เราวัดคุณค่าภาพยนตร์จากอะไร ดูได้จาก Boyhood และ Birdman

ถ้าใครจำบรรยากาศลุ้นรางวัลออสการ์ปีก่อนได้ จะจำได้ดีว่า มีหนังสองเรื่องที่เป็นตัวเก็งของภาพยนตร์ยอดเยี่ยม คือ Birdman กับ Boyhood ที่ทั้งสองเรื่อง ต่างมีความดีงามต่างกันไป Birdman เป็นหนังบอกถึงการดำรงชีวิตในสังคมบันเทิงทางฝั่งตะวันตก ขณะที่ Boyhood เล่าถึงการเจริญเติบโตของเด็กชายคนหนึ่งอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 12 ปี



ตรงนี้เอง ท่ายากของหนังสองเรื่องนี้ ก่อให้เกิดแฟนบอยเถียงกันไปมาอยู่พักหนึ่ง (น่าจะแค่ในประเทศไทย) แฟนฝั่ง Boyhood ก็บอกว่าสมควรได้ออสการ์มากกว่า เพราะหนังเรื่องนี้ถ่ายทำตั้ง 12 ปีเลยนะ ในขณะที่แฟนฝั่ง Birdman ก็โต้กลับไปว่าหนังเขาก็ถ่ายทำด้วยเทคนิค Long Take ค่อนเรื่อง น่าได้มากกว่าอีก

คนเราอาจมองที่ความน่าทึ่ง และตื่นตาตื่นใจกับเทคนิค หรือชั้นเชิงในการเล่าเรื่อง จนบางคนอาจหลงลืมไปว่า ภาพยนตร์มีส่วนที่สำคัญที่สุดอยู่นั่นคือบท เทคนิคต่างๆเป็นเพียงการเสริมให้น่าสนใจและน่าติดตามเฉยๆ เพราะเหตุนี้ทำไม The Hurt Locker ถึงเป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่รายได้ต่ำสุดของรางวัลออสการ์ถึงเอาชนะหนังอลังการพันล้านอย่าง Avatar หรือจะ 12 Years a Slave ที่เล่าเรื่องโดยขาดเทคนิคประกอบใดๆยังเอาชนะหนังโคตรสนุกและน่าทึ่งอย่าง Gravity ได้

ผมอยากจะบอกว่า ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีคุณภาพในตัวของมัน เรามองมุมหนึ่งอาจยังมองไม่เห็นสิ่งที่คนทำจะสื่อออกมา แต่ถ้าเรามองหลายๆมุม จากหลายๆคน เราจะสัมผัสคุณค่าของภาพยนตร์นั้นได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่