ครั้งหนึ่งเคยได้รับการ์ดเชิญงานแต่งงาน เจ้าของการ์ดเชิญ พิมพ์ข้อความบนการ์ดไว้ว่า “อยากใช้ชีวิตคู่อย่างนกเงือก” เป็นคำสั้นๆที่ทำให้คิดต่อว่าทำไมต้องมีชีวิตเหมือนนกเงือก นกเงือกมีชีวิตอย่างไรหรือ คำถามนั้นยังค้างอยู่ในใจ เพราะไม่มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับนกเงือกในสมองน้อยๆของผมเลยสักนิด เพิ่งจะรู้เกร็ดความรู้เรื่องของนกเงือกบ้างเมื่อไม่นานมานี้
สมัยที่ทำงานใหม่ๆ ได้มีโอกาสไปยืนชมวิวบนผาตรอมใจในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มองเห็นฝูงนกเงือกบินอยู่ไกลๆ ตรงหุบเขาตรงหน้า ไม่แน่ใจว่าเป็นนกเงือก นกกก นกกาฮัง นกกรามช้างฯลฯ เพราะไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับนกต่างๆ เหล่านี้เลยจริงๆ จากคำบอกเล่าของผู้รู้บอกว่าป่าแห่งไหนมีนกเงือกอาศัยอยู่ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่านั้นๆ เราจึงไม่ได้เห็นนกเงือกได้ง่ายนักในป่าทั่วไปในเมืองไทย เขาใหญ่เป็นป่าแห่งหนึ่งที่มีขนาดใหญ่และมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะที่นกเงือกใช้เป็นที่อยู่อาศัย จึงมีฝูงนกเงือกบินให้เห็น
ผมเริ่มสืบค้นจากอินเตอร์ซึ่งเป็นเหมือนคลังความรู้ในยุคปัจจุบันที่สะดวกที่สุดแล้ว จึงรู้ว่าในประเทศไทยมีนกเงือกอยู่ 13 ชนิด ได้แก่ นกกก (Great Hornbill) นกเงือก กรามช้าง (Wreathed Hornbilll) นก แก๊ก (Oriental Pied Hornbill) นกเงือก สีน้ำตาลคอขาว (White-throated Brown Hornbill) นกเงือกหัวแรด (Rhinoceros Hornbill) นกชนหิน (Helmeted Hornbill) นกเงือกหัวหงอก (White-crowned Hornbill) นกเงือกปากดำ (Black Hornbill) นกเงือกดำ (Black Hornbill) นกเงือกสีน้ำตาล (Brown Hornbill) นกเงือกปากย่น (Wrinkled Hornbill) นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (Plain-pouched Hornbill) และนกเงือกคอแดง (Rufous-necked Hornbill)
อีกแวบหนึ่งที่จำได้ในสารคดีเกี่ยวกับนกเงือกบอกถึงการใช้ชีวิตแบบผัวเดียวเมียเดียว และทำให้ทึ่งถึงความมั่นคงในความรัก ตอบคำถามที่ค้างในใจมานานว่า “ทำไมต้องมีความรักอย่างนกเงือก” เป็นความรักที่มนุษย์เราควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เริ่มตั้งแต่ถูกตาต้องใจกันเหมือนหนุ่มสาวที่เริ่มสะดุดรักกัน นกเงือกก็เช่นเดียวกัน กว่าที่นกเงือกตัวผู้จะทำให้ตัวเมียยอมรับได้ก็ต้องใช้เวลาและความอดทน ตัวผู้ต้องคอยหาอาหารมาป้อนให้ หากตัวเมียไม่ยอมกินอาหารที่ตัวผู้หามาให้ก็ต้องไปหาอาหารที่คิดว่าตัวเมียชอบมาให้ใหม่ ทำอย่างนี้จนกว่าตัวเมียจะยอมรับและยอมกินอาหารจากตัวผู้ที่นำมาป้อนให้ นั่นเป็นสัญญาณบอกว่าตกลงปลงใจรับรักพร้อมจะใช้ชีวิตร่วมกัน เหมือนรักของคนสมัยรุ่นปู่ย่าตายาย ที่กว่าจะทำให้สาวรับรักได้ก็ต้องใช้การพิสูจน์รักกันนานทีเดียว ต้องหมั่นไปมาหาสู่ทำทุกอย่างจนกว่าสาวจะยอมรับรัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะยินยอมมอบกายและใจให้อย่างง่ายดาย ต้องให้พ่อแม่มาสู่ขอแต่งงานกันตามประเพณีเรียบร้อยนั่นแหละถึงจะยอมมอบให้ทั้งกายและใจ เพราะได้รับการพร่ำสอนมาให้รักนวลสงวนตัวมาตั้งแต่เริ่มเป็นสาว จะชิงสุกก่อนห่ามไม่ได้ ไม่เหมือนหนุ่มสาวสมัยนี้ที่เห็นแล้วต้องถอนหายใจในความเสื่อมถอยของสังคมปัจจุบัน
เมื่อนกเงือกตัวผู้และตัวเมียตกลงปลงใจจะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว ตัวผู้ก็จะพาตัวเมียบินหารังที่คิดว่าเหมาะสำหรับเป็นรังรักเรือนหอใช้ชีวิตอยู่อย่างครอบครัว รังของนกเงือก คือ โพรงไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งพบได้บ่อยในต้นไม้วงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) มากที่สุด ขนาดของ ต้นไม้ที่มีโพรงใหญ่พอที่นก เงือกจะทำรังได้นั้นมีเส้นรอบวงเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3 เมตร ปากของนกเงือกถึงจะมีขนาดใหญ่ก็จริง แต่ก็ไม่ได้แข็งแรงพอที่จะเจาะต้นไม้ให้เป็นโพรงได้เหมือนนกหัวขวาน ซึ่งหากตัวเมียไม่ชอบก็ต้องบินหารังอื่นต่อไปจนกว่าจะถูกใจ เมื่อตัวเมียชอบก็จะเข้าไปทำความสะอาดรังเพื่อใช้เป็นที่เลี้ยงดูน้อยที่จะเกิดขึ้นมา พากันบินไปหาเศษไม้ใบไม้มาปิดปากรังเหลือช่องไว้พอให้ตัวผู้ป้อนอาหารให้แม่และลูกได้เท่านั้น หลังจากนั้นตัวเมียก็จะเก็บตัวขังตัวเองอยู่ในรังนั้นเพื่อเลี้ยงและให้ความอบอุ่นกับลูกนก หน้าที่ในการหาอาหารมาให้ทั้งแม่และลูกก็เป็นหน้าที่ของนกเงือกตัวผู้ และหากตัวผู้ถูกทำร้ายให้ตายไปก่อน ตัวเมียและลูกน้อยก็จะรออยู่อย่างนั้น ไม่ออกไปไหน ค่อยๆหมดเรี่ยวแรงและตายในที่สุด
เพราะฉะนั้น หากนายพรานใจโหดร้าย ฆ่านกเงือกตัวหนึ่งให้ตายไป เท่ากับฆ่าลูกและเมียของมันอย่างเลือดเย็น จากการรอคอยการกลับมาของพ่อ หัวหน้าครอบครัวที่บินออกไปหาอาหารมาให้ลูกและเมียที่รอคอยในรังรักไม่ออกไปไหน จะรออยู่อย่างนั้นวันแล้ววันเล่า ค่อยๆหมดเรี่ยวแรงและสิ้นใจตายไปทั้งครอบครัว เท่ากับเป็นการฆาตกรรมหมู่ที่โหดร้ายและเลือดเย็นอย่างที่สุด
“หยุดล่า หยุดฆ่า หยุดฆาตกรรมหมู่นกเงือก”
13 กุมภาพันธ์ วันอนุรักษ์นกเงือก
นกเงือก รักแท้ที่น่าอัศจรรย์ 13 กุมภาพันธ์ วันอนุรักษ์นกเงือก
ผมเริ่มสืบค้นจากอินเตอร์ซึ่งเป็นเหมือนคลังความรู้ในยุคปัจจุบันที่สะดวกที่สุดแล้ว จึงรู้ว่าในประเทศไทยมีนกเงือกอยู่ 13 ชนิด ได้แก่ นกกก (Great Hornbill) นกเงือก กรามช้าง (Wreathed Hornbilll) นก แก๊ก (Oriental Pied Hornbill) นกเงือก สีน้ำตาลคอขาว (White-throated Brown Hornbill) นกเงือกหัวแรด (Rhinoceros Hornbill) นกชนหิน (Helmeted Hornbill) นกเงือกหัวหงอก (White-crowned Hornbill) นกเงือกปากดำ (Black Hornbill) นกเงือกดำ (Black Hornbill) นกเงือกสีน้ำตาล (Brown Hornbill) นกเงือกปากย่น (Wrinkled Hornbill) นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (Plain-pouched Hornbill) และนกเงือกคอแดง (Rufous-necked Hornbill)
อีกแวบหนึ่งที่จำได้ในสารคดีเกี่ยวกับนกเงือกบอกถึงการใช้ชีวิตแบบผัวเดียวเมียเดียว และทำให้ทึ่งถึงความมั่นคงในความรัก ตอบคำถามที่ค้างในใจมานานว่า “ทำไมต้องมีความรักอย่างนกเงือก” เป็นความรักที่มนุษย์เราควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เริ่มตั้งแต่ถูกตาต้องใจกันเหมือนหนุ่มสาวที่เริ่มสะดุดรักกัน นกเงือกก็เช่นเดียวกัน กว่าที่นกเงือกตัวผู้จะทำให้ตัวเมียยอมรับได้ก็ต้องใช้เวลาและความอดทน ตัวผู้ต้องคอยหาอาหารมาป้อนให้ หากตัวเมียไม่ยอมกินอาหารที่ตัวผู้หามาให้ก็ต้องไปหาอาหารที่คิดว่าตัวเมียชอบมาให้ใหม่ ทำอย่างนี้จนกว่าตัวเมียจะยอมรับและยอมกินอาหารจากตัวผู้ที่นำมาป้อนให้ นั่นเป็นสัญญาณบอกว่าตกลงปลงใจรับรักพร้อมจะใช้ชีวิตร่วมกัน เหมือนรักของคนสมัยรุ่นปู่ย่าตายาย ที่กว่าจะทำให้สาวรับรักได้ก็ต้องใช้การพิสูจน์รักกันนานทีเดียว ต้องหมั่นไปมาหาสู่ทำทุกอย่างจนกว่าสาวจะยอมรับรัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะยินยอมมอบกายและใจให้อย่างง่ายดาย ต้องให้พ่อแม่มาสู่ขอแต่งงานกันตามประเพณีเรียบร้อยนั่นแหละถึงจะยอมมอบให้ทั้งกายและใจ เพราะได้รับการพร่ำสอนมาให้รักนวลสงวนตัวมาตั้งแต่เริ่มเป็นสาว จะชิงสุกก่อนห่ามไม่ได้ ไม่เหมือนหนุ่มสาวสมัยนี้ที่เห็นแล้วต้องถอนหายใจในความเสื่อมถอยของสังคมปัจจุบัน
เมื่อนกเงือกตัวผู้และตัวเมียตกลงปลงใจจะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว ตัวผู้ก็จะพาตัวเมียบินหารังที่คิดว่าเหมาะสำหรับเป็นรังรักเรือนหอใช้ชีวิตอยู่อย่างครอบครัว รังของนกเงือก คือ โพรงไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งพบได้บ่อยในต้นไม้วงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) มากที่สุด ขนาดของ ต้นไม้ที่มีโพรงใหญ่พอที่นก เงือกจะทำรังได้นั้นมีเส้นรอบวงเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3 เมตร ปากของนกเงือกถึงจะมีขนาดใหญ่ก็จริง แต่ก็ไม่ได้แข็งแรงพอที่จะเจาะต้นไม้ให้เป็นโพรงได้เหมือนนกหัวขวาน ซึ่งหากตัวเมียไม่ชอบก็ต้องบินหารังอื่นต่อไปจนกว่าจะถูกใจ เมื่อตัวเมียชอบก็จะเข้าไปทำความสะอาดรังเพื่อใช้เป็นที่เลี้ยงดูน้อยที่จะเกิดขึ้นมา พากันบินไปหาเศษไม้ใบไม้มาปิดปากรังเหลือช่องไว้พอให้ตัวผู้ป้อนอาหารให้แม่และลูกได้เท่านั้น หลังจากนั้นตัวเมียก็จะเก็บตัวขังตัวเองอยู่ในรังนั้นเพื่อเลี้ยงและให้ความอบอุ่นกับลูกนก หน้าที่ในการหาอาหารมาให้ทั้งแม่และลูกก็เป็นหน้าที่ของนกเงือกตัวผู้ และหากตัวผู้ถูกทำร้ายให้ตายไปก่อน ตัวเมียและลูกน้อยก็จะรออยู่อย่างนั้น ไม่ออกไปไหน ค่อยๆหมดเรี่ยวแรงและตายในที่สุด
เพราะฉะนั้น หากนายพรานใจโหดร้าย ฆ่านกเงือกตัวหนึ่งให้ตายไป เท่ากับฆ่าลูกและเมียของมันอย่างเลือดเย็น จากการรอคอยการกลับมาของพ่อ หัวหน้าครอบครัวที่บินออกไปหาอาหารมาให้ลูกและเมียที่รอคอยในรังรักไม่ออกไปไหน จะรออยู่อย่างนั้นวันแล้ววันเล่า ค่อยๆหมดเรี่ยวแรงและสิ้นใจตายไปทั้งครอบครัว เท่ากับเป็นการฆาตกรรมหมู่ที่โหดร้ายและเลือดเย็นอย่างที่สุด
13 กุมภาพันธ์ วันอนุรักษ์นกเงือก