การเขียนเพื่อผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์

กระทู้ข่าว
1.1 ความหมายและความสำคัญ
สามารถให้คำจำกัดความได้ 2 ลักษณะ คือ

1. ลักษณะที่เป็นสื่อหรือวัสดุ  วัสดุหรือสื่อที่บรรจุเนื้อหา แบบฝึกหัด และกิจกรรมสำหรับการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชานั้นๆ เกิดจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบการสื่อสารคมนาคม มีลักษณะเป็นสื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หลากหลายรูปแบบตามที่ผู้ผลิตได้สร้างสรรค์และบั  นทึกไว้ โดยผู้ใช้สามารถสื่อสารโต้ตอบกับสื่อบางประเภทได้


การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา

การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ผู้สนใจสามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ โดยมีหลักสูตรหรือวิชาต่างๆให้เลือกมากมาย บางหลักสูตรไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเรียน ส่วนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-book เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านได้ทางหน้าจอคอมฯ เป็นการสนับสนุนการขยายโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมแนวคิดเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจ

2. ช่องทางการสื่อสารของมนุษย์ หรืออาจเรียกว่าสื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคมเพื่อใช้สื่อสารกันในเครือข่ายทางสังคม ผ่านเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อต่างๆที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
                          
การเขียนเพื่อผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงหมายถึง  การถ่ายทอดข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และความรู้สึกของผู้ส่งสาร โดยพิมพ์เป็นข้อความผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่บนพื้นที่สาธารณะซึ่งเปิดกว้างสำหรับทุกคน
1.2 บทบาทของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวัน
ปัจจุบัน สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความจำเป็นของมนุษย์ด้านต่างๆ จนเปรียบเหมือนส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต และทำให้มีบทบาทในชีวิตประจำวันด้านต่างๆ ดังนี้
1.2.1    ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล
บทบาทของการสื่อสารระหว่างบุคคล
-    สร้างความเข้าใจร่วมกัน
-    สร้างความชื่นชอบ ช่วยสร้างสัมพันธภาพและควาชื่อชอบในการสื่อสารซึ่งกันและกัน
-    สร้างอิทธิพลต่อการมีทัศนคติร่วมกัน
-    เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ จะช่วยให้การสื่อสารในครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-    เพื่อให้เกิดการกระทำตามความต้องการ คือ การสร้างความมุ่งหมายร่วมกันเพื่อให้เกิดความคิดเห็นร่วมกัน
บทบาทของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อการสื่อสารระหว่างบุคคล
-    แลกเปลี่ยนข้อมูล
-    ลดการเผชิญหน้า
-    พัฒนาบุคลิกภาพในการสื่อสาร
-    ระมัดระวังการใช้ถ้อยคำ

1.2.2    ด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
2.1  ข้อมูลประเภทข่าว คือการรายงานเหตุการณ์ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเผยแพร่สู่ประชาชนทั่วไปได้ทราบ โดยมักจะเรียกชื่อข่าวตามเนื้อหาหลัก เช่น ข่าวการเมือง ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา
2.2  ข้อมูลประเภทความรู้เชิงวิชาการและความรู้ทั่วไป สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทในการเผลแพร่ข้อมูลประเภทนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมถึงอยู่ในรูปแบบของการเขียนแสดงความคิดเห็น การตั้งข้อสังเกต
    เทคโนโลยีที่ทันสมัย ยังช่วยทำให้มนุษย์สามารถร่วมรับรู้ในเหตุการณ์เดียวกันได้มากขึ้น
2.3 ข้อมูลประเภทโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นกระบวนการสื่อสารที่สร้างภาพจำที่ดี การสความสัมพันธ์กับประชาชนขององค์กรต่างๆนอกจากนี้ยังเป็นไปเพื่อป้องกันหรือแก้ไขความเข้าใจผิดอีกด้วย ส่วนการโฆษณา คือ การนำเสนอข่าวสาร ข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการเพื่อชักชวน ให้ผู้รับสารเกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตาม
2.4 ด้านความบันเทิง โดยนำเสนอเรื่องราวที่ทำให้ผู้รับสารเกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน อีกทั้งยังเป็นความบันเทิงที่แสวงหา เข้าถึง และรับชมได้อย่างรวดเร็ว สะดวก เพียงแค่เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต
2.5 ด้านงานราชการ นำมาใช้เพื่อบริการด้านต่างๆตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
2.6 ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ได้นำมาช่วยในการศึกษา คำนวณ ค้นคว้า และวิจัย รวมทั้งจำลองสิ่งต่างๆในทางวิทยาศาสตร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายขึ้น
2.7 ด้านการคมนาคม รถไฟ รถไฟฟ้า เครื่องบิน ได้นำคอมฯเข้ามาใช้ในส่วนของการเดินทาง เช่น การสำรองที่นั่งออกบัตรโดยสาร  การตรวจสอบตารางการเดินทาง นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับการควบคุมระบบการจราจรทางบกและทางอากาศที่ช่วยจัดระเบียบการจราจรได้เป็นอย่างดี
2.8 ด้านธุรกิจ จัดทำเอกสารนำเสนองาน เช่น ห้างสรรพสินค้าใช้คอมฯ ในการทำระบบบัญชีสำเร็จรูป เพื่อทำรายการซื้อและขายสินค้า การตรวจสอบยอดคงเหลือของสินค้า
2.9 ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ช่วยในการออกแบบ เขียนแบบจำลองโครงสร้างของงานต่างๆ โดยนำคอมฯมาช่วยเรื่องการคำนวณที่มีความซับซ้อนเพื่อความถูกต้องและรวดเร็ว

2    แนวทางการเขียนเพื่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
สังคมในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีความสำคัญเพราะผู้รู้หรือสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วย่อมได้เปรียบในแง่ของการวางแผนและการตัดสินใจ สังคมในลักษณะที่ให้ความสำคัญกับสารสนเทศเช่นนี้มีส่วนสร้างสังคมแห่งเครือข่าย (network society) หรือสังคมที่ประหยัดเวลาและไม่วุ่นวายกับการจัดเตรียมสถานที่ในการสื่อสาร ทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า “โลกไร้พรมแดน” หรือโลกยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งมีการเชื่อมโยงคอมฯทั่วโลกเข้าเป็นเครือข่ายที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ต หมายถึงเครือข่ายคอมขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆเครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์  ที่เรียกว่า โพรโทคอล ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆช่องทาง เช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูล ข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้ การอัพโหลดข้อมูลหรืออื่นๆ แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เช่น เฟซบุค ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายมากขึ้น
ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กและเยาวชนต้องมีความรู้ คือรู้เท่าทันด้วยการตรวจสอบจากหลายๆช่องทาง ใช้วิจารณญาณก่อนที่จะเชื่อถือ และควรตระหนักถึงภัยที่แอบแฝงมาในข้อความหรือข้อมูลที่ส่งต่อกันมา นอกจากนี้ผู้ส่งสารควรกลั่นกรองถ้อยคำภาษาที่จะใช้ให้ดีก่อนส่ง

การเขียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงไม่แตกต่างจากการเขียนประเภทอื่น
ในแง่ขององค์ประกอบในการเขียน  กล่าวคือ มีส่วนเริ่มต้น ส่วนเนื้อหา ส่วนลงท้าย การใช้ภาษาต้องคำนึงถึงรูปแบบการเขียนให้ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสมกับผู้รับสาร
ประเด็นที่ควรคำนึงถึงสำหรับการใช้ภาษาที่ดี ได้แก่
๑) ใช้คำให้เหมาะกับความนิยม ภาษาเป็นเรื่องราวของการสื่อสาร มีการเปลี่ยนแปลง มีการสร้างใหม่ อยู่ตลอดเวลา  จึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องนี้ด้วย
๒) กาลเทศะ หรือการใช้ภาษาเขียนให้เหมาะสมกับระดับของผู้รับสาร ควรศึกษาก่อนลงมือเขียนว่าควรเขียนอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้รักสารในระดับต่างๆ
๓) ความสุภาพ ผู้เขียนควรหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่มีความหมายแฝงหรือมีนัยทำให้ตีความได้ในแง่ลบ ผู้เขียนที่ดีย่อมใช้ภาษาให้เกียรติทั้งผู้รับ และผู้ที่เอ่ยนามหรือพาดพิงถึง
๔) สื่อความตรงไปตรงมา ควรยึดหลักใช้ภาษาเขียนที่อ่านเข้าใจง่าย ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรใช้ภาษาพูดในการเขียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการสื่อสารกับบุคคลทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้อ่านเป็นใคร



๒.๑ จดหมายอิเล็กทรอนิส์หรืออีเมล (e-mail)
   จดหมายอิเล็กทรอนิก หรือ อีเมล คือ วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือโดยการส่งข้อมูล ในรูปแบบของสัญญาลักษณ์ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แทนการส่งจดหมายแบบกระดาษ
๑) แนวทางการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิส์ ผู้เขียนสามารถทำได้หลายวิธี เช่นพมพ์ข้อความต่างๆ ลงไปในกล่องข้อความ หรือแนบเอกสารเพิ่มเติมลงไป
๒) แนวทางการใช้ภาษาเพื่อการเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
   - เริ่มต้นด้วยคำทักทาย
   - หากเป็นการส่งอีเมลถึงผู้รับครั้งแรก ควรแนะนำว่าตนเองเป็นใคร
   - เขียนเนื้อหาตรงประเด็น
   - สรุปจบ



๒.๒ เฟสบุ๊ก (facebook)
    เฟสบุ๊ก (facebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมและเว็บไซต์ ซึ่งผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้ในฐานะเพื่อนและการแลกเปลี่ยนข้อความ รวมถึงได้รับแจ้งโดยทันทีเมื่อบุคคลที่ติดต่อด้วยปรับปรุงข้อมูล โดยบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ลงทะเบียนต้องมีอายุใากกว่า 13 ปีขึ้นไป
๑) แนวทางการใช้เฟสบุ๊ก ผู้สนใจที่จะร่วมเครือข่ายสังคมประเภทนี้สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
   - เข้าไปที่ www.facebook.com จากนั้นจะมีช่องให้กรอกข้อมูลการสมัคร
   - เมื่อกดปุ่มแล้วจะมีหน้าจอสำหรับใส่รหัส เมื่อใส่เสร็จให้กดปุ่ม log in หรือเข้าสู่ระบบ
   - ระบบจะแจ้งว่า ให้ตรวจสอบอีเมลที่ได้มีการลงทะเบียน
   - เมื่อเจออีเมลให้ยืนยันการลงทะเบียนให้กดเข้าไปในลิงค์ เพื่อยืนยันการสมัคร

๒) แนวทางการใช้ภาษาเขียนข้อความผ่านเฟสบุ๊ก
  - หากเป็นเรื่องส่วนตัวควรใช้วิธีการส่งข้อความทางแมสเสจ แทนการโพสต์บนวอลล์(wall)
  - คิดให้รอบคอบทุกครั้งว่าสิ่งที่เขียน จะไม่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด หรือก่อให้เกิดความไม่สบายใจ
  - หากเป็นเรื่องเร่งด่วน หรือมีความสำคัญควรใช้การติดต่อช่องทางอื่น เช่น โทรศัพท์ เพราะอาจสะท้อนถึงความไม่ทุกข์ร้อนหรือไม่ใส่ใจของผู้ส่งสาร เพราะในบางครั้งผู้รับสารอาจไม่ได้มีเวลาเปิดเฟสบุ๊กของตน ทำให้ผู้ส่งสารสูญเสียประโยชน์ได้
- ไม่ควรเขียนแสดงความคิดเห็น หรือการโพสต์คอมเม้นบ่อยเกินไปหรือทุกรณีจนอาจทำให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจผิดว่าเรากำลังเฝ้าติดตามชีวิตของผู้อื่น
- การส่งข้อความด้วยภาษเขียน ควรเลือกใช้คำที่แปลความหายได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรใช้ถ้อยคำแอบแฝง จนอาจทำให้ผู้รับสาตีความเป็นอย่างอื่น ซึ่งอาจก่อความเสียหายแก่ผู่ส่งสารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในภายหลัง
- ไม่ควรเขียนอัพเดตสถานะของตนเองมากเกินไป
- หลีกเลี่ยงกรวิพากษ์วิจารณ์แต่เฉพาะในด้านลบ ว่ากล่าว ตำหนิ หรือใช้ถ้อยคำรุนแรงในการแสดงความคิดเห็น
- หลีกเลี่ยงการส่งจดหมายลูกโซ่ หรือสงภาพ แบ่งปันข้อวามที่อาจไปรบกวนผู้อื่น



2.3 ทวิตเตอร์ (Twitter)
    ทวิตเตอร์เ)นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่หรือทวิต ทวิตเตอร์ก่อตั้งโดย แจ็ก คอร์ซี่ย์ , บิซสโตน , และอีวาน วิลเลียมส์
1)    แนวทางการใช้งานทวิตเตอร์ การโพสข้อความในทวิตเตอร์มักเรียกสั้นๆว่า ทวิต โดยจะโพสกี่ครั้งต่อวันก็ได้
2)    แนวทางการใช้ภาษาเขียนข้อความผ่านทวิตเตอร์
1.การทำหน้าที่สื่อของทวิตเตอร์จะคล้ายกับการประกาศ แจ้ง บอกข่าว ดังนั้น ก่อนการเขียนข้อความทุกครั้ง ควรคำนึงว่าอาจเป็นการรบกวนผู้อื่นที่ติดตามอ่านอยู่
2. ไม่ควรใช้ความเป็นเพื่อนกับความเป็นลูกค้าปะปนกันในบางกรณี เพราะมีผู้ใช้บางคนทวิตข้อความโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ประกาศ หรือทำการตลาดแฝงอยู่ในทวิตเตอร์และกลายเป็นการรบกวนผู้ที่ติดตามอยู่
3. ไม่ควรสมัครบัญชีทวิตเตอร์หลายบัญชีจนเกินไป อาจจะแยกระหว่างบัญชีส่วนตัวกับเรื่องงาน แต่ไม่ควรสมัครเพื่อการสร้างกระแสและไม่ควรตั้งเป็นชื่อผู้อื่น โดยเฉพาะบุคคลที่มีชื่อเสียง
4. ไม่ควรตอบกลับข้อความโดยไม่อ่าน ตอบข้อความอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังสนทนาอยู่ ทำให้คนอื่นเสียเวลา
5. หากเป็นเรื่องส่วนตัวหรืองานเร่งด่วน ควรติดต่อกันเป็นการส่วนตัว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่