ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียและCIS
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
การค้า
รัสเซียเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก และ CIS การค้าระหว่างไทยกับรัสเซียมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2544 โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลรัสเซียมาโดยตลอด เนื่องจากสินค้าที่ไทยส่งออกไปรัสเซียส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีมูลค่าไม่มากนัก อาทิ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ข้าว ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และน้ำตาลทราย ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าเหล็กและเหล็กกล้าจากรัสเซียเป็นจำนวนมาก (มูลค่าเกินครึ่งของการนำเข้าจากรัสเซียทั้งหมด) โดยในปี 2549 ทั้งสองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวม 1,642.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งออก 387.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้า 1,255.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การค้ากับไทย รัสเซียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 1 ของไทยในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ในปี 2548 มีมูลค่าการค้ารวม 1,935 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 328 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 1,606 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้านำเข้าจากไทย น้ำตาลทราย , เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ , ผลไม้กระป๋องและแปรรูป , เม็ดพลาสติก , ข้าว , ยางพารา , รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ , อัญมณีและเครื่องประดับ , อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
สินค้าส่งออกมาไทย เหล็กและเหล็กกล้า , ปุ๋ย , สินแร่โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ , เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ , แร่ดิบ , เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ , กระดาษ กระดาษแข็ง และผลิตภัณฑ์ , ยาง ยางสังเคราะห์ รวมทั้งเศษยาง , หนังดิบและหนังฟอก
จำนวนนักท่องเที่ยว 271,433 คน (ปี 2550) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15-20 ทุกปี
เอกอัครราชทูตไทยประจำรัสเซีย นายสุพจน์ ธีรเกาศัลย์ นอกจากนี้ ไทยยังได้จัดตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ขึ้นที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเมืองวลาดิวอสต็อก
การลงทุน
นักลงทุนไทยยังมีการลงทุนในรัสเซียน้อยมาก โดยบริษัทไทยที่ได้เข้าไปลงทุนในรัสเซียในขณะนี้ ได้แก่ บริษัท Warehouse ผู้ผลิตเครื่องสำอาง และบริษัท Charoen Pakhand Foods Public Co.Ltd (CPF) โรงงานผลิตอาหารสัตว์และเลี้ยงสุกร ซึ่งจะขยายขอบข่ายการลงทุนจนครบวงจรในอนาคต อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มีบริษัทไทยให้ความสนใจเข้าไปลงทุนโครงการในรัสเซียหลายแห่ง แต่ยังอยู่ในขั้นศึกษาและพิจารณาความเป็นไปได้ เช่น โครงการสร้างพื้นที่อุตสาหกรรมในกรุงมอสโก การตั้งศูนย์ธุรกิจไทย-รัสเซีย ทั้งนี้ ไทยมีศักยภาพในหลายสาขาที่สามารถเข้าไปลงทุนในสหพันธรัฐรัสเซียได้ อาทิ ธุรกิจการท่องเที่ยว ร้านอาหารไทย สปา นวดแผนไทย โรงแรม บริการซ่อมรถยนต์และอะไหล่ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และเฟอร์นิเจอร์ ในทางตรงกันข้าม มีนักลงทุนรัสเซียเข้ามาลงทุนในไทยเพียง 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท Amek Industries Co.,Ltd. จัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ และบริษัท Formica-Phianite Co.,Ltd โรงงานผลิตหินสีและอัญมณี โดยปัญหาประการหนึ่งที่เป็นเหตุให้ระดับการลงทุนระหว่างกันอยู่ในระดับต่ำสืบเนื่องมาจากการขาดความรู้เรื่องโอกาสการลงทุนของทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ รัสเซียได้แสดงความสนใจและพร้อมเข้าร่วมในโครงการก่อสร้างส่วนขยายเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงของกรุงเทพฯ ซึ่งมีบริษัทเอกชนของรัสเซีย ต้องการทราบรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติม
การท่องเที่ยว
ในปี 2548 (ค.ศ.2005) มีนักท่องเที่ยวจากสหพันธรัฐรัสเซียเดินทางมาประเทศไทย 102,783 คน และในปี 2549 (ค.ศ.2006) มีนักท่องเที่ยวจากสหพันธรัฐรัสเซียเดินทางมาประเทศไทย 187,658 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2548 (ค.ศ.2005) ร้อยละ 82.58 ในส่วนของคนไทยที่เดินทางไปสหพันธรัฐรัสเซียนั้น มีจำนวน 3,098 คน ในปี 2548 (ค.ศ.2005) ส่วนในปี 2549 (ค.ศ.2006) (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 4,728 คน เพิ่มมากขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 (ค.ศ.2005) ร้อยละ 225.40 ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2550 (ค.ศ.2007) ของทั้งสองฝ่ายจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดาไทย-รัสเซีย ได้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2550 (ค.ศ.2007)
การบิน
ไทยและรัสเซียได้ส่งเสริมความร่วมมือด้านการบินระหว่างบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสายการบินระดับภูมิภาคต่างๆ ของรัสเซีย เพื่อเป็นทางเลือกในด้านการขนส่งสินค้าและโดยบริษัทการบินไทยฯ ได้เริ่มเปิดเส้นทางบินตรงกรุงเทพฯ-กรุงมอสโก เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2548
พลังงาน
ในการหารือระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับประธานาธิบดีปูติน เมื่อ 17 มิถุนายน 2549 ที่นครอัลมาตี ประธานาธิบดีปูตินได้ย้ำข้อเสนอของรัสเซียที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานสำหรับสินค้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของรัสเซียในภูมิภาค โดยประธานาธิบดีปูติน ได้เชิญชวนให้ไทยไปร่วมพัฒนาแหล่งพลังงานและก๊าซในรัสเซียและส่งมายังไทย และได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท Gazprom และธนาคาร Vneshekonombank ของรัสเซีย (Agreement on Strategic Cooperation between PTT, OAO “Gazprom” and Vneshekonombank) ในระหว่างการประชุมเอเปค เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 ณ นครปูซาน ต่อมา เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2549 นายกรัฐมนตรีได้หารือกับประธานาธิบดีปูตินเรื่องพลังงาน โดยเห็นพ้องร่วมกันที่จะสานต่อความร่วมมือด้านพลังงานต่อไป ขณะเดียวกัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เป็นเจ้าภาพเจ้าการประชุม Joint Coordinating Committee ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท Gazprom เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2549
ที่มา: Royal Thai Embassy, Moscow
ไทย-รัสเชีย มิตรภาพที่น่ายินดี
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
การค้า
รัสเซียเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก และ CIS การค้าระหว่างไทยกับรัสเซียมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2544 โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลรัสเซียมาโดยตลอด เนื่องจากสินค้าที่ไทยส่งออกไปรัสเซียส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีมูลค่าไม่มากนัก อาทิ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ข้าว ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และน้ำตาลทราย ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าเหล็กและเหล็กกล้าจากรัสเซียเป็นจำนวนมาก (มูลค่าเกินครึ่งของการนำเข้าจากรัสเซียทั้งหมด) โดยในปี 2549 ทั้งสองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวม 1,642.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งออก 387.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้า 1,255.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การค้ากับไทย รัสเซียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 1 ของไทยในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ในปี 2548 มีมูลค่าการค้ารวม 1,935 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 328 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 1,606 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้านำเข้าจากไทย น้ำตาลทราย , เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ , ผลไม้กระป๋องและแปรรูป , เม็ดพลาสติก , ข้าว , ยางพารา , รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ , อัญมณีและเครื่องประดับ , อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
สินค้าส่งออกมาไทย เหล็กและเหล็กกล้า , ปุ๋ย , สินแร่โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ , เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ , แร่ดิบ , เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ , กระดาษ กระดาษแข็ง และผลิตภัณฑ์ , ยาง ยางสังเคราะห์ รวมทั้งเศษยาง , หนังดิบและหนังฟอก
จำนวนนักท่องเที่ยว 271,433 คน (ปี 2550) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15-20 ทุกปี
เอกอัครราชทูตไทยประจำรัสเซีย นายสุพจน์ ธีรเกาศัลย์ นอกจากนี้ ไทยยังได้จัดตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ขึ้นที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเมืองวลาดิวอสต็อก
การลงทุน
นักลงทุนไทยยังมีการลงทุนในรัสเซียน้อยมาก โดยบริษัทไทยที่ได้เข้าไปลงทุนในรัสเซียในขณะนี้ ได้แก่ บริษัท Warehouse ผู้ผลิตเครื่องสำอาง และบริษัท Charoen Pakhand Foods Public Co.Ltd (CPF) โรงงานผลิตอาหารสัตว์และเลี้ยงสุกร ซึ่งจะขยายขอบข่ายการลงทุนจนครบวงจรในอนาคต อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มีบริษัทไทยให้ความสนใจเข้าไปลงทุนโครงการในรัสเซียหลายแห่ง แต่ยังอยู่ในขั้นศึกษาและพิจารณาความเป็นไปได้ เช่น โครงการสร้างพื้นที่อุตสาหกรรมในกรุงมอสโก การตั้งศูนย์ธุรกิจไทย-รัสเซีย ทั้งนี้ ไทยมีศักยภาพในหลายสาขาที่สามารถเข้าไปลงทุนในสหพันธรัฐรัสเซียได้ อาทิ ธุรกิจการท่องเที่ยว ร้านอาหารไทย สปา นวดแผนไทย โรงแรม บริการซ่อมรถยนต์และอะไหล่ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และเฟอร์นิเจอร์ ในทางตรงกันข้าม มีนักลงทุนรัสเซียเข้ามาลงทุนในไทยเพียง 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท Amek Industries Co.,Ltd. จัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ และบริษัท Formica-Phianite Co.,Ltd โรงงานผลิตหินสีและอัญมณี โดยปัญหาประการหนึ่งที่เป็นเหตุให้ระดับการลงทุนระหว่างกันอยู่ในระดับต่ำสืบเนื่องมาจากการขาดความรู้เรื่องโอกาสการลงทุนของทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ รัสเซียได้แสดงความสนใจและพร้อมเข้าร่วมในโครงการก่อสร้างส่วนขยายเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงของกรุงเทพฯ ซึ่งมีบริษัทเอกชนของรัสเซีย ต้องการทราบรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติม
การท่องเที่ยว
ในปี 2548 (ค.ศ.2005) มีนักท่องเที่ยวจากสหพันธรัฐรัสเซียเดินทางมาประเทศไทย 102,783 คน และในปี 2549 (ค.ศ.2006) มีนักท่องเที่ยวจากสหพันธรัฐรัสเซียเดินทางมาประเทศไทย 187,658 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2548 (ค.ศ.2005) ร้อยละ 82.58 ในส่วนของคนไทยที่เดินทางไปสหพันธรัฐรัสเซียนั้น มีจำนวน 3,098 คน ในปี 2548 (ค.ศ.2005) ส่วนในปี 2549 (ค.ศ.2006) (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 4,728 คน เพิ่มมากขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 (ค.ศ.2005) ร้อยละ 225.40 ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2550 (ค.ศ.2007) ของทั้งสองฝ่ายจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางธรรมดาไทย-รัสเซีย ได้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2550 (ค.ศ.2007)
การบิน
ไทยและรัสเซียได้ส่งเสริมความร่วมมือด้านการบินระหว่างบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสายการบินระดับภูมิภาคต่างๆ ของรัสเซีย เพื่อเป็นทางเลือกในด้านการขนส่งสินค้าและโดยบริษัทการบินไทยฯ ได้เริ่มเปิดเส้นทางบินตรงกรุงเทพฯ-กรุงมอสโก เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2548
พลังงาน
ในการหารือระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับประธานาธิบดีปูติน เมื่อ 17 มิถุนายน 2549 ที่นครอัลมาตี ประธานาธิบดีปูตินได้ย้ำข้อเสนอของรัสเซียที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานสำหรับสินค้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของรัสเซียในภูมิภาค โดยประธานาธิบดีปูติน ได้เชิญชวนให้ไทยไปร่วมพัฒนาแหล่งพลังงานและก๊าซในรัสเซียและส่งมายังไทย และได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท Gazprom และธนาคาร Vneshekonombank ของรัสเซีย (Agreement on Strategic Cooperation between PTT, OAO “Gazprom” and Vneshekonombank) ในระหว่างการประชุมเอเปค เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 ณ นครปูซาน ต่อมา เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2549 นายกรัฐมนตรีได้หารือกับประธานาธิบดีปูตินเรื่องพลังงาน โดยเห็นพ้องร่วมกันที่จะสานต่อความร่วมมือด้านพลังงานต่อไป ขณะเดียวกัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เป็นเจ้าภาพเจ้าการประชุม Joint Coordinating Committee ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท Gazprom เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2549
ที่มา: Royal Thai Embassy, Moscow