สงสัยเกี่ยวกับ ปวศ.ปัตตานี ศาสนาอิสลามกับของเสนอของฮัจยีสุหลง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ถ้าดูจากคลิป วิเทโศบายที่ผมเข้าใจว่ามาจากรัชกาลที่ 6 ไม่ใช่รัชกาลที่ 6 แต่มาจากการวิจัยศึกษาของเจ้าพระยายมราช ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ไปปัตตานีแล้วมองเห็นความแย่ของระบบราชการไทยที่ทำกับปัตตานี (ตัวผู้สัมภาษณ์พูดทำนองว่า) เจ้าพระยาเป็นขุนนางใหญ่มีอิทธิพลมากถ้าท่านพูดก้แสดงว่ามันกำลังสื่อสารไปกับพวกคนอีกกลุมที่ทำกับปัตตานีแบบแย่ๆ
แต่อีกข้อที่รัชกาลที่6 ไม่ทำคือ ฟื้นตำแหน่งกษตัริย์ปัตตานีกลับมาเหมือนเดิม

อีกอันคือจากนั้นเราไม่เชื่อคำแนะนำของเจ้าพระยายมราช ยังส่งขุนนางที่เป็นศัตรูกับคุณฮัจยีไปปกครองอีก

แถมยังบังคับเก็บภาษี บังคับเรียนภาษาไทยแถมให้จ่ายเงินเอง

ผมอ่านกระทู้   http://ppantip.com/topic/34059233/

มีคห.ที่ดูเหมือนจะรู้เรื่องปัตตานีได้ พูดว่า ฮัจยีสุหลง เป็นคนแรกๆที่เรียนศาสนาอิสลามจากตะวันออกกลาง

ความคิดเห็นที่ 3

แล้วก้บอกว่า อิสลามสมัยปัตตานีสมัยก่อนไม่เคร่งครัดเหมือนสมัยนี้ได้ แต่ในงานวิจัยทาง ปวศ.บอกว่า ปัตตานี สำคัญขนาดถูกเรียกว่า  “Serambi Makkah/ระเบียงมหานครเมกกะฮ”  มีคนที่ไปเรียนศาสนาที่นั่นมานานแล้วไม่ใช่เริ่มที่ตัว คุณอัฉยี แล้วก้ต้องเคร่งมากพอสมควรถึงจะถูกเรียกว่า ระเบียงมหานครเมกกะฮ อะไรนี่ได้ ถูกมั้ยครับ

           อ้างอิงจาก        http://www.deepsouthwatch.org/dsj/7606


สรุปคือ คห. 3 เข้าใจผิด


อีกอัน  ข้อเสนอ ของ คุณฮัจยี

ขอให้แต่งตั้งบุคคลคนหนึ่งซึ่งมีอำนาจเต็มมาปกครองใน 4 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ให้มีอำนาจที่จะปลด ระงับ หรือโยกย้ายข้าราชการได้ บุคคลผู้นี้จักต้องถือกำเนิดในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งของ 4 จังหวัด และจักต้องได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนใน 4 จังหวัดนั้น

ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทยเป็นภาษาราชการของ 4 จังหวัด

ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลางของการสอนในโรงเรียนชั้นประถมศึกษา

ให้ใช้กฎหมายมุสลิมในศาลศาสนา


แต่ในคลิป ศ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ   ช่วง 31.11
บอกว่า เราแปลผิดจริงคือการขอมีผู้ว่าเลือกตั้ง มันก็คือจังหวัดปกครองตนเอง

จากนั้นเราก็ไปหาว่า ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ เป็นใคร


                         แกเป็นคณบดี คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

                        ผู้อำนวยการ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

แสดงว่าต้องมีความรู้เรื่องปัตตานีดีพอเลย
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
สำหรับเรื่องการปฏิบัติตนของมุสลิมในปาตานีในประวัติศาสตร์สมัยก่อน มีหลักฐานอยู่ว่าในหมู่ประชาชนทั่วไปยังไม่ได้เคร่งครัดตามหลักศาสนาอิสลามเท่าในปัจจุบันครับ ปรากฏอยู่ในเอกสารของปาตานีเองอย่าง ฮิกายัต ปาตานี(Hikayat Patani) หรือ พงศาวดารปาตานีครับ ต้นฉบับไม่ทราบว่าใครเป็นผู้เรียบเรียง แต่สันนิษฐานว่าเรียบเรียงโดยชาวปาตานีเองในราวศตวรรษที่ ๑๘

โดยความเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาในช่วงที่ปาตานีเริ่มเปลี่ยนการนับถือศาสนาใหม่ๆในสมัยสุลต่านอิสมาอิลชาฮ์มีอยู่ว่า
"ในครั้งนั้น พลเมืองที่รับนับถือศาสนาอิสลามคือพวกที่อาศัยอยู่ภายในเมืองเท่านั้น พวกที่อาศัยอยู่ตามบ้านนอกๆ ออกไปยังหาได้นับถือศาสนาตามเจ้าเมืองไม่ ส่วนเจ้าเมืองนั้น การรับนับถืออิสลามก็เพียงแต่เลิกการเคารพเทวรูปและไม่กินเนื้อหมูเท่านั้น ส่วนนอกเหนือจากนั้นกิจการอื่นๆ ที่คนนอกศาสนาปฏิบัติกัน พระองค์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง"

ในยุคหลังๆน่าจะมีการพัฒนาทางศาสนามากขึ้นดังที่ก็ปรากฏว่ามีการสร้างมัสยิดกรือเซะเป็นหลักของศาสนา และมีการพบอัลกุรอ่านฉบับคัดลอกโบราณจำนวนมากในแถบนี้ การที่ให้มีคนในปาตานีโบราณมีผู้รู้ศาสนาหรือเคยไปศึกษาที่มักกะฮฺก็มีความเป็นไปได้ จนเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ


คัมภีร์อัลกุรอานฉบับคัดลอกโบราณของรัฐปาตานี


แต่ก็ยังปรากฏว่ารัฐอิสลามในแถบมลายูหลายๆรัฐรวมถึงปาตานีในสมัยโบราณก็ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนอย่างเคร่งครัด  ดังที่ปรากฏว่าการรับถือศาสนาอิสลามเป็นโครงสร้างหลักทางศาสนาและการปกครองโดยผสมปนเปกับความเชื่อหรือศาสนาดั้งเดิมในท้องถิ่นมลายูอย่างเช่นศาสนาพราหมณ์หรือผีก็ยังคงปรากฏมาจนในยุคหลังในรูปแบบของพิธีกรรมหรือไสยศาสตร์ ซึ่งฮิกายัต ปาตานีก็ให้ภาพว่า

"สุลต่านมุดาฟาร์ชาฮ์ จึงรับสั่งบันดาฮาราให้จัดสร้างมัสยิดตามคำแนะนำของเช็คซอฟียุดดิน และพระองค์ก็ได้ทรงขนานนามเช็คซอฟียุดดินเป็นฟากิฮฺ(ผู้รู้ศาสนาอิสลาม) ต่อจากนั้นศาสนาอิสลามก็เผยแผ่ออกไปจนถึงเมืองโกตามหาลิฆัย ต่างพากันเข้านับถือศาสนาอิสลาม ตามคำสอนของท่านนะบีมูฮัมหมัด (ช็อลลอลลอฮฺ ฮูอาลัยฮิวะสัลลาม = ของความสันติสุขจงประสบแด่ท่าน) อย่างไรก็ดีการปฏิบัติอันเป็นพฤติการณ์ของชาวกาฟีรฺนอกศาสนา เช่น กราบไหว้ต้นไม้ หิน และภูติผีนั้น ชาวบ้านก็ยังหาได้งดเว้นไม่ คงงดเว้นแต่เฉพาะการกินเหล้าและการกินหมูเท่านั้นที่งดเว้นจริงๆ"

ในชนชั้นปกครองเองก็พบได้ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้คือการให้สตรีขึ้นมาเป็นผู้ปกครองอย่างปาตานีในยุคสี่ราชินีหรือในรัฐอะเจะห์ ซึ่งขัดต่อหลักคำสอนของอิสลามในเรื่องการห้ามสตรีเป็นประมุข นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายตัวอย่าง เช่น สุลต่านมันโซร์ชาห์ รายาปาตานีเคยให้สร้างเสาทองคำในสุสานของพระธิดาซึ่งขัดต่อหลักคำสอนเป็นต้น

อีกตัวอย่างก็เห็นได้ในรูปแบบของการแต่งกายสตรีมุสลิมในปัตตานีสมัยก่อนก็ไม่ได้สวมฮิญาบตามที่มีระบุในอัลกุรอ่าน แต่แต่งกายกันตามธรรมเนียมมลายูดั้งเดิม เพิ่งเริ่มมาใส่กันราวๆ ๕๐ ปีนี้เองครับ
http://topicstock.ppantip.com/library/topicstock/2010/10/K9855322/K9855322.html

การเจรจาการค้าในปตานี ภาพพิมพ์ใน ค.ศ.๑๖๘๒(พ.ศ.๒๒๒๕) แสดงภาพหญิงชาวปาตานีไม่สวมฮิญาบ เปลือยอก
มุสลิมภาคใต้สมัยรัตนโกสินทร์ก็แต่งกายไม่ได้แตกต่างจากนี้มาก



น่าเชื่อว่าคงมีผู้ที่ได้ศึกษาหลักศาสนาที่ถูกต้อง แต่เป็นไปได้สูงที่จะจำกัดอยู๋ในวงแคบๆเช่นในชนชั้นผู้ปกครองหรือครูสอนศาสนาเท่านั้น ยังไม่กระจายทั่วถึงในประชาชนทั่วไป ซึ่งก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ฮัจญีสุหลงมองเห็นว่าควรจะมีการเผยแผ่หลักศาสนาอิสลามที่ถูกต้องในพื้นที่แถบนี้จนกลับมาลงหลักปักฐานอยู่ที่ปัตตานีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่