วัด พระ ทรัพย์สิน

จากกรณี พระ สามารถครอบครองรถหรูได้ สมมติ พระท่านรับมาเมื่อมีคนบริจาคตามปกติ เหมือนการรับของบริจาคทั่วไป

มันก็เกิดคำถามในใจผม พระ วัด ทรัพย์สิน 3 สิ่งนี้มีขอบเขตอย่างไร
จากที่ผมพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ก็คือ พระสามารถรับของบริจาคได้ แต่ของบริจาคนั้นจะตกเป็นของวัด ซึ่งก็คือเป็นทรัพย์ของศาสนา ไม่ใช่ของพระผู้รับ

เมื่อพระจะใช้จ่ายทรัพย์สิน จะมีไวยาวัจกรซึ่งเป็นฆราวาส ซื้อปัจจัย 4 นำมาให้พระเพื่อใช้ในการดำรงชีพเท่านั้น

เมื่อพระ ลาสิกขา มรณภาพ ทรัพย์สินทั้งหมด ก็จะเป็นของวัดไม่ใช่ลูกหลานทายาท

ผมอ่านแล้วก็เกิดความสงสัยว่า แล้วเหตุใดพระจึงสามารถมีทรัพย์สินได้ ในเมื่อพระธรรมวินัยก็กำหนดไว้ชัดเจน ห้ามพระมีทรัพย์สินส่วนตัว

เอาง่ายๆเลยครับ ในกุฏิพระ ควรมีอะไรบ้าง ไม่มีใครสามารถบอกได้ แล้วแต่จะจัด ใครเงืนหนาก็จัดเต็ม โต๊ะ เตียง ตู้เสื้อผ้า แอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น คอมพิวเตอร์ ทีวี บางกุฏิเราอาจเห็นPS4

ข้าวของเครื่องใช้ที่พระครอบครองมีได้แค่ไหน กระเป๋า. มือถือ กล้องถ่ายรูป แว่นตา รถ ไม่มีใครให้คำตอบได้

ตรงนี้ผมว่าเกิดช่องว่างด้วยเหตุผล. "ญาติโยมถวายมา พระท่านก็ต้องรับ" กฎหมายดูแลทรัพย์สินของ พระ วัด ก็ไม่มี ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการจัดการของวัด ของเจ้าอาวาสจะเห็นชอบ

ถ้ายังงั้นต่อไปผมว่าเราอาจจะได้เห็น พระมีเครื่องบินส่วนตัว มีลัมโบกินี่ มี apple watchฝังทองคำ มีรองเท้าโอนิซึกะรุ่นลิมิเต็ด ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ถ้าเราไม่มาดูแลในส่วนนี้

ผมว่าสาเหตุหนึ่ง เพราะ ชาวพุทธเราปล่อยปละละเลย คิดแค่ว่าบริจาคเงินเราได้บุญ แต่ไม่เคยคิดต่อว่าเงินที่เราบริจาคไปไหน ได้ทะนุบำรุงศาสนาหรือไม่ พระใช้จ่ายส่วนตัวหรือไม่ ใช้จ่ายอย่างไร เราจะถูกห้ามคิดเรื่องพวกนี้ด้วยเหตุผลว่า "ทำบุญ อย่าคิดมาก เดี๋ยวจะไม่ได้บุญ"

ทางแก้
ผมคิดว่า เราควรจะต้องให้วัด เป็น นิติบุคคล รูปแบบหนึ่ง เหมือนบริษัท มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย มีการเสียภาษี มีการตวจสอบทางบัญชี

พระเมื่อได้รับเงิน หรือ. ของบริจาคใดๆ ก็ตามต้องส่งเข้าวัดทั้งหมด ให้ทำบัญชีทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นของเล็กน้อยแค่ไหน ถ้าพระยึดมาเป็นของส่วนตัวถือว่ามีความผิด

พระ จะได้รับของใช้จากทางวัด โดยให้อย่างเท่าเทียมและแค่พอยังชีพ และของที่ได้รับ ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระ ยังถือว่าเป็นของวัด เป็นของศาสนา

พระห้ามจับจ่ายซื้อของทั้งสิ้น การใช้จ่ายเงินมีความผิด การที่พระจะบริจาคให้ใคร ให้มูลนิธิใด จะต้องผ่านวัด เป็นตัวแทน

หวังว่าสิ่งที่ผมเขียนอาจจะกระตุ้นเตือนชาวพุทธ ให้ได้ข้อคิดบ้าง และเป็นเสียงในการปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระ ของวัด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่