http://www.tnews.co.th/html/contents/180711/
เกาะติดการสืบพยานโจทก์ครั้งแรก! เปิดตัว 2 พยานปากเอก "คดีชายชุดดำ" นปช. เมษาฯเลือด ปี53
24-02-2016 20:12 tag : เมษา 53 ชายชุดดำ ชายชุดดำ ปี 53 นปช. เสื้อแดง
คอลัมน์ : เจาะข่าวร้อนล้วงข่าวลึก
ตามกันที่ความคืบหน้าคดีชายชุดดำในเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 ซึ่งได้เริ่มต้นกระบวนการสืบพยานโจทก์ครั้งแรกเป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559
โดยได้มีการเบิกพยานปากสำคัญที่เป็นเจ้าหน้าตำรวจ ได้แฝงตัวอยู่ในกลุ่มชุมนุมพร้อมกับระบุอย่างชัดเจนว่ากลุ่มผู้ต้องหาได้มีการเอาอาวุธสงครามเข้าไปในบริเวณพื้นที่ชุมนุมซึ่งในเวลาต่อมาการชุมนุม ดังกล่าวทำให้มี ผู้เสียชีวิต 26 รายและบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก
ศาลอาญา สืบพยานโจทก์ครั้งแรก คดีชายชุดดำ นปช. หมายเลขดำ อ.4022/2557 ที่พนักงานอัย การฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง
นายกิตติศักดิ์ หรืออ้วน สุ่มศรี อายุ 47 ปี ชาวกรุงเทพฯ,
นายปรีชา หรือไก่เตี้ย อยู่เย็น อายุ 26 ปี ชาวเชียงใหม่,
นายรณฤทธิ์ หรือนะ สุริชา อายุ 35 ปี ชาวอุบลราชธานี,
นายชำนาญ หรือเล็ก ภาคีฉาย อายุ 47 ปี ชาวกรุงเทพฯ
นางปุนิกา หรืออร ชูศรี อายุ 41 ปี ชาวกรุงเทพฯ เป็นจำเลยที่ 1-5
ในความผิดฐานร่วมกันพกพาอาวุธไปในที่สาธารณะ หรือชุมชน และมีอาวุธ เครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดที่นายทะ เบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 4, 8 ทวิ, 55, 72 ทวิ และ 78
ซึ่งอัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.57 จากกรณีเมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 จำเลยทั้งห้ากับพวกที่ยังหลบหนี และพวกที่ถึงแก่ความตายไปแล้ว ร่วมกันพกอาวุธ เครื่องกระสุนและวัตถุระเบิด ที่สามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินให้เกิดความเสียหายได้ อาทิ เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79, ปืนเอ็ม 16, ปืนเอชเค (HK) 33 หรือปืนอาก้า ซึ่งนายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ไปตามบริเวณแยกคอกวัว ถ.ตะนาว, ถ.ประชาธิปไตย แขวงบวรนิเวศ เขตพระ นคร ในช่วงที่มีกลุ่มชายชุดดำ ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ระหว่างพิจารณาจำเลยทั้งหมดไม่ได้ รับการปล่อยชั่วคราว ซึ่งศาลเบิกตัวจำเลย จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง เพื่อร่วมฟังการสืบพยาน
ในการสืบพยานอัยการ นำพยาน เข้าสืบรวม 2 ปาก เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองร้อยเอ็ด อดีตตำรวจสายสืบกองบังคับการตำรวจนครบาล 9 ซึ่งเบิกความสรุปว่า พยานได้รับมอบหมายให้แฝงตัวหาข่าวระหว่างการชุมนุม นปช. โดยวันที่ 10 เม.ย.53 รัฐบาลให้เจ้าหน้าที่ทหารขอคืนพื้นที่การชุมนุมจากกลุ่ม นปช. แล้วเกิดการปะทะกัน ระหว่างเวลาประมาณ 20.00 น. ช่วง ถ.ตะนาว บริเวณอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ กับธนาคารออมสิน
พยานเห็นมีกลุ่มสวมหมวกปิดหน้าสีดำ เสื้อแขนยาวสีดำ วิ่งมาหลายคนมือถืออาวุธปืนอาก้าและอาวุธปืนเล็กยาวเอ็ม 16 ชุดแรกประมาณ 3 คน ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมสกัดกลุ่มชุดดำดังกล่าวชุดที่ 2 ประมาณ 3 คนไว้ทัน แล้วสอบถามว่าเป็นใคร กลุ่มชุดดำบอกเป็นพวกเดียวกัน ผู้ชุมนุมจึงขอดูบัตร แล้วมีการเปิดผ้าคลุมหน้าสีดำออก ระหว่างนั้นพยานจึงได้ถ่ายรูปไว้ ซึ่งผู้ชุมนุมมีการสกัดตรวจเพราะกลัวว่าจะมีการแทรกซึมเข้ามาขณะที่มีการพูดกันว่าเขามาช่วยเราแล้วปล่อยไป และในการชุมนุม ยังตรวจยึดเอ็ม 79 ได้ ซึ่งทำบันทึกการตรวจยึดและเสนอผู้บังคับบัญชา
ส่วนการเสียชีวิตของ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ทราบเรื่องหลังการขอคืนพื้นที่ ระหว่างการเบิกความ พยานเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ชี้ตัวจำเลยที่นั่งอยู่ในห้องพิจารณาคดีว่า หนึ่งในกลุ่มนั้นมีนายปรีชา อยู่เย็น จำเลยที่ 2 อยู่ในที่เกิดเหตุด้วย
ขณะที่ทนายความจำเลยพยา ยามซักค้านพยาน หักล้างประเด็นภาพ ถ่ายและลักษณะอาวุธ รวมถึงการถืออาวุธปืนของชายชุดดำ โดยในวันนี้การสืบพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจปากที่ 2 ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งศาลกำหนดให้สืบพยานต่อในนัดถัดไป
เพื่อให้เห็นที่มาที่ไปให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงความเชื่อมโยงของกลุ่มผู้ต้องหากลับเครือข่ายเสื้อแดงก็จะได้มาลำดับให้คุณผู้ชมได้เข้าใจดังนี้
ส่วนการเสียชีวิตของ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ทราบเรื่องหลังการขอคืนพื้นที่ ระหว่างการเบิกความ พยานเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ชี้ตัวจำเลยที่นั่งอยู่ในห้องพิจารณาคดีว่า หนึ่งในกลุ่มนั้นมีนายปรีชา อยู่เย็น จำเลยที่ 2 อยู่ในที่เกิดเหตุด้วย
ขณะที่ทนายความจำเลยพยา ยามซักค้านพยาน หักล้างประเด็นภาพ ถ่ายและลักษณะอาวุธ รวมถึงการถืออาวุธปืนของชายชุดดำ โดยในวันนี้การสืบพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจปากที่ 2 ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งศาลกำหนดให้สืบพยานต่อในนัดถัดไป
เพื่อให้เห็นที่มาที่ไปให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงความเชื่อมโยงของกลุ่มผู้ต้องหากลับเครือข่ายเสื้อแดงก็จะได้มาลำดับให้คุณผู้ชมได้เข้าใจดังนี้
สำหรับคดีนี้มีผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับ 7 คน จับกุมได้แล้ว 5 คน อยู่ระหว่างหลบหนี 2 คน คือ
1.นายธนเดช เอกอภิวัชร์ หรือไก่รถตู้ อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 328/22 หมู่ 2 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ หมายจับศาลอาญา ที่ 1601/2557
2.นายวัฒนะโชค หรือโบ้ จีนปุ้ย อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ 17 ซอย ต.พุทธบาท อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ หมายจับศาลอาญา ที่ 1602/2557
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่จากการแกะรอยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พล.ต.อ.สมยศ ระบุชัดว่าชายชุดดำที่ถูกจับกุมนั้นมีความเชื่อมโยงกับ "นางสาวกริชสุดา คุณะเสน" หรือ "เปิ้ล" หนึ่งในบุคคลสำคัญของคนเสื้อแดงที่เวลานี้หลบหนีการจับกุมไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งเมื่อตรวจสอบสายสัมพันธ์ของนางสาว กริชสุดาแล้วก็พบว่า เธอคือเลขานุการและคนสนิทของ "นางมนัญชยา เกศแก้ว" หรือ "เมย์ อียู" แกนนำ นปช.ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ย้อนกลับไป 11 กันยายน 2557 พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า ผู้ต้องหาทั้งหมดร่วมกันแต่งกายเป็นชายชุดดำใช้อาวุธสงครามยิงและขว้างระเบิดใส่เจ้าหน้าที่ทหารและประชาชนจนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตาย จำนวนหลายราย รวมทั้ง พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนตะนาว และบริเวณใกล้เคียง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลาประมาณ 20.00 น. ในปฏิบัติการขอคืนพื้นที่กลุ่มผู้ชุมนุม
"การจับกุมผู้ต้องหาครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทหารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยการรวบรวมพยานหลักฐาน ทำงานอย่างรอบคอบจนศาลอนุมัติหมายจับ ทำให้เกิดความกระจ่างต่อสังคมว่าชายชุดดำที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้มีจริง และทุกคนก็ให้การรับสารภาพ หลังจากนี้จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนว่ามีความเชื่อมโยงกับใครบ้าง มีใครร่วมลงมือ มีใครให้การสนับสนุน"
พล.ต.อ.สมยศ กล่าวอีกว่า จากการสืบสวนทราบว่าผู้สั่งการคือนายจักรรินทร์ หรือเสธ.ไก่ เรืองศักดิ์วิชิต ซึ่งตอนนี้ถูกศาลจังหวัดทหารบกสระบุรี ออกหมายจับแล้วเลขที่ จ.8 ก./2557 เป็นบุคคลธรรมดา
นอกจากนั้นการสอบสวนขยายผลยังพบความเชื่อมโยงกับ น.ส.กริชสุดา คุณะเสน หรือเปิ้ล จากการตรวจค้นบ้านของ น.ส. กริชสุดา ก่อนหน้านี้พบหลักฐานว่ามีการโอนเงินให้กลุ่มคนเหล่านี้อย่างชัดเจน ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยตัวเลข บอกได้แค่ว่าจำนวนมาก สำหรับสาเหตุนั้นเป็นลักษณะขบวนการ มีหัวโจก มีอุดมการณ์ มีความเกลียดชัง มีค่าจ้าง จึงได้ร่วมกันทำ
สำหรับคดีนี้เป็นคดีพิเศษอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะดำเนินการขออนุญาตดีเอสไอให้คณะทำงานเข้าร่วมสอบสวนครั้งนี้ด้วย เพื่อนำคดีดังกล่าวเป็นคดีหลักต่อไป
พล.ต.อ.สมยศ กล่าวถึงเหตุการณ์วันก่อเหตุว่า สำหรับเส้นทางดำเนินการของกลุ่มคนร้ายมีทั้งหมด 8 คน รวมทั้ง นายธัมมรัตน์ หรือดำ สุ่มศรี ที่เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ โดยทั้งหมดได้วางแผนและรับมอบอาวุธกันที่คอนโดบ้านริมน้ำ ถนนรามอินทรา 34
จากนั้นทั้งหมดได้อาศัยรถตู้สีขาวเดินทางไปที่เกิดเหตุ โดยขับรถขึ้นทางด่วนรามอินทรามาลงยมราชและจอดรถที่ซอยวัดมหรรณพาราม ถนนตะนาว เมื่อลงจากรถก็เดินไปตามถนนตะนาวมุ่งหน้าไปที่แยกคอกวัว ก่อนถึงแยกคอกวัวได้ผ่านจุดคัดกรอง เจอการ์ดซึ่งมีตำรวจร่วมด้วยแต่ตำรวจจุดนั้นไม่มีอาวุธ ตรงจุดนี้พบว่ากลุ่มคนร้าย 3 คนมีอาวุธไปด้วย การ์ดเข้ามาตรวจถ่ายรูป จากนั้นได้ปล่อยเข้าไปด้วยรหัสผ่าน "พิราบขาว"
ต่อมาคนร้ายเดินไปตรงธนาคารออมสิน เริ่มใช้อาวุธระดมยิงใส่ชุดทหารที่อยู่ฝั่งตรงกันข้าม หลังจากยิงเสร็จได้ถอนกำลังย้อนกลับมายังจุดที่รถตู้จอด ระหว่างทางนายธัมมรัตน์ ซึ่งถืออาวุธปืนเอ็ม 79 มาด้วย ถูกตำรวจล็อกไว้ ยึดปืนเอาไว้ได้ ส่วนคนร้ายใช้กลุ่มผู้ชุมนุมกดดันแย่งตัวไปได้ จากนั้นคนร้ายทั้งหมดได้มารวมตัวกันอีกครั้งที่รถตู้จอดอยู่ แล้วขับรถอ้อมไปถนนตะนาว เข้าถนนดินสอ สวนกับเจ้าหน้าที่ทหารที่ใช้รถฮัมวี่ จุดนั้นคนค่อนข้างเยอะก็เบียดกัน คนร้ายลดกระจกลงมา และหนึ่งในผู้ต้องหาตะโกนด่าทหาร "ไปทำ
อะไร ที่นี่ ทำไมไม่ไปปฏิบัติการที่ภาคใต้" คำพูดนี้ทำให้ ทหารสามารถจำหน้าได้ 1 คนที่อยู่ในรถ หลังจากนั้นกลุ่มคนร้ายก็แยกย้ายหลบหนีกันไป หลายปี ตำรวจและทหารเฝ้าสืบสวนจนมีหลักฐานแน่ชัดขออนุมัติออกหมายจับจนจับกุมได้
นายกิตติศักดิ์ ให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำการดังกล่าวจริง โดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ต่างคนต่างมา มารู้จักกันเพราะมาร่วมทำงานนี้ ได้เจอกันที่สถานีวิทยุชุมชน เอฟเอ็ม 91.75 ส่วนอาวุธก็ไม่เคยฝึกใช้มาก่อน วันเกิดเหตุก็ไปรับอาวุธที่บ้านริมน้ำ จากนั้นนาย ธนเดช หรือไก่ ก็ได้สอนการใช้อาวุธว่า ทำแบบไหน แล้วก็ตามๆ กันไป โดยไม่ได้เจาะจงว่า ให้ยิงใครเป็นการเฉพาะ บอกให้ยิงในซอยนั้นก็ยิง ไม่ได้บอกให้ยิงทหารคนไหนเป็นพิเศษ
ทั้งนี้ ในวันก่อเหตุ นายกิตติศักดิ์ใช้ อาวุธปืนเอ็ม 79 และระเบิดเอ็มเค-2
นายธัมมรัตน์ ใช้อาวุธเอ็ม 79
นายธนเดชใช้อาวุธปืนเอ็ม 203
นายวัฒนะโชคใช้อาวุธปืนเอเค47
นายปรีชาใช้อาวุธปืนเอเค 47
นายรณฤทธิ เฝ้ารถไม่มีอาวุธ
นายชำนาญใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 ส่วนนางปุณิกา ใช้ระเบิดเพลิงเอ็ม 100
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ต้องหาที่กำลังหลบหนีอีก สอง คนโดยเฉพาะนายธนเดช เอกอภิวัชร์ หรือไก่รถตู้ จากข้อมูลของสำนักข่าวทีนิวส์ ได้ตรวจพบว่ามีความเชื่อมโยงไปถึงแกนนำนปช.หลายคนจากเหตุการณ์เมื่อครั้งที่แม่นายธนเดชเสียชีวิตและแกนนำนปช.หลายคนได้ส่งพวงหรีดไปแสดงความเสียใจ
ซึ่งในเวลาต่อมาแม่ของนายธนเดช ได้เสียชีวิตลงซึ่งในงานศพเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปี 2553 บรรดาแกนนำ นปช. ก็ได้ส่งพวงรนีดไปร่วมไว้อาลัย ก็คือ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายจรัล ดิษฐาอภิชัย นายพายัพ ปั้นเกตุ นายขวัญชัย ไพรพนา พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ และนายจักรภพ เพ็ญแข
ขอถามว่าแกนนำ นปช.ไปมีความสัมพันธ์กับคนขับรถตู้รับส่งชายชุดดำถึงขนาดที่ส่งพวงsรีดไปร่วมแสดงความเสียใจในงานศพของแม่นายธนเดช ได้อย่างไร
อีกคลิปข่าวชายชุดดำโดยทีนิวส์ 24 นาที
เกาะติดการสืบพยานโจทก์ครั้งแรก! เปิดตัว 2 พยานปากเอก "คดีชายชุดดำ" นปช. เมษาฯเลือด ปี53
24-02-2016 20:12 tag : เมษา 53 ชายชุดดำ ชายชุดดำ ปี 53 นปช. เสื้อแดง
คอลัมน์ : เจาะข่าวร้อนล้วงข่าวลึก
ตามกันที่ความคืบหน้าคดีชายชุดดำในเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 ซึ่งได้เริ่มต้นกระบวนการสืบพยานโจทก์ครั้งแรกเป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559
โดยได้มีการเบิกพยานปากสำคัญที่เป็นเจ้าหน้าตำรวจ ได้แฝงตัวอยู่ในกลุ่มชุมนุมพร้อมกับระบุอย่างชัดเจนว่ากลุ่มผู้ต้องหาได้มีการเอาอาวุธสงครามเข้าไปในบริเวณพื้นที่ชุมนุมซึ่งในเวลาต่อมาการชุมนุม ดังกล่าวทำให้มี ผู้เสียชีวิต 26 รายและบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก
ศาลอาญา สืบพยานโจทก์ครั้งแรก คดีชายชุดดำ นปช. หมายเลขดำ อ.4022/2557 ที่พนักงานอัย การฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง
นายกิตติศักดิ์ หรืออ้วน สุ่มศรี อายุ 47 ปี ชาวกรุงเทพฯ,
นายปรีชา หรือไก่เตี้ย อยู่เย็น อายุ 26 ปี ชาวเชียงใหม่,
นายรณฤทธิ์ หรือนะ สุริชา อายุ 35 ปี ชาวอุบลราชธานี,
นายชำนาญ หรือเล็ก ภาคีฉาย อายุ 47 ปี ชาวกรุงเทพฯ
นางปุนิกา หรืออร ชูศรี อายุ 41 ปี ชาวกรุงเทพฯ เป็นจำเลยที่ 1-5
ในความผิดฐานร่วมกันพกพาอาวุธไปในที่สาธารณะ หรือชุมชน และมีอาวุธ เครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดที่นายทะ เบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 4, 8 ทวิ, 55, 72 ทวิ และ 78
ซึ่งอัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.57 จากกรณีเมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 จำเลยทั้งห้ากับพวกที่ยังหลบหนี และพวกที่ถึงแก่ความตายไปแล้ว ร่วมกันพกอาวุธ เครื่องกระสุนและวัตถุระเบิด ที่สามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินให้เกิดความเสียหายได้ อาทิ เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79, ปืนเอ็ม 16, ปืนเอชเค (HK) 33 หรือปืนอาก้า ซึ่งนายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ไปตามบริเวณแยกคอกวัว ถ.ตะนาว, ถ.ประชาธิปไตย แขวงบวรนิเวศ เขตพระ นคร ในช่วงที่มีกลุ่มชายชุดดำ ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ระหว่างพิจารณาจำเลยทั้งหมดไม่ได้ รับการปล่อยชั่วคราว ซึ่งศาลเบิกตัวจำเลย จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง เพื่อร่วมฟังการสืบพยาน
ในการสืบพยานอัยการ นำพยาน เข้าสืบรวม 2 ปาก เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองร้อยเอ็ด อดีตตำรวจสายสืบกองบังคับการตำรวจนครบาล 9 ซึ่งเบิกความสรุปว่า พยานได้รับมอบหมายให้แฝงตัวหาข่าวระหว่างการชุมนุม นปช. โดยวันที่ 10 เม.ย.53 รัฐบาลให้เจ้าหน้าที่ทหารขอคืนพื้นที่การชุมนุมจากกลุ่ม นปช. แล้วเกิดการปะทะกัน ระหว่างเวลาประมาณ 20.00 น. ช่วง ถ.ตะนาว บริเวณอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ กับธนาคารออมสิน
พยานเห็นมีกลุ่มสวมหมวกปิดหน้าสีดำ เสื้อแขนยาวสีดำ วิ่งมาหลายคนมือถืออาวุธปืนอาก้าและอาวุธปืนเล็กยาวเอ็ม 16 ชุดแรกประมาณ 3 คน ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมสกัดกลุ่มชุดดำดังกล่าวชุดที่ 2 ประมาณ 3 คนไว้ทัน แล้วสอบถามว่าเป็นใคร กลุ่มชุดดำบอกเป็นพวกเดียวกัน ผู้ชุมนุมจึงขอดูบัตร แล้วมีการเปิดผ้าคลุมหน้าสีดำออก ระหว่างนั้นพยานจึงได้ถ่ายรูปไว้ ซึ่งผู้ชุมนุมมีการสกัดตรวจเพราะกลัวว่าจะมีการแทรกซึมเข้ามาขณะที่มีการพูดกันว่าเขามาช่วยเราแล้วปล่อยไป และในการชุมนุม ยังตรวจยึดเอ็ม 79 ได้ ซึ่งทำบันทึกการตรวจยึดและเสนอผู้บังคับบัญชา
ส่วนการเสียชีวิตของ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ทราบเรื่องหลังการขอคืนพื้นที่ ระหว่างการเบิกความ พยานเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ชี้ตัวจำเลยที่นั่งอยู่ในห้องพิจารณาคดีว่า หนึ่งในกลุ่มนั้นมีนายปรีชา อยู่เย็น จำเลยที่ 2 อยู่ในที่เกิดเหตุด้วย
ขณะที่ทนายความจำเลยพยา ยามซักค้านพยาน หักล้างประเด็นภาพ ถ่ายและลักษณะอาวุธ รวมถึงการถืออาวุธปืนของชายชุดดำ โดยในวันนี้การสืบพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจปากที่ 2 ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งศาลกำหนดให้สืบพยานต่อในนัดถัดไป
เพื่อให้เห็นที่มาที่ไปให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงความเชื่อมโยงของกลุ่มผู้ต้องหากลับเครือข่ายเสื้อแดงก็จะได้มาลำดับให้คุณผู้ชมได้เข้าใจดังนี้
ส่วนการเสียชีวิตของ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ทราบเรื่องหลังการขอคืนพื้นที่ ระหว่างการเบิกความ พยานเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ชี้ตัวจำเลยที่นั่งอยู่ในห้องพิจารณาคดีว่า หนึ่งในกลุ่มนั้นมีนายปรีชา อยู่เย็น จำเลยที่ 2 อยู่ในที่เกิดเหตุด้วย
ขณะที่ทนายความจำเลยพยา ยามซักค้านพยาน หักล้างประเด็นภาพ ถ่ายและลักษณะอาวุธ รวมถึงการถืออาวุธปืนของชายชุดดำ โดยในวันนี้การสืบพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจปากที่ 2 ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งศาลกำหนดให้สืบพยานต่อในนัดถัดไป
เพื่อให้เห็นที่มาที่ไปให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงความเชื่อมโยงของกลุ่มผู้ต้องหากลับเครือข่ายเสื้อแดงก็จะได้มาลำดับให้คุณผู้ชมได้เข้าใจดังนี้
สำหรับคดีนี้มีผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับ 7 คน จับกุมได้แล้ว 5 คน อยู่ระหว่างหลบหนี 2 คน คือ
1.นายธนเดช เอกอภิวัชร์ หรือไก่รถตู้ อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 328/22 หมู่ 2 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ หมายจับศาลอาญา ที่ 1601/2557
2.นายวัฒนะโชค หรือโบ้ จีนปุ้ย อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ 17 ซอย ต.พุทธบาท อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ หมายจับศาลอาญา ที่ 1602/2557
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่จากการแกะรอยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พล.ต.อ.สมยศ ระบุชัดว่าชายชุดดำที่ถูกจับกุมนั้นมีความเชื่อมโยงกับ "นางสาวกริชสุดา คุณะเสน" หรือ "เปิ้ล" หนึ่งในบุคคลสำคัญของคนเสื้อแดงที่เวลานี้หลบหนีการจับกุมไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งเมื่อตรวจสอบสายสัมพันธ์ของนางสาว กริชสุดาแล้วก็พบว่า เธอคือเลขานุการและคนสนิทของ "นางมนัญชยา เกศแก้ว" หรือ "เมย์ อียู" แกนนำ นปช.ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ย้อนกลับไป 11 กันยายน 2557 พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า ผู้ต้องหาทั้งหมดร่วมกันแต่งกายเป็นชายชุดดำใช้อาวุธสงครามยิงและขว้างระเบิดใส่เจ้าหน้าที่ทหารและประชาชนจนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตาย จำนวนหลายราย รวมทั้ง พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนตะนาว และบริเวณใกล้เคียง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลาประมาณ 20.00 น. ในปฏิบัติการขอคืนพื้นที่กลุ่มผู้ชุมนุม
"การจับกุมผู้ต้องหาครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทหารกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยการรวบรวมพยานหลักฐาน ทำงานอย่างรอบคอบจนศาลอนุมัติหมายจับ ทำให้เกิดความกระจ่างต่อสังคมว่าชายชุดดำที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้มีจริง และทุกคนก็ให้การรับสารภาพ หลังจากนี้จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนว่ามีความเชื่อมโยงกับใครบ้าง มีใครร่วมลงมือ มีใครให้การสนับสนุน"
พล.ต.อ.สมยศ กล่าวอีกว่า จากการสืบสวนทราบว่าผู้สั่งการคือนายจักรรินทร์ หรือเสธ.ไก่ เรืองศักดิ์วิชิต ซึ่งตอนนี้ถูกศาลจังหวัดทหารบกสระบุรี ออกหมายจับแล้วเลขที่ จ.8 ก./2557 เป็นบุคคลธรรมดา
นอกจากนั้นการสอบสวนขยายผลยังพบความเชื่อมโยงกับ น.ส.กริชสุดา คุณะเสน หรือเปิ้ล จากการตรวจค้นบ้านของ น.ส. กริชสุดา ก่อนหน้านี้พบหลักฐานว่ามีการโอนเงินให้กลุ่มคนเหล่านี้อย่างชัดเจน ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยตัวเลข บอกได้แค่ว่าจำนวนมาก สำหรับสาเหตุนั้นเป็นลักษณะขบวนการ มีหัวโจก มีอุดมการณ์ มีความเกลียดชัง มีค่าจ้าง จึงได้ร่วมกันทำ
สำหรับคดีนี้เป็นคดีพิเศษอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะดำเนินการขออนุญาตดีเอสไอให้คณะทำงานเข้าร่วมสอบสวนครั้งนี้ด้วย เพื่อนำคดีดังกล่าวเป็นคดีหลักต่อไป
พล.ต.อ.สมยศ กล่าวถึงเหตุการณ์วันก่อเหตุว่า สำหรับเส้นทางดำเนินการของกลุ่มคนร้ายมีทั้งหมด 8 คน รวมทั้ง นายธัมมรัตน์ หรือดำ สุ่มศรี ที่เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ โดยทั้งหมดได้วางแผนและรับมอบอาวุธกันที่คอนโดบ้านริมน้ำ ถนนรามอินทรา 34
จากนั้นทั้งหมดได้อาศัยรถตู้สีขาวเดินทางไปที่เกิดเหตุ โดยขับรถขึ้นทางด่วนรามอินทรามาลงยมราชและจอดรถที่ซอยวัดมหรรณพาราม ถนนตะนาว เมื่อลงจากรถก็เดินไปตามถนนตะนาวมุ่งหน้าไปที่แยกคอกวัว ก่อนถึงแยกคอกวัวได้ผ่านจุดคัดกรอง เจอการ์ดซึ่งมีตำรวจร่วมด้วยแต่ตำรวจจุดนั้นไม่มีอาวุธ ตรงจุดนี้พบว่ากลุ่มคนร้าย 3 คนมีอาวุธไปด้วย การ์ดเข้ามาตรวจถ่ายรูป จากนั้นได้ปล่อยเข้าไปด้วยรหัสผ่าน "พิราบขาว"
ต่อมาคนร้ายเดินไปตรงธนาคารออมสิน เริ่มใช้อาวุธระดมยิงใส่ชุดทหารที่อยู่ฝั่งตรงกันข้าม หลังจากยิงเสร็จได้ถอนกำลังย้อนกลับมายังจุดที่รถตู้จอด ระหว่างทางนายธัมมรัตน์ ซึ่งถืออาวุธปืนเอ็ม 79 มาด้วย ถูกตำรวจล็อกไว้ ยึดปืนเอาไว้ได้ ส่วนคนร้ายใช้กลุ่มผู้ชุมนุมกดดันแย่งตัวไปได้ จากนั้นคนร้ายทั้งหมดได้มารวมตัวกันอีกครั้งที่รถตู้จอดอยู่ แล้วขับรถอ้อมไปถนนตะนาว เข้าถนนดินสอ สวนกับเจ้าหน้าที่ทหารที่ใช้รถฮัมวี่ จุดนั้นคนค่อนข้างเยอะก็เบียดกัน คนร้ายลดกระจกลงมา และหนึ่งในผู้ต้องหาตะโกนด่าทหาร "ไปทำ อะไร ที่นี่ ทำไมไม่ไปปฏิบัติการที่ภาคใต้" คำพูดนี้ทำให้ ทหารสามารถจำหน้าได้ 1 คนที่อยู่ในรถ หลังจากนั้นกลุ่มคนร้ายก็แยกย้ายหลบหนีกันไป หลายปี ตำรวจและทหารเฝ้าสืบสวนจนมีหลักฐานแน่ชัดขออนุมัติออกหมายจับจนจับกุมได้
นายกิตติศักดิ์ ให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำการดังกล่าวจริง โดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ต่างคนต่างมา มารู้จักกันเพราะมาร่วมทำงานนี้ ได้เจอกันที่สถานีวิทยุชุมชน เอฟเอ็ม 91.75 ส่วนอาวุธก็ไม่เคยฝึกใช้มาก่อน วันเกิดเหตุก็ไปรับอาวุธที่บ้านริมน้ำ จากนั้นนาย ธนเดช หรือไก่ ก็ได้สอนการใช้อาวุธว่า ทำแบบไหน แล้วก็ตามๆ กันไป โดยไม่ได้เจาะจงว่า ให้ยิงใครเป็นการเฉพาะ บอกให้ยิงในซอยนั้นก็ยิง ไม่ได้บอกให้ยิงทหารคนไหนเป็นพิเศษ
ทั้งนี้ ในวันก่อเหตุ นายกิตติศักดิ์ใช้ อาวุธปืนเอ็ม 79 และระเบิดเอ็มเค-2
นายธัมมรัตน์ ใช้อาวุธเอ็ม 79
นายธนเดชใช้อาวุธปืนเอ็ม 203
นายวัฒนะโชคใช้อาวุธปืนเอเค47
นายปรีชาใช้อาวุธปืนเอเค 47
นายรณฤทธิ เฝ้ารถไม่มีอาวุธ
นายชำนาญใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 ส่วนนางปุณิกา ใช้ระเบิดเพลิงเอ็ม 100
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ต้องหาที่กำลังหลบหนีอีก สอง คนโดยเฉพาะนายธนเดช เอกอภิวัชร์ หรือไก่รถตู้ จากข้อมูลของสำนักข่าวทีนิวส์ ได้ตรวจพบว่ามีความเชื่อมโยงไปถึงแกนนำนปช.หลายคนจากเหตุการณ์เมื่อครั้งที่แม่นายธนเดชเสียชีวิตและแกนนำนปช.หลายคนได้ส่งพวงหรีดไปแสดงความเสียใจ
ซึ่งในเวลาต่อมาแม่ของนายธนเดช ได้เสียชีวิตลงซึ่งในงานศพเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปี 2553 บรรดาแกนนำ นปช. ก็ได้ส่งพวงรนีดไปร่วมไว้อาลัย ก็คือ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายจรัล ดิษฐาอภิชัย นายพายัพ ปั้นเกตุ นายขวัญชัย ไพรพนา พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ และนายจักรภพ เพ็ญแข
ขอถามว่าแกนนำ นปช.ไปมีความสัมพันธ์กับคนขับรถตู้รับส่งชายชุดดำถึงขนาดที่ส่งพวงsรีดไปร่วมแสดงความเสียใจในงานศพของแม่นายธนเดช ได้อย่างไร