ข้อมูล Repeater

กระทู้สนทนา
ความหมาย รีพีตเตอร์ (Repeater)
อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทำหน้าที่ในการย้ำสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณที่ส่งผ่านตัวกลางจะอ่อนกำลังลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น การอ่อนกำลังของสัญญาณทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลไปตามเส้นทางเป็นระยะทางไกลๆ ได้ จึงต้องมีอุปกรณ์เพื่อช่วยทำให้สัญญาณที่อ่อนกำลังกลับมามีความชัดเจนเหมือนข้อมูลจากต้นทาง ดังนั้น อุปกรณ์ทวนสัญญาณจะทำให้ช่วยเพิ่มระยะทางในการส่งข้อมูลของเครือข่ายได้ ในปัจจุบันนิยมใช้ฮับเป็นตัวทวนสัญญาณเนื่องจากสามารถรองรับจำนวนเครื่องที่เชื่อมต่อได้มากกว่าในราคาที่ต่ำและยังช่วยขยายระยะของเครือข่ายได้อีกด้วย ซึ่งฮับอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าตัวทวนสัญญาณหลายพอร์ต (Multiport repeater) ก็ได้

Repeater เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณ เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าที่รับส่งกันในสาย LAN สามารถส่งได้ไกลขึ้นเท่านั้นใช้ในกรณีที่ต้องการต่อสาย LAN ให้ได้ไกลเกินกวามาตรฐานปกติแต่ไม่ได้ทำหน้าที่ช่วยจัดการาจราจรบน LAN แต่อย่างใด การทำงานของ Repeater อุปกรณ์ Repeater ถูกนำมาใช้งานในกรณีที่เครือข่ายนั้นต้องการเพิ่มจำนวนของเครื่องลูกข่ายมากขึ้น แต่ลากสายสัญญาณไม่ได้เพราะระยะทางมากกว่าข้อกำหนดที่กำหนดที่ให้ลากสายได้ยิ่งระยะทางไกลมากสัญญาณที่ถูกส่งออกไปก็จะเริ่มเพี้ยนและจางลงจนหายไปในที่สุด อุปกรณ์ Repeater จะช่วยจัดการขยายสัญญาณให้แรงขึ้นและจัดรูปสัญญาณที่เพี้ยนไปให้กลับเหมือนเดิมจากนั้นจึงส่งต่อไปในสายสัญญาณ ข้อเสียของอุปกรณ์ Repeater ก็คือไม่สามารถกลั่นกรองสัญญาณที่ไม่จำเป็น เช่น ข้อมูลที่ผู้รับอยู่ฝั่งเดียวกับผู้ส่งจึงไม่จำเป็นต้องขยายและส่งต่อออกไปยังเครือที่อยู่อีกฟากหนึ่งออกไปได้ สัญญาณต่างๆ ที่เข้ามาก็จะถูกส่งออกไปเหมือนเดิมพูดง่ายๆ ก็คือไม่ว่าจะเป็น Packet อะไรส่งออกมาในเครือข่าย Repeater จะไม่สนใจที่หมายปลายทางว่าเป็นเครื่องที่อยู่คนละฟากกันหรือไม่ถ้ามีสัญญาณมาก็จะส่งต่อไปยังอีกฟากหนึ่งให้เสมอ ดังนั้น ถ้ามีการเชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายจำนวนมากเข้ากับ Repeater ที่มีหลายๆ พอร์ตก็จะมีสัญญาณกระจายไปในเครือข่ายมากขึ้นด้วย ทำให้ประสิทธิภาพของเครือข่ายลดลงได้

รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับขยายสัญญาณเมื่อสายเคเบิลที่เชื่อมต่อเครือข่ายยาวมากขึ้น เพื่อขยายสัญญาณที่ถูกลดทอนลงเนื่องจากระยะทาง อุปกรณ์รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในระดับ Physical Layer แต่ข้อจำกัดของรีพีตเตอร์ ไม่สามารถกลั่นกรองสัญญาณที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ดังนั้นรีพีตเตอร์จึงไม่ได้มีส่วนช่วยจัดการจราจรหรือลดปริมาณข้อมูลที่ส่ง ออกมาบนเครือข่าย LAN  อุปกรณ์อื่น  ไม่ว่าจะเป็นฮับ,บริดจ์, เร้าเตอร์, และเกตเวย์ ต่างก็มีความสามารถของรีพีตเตอร์ด้วยกันทั้งนั้น
รีพีตเตอร์ (Repeater) สามารถทำให้สัญญาณสามารถเดินทางไปได้ไกลขึ้น เนื่องจากการส่งสัญญาณจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์นั้น เมื่อสัญญาณเดินทางจะมีการอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ จึงมีโอกาสที่จะเกิดการผิดพลาดของการส่งข้อมูลได้ ดังนั้นรีพีตเตอร์จึงมีหน้าที่รับสัญญาณเข้ามา แล้วทำการสร้างสัญญาณใหม่ให้เป็นเหมือนของเดิม ซึ่งจะทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลกว่าเดิม รีพีตเตอร์จะใช้สำหรับ เชื่อมอุปกรณ์ในวงแลนเดียวกันเท่านั้น และตำแหน่งของการวางรีพีตเตอร์ก็สำคัญมาก ถ้าวางตำแหน่งของรีพีตเตอร์ผิด อาจทำให้สัญญาณอ่อนกำลังลง และถูกคลื่นรบกวน จะทำให้สัญญาณเกิดการเปลี่ยนรูปไป รีพีตเตอร์จะไม่สามารถสร้างสัญญาณให้เหมือนเดิมได้
รีพีตเตอร์ (repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับฟิสิคัลเลเยอร์ ( Physical Layer) ใน OSI Model มี หน้าที่เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย เพื่อเพิ่มระยะทางในการรับส่งข้อมูลให้กับเครือข่ายให้ไกลออกไปได้กว่าปกติ ข้อจำกัด คือทำหน้าที่ในการส่งต่อสัญญาณที่ได้มาเท่านั้น จะไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายซึ่งอาศัยวิธีการ access ที่แตกต่างกัน เช่น Ethernet กับ Token Ring และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับสัญญาณเลย อุปกรณ์ทวนสัญญาณ ( Repeater) เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าที่รับส่งกันในสาย Lan สามารถส่งไกลขึ้นเท่านั้น ใช้ในกรณีที่ต้องการต่อสาย Lan ให้ได้ไกลเกินกว่ามาตรฐานปกติ แต่ไม่ทำหน้าที่ช่วยจัดการจราจร Lan สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายโดยใช้สายสัญญาณต่างชนิดกันได้

รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อที่มีหลักการทำงานง่ายที่สุดอีกทั้งยังมีราคาประหยัดที่สุด เหมาะสำหรับใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบบัส อีเธอร์เน็ต เป็นต้น โดยทั่วไป รีพีตเตอร์มีรูปร่างเป็นกล่องขนาดปานกลางมีพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวน2พอร์ตซึ่งหน้าที่หลักองรีพีตเตอร์คือ  การขยายระดับความแรงของสัญญาณไฟฟ้าที่ได้รับจากพอร์ตด้านหนึ่งของคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากสายนำสัญญาณแบบโคแอกเซียลชนิดอ่อน (ThinnetCaxialCable) ที่ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัสนั้นมีขีดจำกัดในการใช้รับส่งสัญญาณได้ไม่เกิน 600 ฟุต หากใช้สายนำสัญญาณที่ยาวกว่านี้จะทำให้เกิดปัญหาระดับแรงดัน ไฟฟ้าที่ปลายสายนำสัญญาณลดต่ำลงจนไม่สามารถรับส่งข้อมูลได้ การติดตั้งอุปกรณ์รีพีตเตอร์เพื่อขยายระดับความแรงของสัญญาณไฟฟ้าและเป็นการเพิ่มระยะทางของการวางสายนำสัญญาณออกไป
รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับ สัญญาณอะนาล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะ ทางและสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหาย ของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ รีพีตเตอร์ คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณซ้ำ เพื่อส่งสัญญาณต่อไปนี้ในระยะไกลป้องกันการขาดหายของสัญญาณ ซึ่งรูปแบบของเครือข่ายแต่ละแบบรวมทั้งสายสัญญาณที่ใช้เป็นตัวกลางหรือสื่อกลาง แต่ละชนิดจะมีข้อจำกัดของระยะทางในการส่ง ดังนั้นเมื่อต้องการส่งสัญญาณให้ไกลกว่าปกติต้องเชื่อมต่อกับรีพีตเตอร์ดังกล่าว เพื่อทำให้สามารถส่งสัญญาณ ได้ไกลยิ่งขึ้น

หลักการทำงาน รีพีตเตอร์ (repeater)
ในระบบ LAN โดยรีพีตเตอร์ (Repeater) ทำหน้าที่ทวนสัญญานหรือช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่รับมาให้มีความแรงขึ้นและค่อยส่งต่อไป ใช้ในกรณีที่สายสัญญาณมีความยาวมาก เป็นผลทำให้สัญญาณที่ที่ส่งไปยังคอมพิวเตอร์อ่อนลงการใช้รีพีตเตอร์จึงทำให้ส่งสัญญาณไปได้ไกลมากขึ้น  เดิมที่รีฟิตเตอร์ใช้สำหรับเครือข่าอินเทอเน็ต 10Base2 และ 10Base5 มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมที่มีเพียงสองพอร์ตซึ่งมากจะเป็นคอเน็กเตอร์ BNC หรือ AUI สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งสองแบบนี้ไม่นิยมใช้แล้วจะหันมาใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้สาย UTP แทน (10BaseT หรือ 100BaseTX ) ดังนั้นจึงใช้ฮับหรือสวิตช์แทนกับรีฟิตเตอร์ได้ เพราะความจริงแล้วฮับหรือสวิทช์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถขยายสัญญาณเช่นเดียวกับรีฟิตเตอร์  แต่ต่างกันตรงที่ฮับหรือสวิตช์นั้นมีพอร์ตมากกว่ารีฟิตเตอร์
ทั่วไปนั้นยิ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอยู่ไกลกันมากเท่าไร สัญญาณที่ส่งถึงกันก็จะเริ่มเพี้ยน และจางลงจนหายไปในที่สุด ซึ่งเมื่อสายที่ต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มีความยาวเกินกว่าที่ มาตรฐานกำหนด ก็จะต้องมีการเพิ่มอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า รีพีตเตอร์ ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ทวนสัญญาณ คือช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งบนสาย LAN ให้แรงขึ้นและจัดรูปสัญญาณที่เพี้ยนไปให้กลับเหมือนเดิม จากนั้นจึงค่อยส่งต่อไป แต่ รีพีตเตอร์จะมีหน้าที่ แตกต่างกับตัวขยายสัญญาณ (Amplifier) เนื่องจากตัวขยายสัญญาณจะทำการขยายสัญญาณให้โตขึ้น ดังนั้นถ้ารับสัญญาณรบกวนเข้ามา ตัวขยายสัญญาณจะขยายสัญญาณรบกวนให้โตขึ้นด้วย แต่รีพีตเตอร์จะสร้างสัญญาณขึ้นใหม่แบบบิตต่อบิตจากเดิม ส่วนข้อเสียของรีพีตเตอร์ คือ ไม่สามารถกลั่นกรองสัญญาณได้ ถ้ามีสัญญาณส่งมาก็จะส่งต่อไปยังอีกฝั่งให้เสมอ จึงมีสัญญาณกระจายในเครือข่ายมากขึ้น

ข้อจำกัดของรีพีตเตอร์
1. ขอบเขตความสามารถของเครือข่ายซึ่งแม้จะสามารถใช้รีพีตเตอร์ช่วยขยายความแรงของสัญญาณและยึดขอบเขตการวางสายออกไปได้ก็ตามแต่การขยายขอบเขตดังกล่าวก็จะทำได้ไม่เกินกว่าข้อจำกัดของมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลที่ใช้ เช่นในกรณีของเครือข่ายอีเธอร์เน็ตอัตราเร็ว 10 เมกกะบิตต่อวินาทีจะมีข้อจำกัดของระยะทางโดยรวมไม่เกิน 3,000 ฟุต ซึ่งในกรณีนี้ผู้ออกแบบระบบจะสามารถใช้รีพีตเตอร์เพื่อขยายการใช้งานได้ไม่เกิน 4 จุด
2. ผลกระทบจากพฤติกรรมการทงานของรีพิตเตอร์ซึ่งรีพีตเตอร์นั้นมิได้ทำหน้าที่ช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตต้นทางแต่อย่างใดหากเกิดมีสัญญาณรบกวนซึ่งอาจเกิดจากธรรมชาติหรือจากการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งปรากฏบนเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่กับพอร์ตต้นทางรีพีตเตอร์จะทำการขยายทั้งสัญญาณที่เป็นข้อมูลและสัญญาณรบกวนนั้นพร้อมทั้งถ่ายทอดไปยังเครือข่ายที่เชื่อต่อกับพอร์ตปลายทาง ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลของทั้งเครือข่ายลดต่ำลงอย่างมาก
3. รีพีตเตอร์ไม่ใช้อุปกรณ์ NIC ซึ่งตามปกติNIC จะมีรูปแบบการทำงานตามมาตรฐานอีเทอร์เน็ตหากมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งซึ่งเขื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายด้านหนึ่งเริ่มทำการส่งข้อมูลออกมารีพีตเตอร์จะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าบนเครือข่ายอีกด้านหนึ่งนั้นมีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูลอยู่ก่อนหรือไม่ และเนื่อง จากเครือข่ายทั้งสองชุดซึ่งเชื่อมต่อกับ รีพีตเตอร์ตัวเดียวกันถือเป็นเครือข่ายเดียวกัน ในกรณีนี้จะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูล ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายโดยรวมลดลงยิ่งเมื่อต่อรีพีตเตอร์เพื่อ ขยายระยะทางการวางสายมากชุดเท่าใด โอกาสของการเกิดปัญหาก็จะยิ่งมีมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็น ตัวอย่างการติดตั้งรีพีตเตอร์ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มระยะทางการใช้งาน

ประโยชน์รีพีตเตอร์  
รีพีตเตอร์ในการเชื่อมโยงจะวางอยู่ในระบบเครือข่าย ณ จุดที่พอเหมาะ คือในตำแหน่งที่สัญญาณไปถึงรีพีตเตอร์ก่อนที่สัญญาณรบกวนจะเปลี่ยนแปลงบิตของสัญญาณไป กล่าวคือสัญญาณรบกวนจะมีขนาดเล็กน้อยเกินกว่าที่จะทำให้บิตของสัญญาณถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นถ้าให้สัญญาณเดินทางต่อไปโดยไม่มีการผ่านอุปกรณ์รีพีตเตอร์ สัญญาณรบกวนอาจทำให้บิตของข้อมูลถูกทำลายไปอย่างถาวรได้ ดังนั้นในจุดที่สัญญาณผ่านรีพีตเตอร์แล้วจะได้รับการกำเนิดสัญญาณขึ้นมาใหม่ที่มีระดับแรงดันเช่นเดียวกับแหล่งกำเนิดและลดความผิดพลาดต่าง ๆ ก็ได้ โดยรีพีตเตอร์จะทำการส่งสัญญาณที่กำเนิดขึ้นมาใหม่นี้ต่อไปในเครือข่ายภาพแสดงการใช้รีพีตเตอร์ขยายระยะทางการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ไกลขึ้น

เรียบเรียงเนื้อหาจาก
https://www.l3nr.org/posts/259442
http://www.datacom2u.com/NetworkDevice.php
https://sites.google.com/site/un42509/ri-phit-texr
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan5.htm
http://www.lib.kmutt.ac.th/st4kid/nonFlash/services/getText.jsp?id=232
https://yyweb123.wordpress.com/2011/09/02/%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-repeater/

https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=10&ved=0ahUKEwjovozqnfLKAhVCKJQKHT7yDjYQFghEMAk&url=http%3A%2F%2Fwww.ee.eng.cmu.ac.th%2F~tharadol%2Fteach%2Fee442%2F442_50%2F442_50rp%2F4706268.doc&usg=AFQjCNHpF6KurRvtS0VpiW_8T_LgJWttiA&bvm=bv.114195076,d.dGo&cad=rja
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่