คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ในร้อยแห่งปีที่ ๒ คือ ภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี อาจริยวาทคือลัทธิแห่งอาจารย์ ทั้งหมดรวม ๑๘ นิกาย คือ ๑๒ นิกายที่แยกมาจากเถรวาทเหล่านี้ และนิกายอาจริยวาท ๖ ที่แตกแยกมาจากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะทั้งหลาย ฉะนี้แล.
คำว่า นิกาย ๑๘ นิกายก็ดี ตระกูลอาจารย์ ๑๘ ตระกูลก็ดี เป็นชื่อของนิกายที่กล่าวมาแล้วเหล่านั้น นั่นแหละ. อนึ่งบรรดานิกาย ๑๘ นิกายเหล่านั้น ๑๗ นิกาย บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่แตกแยกกันมา ส่วนเถรวาท บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่ไม่แตกกัน.
(โปรดดูแผนผังความเป็นมา ดังต่อไปนี้
๑. ภิกษุผู้ลามกทั้งหลาย ผู้เป็นชาววัชชีบุตรผู้เป็นอธรรมวาที ถูกพระเถระผู้เป็นธรรมวาทีทั้งหลายขับออกแล้ว ได้พวกอื่นจึงตั้งคณาขารย์ใหม่.
๒. ภิกษุ๑- เหล่านั้นมีประมาณหมื่นรูปได้ประชุมกันรวบรวม คือทำการร้อยกรองพระธรรมวินัย เพราะฉะนั้น การร้อยกรองพระธรรมวินัยนี้ ท่านจึงเรียกว่า "มหาสังคีติ" แปลว่า การร้อยกรองใหญ่.
๓. ภิกษุทั้งหลายผู้ทำมหาสังคีติ ได้ทำความขัดแย้งไว้ในพระศาสนา ทำลายสังคายนาเดิม แล้วทำการรวบรวมธรรมวินัยไว้เป็นอีกอย่างหนึ่ง.
๔. ภิกษุเหล่านั้นได้แต่งพระสูตรที่สังคายนาไว้แล้วให้เป็นอย่างอื่น และทำลายอรรถและธรรมในพระวินัยในนิกายทั้ง ๕ ด้วย.
๕. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้แม้ซึ่งธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วโดยปริยายและทั้งโดยนิปปริยาย ไม่รู้อรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำไว้แล้วและทั้งไม่รู้จักอรรถที่ควรแนะนำ.
๖. ภิกษุเหล่านั้นๆ ได้กำหนดอรรถไว้เป็นอย่างอื่นจากอรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยหมายเอาอย่างหนึ่ง ได้ยังอรรถมากมายให้พินาศไปเพราะฉายาแห่งพยัญชนะ*.
๗. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งพระสูตรบางอย่างและพระวินัยอันลึกซึ้งเสีย แล้วแต่งพระสูตรเทียม พระวินัยเทียมทำให้เป็นอย่างอื่น.
๘. คัมภีร์บริวารอัตถุธาระก็ดี อภิธรรมทั้ง ๖ ปกรณ์ก็ดี ปฏิสัมภิทานิทเทสก็ดี ชาดกบางส่วนก็ดี.
๙. คัมภีร์มีประมาณเท่านี้ ถูกภิกษุเหล่านั้นจำแนกไว้ต่างๆ กันแล้วแต่งให้เป็นอย่างอื่นทั้งนาม ลิงค์ บริขารและอากัปปกรณียะ.
๑๐. ภิกษุผู้เป็นหัวหน้าคณะ ผู้มีวาทะอันแยกกันแล้ว ผู้ทำมหาสังคีติเหล่านั้นได้พากันละทิ้งซึ่งความเป็นปกตินั้นเสียแล้วแต่งให้เป็นอย่างอื่น.
๑๑. ก็โดยการเรียนแบบอย่างแห่งภิกษุเหล่านั้น ได้มีลัทธิอันแตกแยกกันขึ้นมากมาย และภายหลังแต่กาลนั้นมาได้เกิดแตกแยกกันขึ้นในมหาสังฆิกะนั้น ดังนี้คือ :-
๑๒. ภิกษุผู้มหาสังฆิกะได้แตกแยกกันเป็น ๒ พวก คือเป็นโคกุลิกะพวกหนึ่ง เป็นเอกัพโยหาริกะพวกหนึ่ง ต่อมาอีกนิกายโคกุลิกะแตกกันออกเป็น ๒ พวก คือ :-
๑๓. เป็นนิกายพหุสสุติกะพวกหนึ่ง เป็นนิกายบัญญัติพวกหนึ่ง แต่นิกายเจติยะนั้นแตกแยกมาจากพวกมหาสังคีติได้เป็นอีกพวกหนึ่ง.
๑๔. ก็นิกายทั้ง ๕ เหล่านี้ทั้งหมดมีมูลมาจากพวกทำมหาสังคีติที่ทำลายอรรถและธรรม และทำลายการสงเคราะห์ธรรมวินัยบางอย่าง.
๑๕. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งคัมภีร์บางคัมภีร์และกระทำให้เป็นอย่างอื่นทั้งนาม ลิงค์ บริขารและอากัปปกรณียะ.
๑๖. อนึ่ง ในเถรวาทผู้บริสุทธิ์ เหล่าภิกษุผู้ละทิ้งปกติภาวะและกระทำให้เป็นอย่างอื่นนั้น ได้เกิดการแตกแยกกันขึ้นอีก ดังนี้คือ :-
๑๗. เป็นมหิสาสกะพวกหนึ่ง เป็นวัชชีปุตตกะพวกหนึ่ง สำหรับพวกวัชชีปุตตกะนั้นได้แตกแยกออกไปอีก ๔ พวก คือ :-
๑๘. ธัมมุตตริกะ ๑. ภัทรยานิกะ ๑. ฉันนาคาริกะ ๑. สมิติยะ ๑. ในกาลต่อมา พวกมหิสาสกะแตกแยกกันเป็น ๒ พวกอีก คือ :-
๑๙. เป็นพวกสัพพัตถิกวาทะและธัมมคุตตวาทะ สำหรับสัพพัตถิวาทะยังแตกออกเป็นนิกายกัสสปิกะ ต่อมานิกายกัสสปิกะแตกแยกเป็นนิกายสังกันติกวาทะ.
๒๐. ต่อมาสังกันติกวาทะแตกกันเป็นสุตตวาที ได้แตกแยกกันมาโดยลำดับดังนี้ วาทะคือนิกายเหล่านี้ทั้ง ๑๑ นิกายแตกแยกออกไปจากเถรวาททั้งสิ้น.
๒๑. ภิกษุเหล่านั้นทำลายทั้งอรรถและธรรม ทำการรวบรวมอรรถธรรมไว้บางอย่าง และได้ทอดทิ้งคัมภีร์บางคัมภีร์ ทั้งกระทำให้เป็นอย่างอื่น.
๒๒. ตลอดทั้งนาม ลิงค์ บริขารและอากัปปกรณียะ ได้พากันละทิ้งความเป็นปกติเสียแล้ว.
๒๓. นิกายที่แตกแยกกัน ๑๗ นิกาย นิกายที่ไม่แตกแยกกันมี ๑ นิกาย คือเถรวาท รวมนิกายทั้งหมดเป็น ๑๘ นิกาย อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ตระกูลอาจารย์ ๑๘ ตระกูล.
๒๔. คำสั่งสอนของพระชินะเจ้าเป็นของบริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่ยิ่งไม่หย่อน เป็นหลักมั่นคงสูงสุดของเถรวาททั้งหลาย ราวกะต้นไม้ใหญ่ ชื่อว่านิโครธ ฉะนั้น.
๒๕. นิกายที่เหลือ คือนอกจากเถรวาท เกิดขึ้นแล้วเป็นดุจกาฝากเกิดอยู่ที่ต้นไม้ นิกายที่แตกแยกกันมาทั้ง ๑๗ นิกายนี้ ไม่มีในร้อยปีแรก แต่ในระหว่างร้อยปีที่ ๒ คือภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี ได้เกิดขึ้นแล้วในศาสนาของพระชินะพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1&p=1
คำว่า นิกาย ๑๘ นิกายก็ดี ตระกูลอาจารย์ ๑๘ ตระกูลก็ดี เป็นชื่อของนิกายที่กล่าวมาแล้วเหล่านั้น นั่นแหละ. อนึ่งบรรดานิกาย ๑๘ นิกายเหล่านั้น ๑๗ นิกาย บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่แตกแยกกันมา ส่วนเถรวาท บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่ไม่แตกกัน.
(โปรดดูแผนผังความเป็นมา ดังต่อไปนี้
๑. ภิกษุผู้ลามกทั้งหลาย ผู้เป็นชาววัชชีบุตรผู้เป็นอธรรมวาที ถูกพระเถระผู้เป็นธรรมวาทีทั้งหลายขับออกแล้ว ได้พวกอื่นจึงตั้งคณาขารย์ใหม่.
๒. ภิกษุ๑- เหล่านั้นมีประมาณหมื่นรูปได้ประชุมกันรวบรวม คือทำการร้อยกรองพระธรรมวินัย เพราะฉะนั้น การร้อยกรองพระธรรมวินัยนี้ ท่านจึงเรียกว่า "มหาสังคีติ" แปลว่า การร้อยกรองใหญ่.
๓. ภิกษุทั้งหลายผู้ทำมหาสังคีติ ได้ทำความขัดแย้งไว้ในพระศาสนา ทำลายสังคายนาเดิม แล้วทำการรวบรวมธรรมวินัยไว้เป็นอีกอย่างหนึ่ง.
๔. ภิกษุเหล่านั้นได้แต่งพระสูตรที่สังคายนาไว้แล้วให้เป็นอย่างอื่น และทำลายอรรถและธรรมในพระวินัยในนิกายทั้ง ๕ ด้วย.
๕. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้แม้ซึ่งธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วโดยปริยายและทั้งโดยนิปปริยาย ไม่รู้อรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำไว้แล้วและทั้งไม่รู้จักอรรถที่ควรแนะนำ.
๖. ภิกษุเหล่านั้นๆ ได้กำหนดอรรถไว้เป็นอย่างอื่นจากอรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยหมายเอาอย่างหนึ่ง ได้ยังอรรถมากมายให้พินาศไปเพราะฉายาแห่งพยัญชนะ*.
๗. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งพระสูตรบางอย่างและพระวินัยอันลึกซึ้งเสีย แล้วแต่งพระสูตรเทียม พระวินัยเทียมทำให้เป็นอย่างอื่น.
๘. คัมภีร์บริวารอัตถุธาระก็ดี อภิธรรมทั้ง ๖ ปกรณ์ก็ดี ปฏิสัมภิทานิทเทสก็ดี ชาดกบางส่วนก็ดี.
๙. คัมภีร์มีประมาณเท่านี้ ถูกภิกษุเหล่านั้นจำแนกไว้ต่างๆ กันแล้วแต่งให้เป็นอย่างอื่นทั้งนาม ลิงค์ บริขารและอากัปปกรณียะ.
๑๐. ภิกษุผู้เป็นหัวหน้าคณะ ผู้มีวาทะอันแยกกันแล้ว ผู้ทำมหาสังคีติเหล่านั้นได้พากันละทิ้งซึ่งความเป็นปกตินั้นเสียแล้วแต่งให้เป็นอย่างอื่น.
๑๑. ก็โดยการเรียนแบบอย่างแห่งภิกษุเหล่านั้น ได้มีลัทธิอันแตกแยกกันขึ้นมากมาย และภายหลังแต่กาลนั้นมาได้เกิดแตกแยกกันขึ้นในมหาสังฆิกะนั้น ดังนี้คือ :-
๑๒. ภิกษุผู้มหาสังฆิกะได้แตกแยกกันเป็น ๒ พวก คือเป็นโคกุลิกะพวกหนึ่ง เป็นเอกัพโยหาริกะพวกหนึ่ง ต่อมาอีกนิกายโคกุลิกะแตกกันออกเป็น ๒ พวก คือ :-
๑๓. เป็นนิกายพหุสสุติกะพวกหนึ่ง เป็นนิกายบัญญัติพวกหนึ่ง แต่นิกายเจติยะนั้นแตกแยกมาจากพวกมหาสังคีติได้เป็นอีกพวกหนึ่ง.
๑๔. ก็นิกายทั้ง ๕ เหล่านี้ทั้งหมดมีมูลมาจากพวกทำมหาสังคีติที่ทำลายอรรถและธรรม และทำลายการสงเคราะห์ธรรมวินัยบางอย่าง.
๑๕. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งคัมภีร์บางคัมภีร์และกระทำให้เป็นอย่างอื่นทั้งนาม ลิงค์ บริขารและอากัปปกรณียะ.
๑๖. อนึ่ง ในเถรวาทผู้บริสุทธิ์ เหล่าภิกษุผู้ละทิ้งปกติภาวะและกระทำให้เป็นอย่างอื่นนั้น ได้เกิดการแตกแยกกันขึ้นอีก ดังนี้คือ :-
๑๗. เป็นมหิสาสกะพวกหนึ่ง เป็นวัชชีปุตตกะพวกหนึ่ง สำหรับพวกวัชชีปุตตกะนั้นได้แตกแยกออกไปอีก ๔ พวก คือ :-
๑๘. ธัมมุตตริกะ ๑. ภัทรยานิกะ ๑. ฉันนาคาริกะ ๑. สมิติยะ ๑. ในกาลต่อมา พวกมหิสาสกะแตกแยกกันเป็น ๒ พวกอีก คือ :-
๑๙. เป็นพวกสัพพัตถิกวาทะและธัมมคุตตวาทะ สำหรับสัพพัตถิวาทะยังแตกออกเป็นนิกายกัสสปิกะ ต่อมานิกายกัสสปิกะแตกแยกเป็นนิกายสังกันติกวาทะ.
๒๐. ต่อมาสังกันติกวาทะแตกกันเป็นสุตตวาที ได้แตกแยกกันมาโดยลำดับดังนี้ วาทะคือนิกายเหล่านี้ทั้ง ๑๑ นิกายแตกแยกออกไปจากเถรวาททั้งสิ้น.
๒๑. ภิกษุเหล่านั้นทำลายทั้งอรรถและธรรม ทำการรวบรวมอรรถธรรมไว้บางอย่าง และได้ทอดทิ้งคัมภีร์บางคัมภีร์ ทั้งกระทำให้เป็นอย่างอื่น.
๒๒. ตลอดทั้งนาม ลิงค์ บริขารและอากัปปกรณียะ ได้พากันละทิ้งความเป็นปกติเสียแล้ว.
๒๓. นิกายที่แตกแยกกัน ๑๗ นิกาย นิกายที่ไม่แตกแยกกันมี ๑ นิกาย คือเถรวาท รวมนิกายทั้งหมดเป็น ๑๘ นิกาย อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ตระกูลอาจารย์ ๑๘ ตระกูล.
๒๔. คำสั่งสอนของพระชินะเจ้าเป็นของบริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่ยิ่งไม่หย่อน เป็นหลักมั่นคงสูงสุดของเถรวาททั้งหลาย ราวกะต้นไม้ใหญ่ ชื่อว่านิโครธ ฉะนั้น.
๒๕. นิกายที่เหลือ คือนอกจากเถรวาท เกิดขึ้นแล้วเป็นดุจกาฝากเกิดอยู่ที่ต้นไม้ นิกายที่แตกแยกกันมาทั้ง ๑๗ นิกายนี้ ไม่มีในร้อยปีแรก แต่ในระหว่างร้อยปีที่ ๒ คือภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี ได้เกิดขึ้นแล้วในศาสนาของพระชินะพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1&p=1
แสดงความคิดเห็น
อะไรหนอ? พุทธศาสนา
ก็เมื่อมีการตีความ มีความต่าง มากบ้าง น้อยบ้าง เป็นธรรมดาอยู่ ยังเหตุให้เกิดความอ่อนแอ ความแตกแยก จากความเห็นต่างนั้น.
ภาษาไทยฉบับหลวง ภาษาไทยฉบับมหาจุฬา และกำลังจะมีฉบับ พุทธวจน หมายว่ามีสรรพคุณตามชื่อเรียก (ไม่แน่ในว่าจะมี ธรรมชัยอีกหรือไม่) ปรากฏขึ้นแก่โลก....
ดูก่อนท่านผู้มีอินทรีย์ทั้งหลาย อันเราหาใช่พระตถาคตไม่ ประกาศตนว่าเป็น"ชาวพุทธ"
เป็นปุถุชนคนธรรมดา มีราคะกล้า เป็นผู้ทุศีลบางประการอยู่
แม้ได้สดับ ชื่อเรียกเล่มเหล่านั้น ก็เห็นถึงความไม่เหมาะ ไม่ควร ยังความแตกแยก อ่อนแอ ได้แต่ภายใน พอจะกล่าวได้หรือไม่ว่า
เหล่านี้ เหล่านี้ เหล่านี้ เป็น นิกายเหล่าอื่นอยู่
แม้จะกล่าวถึงการสังฆายนาแต่ละครั้ง ก็ล้วนแต่กล่าวอ้างว่า"มีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่"
ข้อนี้ เราจักหาคำจริงของพระตถาคตได้ แต่ใด???
ก็เมื่อสังคายนาอยู่ ก็มิรู้ชัดได้ว่า เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ รู้พระวินัยแจ้งอยู่ เพราะประกาศตนว่าเป็นสาวกในธรรมวินัย "อันมีข้ออ้างว่าวิปลาสคลาดเคลื่อน" อยู่อย่างนี้
พอจะกล่าวอีกนัยได้หรือไม่ ว่าสังคายนาเพื่อความหย่อน เพื่อกิเลส เพราะความปรากฎแห่งอาชีพผู้ถือกระเบื้องขอทาน นั้นอยู่ดีกินดีกว่าผู้ประกอบอาชีพขอทานไร้ศีล เป็นผู้มีอาหารมาก เป็นผู้บริโภคมาก มีลาภสักการะมาก มีกิจมากไม่ประกอบอยู่ในธรรมวินัย มีการกระทำเดรัจฉานวิชาให้ผู้มีมิจฉาทิฐิอยู่ มีการกล่าวธรรมไม่กระจ่างอยู่แก่ผู้ศรัทธา มีความอันตรธานไปแห่งโทษหนักแห่ง"โมฆะบุรุษ" ดุจการชำระบาปแห่งลัทธิอื่น.
2.อะไรหนอ ควรปกครองผู้เป็นเนื้อนาบุญแห่งพุทธศาสนาอยู่
ก็ผู้มีศีล มีธรรมวินัยอันมีข้ออ้างว่าบริสุทธิ์ จากความวิปลาสคลาดเคลื่อน อยู่ ครั้นจะหาคำรับรองจากพระตถาคต ก็มิใช่กาล ครั้นจะหาผู้บริสุทธิ์ด้วย อรหันต์ ก็มิสามารถประเมินได้ด้วยผู้ด้อยกว่า
เมื่อธรรมวินัยนั้น อันพระตถาคตกล่าวไว้ ให้เป็นผู้ปกครองผู้เป็นเนื้อนาบุญ ให้เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ มีอยู่
ไฉนจึงปรากฎในบ้านเมืองว่า จักเป็นผู้ไร้ซึ่งผู้ปกครองเสียแล้ว
ข้อนี้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายจะสำคัญว่าอย่างไร? จักปรากฎความจริงว่า บ้านเมืองนี้เป็นของลัทธิสาวก ผู้ไร้ซึ่งผู้ปกครองเสียแล้ว ให้เปี่ยมล้นด้วยศรัทธาเสียแล้วจากมิจฉาทิฐิชน.