ประชาชาติธุรกิจ: คำถามถึง 'กสทช.'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย การกำกับดูแล และมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม ทรัพยากรสื่อสารของชาติซึ่งเกี่ยวโยงกับผู้บริโภค และการดำเนินธุรกิจมูลค่ามหาศาล ข่าวคราวความเคลื่อนไหวของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงถูกจับตามองและวิพากษ์วิจารณ์ทั้งด้านบวกและลบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงรอยต่อหลังการประมูลทีวีดิจิทัล เมื่อปลายปี 2556 ซึ่งถือเป็นช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่านจากแอนะล็อกสู่ระบบดิจิทัล ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยน ครั้งใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมทีวีไทย กับการประมูลคลื่น 4G ที่ทุกภาคส่วนเห็นตรงว่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจและธุรกิจโทรคมนาคมในระยะยาว
ในส่วนของทีวีดิจิทัลนั้น หลังการประมูลนอกจากสมรภูมิการแข่งขันจะดุเดือดเข้มข้นขึ้นเป็นทวีคูณ ตามจำนวน ผู้ประกอบการที่มีมากรายขึ้นแล้ว ถึงตอนนี้ทุกค่ายก็ยังอยู่ในสภาพที่เหนื่อยหนัก จากที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนการประมูลและค่าใช้จ่ายก้อนโต เพราะตัวหารมีมากขึ้น แต่เค้กตลาดยังเท่าเดิม
ไม่แปลกที่ผู้ประกอบการบางรายจะประสบปัญหา ถึงขั้น ต้องคืนใบอนุญาต ขณะที่หลายค่ายแม้ยังกัดฟันสู้แต่อีกด้านหนึ่งก็พยายามเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ กสทช. ผ่อนปรนเงื่อนไขสัมปทาน กลายเป็นโจทย์ใหญ่ที่ กสทช.กับรัฐบาลต้องเร่งหาทางออก ในลักษณะที่ทุกฝ่ายรับได้ โดยอาจผ่อนหนักเป็นเบาให้ผู้ประกอบการอยู่ได้ และประเทศชาติไม่เสียประโยชน์ เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา
เช่นเดียวกับการประมูล 4G คลื่น 900 MHz รอบล่าสุด ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา เพราะแม้สามารถนำรายได้เข้ารัฐสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่กำลังถูกจับตามองเช่นเดียวกันว่า สุดท้ายผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลจะจ่ายค่าประมูลได้ทันกรอบเวลาที่กำหนดหรือไม่ หรือหากบางรายถอดใจให้รัฐยึดเงินค้ำประกันการประมูล รัฐในฐานะ ผู้เสียหายจะเรียกค่าชดเชยส่วนใดได้เพิ่มเติมอีก
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางประเด็นร้อน ทั้งการแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล และการนับถอยหลังออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูล 4G ที่เวลานี้อาจยังไม่มีปัญหา เริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนซึ่งเกาะติดข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวงกว้าง อาทิ ข้อมูลข่าวสารรวมทั้งการส่งสัญญาณบางอย่างออกมาจาก กสทช.เป็นไปในลักษณะที่ถูกต้องเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ก้าวล้ำบทบาทหน้าที่จนอาจกลายเป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่มทุนกลุ่มธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่
ที่สำคัญการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองผู้บริโภคกับผู้ใช้บริการตามภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมาย คือ ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว หรือยัง
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า 2)
ประชาชาติธุรกิจ: คำถามถึง 'กสทช.'
ประชาชาติธุรกิจ: คำถามถึง 'กสทช.'
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย การกำกับดูแล และมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม ทรัพยากรสื่อสารของชาติซึ่งเกี่ยวโยงกับผู้บริโภค และการดำเนินธุรกิจมูลค่ามหาศาล ข่าวคราวความเคลื่อนไหวของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงถูกจับตามองและวิพากษ์วิจารณ์ทั้งด้านบวกและลบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงรอยต่อหลังการประมูลทีวีดิจิทัล เมื่อปลายปี 2556 ซึ่งถือเป็นช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่านจากแอนะล็อกสู่ระบบดิจิทัล ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยน ครั้งใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมทีวีไทย กับการประมูลคลื่น 4G ที่ทุกภาคส่วนเห็นตรงว่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจและธุรกิจโทรคมนาคมในระยะยาว
ในส่วนของทีวีดิจิทัลนั้น หลังการประมูลนอกจากสมรภูมิการแข่งขันจะดุเดือดเข้มข้นขึ้นเป็นทวีคูณ ตามจำนวน ผู้ประกอบการที่มีมากรายขึ้นแล้ว ถึงตอนนี้ทุกค่ายก็ยังอยู่ในสภาพที่เหนื่อยหนัก จากที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนการประมูลและค่าใช้จ่ายก้อนโต เพราะตัวหารมีมากขึ้น แต่เค้กตลาดยังเท่าเดิม
ไม่แปลกที่ผู้ประกอบการบางรายจะประสบปัญหา ถึงขั้น ต้องคืนใบอนุญาต ขณะที่หลายค่ายแม้ยังกัดฟันสู้แต่อีกด้านหนึ่งก็พยายามเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ กสทช. ผ่อนปรนเงื่อนไขสัมปทาน กลายเป็นโจทย์ใหญ่ที่ กสทช.กับรัฐบาลต้องเร่งหาทางออก ในลักษณะที่ทุกฝ่ายรับได้ โดยอาจผ่อนหนักเป็นเบาให้ผู้ประกอบการอยู่ได้ และประเทศชาติไม่เสียประโยชน์ เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา
เช่นเดียวกับการประมูล 4G คลื่น 900 MHz รอบล่าสุด ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา เพราะแม้สามารถนำรายได้เข้ารัฐสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่กำลังถูกจับตามองเช่นเดียวกันว่า สุดท้ายผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลจะจ่ายค่าประมูลได้ทันกรอบเวลาที่กำหนดหรือไม่ หรือหากบางรายถอดใจให้รัฐยึดเงินค้ำประกันการประมูล รัฐในฐานะ ผู้เสียหายจะเรียกค่าชดเชยส่วนใดได้เพิ่มเติมอีก
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางประเด็นร้อน ทั้งการแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล และการนับถอยหลังออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูล 4G ที่เวลานี้อาจยังไม่มีปัญหา เริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนซึ่งเกาะติดข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวงกว้าง อาทิ ข้อมูลข่าวสารรวมทั้งการส่งสัญญาณบางอย่างออกมาจาก กสทช.เป็นไปในลักษณะที่ถูกต้องเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ก้าวล้ำบทบาทหน้าที่จนอาจกลายเป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่มทุนกลุ่มธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่
ที่สำคัญการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองผู้บริโภคกับผู้ใช้บริการตามภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมาย คือ ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว หรือยัง
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า 2)