เทคโนโลยีจักรยานวินเทจที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน (ภาค 1)

กระทู้สนทนา
1.ยางแก้มแก้ว
จะทำยังไงเมื่ออยากลดน้ำหนักยางลง เพื่อให้น้ำหนักเบาพอที่จะขี่ขึ้นเขาแอลป์ได้ ยางแก้มแก้วคือตำตอบ นักจักรยานรุ่นเก่าได้ทำการลดน้ำหนักยางลงโดยตัดเนื้อยางเนื้อแข็งด้านข้างยางออก โดยให้มียางเนื้อแข็งเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับพื้นถนนเท่านั้น
เท่านี้ก็สามารถลดน้ำหนักยางลงได้เกือบหนึ่งในสามแล้ว



2. ยางฮาร์ฟ
จะทำยังไงเมื่อยางขอบงัดสมัยก่อนไม่สามารถอัดลมได้สูงนัก แถมเมื่อตอนรั่ว ยังเสียเวลาต้องมานั่งถอดเอายางในมาเปลี่ยน
ยางฮาร์ฟคือทางออกสำหรับสองปัญหานี้ ทั้งอัดลมได้สูง ลดความเสี่ยงจากการรั่วของยางเนื่องจากวิ่งทับหินแหลม เท่านั้นยังไม่พอ ยังถอดเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดรั่วซึม แค่ถอดล้อ กระชากยางเก่าออก ใส่ยางสำรอง แล้วอัดลมแน่นๆ ทุกอย่างไม่เกินสิบนาทีสำหรับมือโปร

มันเป็นยาง Run flat ได้ด้วยนะเออ เพราะวิ่งแบบยางแบนมันไม่ปลิ้นไปมาพอถูๆไถๆขี่บดได้สักพัก




3.วงล้อไม้
เมื่อวงล้อเหล็กมันหนักเกินไป และเมื่อเกือบร้อยปีก่อน อลูมีเนียม ก็ยังไม่แพร่หลาย หรือหาซื้อสะดวกเท่าใดนัก แล้วจะใช้วัสดุอะไรละ ที่พอจะมีความแข็งแรง และน้ำหนักเบา และที่สำคัญหาได้ง่าย "ไม้" คือคำตอบ โชคดีที่เรามียางฮาร์ฟใช้กันแล้ว การนำไม้มาทำวงล้อจักรยานจึงไม่ใช่เรื่องลำบากนัก เพราะไม่ต้องทำขอบมารับกับขอบยางเหมือนยางคลินเซอร์

มันก็คือ ล้อเทพ ล้อคาร์บอนยุคร้อยปีที่แล้วนี่เอง




4.การเจาะรูทำลวดลายลัก (Lug)
ข้อต่อจักรยานที่เราเรียกกันว่า ลัก ที่เห็นเป็นลวดลายต่างๆ มันไม่ใช่แค่เพื่อสวยงามเท่านั้น สาเหตุคือ การเชื่อมด้วยทองเหลืองสมัยก่อน มักมีปัญหาทองเหลืองไม่ไหลไปในส่วนลึก ทำให้ข้อต่อไม่แข็งแรง
การทำลวดลายต่างๆตรงลัก จุดประสงค์ก็เพื่อให้ทองเหลืองกระจายไปได้ทั่วทุกส่วนของข้อต่อ ไม่ใช่เพียงเพื่อความสวยงามเท่านั้น



5.เหล็กขูดยาง
ไม่เคยได้ยินกันละสิ สมัยนั้นไม่มีน้ำยากันรั่วยาง ถนนก็คาดเดาไม่ได้ ถนนหิน ถนนลาดยางก็มีเฉพาะเขตเมือง จะเลี่ยงไม่ขี่ถนนดิน สงสัยคงไม่ได้ขี่จักรยานแน่ๆ เหล็กขูดยางคือทางออก มันติดอยู่ที่จุดยึดเบรกทั้งหน้าและหลัง มันทำหน้าที่ขูดเศษหิน เศษแก้วออกจากยาง ก่อนที่ล้อจะหมุนไปทับเศษหิน เศษแก้วอีกรอบ แค่นี้ก็ป้องกันยางรั่วไปได้เยอะแล้ว



6.เบรคไม้ก้อก
มันมาคู่กับวงล้อขอบไม้ เมื่อวงล้อขอบไม้กับผ้าเบรกที่ทำด้วยยางมันไปด้วยกันไม่ได้ ผ้าเบรกที่ทำจากไม้ก๊อกคือตัวเลือก มันถูกลืมเมื่อวงล้ออลูมิเนียมเข้ามาแทนที่วงล้อไม้ และมันก็ถูกขุดขึ้นมาใช้อีกโดย Bontrager เมื่อวงล้อคาร์บอนมีปัญหากับผ้าเบรคที่ทำจากยาง




7.น็อตดุมล้อแบบหางปลา
เมื่อ Quick release หรือมือปลดล้อแบบปัจจุบันยังไม่ถือกำเนิด การถอดล้อเป็นเรื่องยุ่งยากมานานนมแล้ว ไหนจะต้องพกประแจ ไหนน็อตล้อหน้า กับล้อหลังก็คลละเบอร์ น็อตหางปลามาช่วยตัดรำคาญตรงนี้ มันถูกใช้อยู่ได้พักใหญ่ๆ มือปลดล้อก็มาแทนที่ คงเป็นเพราะมันดูเกะกะลูกตาละมั้ง



8.หางปลาหลังแบบมีระยะปรับได้
อันนี้ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจจุดประสงค์เริ่มแรกทำมาเพื่ออะไร เดาว่าเพื่อใช้กับล้อ และยางขนาดต่างๆ บ้างก็ถนนดีใส่ยางเล็กๆวิ่งเร็วดี บ้างก็ถนนแย่ต้องใส่ยางขนาดใหญ่ขึ้น ฝรั่งเศสใช้ล้อ 27 นิ้ว ในขณะที่ประเทศอื่นใช้มาตรฐาน 700c คงจะลดความวุ่นวายตรงนี้ลง เลยทำหางปลาแบบมีระยะปรับได้มันซะเลย จบ!!!



9.เข็มขัดรัดดุมและรูที่อยู่ตรงนั้น
เอาละสิ...มันเอาไว้ทำอะไร มันคือที่อัดจารบี ขั้นตอนที่พวกคุณต้องมาขันคลายน็อต เอาลูกปืนมาล้างอะแหละ
ใต้เข็มขัดนี้ มันมีรูไว้อัดจารบี โดยไม่ต้องถอดชิ้นส่วนดุมให้วุ่นวาย อัดมันเข้าไป อัดจนจารบีใหม่ดันจารบีเก่าปลิ้นออกมาจากดุมจนหมด
ง่ายมั้ยล่า...



10.ดุมปีกกว้าง
เคยสงสัยกันมั้ยว่าดุมจักรยานสมัยโบราญทำไมปีกดุมถึงกว้างจัง ดุมปีกกว้างของอะไหล่จักรยานยุดโบราญ ปีกดุมที่กว้างมันช่วยให้ซี่ลวดที่ใช้สั้นลง ยิ่งซี่ลวดสั้น ส่วนหยืดหยุนก็ยิ่งน้อย ผลลัพท์ คือ ล้อมันสติฟขึ้น!!!



11.มัดซี่ลวดด้วยลวด
ขึ้นล้อให้ตึงก็แล้ว ทำล้อให้เบาก็แล้ว มันไม่พอ มันไม่พอ!!! ล้อมันยังสติฟไม่พอเฟ้ย!! เพราะซี่ลวดมันยังดิ้นไปดิ้นมา ต้องหาทางไม่ให้มันสปริงดึ๋งดั๋ง ดิ้นไปดิ้นมา ทำยังไงละ เอาลวดมัดมันตรงจุดที่ไข้วกันซะเลย ล้อสติฟขึ้นเยอะมากกก กอไก่ล้านตัว
ล้อชิมาโน่รุ่นแรกๆที่ทำออกมา มีการเชื่อมซี่ลวดตรงจุดที่ไข้วกันด้วยนะเออ




12. เซาะร่อง เจาะรู ชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ
มันไม่มีอะไรมาก แค่ลดน้ำหนัก ก็ทำเท่าที่เทคโนโลยีตอนนั้นมันอำนวย



แกนข้อต่อโซ่ก็ยังทำให้กลวงเลย ให้ตายสิช่างพยายามอะไรขนาดนั้น..

13.การตอกสลักที่ข้อต่อเฟรม
ในสมัยก่อนที่การเชื่อมด้วยไฟฟ้ายังไม่เกิด จักรยานจะทำการเชื่อมท่อต่างๆด้วยทองเหลือง หรือที่เรียกว่า Brass welding
แน่นอนมันไม่ค่อยจะแข็งแรงนัก มักมีปัญหาท่อหลุดออกจากข้อต่อเมื่อใช้ไปนานๆ การตอกสลักเข้าที่ข้อต่อ ช่วยให้เฟรมแข็งแรงขึ้น จบปัญหาท่อหลุดออกจากข้อต่อ และถึงแม้ว่าจะทองเหลืองที่เชื่อมท่อจะกะเทาะหลุด ท่อก็ยังไม่หลุดออกจากกัน ยังขี่ไปได้จนถึงจุดหมาย





ขอบคุณเวป Google และ Pinterest สำหรับรูปภาพเพื่อการศึกษาชาวไทย..
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่