สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ตอบตรงๆเลยคือเราคิดว่า เพราะเชวซุกบิน(ทงอี)เป็นพระมารดาของพระเจ้ายองโจค่ะ
ถึงได้มีผู้หยิบยกเรื่องราวของพระนาง จากบันทึกเพียงไม่กี่บรรทัดมาเเต่งเติมเป็นซีรี่ย์
พระเจ้ายองโจถือเป็นกษัตริย์ที่มีปรีชาสามารถพระองค์หนึ่งของเกาหลี
แต่พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระมารดาแท้ๆมาจากชนชั้นทาส เป็นกษัตริย์ที่ฆ่าลูกตัวเอง(รัชทายาทซาโด)...
เราคิดว่าในส่วนเรื่องที่เกิดขึ้นกับรัชทายาทซาโดมีคนเอามาทำเป็นหนังเป็นซีรี่ย์อยู่เนื่องๆอยู่แล้ว
การย้อนเรื่องขุดให้ลึกลงไปว่าเพราะผลกลใดถึงทำให้พ่อฆ่าลูกแท้ๆของตัวเองได้ จึงดูน่าหยิบยกขึ้นมา
การเล่าเรื่องขององค์ชายยอนอิงที่กว่าจะได้ก้าวขึ้นเป็นพระเจ้ายองโจว่าเติบโตมาแบบไหน ต้องผ่านอะไรมาบ้าง
โดนลอบฆ่า เป็นเครื่องมือทางการเมืองของขุนนาง ในเรื่องทงอีนี่ถึงขนาดต้องยอมพรากจากแม่ทั้งที่ยังเด็ก
เพื่อจะเป็นลูกของราชินีอินวอนราชินีองค์ที่สามของพระเจ้าซุกจง
การจะขึ้นครองราชย์และหลังจากครองราชย์ก็ยังโดนครหาอยู่เรื่อยๆจากการมีแม่แท้ๆเคยเป็นชนชั้นทาส
ทำให้ได้เห็นแนวคิดจากตัวพระสนมเชวซุกบินผู้เป็นพระมารดากับพระเจ้าซุกจงผู้เป็นพระบิดาว่ามีแนวคิดแบบใด
แล้วพระเจ้ายองโจนั้นรับแนวคิดใดมาบ้าง
สรุปแล้วเราคิดว่าที่เพราะพระมารดาแท้ของพระเจ้ายองโจ เชวซุกบิน(ทงอี) ถูกหยิบยกมาทำซีรี่ย์
เพราะเป็นคนที่มีบทบาท(เป็นความกดดัน)ลับๆสืบเนื่องมาถึงรัชสมัยของพระเจ้ายองโจ
- ทำให้พระเจ้ายองโจเคยถูกลอบฆ่า
- ทำให้พระเจ้ายองโจโดนขุนนางกดดันทางการเมืองว่ามีแม่มาจากชนชั้นทาสไม่เหมาะสมจะเป็นกษัตริย์
- ทำให้โดนตั้งข้อสงสัยจากขุนนางฝ่ายตรงข้ามว่าองค์ชายยอนอิงเป็นผู้วางแผนสังหารพระเจ้าคยองจง
เพราะเป็นลูกคนละแม่และมีสิทธิรองลงไปในการสืบทอดราชบัลลังค์ต่อ
เพิ่มเติม อย่างที่ความเห็นบนว่าคือ ในส่วนชีวิตส่วนตัวพระสนมเชวซุกบินก็มีความน่าสนใจที่จากทาสก้าวขึ้นมาเป็นพระสนม จนลูกได้เป็นกษัตริย์
มันคงดูน่าสนใจว่าจะแต่งเติมชีวิตผู้หญิงคนหนึ่งที่อยู่ในชนชั้นต่ำของสังคมจนก้าวขึ้นมาสูงได้ขนาดนี้ยังไง ผู้หญิงคนนี้จะต้องเป็นคนแบบไหนผ่านอะไรมาบ้าง
ถึงได้มีผู้หยิบยกเรื่องราวของพระนาง จากบันทึกเพียงไม่กี่บรรทัดมาเเต่งเติมเป็นซีรี่ย์
พระเจ้ายองโจถือเป็นกษัตริย์ที่มีปรีชาสามารถพระองค์หนึ่งของเกาหลี
แต่พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระมารดาแท้ๆมาจากชนชั้นทาส เป็นกษัตริย์ที่ฆ่าลูกตัวเอง(รัชทายาทซาโด)...
เราคิดว่าในส่วนเรื่องที่เกิดขึ้นกับรัชทายาทซาโดมีคนเอามาทำเป็นหนังเป็นซีรี่ย์อยู่เนื่องๆอยู่แล้ว
การย้อนเรื่องขุดให้ลึกลงไปว่าเพราะผลกลใดถึงทำให้พ่อฆ่าลูกแท้ๆของตัวเองได้ จึงดูน่าหยิบยกขึ้นมา
การเล่าเรื่องขององค์ชายยอนอิงที่กว่าจะได้ก้าวขึ้นเป็นพระเจ้ายองโจว่าเติบโตมาแบบไหน ต้องผ่านอะไรมาบ้าง
โดนลอบฆ่า เป็นเครื่องมือทางการเมืองของขุนนาง ในเรื่องทงอีนี่ถึงขนาดต้องยอมพรากจากแม่ทั้งที่ยังเด็ก
เพื่อจะเป็นลูกของราชินีอินวอนราชินีองค์ที่สามของพระเจ้าซุกจง
การจะขึ้นครองราชย์และหลังจากครองราชย์ก็ยังโดนครหาอยู่เรื่อยๆจากการมีแม่แท้ๆเคยเป็นชนชั้นทาส
ทำให้ได้เห็นแนวคิดจากตัวพระสนมเชวซุกบินผู้เป็นพระมารดากับพระเจ้าซุกจงผู้เป็นพระบิดาว่ามีแนวคิดแบบใด
แล้วพระเจ้ายองโจนั้นรับแนวคิดใดมาบ้าง
สรุปแล้วเราคิดว่าที่เพราะพระมารดาแท้ของพระเจ้ายองโจ เชวซุกบิน(ทงอี) ถูกหยิบยกมาทำซีรี่ย์
เพราะเป็นคนที่มีบทบาท(เป็นความกดดัน)ลับๆสืบเนื่องมาถึงรัชสมัยของพระเจ้ายองโจ
- ทำให้พระเจ้ายองโจเคยถูกลอบฆ่า
- ทำให้พระเจ้ายองโจโดนขุนนางกดดันทางการเมืองว่ามีแม่มาจากชนชั้นทาสไม่เหมาะสมจะเป็นกษัตริย์
- ทำให้โดนตั้งข้อสงสัยจากขุนนางฝ่ายตรงข้ามว่าองค์ชายยอนอิงเป็นผู้วางแผนสังหารพระเจ้าคยองจง
เพราะเป็นลูกคนละแม่และมีสิทธิรองลงไปในการสืบทอดราชบัลลังค์ต่อ
เพิ่มเติม อย่างที่ความเห็นบนว่าคือ ในส่วนชีวิตส่วนตัวพระสนมเชวซุกบินก็มีความน่าสนใจที่จากทาสก้าวขึ้นมาเป็นพระสนม จนลูกได้เป็นกษัตริย์
มันคงดูน่าสนใจว่าจะแต่งเติมชีวิตผู้หญิงคนหนึ่งที่อยู่ในชนชั้นต่ำของสังคมจนก้าวขึ้นมาสูงได้ขนาดนี้ยังไง ผู้หญิงคนนี้จะต้องเป็นคนแบบไหนผ่านอะไรมาบ้าง
ความคิดเห็นที่ 1
เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อาจจะมีน้อย
แต่ตำนานมันมีเยอะไง
แล้วตำนานที่เล่าๆ กันมามันก็ดราม่า น้ำเน่าดีแท้
ทั้งจางอ๊กจอง และชอยทงอี
จะว่าไปเรื่องที่นิยมนำมาเล่านี่น่าจะจางอ๊กจองมากกว่านะ
มีหลายเวอร์ชั่นมาก ส่วนของทงอีก็มีแต่น้อยกว่ากัน
ส่วนสาเหตุหลักๆ ก็น่าจะเป็นเพราะเป็นเรื่องที่คนเกาหลีทั่วไปพอรู้จักบ้าง
และเนื้อเรื่องมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อน เหมาะจะนำมาสร้างเป็นละคร เป็นซีรีส์อ่ะค่ะ
ถ้าเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายก็คล้ายๆ กับที่บ้านเราชอบทำหนังเกี่ยวกับบางระจัน
มีหลายเวอร์ชั่นทั้งหนัง ละคร รีเมคมาไม่รู้กี่รอบ
ทั้งๆ ที่ไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ตั้ง 33 พระองค์ สงครามกับพม่า กับลาว กับเขมรก็มีไม่รู้กี่รอบ
พอทำเป็นหนังจริงๆ ก็วนหลักๆ อยู่แค่สมัยกรุงแตก (ครั้งที่ 1 ก็เรื่องสุริโยไท กษัตริยา พระนเรศวร
กับครั้งที่ 2 พระเจ้าตากสินมหาราช บางระจัน)
ซึ่งถ้าว่ากันตามประวัติศาสตร์แล้ว พระมหากษัตริย์บางพระองค์ เช่น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้ก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย
ก็มีความสำคัญมาก แต่ไม่ยักกะมีละคร หรือหนังเกี่ยวกับท่านเท่าไหร่นัก หรือพ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็เช่นกัน
หรือพระเจ้าอู่ทอง ผู้สถาปนาอาณาจักรอยุธยาก็ไม่ได้มีละครเกี่ยวกับท่าน ทั้งๆ ที่ท่านก็มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
เหตุผลในมุมมองของเราคือ "เรื่องมันไม่ epic พอให้มาทำเป็นหนังหรือละคร"
เรื่องไหนที่ผู้คนเขียนนิยายไว้และนิยายมีพล็อตเรื่องน่าสนใจก็จะถูกหยิบยกมาทำเป็นละครหรือหนัง
เช่น เรื่องพันท้ายนรสิงห์ ทั้งๆ ที่เอาตามจริงแทบจะไม่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์เลย
แต่ตำนานมันมีเยอะไง
แล้วตำนานที่เล่าๆ กันมามันก็ดราม่า น้ำเน่าดีแท้
ทั้งจางอ๊กจอง และชอยทงอี
จะว่าไปเรื่องที่นิยมนำมาเล่านี่น่าจะจางอ๊กจองมากกว่านะ
มีหลายเวอร์ชั่นมาก ส่วนของทงอีก็มีแต่น้อยกว่ากัน
ส่วนสาเหตุหลักๆ ก็น่าจะเป็นเพราะเป็นเรื่องที่คนเกาหลีทั่วไปพอรู้จักบ้าง
และเนื้อเรื่องมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อน เหมาะจะนำมาสร้างเป็นละคร เป็นซีรีส์อ่ะค่ะ
ถ้าเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายก็คล้ายๆ กับที่บ้านเราชอบทำหนังเกี่ยวกับบางระจัน
มีหลายเวอร์ชั่นทั้งหนัง ละคร รีเมคมาไม่รู้กี่รอบ
ทั้งๆ ที่ไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ตั้ง 33 พระองค์ สงครามกับพม่า กับลาว กับเขมรก็มีไม่รู้กี่รอบ
พอทำเป็นหนังจริงๆ ก็วนหลักๆ อยู่แค่สมัยกรุงแตก (ครั้งที่ 1 ก็เรื่องสุริโยไท กษัตริยา พระนเรศวร
กับครั้งที่ 2 พระเจ้าตากสินมหาราช บางระจัน)
ซึ่งถ้าว่ากันตามประวัติศาสตร์แล้ว พระมหากษัตริย์บางพระองค์ เช่น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้ก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย
ก็มีความสำคัญมาก แต่ไม่ยักกะมีละคร หรือหนังเกี่ยวกับท่านเท่าไหร่นัก หรือพ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็เช่นกัน
หรือพระเจ้าอู่ทอง ผู้สถาปนาอาณาจักรอยุธยาก็ไม่ได้มีละครเกี่ยวกับท่าน ทั้งๆ ที่ท่านก็มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
เหตุผลในมุมมองของเราคือ "เรื่องมันไม่ epic พอให้มาทำเป็นหนังหรือละคร"
เรื่องไหนที่ผู้คนเขียนนิยายไว้และนิยายมีพล็อตเรื่องน่าสนใจก็จะถูกหยิบยกมาทำเป็นละครหรือหนัง
เช่น เรื่องพันท้ายนรสิงห์ ทั้งๆ ที่เอาตามจริงแทบจะไม่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์เลย
แสดงความคิดเห็น
ทำไมคนสร้างถึงเลือกชีวประวัติของ " พระสนมชเวซุกบิน/ทงอี " มาสร้างเป็นซีรีส์
เท่าที่ค้นคว้าข้อมูลมา พระนางมีความสำคัญถูกเอ่ยถึงก็เพราะเป็นพระราชมารดาของพระเจ้ายองโจเท่านั้น
ส่วนการได้เป็นพระสนมเอกตำแหน่งสูงสุดในพระเจ้าซุกจง ก็มีหลายคน
พระนางอ๊กซาน ตระกูลจาง แห่งอินดง (희빈 장씨, 禧嬪 張氏) พระนามเดิม พระสนมฮีบิน
พระนางฮวากย็อง ตระกูลชเว แห่งแฮจู (숙빈 최씨, 淑嬪 崔氏) พระนามเดิม พระสนมซุกบิน
พระสนมมยองบิน ตระกูลปาร์ค แห่งมิลยาง (명빈 박씨, 明嬪 朴氏)
พระสนมยองบิน ตระกูลคิม แห่งอันดง (영빈 김씨 , 寧嬪 金氏)
ใครพอทราบเหตุผลรบกวนช่วยคลายสงสัยทีฮะ สงสัยจริงๆ