ขบวนรถไฟสินค้าที่ประกอบด้วยรถตู้คอนเทนเนอร์รวม 32 ตู้ เดินทางอย่างยาวเหยียดกว่า 10,000 กิโลเมตร จากภาคตะวันออกของจีนมาถึงเมืองหลวงของอิหร่านเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลายเป็นเที่ยวแรกของรถไฟเส้นทางสายไหมเชื่อมแดนมังกรกับตะวันออกกลาง เมื่อพิจารณาถึงผลอันยืนยาวถาวรแล้ว เรื่องนี้จะมีความสำคัญต่อการเมืองโลก ยิ่งกว่าเรื่องการขัดแย้งสู้รบกันในซีเรือ หรือสงครามสู้รบกับ “รัฐอิสลาม” (ไอเอส)
สองวันหลังจาก “กลุ่มระหว่างประเทศสนับสนุนซีเรีย” (International Syria Support Group) ประชุมหารือกันที่เมืองมิวนิก, เยอรมนี ภูมิภาคตะวันออกกลางก็ได้เป็นประจักษ์พยานเหตุการณ์อย่างพิเศษผิดธรรมดาเหตุการณ์หนึ่ง ได้แก่ การเดินทางมาถึงกรุงเตหะราน, อิหร่าน เมื่อวันจันทร์ (15 ก.พ.) ของขบวนรถไฟสินค้าที่ประกอบด้วยรถตู้คอนเทนเนอร์รวม 32 ตู้ ภายหลังการเดินทางอย่างยาวเหยียดเป็นระยะทางกว่า 10,000 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากมณฑลเจ้อเจียง ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน การเดินทางเที่ยวนี้ใช้เวลา 14 วัน เท่ากับวันละ 700 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย โดยแล่นผ่านทั้งทุ่งหญ้าสเต็ปป์ และทะเลทรายแห่งคาซัคสถาน และเติร์กเมนิสถาน
เป็นเรื่องยากที่จะบอกระบุว่า ระหว่างการสู้รบขัดแย้งในซีเรีย กับ รถไฟเส้นทางสายไหมจากจีนไปสู่ตะวันออกกลางเที่ยวแรกนี้ อะไรจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการเมืองโลกมากกว่ากันเมื่อพิจารณาถึงผลอันยืนยาวถาวร สำหรับในระยะเฉพาะหน้าแล้ว ก็ต้องเป็นการสู้รบขัดแย้งกันในซีเรียและสงครามสู้รบกับรัฐอิสลามนั่นแหละ ที่สามารถครอบงำดึงดูดความสนใจของโลก ทว่าเมื่อพิจารณาจากทัศนะมุมมองแบบกระบวนการพัฒนาทางประวัติศาสตร์แล้ว รถไฟเส้นทางสายไหมจะโดดเด่นเป็นหลักหมายสำคัญที่เหนือล้ำกว่ารัฐอิสลามมากมายนัก
แน่นอนทีเดียว ควรต้องระบุให้ชัดเจนว่า ประเทศจีนนั้นเฝ้าหลีกเลี่ยงไม่ขอเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันในการสู้รบขัดแย้งที่ซีเรีย และนิยมชมชอบมากกว่าที่จะลงทุนในสิ่งที่มีผลอย่างเป็นเนื้อเป็นหนังจริงๆ เมื่อเวลาผันผ่านไปจนจบสิ้นทั้งกระบวน เป็นไปได้ไหมว่าสหรัฐฯนั่นแหละคือผู้ที่พลาดพล็อตเรื่องอันสำคัญนี้ ?
พิจารณาจากการเดินรถไฟเส้นทางสายไหมเที่ยวนี้ หมายความว่าจีนได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของการใช้รถไฟบรรทุกสินค้าส่งไปถึงอิหร่านภายในกรอบเวลา 1 ปักษ์ หรือ 15 วัน ซึ่งเท่ากับใช้เวลาน้อยกว่าถึง 30 วันเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งทางทะเลที่กระทำกันอยู่ในปัจจุบัน จากเมืองเซี่ยงไฮ้ ไปยังเมืองท่าบันดาร์อับบาส (Bandar Abbas) ในอิหร่าน และนี่ยังเป็นแค่ความพยายามหนแรกของการใช้เส้นทางรถไฟซึ่งวิ่งไปบนบกตลอดเส้นทาง เราสามารถไว้เนื้อเชื่อใจปักกิ่งได้เลยว่าจะต้องปรับปรุงยกระดับโครงสร้างพื้นฐานนี้ เพื่อให้เป็นเส้นทางที่สามารถเดินทางได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและราคาถูกลง
รถไฟเส้นทางสายไหมนี้เป็นส่วนหนึ่งภายใต้แผนการริเริ่ม “หนึ่งแถบเศรษฐกิจ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road) ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยิ่งไปกว่านั้น มันยังเป็นการโฆษณาป่าวร้องอย่างบิ๊กๆ ดีๆ ในอิหร่าน ให้แก่ยุทธศาสตร์ “ก้าวสู่ระดับโลก” ของเทคโนโลยีทางรถไฟซึ่งกำลังก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วยิ่งของจีน ปัจจุบันจีนกำลังก่อสร้างโครงสร้างรถไฟความเร็วสูงมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ ที่จะเชื่อมกรุงเตหะราน กับ เมือง มัชฮัด (Mashhad) เมืองใหญ่ทางภาคตะวันออกของอิหร่าน ทางรถไฟไฮสปีดสายนี้จะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางลงมาเหลือเพียงแค่ 6 ชั่วโมง และยังจะเพิ่มความสามารถในการบรรทุกสินค้ามากขึ้นจนไปสู่ระดับ 10 ล้านตันต่อปี (จีนจะเป็นผู้บำรุงรักษาทางรถไฟสายใหม่นี้เป็นเวลา 5 ปีหลังจากเสร็จสิ้นโครงการนี้ภายในเวลา 42 เดือน)
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า รถไฟเส้นทางสายไหมนี้จะแสดงบทบาทอันสำคัญในการค้าระหว่างจีนกับอิหร่าน โดยที่ประเทศทั้งสองวาดหวังเอาไว้ว่าจะเพิ่มพูนมูลค่าการค้านี้ไปเป็น 600,000 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้านี้ ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือของโครงการด้านพลังงานนิวเคลียร์ และโครงการต่างๆ ในแผนการริเริ่ม “หนึ่งแถบเศรษฐกิจ หนึ่งเส้นทาง”
แน่นอนทีเดียว รถไฟเส้นทางสายไหมนี้ในที่สุดแล้วยังจะแล่นต่อไปทางทิศตะวันตก ไกลออกไปอีกจากเตหะราน และไปจนถึงจุดหมายปลายทางต่างๆ ในยุโรป เพื่อเพิ่มพูนการค้าและเปิดตลาดใหม่ๆ ให้แก่บรรดาบริษัทจีน ขณะที่เศรษฐกิจภายในแดนมังกรเองอยู่ในสภาพชะลอตัว
ผมหวนระลึกไปถึงบล็อกที่เขียนเอาไว้อย่างดีเยี่ยมเมื่อเร็วๆ นี้ ของเพื่อนคนหนึ่ง นั่นคือ เกรแฮม ฟุลเลอร์ (Graham Fuller) (ผู้ซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ระดับท็อปคนหนึ่งของซีไอเอ) คร่ำครวญเสียใจเกี่ยวกับวิสัยทัศน์แบบสายตาสั้นของพวกนักยุทธศาสตร์สหรัฐฯตลอดจนของชนชั้นการเมืองในอเมริกา เมื่อพิจารณาถึงโลกแห่งอนาคต เขาเขียนเอาไว้ในชิ้นที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “นาโต้ - เครื่องมืออันผิดพลาดแห่งความเป็นผู้นำของอเมริกา (NATO - America’s Misguided Instrument of Leadership) ดังนี้:
ยุทธศาสตร์อเมริกันดูเหมือนโดยพื้นฐานแล้วยึดติดเหนียวแน่นอยู่กับโหมด (mode) ป้องกันกีดกันพวกมหาอำนาจที่กำลังก้าวขึ้นมา เป็นความจริง พวกมหาอำนาจดังกล่าวเหล่านี้กระทำการท้าทายต่อความมุ่งมาดปรารถนาที่จะครองความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ต่อไปเรื่อยๆ ของอเมริกัน ทว่าท่าทีแบบมุ่งคอยแต่จะป้องกัน ก็ลักขโมยเอาวิสัยทัศน์ของเราและจิตวิญญาณของเราไป มันเป็นตัวแทนของแนวความคิดที่โดยพื้นฐานแล้วมุ่งไปในทางลบ แบบเดียวกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับกษัตริย์คานุต (King Canute) ซึ่งประทับอยู่ที่ชายหาดและพยายามที่จะหยุดยั้งกระแสคลื่นซึ่งพัดซัดสาดเข้ามา สิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นเสียอีกก็คือ แสนยานุภาพทางทหารของอเมริกัน (และงบประมาณที่คอยแต่จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ) ดูเหมือนได้กลายเป็นเครื่องมือมาตรฐานซึ่งสหรัฐฯจะต้องนำมาใช้ในการรับมือตอบโต้กับการท้าทายจากต่างประเทศแทบทุกอย่าง เพนตากอนกำลังทำให้กระทรวงการต่างประเทศหมดทางหากินไปเลย
นาโต้ในทุกวันนี้กำลังกลายเป็นสัญลักษณ์อันชัดเจนยิ่งขึ้นของแนวความคิดแบบสายตาสั้นและมุ่งแต่จะคอยป้องกันนี้
ด้วยเหตุนี้เอง ขณะที่วอชิงตันโฟกัสไปที่การสร้างโครงสร้างทางทหารเพื่อการป้องกัน, ฐานทัพต่างๆ, และการดำเนินการทำความตกลงต่างๆ ในต่างแดนเพื่อต่อต้านรัสเซียกับจีนอยู่นั้น เราก็กลับกำลังถูกโอบล้อมทางปีกอย่างรวดเร็วจากขบวนแถวอันใหม่เอี่ยมของแผนการทางเศรษฐกิจ, วิสัยทัศน์, โครงการเพื่อโครงสร้างพื้นฐานข้ามทวีปใหม่ๆ และการพัฒนาเชิงสถาบันใหม่ๆ ซึ่งครอบคลุมทั่วทั้งยูเรเชีย พัฒนาการต่างๆ เหล่านี้มีจีนกับรัสเซียเป็นหัวหอกก็จริง ทว่ามันไม่ได้มีลักษณะมุ่งป้องกันหรือเป็นเรื่องทางทหารโดยพื้นฐาน หากแต่ค่อนข้างจะเป็นตัวแทนของการสร้างระเบียบระหว่างประเทศอย่างใหม่ขึ้นมา โดยที่เรานั้นถ้าไม่เพิกเฉยละเลยระเบียบระหว่างประเทศใหม่ดังกล่าว ก็ถึงขึ้นแสดงการคัดค้านต่อต้าน ขณะเดียวกันนั้น การหมกมุ่นอยู่กับนาโต้และความเป็นพันธมิตรทางทหารต่างๆ โดยถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดแห่งนโยบายการทหารของสหรัฐฯในยุคหลังสงครามเย็น ก็กลับกลายเป็นเหตุผลข้อหลักที่ทำให้เรากำลังกลายเป็นฝ่ายปราชัยในระเบียบระหว่างประเทศใหม่ดังกล่าว
ช่างมองการณ์ไกลล้ำลึกจริงๆ! แน่นอนทีเดียว เมื่อมองกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ เส้นทางรถไฟจากเมืองอี้อู ศูนย์กลางการค้าทางภาคตะวันออกของจีน ไปยังเมืองหลวงของอิหร่านสายนี้ สามารถบายพาสช่องแคบมะละกาได้อย่างสิ้นเชิง อีกทั้งทำให้ประเทศอื่นๆ มีเหตุผลที่จะต้องทำการติดต่อเชื่อมโยงกับประเทศที่กลายเป็นทางผ่านทั้งสองรายนี้ ซึ่งต่างมีชื่อเสียงเลื่องลือในเรื่องการดำเนินนโยบายการต่างประเทศอย่างเป็นอิสระของพวกเขา มันทำให้เกิดช่องทางอันกว้างขวางที่จะหลบหลีกผลร้ายจากเกมใหญ่ซึ่งอเมริกันกำลังพยายามเล่นอยู่ อันได้แก่ การหวนกลับคืนมาสร้างความสมดุล (rebalance) ในเอเชีย และอื่นๆ
(จากบล็อก Indian Punchline)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000018020
รถไฟ 'เส้นทางสายไหม' ขบวนแรกจาก 'จีน' ไปถึง 'อิหร่าน'
สองวันหลังจาก “กลุ่มระหว่างประเทศสนับสนุนซีเรีย” (International Syria Support Group) ประชุมหารือกันที่เมืองมิวนิก, เยอรมนี ภูมิภาคตะวันออกกลางก็ได้เป็นประจักษ์พยานเหตุการณ์อย่างพิเศษผิดธรรมดาเหตุการณ์หนึ่ง ได้แก่ การเดินทางมาถึงกรุงเตหะราน, อิหร่าน เมื่อวันจันทร์ (15 ก.พ.) ของขบวนรถไฟสินค้าที่ประกอบด้วยรถตู้คอนเทนเนอร์รวม 32 ตู้ ภายหลังการเดินทางอย่างยาวเหยียดเป็นระยะทางกว่า 10,000 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากมณฑลเจ้อเจียง ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน การเดินทางเที่ยวนี้ใช้เวลา 14 วัน เท่ากับวันละ 700 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย โดยแล่นผ่านทั้งทุ่งหญ้าสเต็ปป์ และทะเลทรายแห่งคาซัคสถาน และเติร์กเมนิสถาน
เป็นเรื่องยากที่จะบอกระบุว่า ระหว่างการสู้รบขัดแย้งในซีเรีย กับ รถไฟเส้นทางสายไหมจากจีนไปสู่ตะวันออกกลางเที่ยวแรกนี้ อะไรจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการเมืองโลกมากกว่ากันเมื่อพิจารณาถึงผลอันยืนยาวถาวร สำหรับในระยะเฉพาะหน้าแล้ว ก็ต้องเป็นการสู้รบขัดแย้งกันในซีเรียและสงครามสู้รบกับรัฐอิสลามนั่นแหละ ที่สามารถครอบงำดึงดูดความสนใจของโลก ทว่าเมื่อพิจารณาจากทัศนะมุมมองแบบกระบวนการพัฒนาทางประวัติศาสตร์แล้ว รถไฟเส้นทางสายไหมจะโดดเด่นเป็นหลักหมายสำคัญที่เหนือล้ำกว่ารัฐอิสลามมากมายนัก
แน่นอนทีเดียว ควรต้องระบุให้ชัดเจนว่า ประเทศจีนนั้นเฝ้าหลีกเลี่ยงไม่ขอเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันในการสู้รบขัดแย้งที่ซีเรีย และนิยมชมชอบมากกว่าที่จะลงทุนในสิ่งที่มีผลอย่างเป็นเนื้อเป็นหนังจริงๆ เมื่อเวลาผันผ่านไปจนจบสิ้นทั้งกระบวน เป็นไปได้ไหมว่าสหรัฐฯนั่นแหละคือผู้ที่พลาดพล็อตเรื่องอันสำคัญนี้ ?
พิจารณาจากการเดินรถไฟเส้นทางสายไหมเที่ยวนี้ หมายความว่าจีนได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของการใช้รถไฟบรรทุกสินค้าส่งไปถึงอิหร่านภายในกรอบเวลา 1 ปักษ์ หรือ 15 วัน ซึ่งเท่ากับใช้เวลาน้อยกว่าถึง 30 วันเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งทางทะเลที่กระทำกันอยู่ในปัจจุบัน จากเมืองเซี่ยงไฮ้ ไปยังเมืองท่าบันดาร์อับบาส (Bandar Abbas) ในอิหร่าน และนี่ยังเป็นแค่ความพยายามหนแรกของการใช้เส้นทางรถไฟซึ่งวิ่งไปบนบกตลอดเส้นทาง เราสามารถไว้เนื้อเชื่อใจปักกิ่งได้เลยว่าจะต้องปรับปรุงยกระดับโครงสร้างพื้นฐานนี้ เพื่อให้เป็นเส้นทางที่สามารถเดินทางได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและราคาถูกลง
รถไฟเส้นทางสายไหมนี้เป็นส่วนหนึ่งภายใต้แผนการริเริ่ม “หนึ่งแถบเศรษฐกิจ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road) ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยิ่งไปกว่านั้น มันยังเป็นการโฆษณาป่าวร้องอย่างบิ๊กๆ ดีๆ ในอิหร่าน ให้แก่ยุทธศาสตร์ “ก้าวสู่ระดับโลก” ของเทคโนโลยีทางรถไฟซึ่งกำลังก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วยิ่งของจีน ปัจจุบันจีนกำลังก่อสร้างโครงสร้างรถไฟความเร็วสูงมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ ที่จะเชื่อมกรุงเตหะราน กับ เมือง มัชฮัด (Mashhad) เมืองใหญ่ทางภาคตะวันออกของอิหร่าน ทางรถไฟไฮสปีดสายนี้จะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางลงมาเหลือเพียงแค่ 6 ชั่วโมง และยังจะเพิ่มความสามารถในการบรรทุกสินค้ามากขึ้นจนไปสู่ระดับ 10 ล้านตันต่อปี (จีนจะเป็นผู้บำรุงรักษาทางรถไฟสายใหม่นี้เป็นเวลา 5 ปีหลังจากเสร็จสิ้นโครงการนี้ภายในเวลา 42 เดือน)
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า รถไฟเส้นทางสายไหมนี้จะแสดงบทบาทอันสำคัญในการค้าระหว่างจีนกับอิหร่าน โดยที่ประเทศทั้งสองวาดหวังเอาไว้ว่าจะเพิ่มพูนมูลค่าการค้านี้ไปเป็น 600,000 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้านี้ ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือของโครงการด้านพลังงานนิวเคลียร์ และโครงการต่างๆ ในแผนการริเริ่ม “หนึ่งแถบเศรษฐกิจ หนึ่งเส้นทาง”
แน่นอนทีเดียว รถไฟเส้นทางสายไหมนี้ในที่สุดแล้วยังจะแล่นต่อไปทางทิศตะวันตก ไกลออกไปอีกจากเตหะราน และไปจนถึงจุดหมายปลายทางต่างๆ ในยุโรป เพื่อเพิ่มพูนการค้าและเปิดตลาดใหม่ๆ ให้แก่บรรดาบริษัทจีน ขณะที่เศรษฐกิจภายในแดนมังกรเองอยู่ในสภาพชะลอตัว
ผมหวนระลึกไปถึงบล็อกที่เขียนเอาไว้อย่างดีเยี่ยมเมื่อเร็วๆ นี้ ของเพื่อนคนหนึ่ง นั่นคือ เกรแฮม ฟุลเลอร์ (Graham Fuller) (ผู้ซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ระดับท็อปคนหนึ่งของซีไอเอ) คร่ำครวญเสียใจเกี่ยวกับวิสัยทัศน์แบบสายตาสั้นของพวกนักยุทธศาสตร์สหรัฐฯตลอดจนของชนชั้นการเมืองในอเมริกา เมื่อพิจารณาถึงโลกแห่งอนาคต เขาเขียนเอาไว้ในชิ้นที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “นาโต้ - เครื่องมืออันผิดพลาดแห่งความเป็นผู้นำของอเมริกา (NATO - America’s Misguided Instrument of Leadership) ดังนี้:
ยุทธศาสตร์อเมริกันดูเหมือนโดยพื้นฐานแล้วยึดติดเหนียวแน่นอยู่กับโหมด (mode) ป้องกันกีดกันพวกมหาอำนาจที่กำลังก้าวขึ้นมา เป็นความจริง พวกมหาอำนาจดังกล่าวเหล่านี้กระทำการท้าทายต่อความมุ่งมาดปรารถนาที่จะครองความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ต่อไปเรื่อยๆ ของอเมริกัน ทว่าท่าทีแบบมุ่งคอยแต่จะป้องกัน ก็ลักขโมยเอาวิสัยทัศน์ของเราและจิตวิญญาณของเราไป มันเป็นตัวแทนของแนวความคิดที่โดยพื้นฐานแล้วมุ่งไปในทางลบ แบบเดียวกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับกษัตริย์คานุต (King Canute) ซึ่งประทับอยู่ที่ชายหาดและพยายามที่จะหยุดยั้งกระแสคลื่นซึ่งพัดซัดสาดเข้ามา สิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นเสียอีกก็คือ แสนยานุภาพทางทหารของอเมริกัน (และงบประมาณที่คอยแต่จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ) ดูเหมือนได้กลายเป็นเครื่องมือมาตรฐานซึ่งสหรัฐฯจะต้องนำมาใช้ในการรับมือตอบโต้กับการท้าทายจากต่างประเทศแทบทุกอย่าง เพนตากอนกำลังทำให้กระทรวงการต่างประเทศหมดทางหากินไปเลย
นาโต้ในทุกวันนี้กำลังกลายเป็นสัญลักษณ์อันชัดเจนยิ่งขึ้นของแนวความคิดแบบสายตาสั้นและมุ่งแต่จะคอยป้องกันนี้
ด้วยเหตุนี้เอง ขณะที่วอชิงตันโฟกัสไปที่การสร้างโครงสร้างทางทหารเพื่อการป้องกัน, ฐานทัพต่างๆ, และการดำเนินการทำความตกลงต่างๆ ในต่างแดนเพื่อต่อต้านรัสเซียกับจีนอยู่นั้น เราก็กลับกำลังถูกโอบล้อมทางปีกอย่างรวดเร็วจากขบวนแถวอันใหม่เอี่ยมของแผนการทางเศรษฐกิจ, วิสัยทัศน์, โครงการเพื่อโครงสร้างพื้นฐานข้ามทวีปใหม่ๆ และการพัฒนาเชิงสถาบันใหม่ๆ ซึ่งครอบคลุมทั่วทั้งยูเรเชีย พัฒนาการต่างๆ เหล่านี้มีจีนกับรัสเซียเป็นหัวหอกก็จริง ทว่ามันไม่ได้มีลักษณะมุ่งป้องกันหรือเป็นเรื่องทางทหารโดยพื้นฐาน หากแต่ค่อนข้างจะเป็นตัวแทนของการสร้างระเบียบระหว่างประเทศอย่างใหม่ขึ้นมา โดยที่เรานั้นถ้าไม่เพิกเฉยละเลยระเบียบระหว่างประเทศใหม่ดังกล่าว ก็ถึงขึ้นแสดงการคัดค้านต่อต้าน ขณะเดียวกันนั้น การหมกมุ่นอยู่กับนาโต้และความเป็นพันธมิตรทางทหารต่างๆ โดยถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดแห่งนโยบายการทหารของสหรัฐฯในยุคหลังสงครามเย็น ก็กลับกลายเป็นเหตุผลข้อหลักที่ทำให้เรากำลังกลายเป็นฝ่ายปราชัยในระเบียบระหว่างประเทศใหม่ดังกล่าว
ช่างมองการณ์ไกลล้ำลึกจริงๆ! แน่นอนทีเดียว เมื่อมองกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ เส้นทางรถไฟจากเมืองอี้อู ศูนย์กลางการค้าทางภาคตะวันออกของจีน ไปยังเมืองหลวงของอิหร่านสายนี้ สามารถบายพาสช่องแคบมะละกาได้อย่างสิ้นเชิง อีกทั้งทำให้ประเทศอื่นๆ มีเหตุผลที่จะต้องทำการติดต่อเชื่อมโยงกับประเทศที่กลายเป็นทางผ่านทั้งสองรายนี้ ซึ่งต่างมีชื่อเสียงเลื่องลือในเรื่องการดำเนินนโยบายการต่างประเทศอย่างเป็นอิสระของพวกเขา มันทำให้เกิดช่องทางอันกว้างขวางที่จะหลบหลีกผลร้ายจากเกมใหญ่ซึ่งอเมริกันกำลังพยายามเล่นอยู่ อันได้แก่ การหวนกลับคืนมาสร้างความสมดุล (rebalance) ในเอเชีย และอื่นๆ
(จากบล็อก Indian Punchline)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000018020