เจ้าของกระทู้เป็นคนที่เกิดและโตในกทม หรือ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงที่มีคนหลากหลาย ไม่ว่าจะคนท้องถิ่นเอง ต่างชาติ ต่างจังหวัด เลยเป็นที่ๆ เห็นพฤติกรรมอันหลากหลาย
วันก่อนได้อ่านกระทู้เรื่องการหยุดรถในทางม้าหลาย ซึ่งแปลกใจที่มีหลายคนเห็นด้วย และหลายคนก็ไม่คิดว่าการปลูกฝังพฤติกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมายจะสามารถทำได้ กับคนเมืองหลวงอย่างกทม แหล่งศูนย์รวมองค์ความรู้และการศึกษาที่ดีของประเทศ
มันทำให้ผมได้ตั้งข้อสงสัยอย่างหนึ่งว่า
ความเกรงใจ เอกลักษณ์ของคนไทยได้เลือนหายไปไหนหมด?
ความเกรงใจซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในคนไทย เป็นคำที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ แต่เป็นสิ่งที่คนไทยพึงกระทำ เวลาเข้าสังคม ส่วนหนึ่งเพื่อแสดงความมีน้ำใจต่อท่านอื่น
ยกตัวอย่างเช่น
- การไม่กล้าตักอาหารเป็นคนแรกเวลาอาหารมาเสิร์ฟ หรือ ไม่กล้าทานชิ้นสุดท้าย
- การไม่กล้านั่งไปเวลาไปร้านอาหารแล้วเก้าอี้ไม่พอต่อจำนวนคนในกลุ่มเพื่อนเรา
- เวลามีผู้ใหญ่หรือเพื่อน ให้ของ/เงิน จะบอกว่าไม่เป็นไร เกรงใจ ไม่รับ
- การตอบแทนความช่วยเหลือของคนอื่น เพราะเกรงใจในสิ่งที่เค้าได้ช่วยไว้
ตัวอย่างที่พูดว่าล้วนแสดงถึงความเกรงใจต่อคนรู้จัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และเป็นการสร้างพลังบวกต่อคนรอบข้างที่เรารู้จัก/สนิท
แต่ผมก็สังเกตุเห็นการไม่เกรงใจของคนเมืองหลวงหลายๆอย่าง
ต้องบอกว่าคนเมืองหลวง เพราะชีวิตส่วนใหญ่ผมอยู่ในกทม แต่เวลาผมได้ไปต่างจังหวัด ไม่ว่าจะไปเยี่ยมเพื่อน หรือไปเที่ยว ผมก็รู้สึกได้ถึงความแตกต่าง แต่ก็ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาอันสั้น
ตัวอย่างของความไม่เกรงใจของชาวกทมที่พบเห็นได้บ่อย
ความไม่เกรงใจในการเดินทาง
บนรถไฟฟ้า - การยืนบังคนอื่นไม่ให้ เข้า/ออก ทั้งๆ ที่ขยับได้, การยืนพิงเสา การถ่ายรูปประจานกันใน facebook เวลามีผู้ชายนั่ง
บนท้องถนน (ขับรถ) - การไม่หยุดรถ ทั้งให้คนเดินข้าม และรถด้วยกัน อย่างเช่นเห็นรถกำลังจะกลับรถมา หรือจะเลี้ยวออกมาจากซอย คนจะรีบเร่งเครื่องเพื่อให้ได้ไปก่อน หรือการที่มีคนจะเปลี่ยนเลนแล้วเปิดไฟเลี้ยว จะยิ่งเป็นการส่งสัญญาณให้อีกคันเร่งเครื่อง
เวลาเดินขึ้นลงบันได - การเบียดกัน หรือการกดโทรศัพท์โดยที่เกรงใจต่อคนที่เดินตามหลัง
ความไม่เกรงใจในการเข้าคิว
การแซงกันเมื่อมีโอกาส - เวลาอีกฝ่ายเผลอ ก็มีการแซงคิวโดยไร้ซึ่งความเกรงใจ
ความไม่เกรงใจในร้านอาหาร
การพูดคุยด้วยโทนเสียง หรือวิธีที่ขาดการให้ความเคารพต่อพนักงานบริการ
หรืออย่างเช่นการที่ไปทานอาหารที่ร้าน Fast Food ต่างๆ แล้วไม่เคยเก็บขยะที่คนเองทานไว้ ซึ่งขาดความเกรงใจต่อคนที่นั่งต่อ
ความไม่เกรงใจในการกำจัดของเสีย
เช่นการทิ้งขยะ ผมจะสังเกตุเห็นว่าถ้ามีใครเริ่มทิ้งตรงไหน ก็จะมีคนทิ้งตาม ทั้งๆที่มันไม่มีถังขยะ หรือพาชนะที่ใส่ขยะใดๆ แค่เป็นกองที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
หรือการที่ผู้ชายคนท่านชอบบ้วนหมากฝรั่งลงในโถปัสสาวะ ทั้งๆที่การทำความสะอาด ก็คือต้องให้พนักงานทำความสะอาดหยิบขึ้นมา ทั้งๆที่ถังขยะก็อยู่ใกล้ๆ
อันนี้คือประเด็นที่ผมยกตัวอย่างให้ฟังคร่าวๆ เนื่องจากผมเห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ (ในกทม) จะค่อนข้างเกรงใจและมีน้ำใจต่อคนที่เรารู้จัก แต่ความเกรงใจต่อสาธารณะกลับมีน้อยมาก
จากประสบการณ์ในการได้เดินทางไปต่างประเทศ ในเมืองหลวงหลายๆที่ (ในฐานะคนแปลกหน้าต่อพลเมืองของเขา) ผมกลับไปรับการปฏิบัติซึ่งมีความเกรงใจ/น้ำใจ โดยที่ภาษาของบ้านเค้าไม่มีคำบัญญัติเรื่องคำว่า "เกรงใจ" ด้วยซ้ำไป
เหตุผลที่เขียนกระทู้นี้ขึ้นมา เนื่องจากอยากจะให้พวกเราชาวกทม ได้เริ่มใช้ความเกรงใจ นอกเหนือจากเพื่อนหรือครอบครัวเรา ต่อเนื่องไปถึงเพื่อนในสังคมเรากันด้วยนะครับ ผมเชื่อว่ากทมน่าจะน่าอยู่ขึ้นเยอะมากครับ
ผมเชื่อว่าคนกทม จริงๆแล้วเป็นคนจิตใจดี แต่แค่ต้องแสดงด้านนี้ให้เห็นต่อสาธารณชนให้มากขึ้นนะครับ
ความไม่เกรงใจในความเกรงใจของเมืองหลวง
วันก่อนได้อ่านกระทู้เรื่องการหยุดรถในทางม้าหลาย ซึ่งแปลกใจที่มีหลายคนเห็นด้วย และหลายคนก็ไม่คิดว่าการปลูกฝังพฤติกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมายจะสามารถทำได้ กับคนเมืองหลวงอย่างกทม แหล่งศูนย์รวมองค์ความรู้และการศึกษาที่ดีของประเทศ
มันทำให้ผมได้ตั้งข้อสงสัยอย่างหนึ่งว่า
ความเกรงใจ เอกลักษณ์ของคนไทยได้เลือนหายไปไหนหมด?
ความเกรงใจซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในคนไทย เป็นคำที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ แต่เป็นสิ่งที่คนไทยพึงกระทำ เวลาเข้าสังคม ส่วนหนึ่งเพื่อแสดงความมีน้ำใจต่อท่านอื่น
ยกตัวอย่างเช่น
- การไม่กล้าตักอาหารเป็นคนแรกเวลาอาหารมาเสิร์ฟ หรือ ไม่กล้าทานชิ้นสุดท้าย
- การไม่กล้านั่งไปเวลาไปร้านอาหารแล้วเก้าอี้ไม่พอต่อจำนวนคนในกลุ่มเพื่อนเรา
- เวลามีผู้ใหญ่หรือเพื่อน ให้ของ/เงิน จะบอกว่าไม่เป็นไร เกรงใจ ไม่รับ
- การตอบแทนความช่วยเหลือของคนอื่น เพราะเกรงใจในสิ่งที่เค้าได้ช่วยไว้
ตัวอย่างที่พูดว่าล้วนแสดงถึงความเกรงใจต่อคนรู้จัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และเป็นการสร้างพลังบวกต่อคนรอบข้างที่เรารู้จัก/สนิท
แต่ผมก็สังเกตุเห็นการไม่เกรงใจของคนเมืองหลวงหลายๆอย่าง
ต้องบอกว่าคนเมืองหลวง เพราะชีวิตส่วนใหญ่ผมอยู่ในกทม แต่เวลาผมได้ไปต่างจังหวัด ไม่ว่าจะไปเยี่ยมเพื่อน หรือไปเที่ยว ผมก็รู้สึกได้ถึงความแตกต่าง แต่ก็ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาอันสั้น
ตัวอย่างของความไม่เกรงใจของชาวกทมที่พบเห็นได้บ่อย
ความไม่เกรงใจในการเดินทาง
บนรถไฟฟ้า - การยืนบังคนอื่นไม่ให้ เข้า/ออก ทั้งๆ ที่ขยับได้, การยืนพิงเสา การถ่ายรูปประจานกันใน facebook เวลามีผู้ชายนั่ง
บนท้องถนน (ขับรถ) - การไม่หยุดรถ ทั้งให้คนเดินข้าม และรถด้วยกัน อย่างเช่นเห็นรถกำลังจะกลับรถมา หรือจะเลี้ยวออกมาจากซอย คนจะรีบเร่งเครื่องเพื่อให้ได้ไปก่อน หรือการที่มีคนจะเปลี่ยนเลนแล้วเปิดไฟเลี้ยว จะยิ่งเป็นการส่งสัญญาณให้อีกคันเร่งเครื่อง
เวลาเดินขึ้นลงบันได - การเบียดกัน หรือการกดโทรศัพท์โดยที่เกรงใจต่อคนที่เดินตามหลัง
ความไม่เกรงใจในการเข้าคิว
การแซงกันเมื่อมีโอกาส - เวลาอีกฝ่ายเผลอ ก็มีการแซงคิวโดยไร้ซึ่งความเกรงใจ
ความไม่เกรงใจในร้านอาหาร
การพูดคุยด้วยโทนเสียง หรือวิธีที่ขาดการให้ความเคารพต่อพนักงานบริการ
หรืออย่างเช่นการที่ไปทานอาหารที่ร้าน Fast Food ต่างๆ แล้วไม่เคยเก็บขยะที่คนเองทานไว้ ซึ่งขาดความเกรงใจต่อคนที่นั่งต่อ
ความไม่เกรงใจในการกำจัดของเสีย
เช่นการทิ้งขยะ ผมจะสังเกตุเห็นว่าถ้ามีใครเริ่มทิ้งตรงไหน ก็จะมีคนทิ้งตาม ทั้งๆที่มันไม่มีถังขยะ หรือพาชนะที่ใส่ขยะใดๆ แค่เป็นกองที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
หรือการที่ผู้ชายคนท่านชอบบ้วนหมากฝรั่งลงในโถปัสสาวะ ทั้งๆที่การทำความสะอาด ก็คือต้องให้พนักงานทำความสะอาดหยิบขึ้นมา ทั้งๆที่ถังขยะก็อยู่ใกล้ๆ
อันนี้คือประเด็นที่ผมยกตัวอย่างให้ฟังคร่าวๆ เนื่องจากผมเห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ (ในกทม) จะค่อนข้างเกรงใจและมีน้ำใจต่อคนที่เรารู้จัก แต่ความเกรงใจต่อสาธารณะกลับมีน้อยมาก
จากประสบการณ์ในการได้เดินทางไปต่างประเทศ ในเมืองหลวงหลายๆที่ (ในฐานะคนแปลกหน้าต่อพลเมืองของเขา) ผมกลับไปรับการปฏิบัติซึ่งมีความเกรงใจ/น้ำใจ โดยที่ภาษาของบ้านเค้าไม่มีคำบัญญัติเรื่องคำว่า "เกรงใจ" ด้วยซ้ำไป
เหตุผลที่เขียนกระทู้นี้ขึ้นมา เนื่องจากอยากจะให้พวกเราชาวกทม ได้เริ่มใช้ความเกรงใจ นอกเหนือจากเพื่อนหรือครอบครัวเรา ต่อเนื่องไปถึงเพื่อนในสังคมเรากันด้วยนะครับ ผมเชื่อว่ากทมน่าจะน่าอยู่ขึ้นเยอะมากครับ
ผมเชื่อว่าคนกทม จริงๆแล้วเป็นคนจิตใจดี แต่แค่ต้องแสดงด้านนี้ให้เห็นต่อสาธารณชนให้มากขึ้นนะครับ