไปได้แก่มิเชลพลาตินี่, มูซ่าบิลิตี้ประธานสมาคมฟุตบอลไลบีเรียและเดวิดนาคิดอดีตกัปตันทีมชาติตรินิแดดแอนด์โตเบโก
5 แคนดิเดตที่เหลือจึงเป็นผู้ที่มีโอกาสจะเป็นประธานฟีฟ่าคนใหม่ต่อจากแบลตเตอร์ที่จะมาพร้อมกับภารกิจสำคัญอย่างยิ่งนวดในการกอบกู้ชื่อเสียงของฟีฟ่าและวงการฟุตบอล
อย่างไรก็ดียังมีอีกหลายคำถามสำคัญที่น่าสนใจและใคร่รู้เป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะคำถามว่าสุดท้ายแล้ว“ใคร” คือตัวเก็งเต็งหนึ่งที่จะได้ตำแหน่งประธานฟีฟ่าไป? ใครที่จะได้รับการยกมือจาก 207 ชาติ (คูเวตและอินโดนีเซียเป็น 2 ชาติที่ไม่สามารถลงคะแนนได้)
จากทางการข่าวล่าสุดมีการเปิดเผยว่าเชคซาลมานบินอิบราฮิมอัล-คาลีฟาจากบาห์เรนคือตัวเต็งที่คาดว่าจะได้รับการเลือกให้เป็นประธานคนใหม่โดยเชคซาลมานมีพลังสนับสนุนจากเอเชียของเขาเองและจากแอฟริกา
แต่ทางด้านเชคซาลมานจะไม่สามารถประมาทจานนี่อินฟานติโน่ตัวแทน“สายพลาตินี่” โดยตรงโดยทำหน้าที่“หุ่นเชิด” แทนที่ของเจ้าชายอาลีที่พลาตินี่ถอนการสนับสนุนหลังก่อนหน้านี้ประกาศชิงตำแหน่งด้วยตัวเองแต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากติดโทษแบนโดยเชื่อว่าอินฟานติโน่ได้รับการหนุนหลังจากชาติในยุโรป, ละตินอเมริกาและจากชาติในแคริบเบียนที่มีความสำคัญมาก
จุดที่จะชี้ขาดการเลือกตั้งคาดว่าอยู่ที่คะแนนเสียงจากชาติในแอฟริกาที่ทางด้านอินฟานติโน่เชื่อว่าเขาได้รับคะแนนเสียงครึ่งหนึ่งจากชาติในแอฟริกาซึ่งหากเป็นดังนั้นจริงเขามีโอกาสที่จะเป็นผู้ชนะได้เช่นกัน
ส่วนผู้สมัครรายอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเจ้าชายอาลี, เฌอโรมชอมปาญน์และโตเกียวเซ็กซ์เวลไม่มีทั้งพลังและอำนาจพอที่จะชนะการเลือกตั้งครั้งนี้แต่อย่างใด
เมื่อมองจากรูปการณ์จะเห็นได้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ตำแหน่งประธานฟีฟ่าจะตกอยู่ในกลุ่ม“อำนาจเก่า” ไม่ว่าจะเป็นทางสายของแบลตเตอร์ (เอเชีย/แอฟริกา) และสายของพลาตินี่ (ยุโรป/ละตินอเมริกา) ที่ทำให้หลายฝ่ายเป็นกังวลว่าความหวังในการ“ปฏิรูป” ฟีฟ่าอาจไม่เป็นผลและยุคใหม่ที่จะเกิดขึ้นนั้นอาจไม่ต่างอะไรจากยุคเก่า
อย่างไรก็ดีในแผนการปฏิรูปนั้นมีรายละเอียดหลายอย่างที่เชื่อว่าหากทำได้จริงจะช่วยทลาย“การเมือง” ภายในฟีฟ่าที่เป็น“มะเร็ง” กัดกินองค์กรมาได้นานเรียกว่าใช้“ระบบ” ในการควบคุม“บุคคล”
ไม่ว่าจะเป็นการสลาย“คณะกรรมการบริหาร” โดยจะมี“สภาฟีฟ่า” (FIFA Council) จำนวน 36 คนเข้ามาทำหน้าที่แทนขณะที่งานด้านการบริหารจะอยู่ในมือของสำนักเลขาธิการไม่ได้อยู่ในมือของใครคนเดียวเหมือนก่อนหน้า
นอกจากนี้ทุกกระบวนการจะต้องดำเนินด้วยความ“โปร่งใส” ตรวจสอบได้ทุกอย่างเพื่อไม่ให้ฟีฟ่ากลับไปเป็นแดนสนธยาเหมือนที่ผ่านมา
เมื่อมองในจุดนี้แม้จะน่าเป็นกังวลในเรื่องของกลุ่มอำนาจเก่าที่ยังฝังตัวอยู่แต่อย่างน้อยที่สุดโลกลูกหนังได้“ตื่นรู้” แล้วดังน้นไม่ว่าใครก็ตามจะเข้ามาเป็นประธานฟีฟ่าคนต่อไป 4 ปีในวาระจะเป็น 4 ปีที่ต้องทำงานอย่างหนักและต้องเตรียมเผชิญหน้ากับการตรวจสอบที่เข้มข้น
โดยเฉพาะจากภาครัฐที่กัดไม่ปล่อยไม่ว่าจะเป็นทางการสวิตเซอร์แลนด์หรือสหรัฐอเมริกาซึ่งเชื่อว่าจะมีการดำเนินคดีกับบุคคลที่กระทำผิดอีกมากมาย
ถ้าคิดเช่นนั้นก็นับว่าโลกลูกหนังกำลังเข้าสู่ยุคใหม่แล้ว
แต่จะสดใสหรือไม่..
ขอให้เวลาเป็น 'เครื่องตัดสิน' เอง
- ลูกแม่กิ่ง -
ที่มาของข่าว
https://www.facebook.com/HotscoreThailand/posts/1165884300090210:0
#เจาะลึกเลือกตั้ง โดย : 'ลูกแม่กิ่ง' : ‘ประธานฟีฟ่า’ : สู่ยุคใหม่วงการลูกหนังจริงหรือไม่!?
‘ประธานฟีฟ่า’ : สู่ยุคใหม่วงการลูกหนังจริงหรือไม่!?
ตลอดระยะเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมาสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือ“ฟีฟ่า” เผชิญกับวิกฤตินับครั้งไม่ถ้วนจากปัญหาการกระทำทุจริตมากมายในระดับของผู้บริหารชั้นสูงซึ่งส่งผลให้มีผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากถูกสั่งดำเนินคดีทางกฏหมายในเวลานี้
หนึ่งในนั้นคือเซปป์แบลตเตอร์ประธานฟีฟ่าที่ดำรงค์ตำแหน่งมากว่า 17 ปีนับตั้งแต่สืบทอดอำนาจต่อจากประธานคนเก่าโจอัวฮาเวลานจ์เมื่อปี 1998 ผู้ครองอำนาจสูงสุดในฟีฟ่ามาตั้งแต่ปี 1974 โดยประมุขลูกหนังชาวสวิตเซอร์แลนด์พ่ายแพ้ในเกมอำนาจที่พยายามยื้อทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้กับตัว
โดยแม้ว่าจะพยายามจนได้รับชัยชนะในการโหวตเลือกตั้งในวันที่ 29 พฤษภาคมปีกลายแต่เป็นการเลือกตั้งที่เสื่อมเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์เนื่องจากก่อนมีการเลือกตั้ง 2 วันทางการสวิตเซอร์แลนด์ร่วมกับ FBI บุกเข้ารวบผู้บริหารระดับสูงของฟีฟ่าจำนวน 14 รายและดำเนินคดีข้อหาคอร์รัปชั่นทำให้เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ได้รับการยอมรับ
ด้านแบลตเตอร์แถลงในวันที่ 2 มิถุนายนว่าเขาพร้อมลาออกจากตำแหน่งประธานฟีฟ่าแต่ก็กลับคำพูดในภายหลังและพยายามจะมีส่วนร่วมในการสมัครลงชิงตำแหน่งอีกสมัย
แต่ท้ายที่สุดแล้วการเลือกตั้งประธานฟีฟ่าคนใหม่ซึ่งถูกกำหนดขึ้นในวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ไม่มีชื่อของแบลตเตอร์ที่ถูกตัดสิทธิ์เนื่องจากถูกฟีฟ่าลงโทษแบนเป็นระยะเวลา 8 ปี (ก่อนจะลดเหลือ 6 ปีตามลำดับ)
เช่นกันกับ“นโปเลียนลูกหนัง” มิเชลพลาตินี่ที่ถูกสั่งลงโทษในกรณีเดียวกันจากการรับเงินทุจริตจำนวน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้านฟีฟ่าซึ่งมีคณะกรรมการวินัยเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนกิจการทุกอย่างได้มีการกรองผู้สมัครจาก 8 ราย (โดยไม่มีแบลตเตอร์) เหลือเพียง 5 รายเท่านั้นได้แก่
เจ้าชายอาลีอัลฮุสเซนรองประธานฟีฟ่า, เชคซาลมานบินอิบราฮิมอัล-คาลีฟาประธานสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย, เฌอโรมชอมปาญจน์อดีตคณะกรรมการฟีฟ่า, โตเกียวเซ็กซ์เวลนักต่อต้านการเหยียดสีผิวชาวแอฟริกาใต้และจานนี่อินฟานติโน่เลขาณุการสหพันธ์ฟุตบอลแห่งชาติยุโรป
โดย 3 รายที่ถูกตัดสินออกไปได้แก่มิเชลพลาตินี่, มูซ่าบิลิตี้ประธานสมาคมฟุตบอลไลบีเรียและเดวิดนาคิดอดีตกัปตันทีมชาติตรินิแดดแอนด์โตเบโก
5 แคนดิเดตที่เหลือจึงเป็นผู้ที่มีโอกาสจะเป็นประธานฟีฟ่าคนใหม่ต่อจากแบลตเตอร์ที่จะมาพร้อมกับภารกิจสำคัญอย่างยิ่งนวดในการกอบกู้ชื่อเสียงของฟีฟ่าและวงการฟุตบอล
อย่างไรก็ดียังมีอีกหลายคำถามสำคัญที่น่าสนใจและใคร่รู้เป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะคำถามว่าสุดท้ายแล้ว“ใคร” คือตัวเก็งเต็งหนึ่งที่จะได้ตำแหน่งประธานฟีฟ่าไป? ใครที่จะได้รับการยกมือจาก 207 ชาติ (คูเวตและอินโดนีเซียเป็น 2 ชาติที่ไม่สามารถลงคะแนนได้)
จากทางการข่าวล่าสุดมีการเปิดเผยว่าเชคซาลมานบินอิบราฮิมอัล-คาลีฟาจากบาห์เรนคือตัวเต็งที่คาดว่าจะได้รับการเลือกให้เป็นประธานคนใหม่โดยเชคซาลมานมีพลังสนับสนุนจากเอเชียของเขาเองและจากแอฟริกา
แต่ทางด้านเชคซาลมานจะไม่สามารถประมาทจานนี่อินฟานติโน่ตัวแทน“สายพลาตินี่” โดยตรงโดยทำหน้าที่“หุ่นเชิด” แทนที่ของเจ้าชายอาลีที่พลาตินี่ถอนการสนับสนุนหลังก่อนหน้านี้ประกาศชิงตำแหน่งด้วยตัวเองแต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากติดโทษแบนโดยเชื่อว่าอินฟานติโน่ได้รับการหนุนหลังจากชาติในยุโรป, ละตินอเมริกาและจากชาติในแคริบเบียนที่มีความสำคัญมาก
จุดที่จะชี้ขาดการเลือกตั้งคาดว่าอยู่ที่คะแนนเสียงจากชาติในแอฟริกาที่ทางด้านอินฟานติโน่เชื่อว่าเขาได้รับคะแนนเสียงครึ่งหนึ่งจากชาติในแอฟริกาซึ่งหากเป็นดังนั้นจริงเขามีโอกาสที่จะเป็นผู้ชนะได้เช่นกัน
ส่วนผู้สมัครรายอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเจ้าชายอาลี, เฌอโรมชอมปาญน์และโตเกียวเซ็กซ์เวลไม่มีทั้งพลังและอำนาจพอที่จะชนะการเลือกตั้งครั้งนี้แต่อย่างใด
เมื่อมองจากรูปการณ์จะเห็นได้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ตำแหน่งประธานฟีฟ่าจะตกอยู่ในกลุ่ม“อำนาจเก่า” ไม่ว่าจะเป็นทางสายของแบลตเตอร์ (เอเชีย/แอฟริกา) และสายของพลาตินี่ (ยุโรป/ละตินอเมริกา) ที่ทำให้หลายฝ่ายเป็นกังวลว่าความหวังในการ“ปฏิรูป” ฟีฟ่าอาจไม่เป็นผลและยุคใหม่ที่จะเกิดขึ้นนั้นอาจไม่ต่างอะไรจากยุคเก่า
อย่างไรก็ดีในแผนการปฏิรูปนั้นมีรายละเอียดหลายอย่างที่เชื่อว่าหากทำได้จริงจะช่วยทลาย“การเมือง” ภายในฟีฟ่าที่เป็น“มะเร็ง” กัดกินองค์กรมาได้นานเรียกว่าใช้“ระบบ” ในการควบคุม“บุคคล”
ไม่ว่าจะเป็นการสลาย“คณะกรรมการบริหาร” โดยจะมี“สภาฟีฟ่า” (FIFA Council) จำนวน 36 คนเข้ามาทำหน้าที่แทนขณะที่งานด้านการบริหารจะอยู่ในมือของสำนักเลขาธิการไม่ได้อยู่ในมือของใครคนเดียวเหมือนก่อนหน้า
นอกจากนี้ทุกกระบวนการจะต้องดำเนินด้วยความ“โปร่งใส” ตรวจสอบได้ทุกอย่างเพื่อไม่ให้ฟีฟ่ากลับไปเป็นแดนสนธยาเหมือนที่ผ่านมา
เมื่อมองในจุดนี้แม้จะน่าเป็นกังวลในเรื่องของกลุ่มอำนาจเก่าที่ยังฝังตัวอยู่แต่อย่างน้อยที่สุดโลกลูกหนังได้“ตื่นรู้” แล้วดังน้นไม่ว่าใครก็ตามจะเข้ามาเป็นประธานฟีฟ่าคนต่อไป 4 ปีในวาระจะเป็น 4 ปีที่ต้องทำงานอย่างหนักและต้องเตรียมเผชิญหน้ากับการตรวจสอบที่เข้มข้น
โดยเฉพาะจากภาครัฐที่กัดไม่ปล่อยไม่ว่าจะเป็นทางการสวิตเซอร์แลนด์หรือสหรัฐอเมริกาซึ่งเชื่อว่าจะมีการดำเนินคดีกับบุคคลที่กระทำผิดอีกมากมาย
ถ้าคิดเช่นนั้นก็นับว่าโลกลูกหนังกำลังเข้าสู่ยุคใหม่แล้ว
แต่จะสดใสหรือไม่..
ขอให้เวลาเป็น 'เครื่องตัดสิน' เอง
- ลูกแม่กิ่ง -
ที่มาของข่าว https://www.facebook.com/HotscoreThailand/posts/1165884300090210:0