นำข้อมูลลงมาแชร์กันก็ดีนะครับ
----------
ช่วงนี้มีข่าวดังๆที่มีภิกษุมีรถไว้ครอบครอง
ทำให้ระลึกถึงพระธรรมวินัยในหัวข้อ จุลศีล
สมัยก่อน ประชาชนมีช้าง โค ไว้เพื่อการเดินทาง สมัยนี้เรียกได้ว่าเป็นรถ หรือ พาหนะที่ใช้เดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุด
ในพุทธกาลหากภิกษุรับสัตว์พวกนี้มาจะเป็นภาระแก่ภิกษุ ที่ต้องคอยดูและคอยหาอาหาร (ถ้าเป็นรถก็ต้องบำรุงรักษา หาอะไหล่มาซ่อม เพราะรถเก่า แม้จะใช้หรือไม่ ก็ต้องนำเงินมาซ่อมแซม )
และ หากจะต้องครอบครองต้องมีการแลกเปลี่ยนด้วย "เงิน" (การซื้อการขาย ..ไม่เฉพาะเรื่องพาหนะ )
----ในพระธรรมวินัยมีข้อเว้นขาดจากการกระทำที่ตรงประเด็นในหัวข้อ---
๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
และ
๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
----
ส่วนพระภิกษุที่ดำรงไว้ซึ่งศีลที่เคร่งครัด พระธรรมวินัยได้ชี้ว่า
[๑๒๑] ดูกรมหาบพิตร
ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลยเพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้วย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
อ่านทั้งหมดได้ใน สามัญญผลสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=1072&Z=1919&pagebreak=0
### มีภิกษุกับการครอบครองพาหนะ...ในพระไตรปิฎกมีข้อมูลอะไรให้ศึกษาบ้าง ###
----------
ช่วงนี้มีข่าวดังๆที่มีภิกษุมีรถไว้ครอบครอง
ทำให้ระลึกถึงพระธรรมวินัยในหัวข้อ จุลศีล
สมัยก่อน ประชาชนมีช้าง โค ไว้เพื่อการเดินทาง สมัยนี้เรียกได้ว่าเป็นรถ หรือ พาหนะที่ใช้เดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุด
ในพุทธกาลหากภิกษุรับสัตว์พวกนี้มาจะเป็นภาระแก่ภิกษุ ที่ต้องคอยดูและคอยหาอาหาร (ถ้าเป็นรถก็ต้องบำรุงรักษา หาอะไหล่มาซ่อม เพราะรถเก่า แม้จะใช้หรือไม่ ก็ต้องนำเงินมาซ่อมแซม )
และ หากจะต้องครอบครองต้องมีการแลกเปลี่ยนด้วย "เงิน" (การซื้อการขาย ..ไม่เฉพาะเรื่องพาหนะ )
----ในพระธรรมวินัยมีข้อเว้นขาดจากการกระทำที่ตรงประเด็นในหัวข้อ---
๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
และ
๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
----
ส่วนพระภิกษุที่ดำรงไว้ซึ่งศีลที่เคร่งครัด พระธรรมวินัยได้ชี้ว่า
[๑๒๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลยเพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้วย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
อ่านทั้งหมดได้ใน สามัญญผลสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=1072&Z=1919&pagebreak=0