ไปดูมาแล้วครับ 'ลูกทุ่งซิกเนเจอร์' เลยมาแบ่งปันความเห็นครับ เผื่อเป็นตัวช่วยสำหรับคนที่กำลังตัดสินใจว่าจะไปดูดีมั้ย หรือสำหรับคนที่ไม่คิดจะดูมาก่อนเลย ส่วนคนที่จะไปดูแน่ๆ หรือดูมาแล้ว ก็มาแลกเปลี่ยนมุมมองกันนะครับ
1. ภาพรวมของภาพยนตร์ดูจะเป็นการบรรจบกันของอะไรบางอย่างคล้ายๆกับไตเติ้ลที่คำว่า 'ลูกทุ่ง' กับ 'ซิกเนเจอร์' ถูกจับมาชนกัน 'ลูกทุ่ง' มีความหมายคล้ายๆกับคำว่า country หรือ folk ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ชนบท, พื้นบ้าน, ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ ฯลฯ ส่วน 'ซิกเนเจอร์' หรือ 'signature' ก็แปลตรงๆว่า ลายเซ็น, สัญลักษณ์, เอกลักษณ์ ฯลฯ พอรวมกันแล้ว นี่จึงเป็นหนังที่สะท้อนลายเซ็น, สัญลักษณ์, เอกลักษณ์ ของ ชนบท, พื้นบ้าน, ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย ในแง่มุมไหนจะพูดถึงต่อไป แต่ตอนนี้ขอย้อนกลับไปประโยคแรก กล่าวคือภาพรวมของภาพยนตร์มีลักษณะเช่นเดียวกับชื่อหนังในแง่ที่ว่า มันเป็นการผสมกันระหว่างสิ่ง(หรือคำ)ที่ไทยสุดๆอย่างลูกทุ่งกับภาษาอังกฤษเพียวๆ(แม้จะใช้ทับศัพท์) ซึ่งสะท้อนถึงความร่วมสมัย โทนรวมที่ไม่เฉิ่มเชย หลากหลายตัวละครอาจมาจากต่างจังหวัดแต่ทุกตัวดำเนินเรื่องราวในเมืองหลวง(และนักแสดงที่เป็นนักร้องแทบทั้งหมดก็ไม่ได้มาจากสายลูกทุ่งแท้) เพราะความเป็นจริง เราก็สามารถได้ยินเพลงลูกทุ่งในกรุงเทพมหานครอยู่ตลอดเวลา กรอบทางภูมิภาคมิได้แบ่งแยกสุนทรียะหรือศิลปะ สิ่งนี้เองที่สะท้อนเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย ที่เริ่มปรับเปลี่ยนหันมาจับกลุ่มผู้ฟังรุ่นใหม่ ด้วยแนวดนตรีซึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้าถึงได้ดีกว่า และเมื่อผนวกกับเนื้อหาหลักของภาพยนตร์ซึ่งก็คือซิกเนเจอร์ของลูกทุ่ง(ที่ ผกก ตีความและเลือกเอามานำเสนอ) ลูกทุ่งซิกเนเจอร์จึงเป็นหนังที่เปิดกว้างต่อทุกกลุ่มคนดู ทั้งที่ชอบเพลงลูกทุ่งเป็นชีวิตจิตใจ ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง เลยไปถึงขั้นแทบไม่คุ้นเคยกับเพลงลูกทุ่งเลย
2. คราวนี้เราจะกลับมาพูดถึงคำว่า ซิกเนเจอร์ของลูกทุ่ง ตามความเข้าใจของ ผกก, ครับ จริงๆเราก็พอจะคาดเดาได้บ้างจากช่วงสัปดาห์ที่หนังเข้าฉาย(วาเลนไทน์) และจากตัวอย่างหนัง คำโปรยที่ชัดเจนมากคือ ‘เพลงขึ้นให้รีบรัก’ ความรักจึงเป็นแก่นของภาพยนตร์ และน่าจะเป็นซิกเนเจอร์ของลูกทุ่งตามวิสัยทัศน์ของ ผกก เพลงลูกทุ่งดังๆฮิตๆ ตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบันแทบทุกเพลงไม่เคยหลีกพ้นประเด็นความรัก ลูกทุ่งซิกเนเจอร์จึงเลือกถ่ายทอด 8 เรื่องราว ซึ่งมีจุดร่วมกันคือความรัก(ยกเว้นแค่ตอนเบน ชลาทิศ) จะพูดถึงความรักในแง่มุมใดบ้าง เดี๋ยวเราจะเก็บไว้พูดข้อต่อไป(อีกละ) ตอนนี้เราจะขอพูดขยายความว่า เพลงมีความเกี่ยวพันแน่นแฟ้นกับความรักอย่างไร? เชื่อว่าหลายต่อหลายคนฟังเพลงเพื่อ ‘รู้สึก’ รู้สึกยังไงนี่ก็แล้วแต่ เจ็บปวด, พองโต, มีความหวัง, เหงาหงอย, หน่วงๆ, เศร้าเคล้าสุข ฯลฯ ความรักก็เป็นเรื่องของความรู้สึกครับ เวลาเรามีรักอยู่เต็มอก ไม่ว่าจะเป็นรักที่สมหวังหรือผิดหวังหรือยังไม่รู้ชะตากรรม(รอ) เพลงจึงเป็นเพื่อนที่ดียามมนุษย์มีความรัก ทุกคนหยิบเพลงขึ้นมาฟังเมื่อกำลังหาอะไรสักอย่างมาร่วมดื่มด่ำความรู้สึกไปด้วยกัน เพราะเพลงเหมือนเป็นเพื่อนที่เข้าใจเราที่สุด เพลงกระทบความรู้สึกขณะมีรัก เป็นความรู้สึกที่ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ มันก็เป็นความรู้สึกที่งดงามเสมอ เพราะความรักสวยงาม และเพลงขับเน้นความรักเราให้สวยงามยิ่งขึ้น
ทีนี้คำถามที่ตามมาคือ อ่าว เช่นนี้แล้วลูกทุ่งก็ไม่ต่างกับเพลงแนวอื่นๆสิ เพลงแนวๆอื่นก็มีลักษณะแบบนี้นี่นา ไม่ว่าจะเพลงแนวไหนก็ช่วยให้เราอินกับรักมากขึ้นกันทั้งนั้น ถูกต้องที่สุดเลยครับ เพลงทุกแนวก็พูดถึงความรักกันทั้งนั้น ดังนั้น ในแง่ของเนื้อหาและความรู้สึกแล้ว เพลงทุกแนวจึงไม่ได้มีความแตกต่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ ผกก พยายามสื่อสารตั้งแต่ก่อนเปิดเรื่องโดยยกคำพูดของประภาส ชลศรานนท์ ที่ว่า “คลาสสิคอย่าดูถูกแจ๊ส แจ๊สอย่าดูแคลนป๊อป ป๊อปอย่ารังเกียจลูกทุ่ง ลูกทุ่งเองก็อย่ารังงอนหมอลำ หมอลำก็อย่าคิดว่าคลาสสิคมันสูงส่ง” มันสื่อถึงการเหยียดรสนิยมกัน หรืออธิบายได้ว่า มันเป็นการบอกว่า ไม่ว่าจะเป็นเพลงแนวใด(รวมถึงลูกทุ่ง) ก็สามารถกระทบความรู้สึกเกี่ยวกับความรักของเราได้ ดังนั้น เราจึงไม่ควรตัดสินฟังหรือไม่ฟังเพลงใด หรือหนักกว่า วิพากษ์เพลงใดๆ จากเพียงแค่แนวเพลงของมัน นี่จึงเป็นภาพยนตร์ที่กระตุ้นให้คนที่ไม่เคยมองเพลงแนวอื่นๆนอกจากแนวที่ตนชอบมาก่อน(ไม่ใช่แค่ลูกทุ่ง) หันกลับมาลองฟังและพิจารณาดูใหม่
3. เอาล่ะ ได้เวลาพูดถึงเนื้อหาหลักสักที หนังนำเสนอหลากหลายลักษณะความรักผ่านหลากหลายเรื่องราวผ่านตัวละครหลากหลายชนชั้นหลากหลายขวบวัย ตัดสลับกันไปมา เพื่อบอกว่าแม้ความรักจะมีหลากหลายลักษณะ แต่มันก็สามารถซ้อนทับและใกล้เคียงกัน ทว่าเพื่อความง่ายในการบรรยาย เราจะขอสรุปแนวคิดเกี่ยวกับความรักทีละเรื่องราวจะดีกว่า
3.1
‘สมบัติ-พิศมัย’ เรามาพูดถึงตัวละครสูงอายุกันก่อน เรื่องราวเกี่ยวกับรักแรกพบที่จำฝังใจมาจนถึงวัยชรา สมบัติป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม พิสมัยตัดพ้อในใจไหนว่าจะไม่ลืมกัน? นี่คือตอนที่เราสัมผัสได้และเจ็บปวดถึงที่สุด(ตอนนี้เป็นตอนที่ลงตัวที่สุดด้วย) เมื่อมันพูดถึงสัจธรรมขีดจำกัดทางกายภาพ วันหนึ่งเราอาจลืมคนรักหรือเหตุการณ์ระหว่างเราสอง แม้เราจะรักเธอมากเพียงใด แต่เราไม่เคยลืมความรู้สึก ‘ความรัก’ ที่มันเคยเกิดขึ้น และขีดจำกัดทางสังคม บนโลกแห่งความเป็นจริง มีสิ่งกีดขวางมากมายที่ความรักไม่อาจข้ามผ่านได้ หลายๆครั้ง โลกโหดร้ายเกินกว่าจะมีที่ว่างให้ความสวยงามแห่งรัก
3.2
‘รปภ.สาว-ชาคริต’ ตรงข้ามกับตอนที่แล้ว ซึ่งดูจริงที่สุด ตอนนี้ดูจริงน้อยที่สุด พูดถึง ‘ความรักที่เป็นไปไม่ได้’ ทางหนึ่งมันอาจเป็นการเสียดสีแฟนคลับคลั่งดารา แต่อีกทางมันก็กระตุกเตือนกลุ่มคนที่ตกหลุมรักกับคนที่เรารู้ทั้งรู้ว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยข้อจำกัดใดๆก็ตาม เช่น เค้ามีเจ้าของแล้ว ฯลฯ แต่นั่นแหละครับคือความรัก บางที ความรักของเราก็ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าการมอบความรู้สึกดีๆให้กับอีกคน
3.3
‘หนุ่มแท็กซี่-แฟนที่หายไป’ เราจะรอคนรักได้อีกนานแค่ไหนกัน? แต่นั่นคงไม่สำคัญเท่ากับ ตอนนี้เธอเป็นยังไงบ้าง? เธอจะสบายดีมั้ย? นับเป็นคราวโชคของหนุ่มแท็กซี่เมื่อผู้โดยสารเป็นสุเมธ หรือนี่คือรางวัลแห่งความพยายาม? จริงๆตอนนี้ไม่มีเนื้อหาอะไรนัก นอกจากพลังของสื่อ ซึ่งเราจะมาพูดกันในหัวข้อที่ 4
3.4
‘พ่อค้าเฉาก๊วย-สาวหน้าผี’ บางทีความรักก็อาจมีจุดเริ่มต้นมาจากการเติมเต็มความเหงา ความโดดเดี่ยวขาดหายเรียกร้องให้เราโหยหาใครสักคน เมื่อรูปลักษณ์ภายนอกกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนกลั่นกรอง นี่คือตอนที่สะท้อนให้เห็นว่า ความรัก เป็นเรื่องของหัวใจล้วนๆ เรามองข้ามทุกอย่างกระทั่งสิ่งที่มองเห็นชัดเจนตรงหน้าเรา อาจเพราะเราไม่ได้ใช้ตามอง แต่ใช้ใจ
3.5
‘นนท์-เด็กสาวปริศนา’ เรารู้สึกว่าตอนนี้ปัญญาอ่อน อาจเพราะ ผกก จงใจให้เป็นแบบนั้น มองจากสายตาคนนอก หลายๆครั้ง ความรักเป็นเรื่องปัญญาอ่อน กระทั่งมองด้วยสายตาของเราเองแต่ต่างเวลาออกไป เมื่อเราทำใจได้ หันกลับไปมองสิ่งที่เราทำเพื่อรักครั้นหนหลัง มันกลายเป็นแค่เรื่องตลกๆที่ก็งงเหมือนกันว่าจะทำไปทำไม? เรามักหน้ามืดตามัวปล่อยให้ความรักเป็นทุกอย่างของชีวิต แต่ใช่ว่าการทุ่มเทให้มันไม่ใช่เรื่องดี เรื่องราวตอนนี้ทำให้เรานึกถึงเพลง The Man Who Can’t Be Moved ของ The Script(ถึงบอกว่า แนวเพลงหรือกระทั่งชาติพันธุ์ของเพลงไม่ได้สร้างกรอบให้เนื้อหา) ขณะที่มันดูบ้างมงายเพ้อเจ้อ แต่มันก็มีแต่ความหวังเต็มไปหมด
3.6
‘ความสัมพันธ์ในกองถ่าย’ ความรัก กับ การจีบ เป็นของคู่กัน และขณะที่หนังถ่ายทอดสภาวะระหว่างนั้นของความรักวัยรุ่น หนังยังนำเสนอความรักของมนุษย์ที่มีต่ออะไรสักอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ด้วยกัน และสำหรับตอนนี้มันคือการทำระเบิดแบบเก่าและเพลงลูกทุ่งสมัยรุ่นปู่รุ่นพ่อ มันไม่ต่างอะไรเลยกับรักวัยรุ่นที่เราไม่เคยคำนึงถึงอะไรนอกจากความรู้สึก เราไม่เคยต้องมานั่งหาเหตุผลให้มากมายว่าทำไมถึงรักการทำระเบิดแบบเก่าหรือเพลงลูกทุ่งสมัยรุ่นปู่รุ่นพ่อ นอกจากว่ามันเป็นซิกเนเจอร์ ปัญหาสังคมมันอยู่ตรงนี้ อยู่ตรงที่คนภายนอกไม่เข้าใจว่าทำไมเราถึงหลงรักอะไรสักอย่างหัวปักหัวปำ และพยายามชี้ให้เห็นถึงโทษโดยความไม่เข้าใจอะไรเลย
3.7
‘น้อยวงพรู-แม่บ้านในห้องน้ำ’ เป็นตอนที่เซอร์เรียลที่สุด เสียงร้องที่น้อยตามหาก็คือความรัก ความรักที่เรารออยู่เฉยๆไม่ยอมเผชิญหน้า ชักช้า และในที่สุดมันก็สายเกินไปก้าวนึงเสมอ มันตามหลอกหลอน เราหมกมุ่น แต่เรากลับไม่กล้าเจอกับมันตรงๆ
3.8
‘เบน-เพลงลูกทุ่ง’ ดูจะเป็นตอนที่ห่างไกลกับความรักที่สุด แต่มันก็ยังสามารถสะท้อนภาพของคนที่ติดอยู่กับความคุ้นเคยเก่าๆ(อดีต) ไม่อยากก้าวสู่แนวทางใหม่ๆ(ปัจจุบันและอนาคต) แน่นอนว่ามันยากเย็นในการจะเริ่มต้นและปรับตัวต่อสิ่งที่ต่างออกไป แต่อย่าลืมสิ เราเคยผ่านอะไรที่คล้ายๆกันมาก่อน หรืออีกนัยหนึ่ง เราเคยผ่านความรักมาก่อน ความรักที่ทั้งเคยสำเร็จ และ ล้มเหลว
4. ซิกเนเจอร์ของลูกทุ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า ซิกเนเจอร์ของชีวิต จึงเป็นความรัก มันกลมกลืนและเกี่ยวโยงทุกชีวิตในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะดีหรือแย่แต่ที่แน่ๆความรักมีพลังเสมอ หลักฐานยืนยันสำคัญคือความรักมีพลังผลักดันพอให้ตัวความรักเองมีบทบาทผ่านสื่อต่างๆ เช่น ตอน ‘พ่อค้าเฉาก๊วย-สาวหน้าผี’ ซาบซึ้งผ่านทีวี, ตอน ‘นนท์-เด็กสาวปริศนา’ มีการติดตามรวมถึงให้กำลังใจ ผ่านทาง นสพ. และสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค, ตอน ‘หนุ่มแท็กซี่-แฟนที่หายไป’ สังคมออนไลน์ให้ความช่วยเหลือ ฯลฯ แต่ที่สำคัญที่สุดคือความรักกลายเป็นเชื้อเพลิงให้เกิดบทเพลงอันไพเราะมากมาย และสื่ออย่างเพลงลูกทุ่งจึงเป็นตัวอย่างที่งดงามและนำเสนอความรักได้ทรงพลังที่สุดอีกรูปแบบหนึ่ง
ลูกทุ่งซิกเนเจอร์ - ชอบเพลงลูกทุ่งใช่มั้ย? ดูเถอะ.. ไม่ชอบเหรอ? ยิ่งต้องดู.. เคยมีความรักช้ะ? ห้ามพลาดเลยถ้างั้น!!!
ไปดูมาแล้วครับ 'ลูกทุ่งซิกเนเจอร์' เลยมาแบ่งปันความเห็นครับ เผื่อเป็นตัวช่วยสำหรับคนที่กำลังตัดสินใจว่าจะไปดูดีมั้ย หรือสำหรับคนที่ไม่คิดจะดูมาก่อนเลย ส่วนคนที่จะไปดูแน่ๆ หรือดูมาแล้ว ก็มาแลกเปลี่ยนมุมมองกันนะครับ
1. ภาพรวมของภาพยนตร์ดูจะเป็นการบรรจบกันของอะไรบางอย่างคล้ายๆกับไตเติ้ลที่คำว่า 'ลูกทุ่ง' กับ 'ซิกเนเจอร์' ถูกจับมาชนกัน 'ลูกทุ่ง' มีความหมายคล้ายๆกับคำว่า country หรือ folk ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ชนบท, พื้นบ้าน, ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ ฯลฯ ส่วน 'ซิกเนเจอร์' หรือ 'signature' ก็แปลตรงๆว่า ลายเซ็น, สัญลักษณ์, เอกลักษณ์ ฯลฯ พอรวมกันแล้ว นี่จึงเป็นหนังที่สะท้อนลายเซ็น, สัญลักษณ์, เอกลักษณ์ ของ ชนบท, พื้นบ้าน, ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย ในแง่มุมไหนจะพูดถึงต่อไป แต่ตอนนี้ขอย้อนกลับไปประโยคแรก กล่าวคือภาพรวมของภาพยนตร์มีลักษณะเช่นเดียวกับชื่อหนังในแง่ที่ว่า มันเป็นการผสมกันระหว่างสิ่ง(หรือคำ)ที่ไทยสุดๆอย่างลูกทุ่งกับภาษาอังกฤษเพียวๆ(แม้จะใช้ทับศัพท์) ซึ่งสะท้อนถึงความร่วมสมัย โทนรวมที่ไม่เฉิ่มเชย หลากหลายตัวละครอาจมาจากต่างจังหวัดแต่ทุกตัวดำเนินเรื่องราวในเมืองหลวง(และนักแสดงที่เป็นนักร้องแทบทั้งหมดก็ไม่ได้มาจากสายลูกทุ่งแท้) เพราะความเป็นจริง เราก็สามารถได้ยินเพลงลูกทุ่งในกรุงเทพมหานครอยู่ตลอดเวลา กรอบทางภูมิภาคมิได้แบ่งแยกสุนทรียะหรือศิลปะ สิ่งนี้เองที่สะท้อนเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย ที่เริ่มปรับเปลี่ยนหันมาจับกลุ่มผู้ฟังรุ่นใหม่ ด้วยแนวดนตรีซึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้าถึงได้ดีกว่า และเมื่อผนวกกับเนื้อหาหลักของภาพยนตร์ซึ่งก็คือซิกเนเจอร์ของลูกทุ่ง(ที่ ผกก ตีความและเลือกเอามานำเสนอ) ลูกทุ่งซิกเนเจอร์จึงเป็นหนังที่เปิดกว้างต่อทุกกลุ่มคนดู ทั้งที่ชอบเพลงลูกทุ่งเป็นชีวิตจิตใจ ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง เลยไปถึงขั้นแทบไม่คุ้นเคยกับเพลงลูกทุ่งเลย
2. คราวนี้เราจะกลับมาพูดถึงคำว่า ซิกเนเจอร์ของลูกทุ่ง ตามความเข้าใจของ ผกก, ครับ จริงๆเราก็พอจะคาดเดาได้บ้างจากช่วงสัปดาห์ที่หนังเข้าฉาย(วาเลนไทน์) และจากตัวอย่างหนัง คำโปรยที่ชัดเจนมากคือ ‘เพลงขึ้นให้รีบรัก’ ความรักจึงเป็นแก่นของภาพยนตร์ และน่าจะเป็นซิกเนเจอร์ของลูกทุ่งตามวิสัยทัศน์ของ ผกก เพลงลูกทุ่งดังๆฮิตๆ ตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบันแทบทุกเพลงไม่เคยหลีกพ้นประเด็นความรัก ลูกทุ่งซิกเนเจอร์จึงเลือกถ่ายทอด 8 เรื่องราว ซึ่งมีจุดร่วมกันคือความรัก(ยกเว้นแค่ตอนเบน ชลาทิศ) จะพูดถึงความรักในแง่มุมใดบ้าง เดี๋ยวเราจะเก็บไว้พูดข้อต่อไป(อีกละ) ตอนนี้เราจะขอพูดขยายความว่า เพลงมีความเกี่ยวพันแน่นแฟ้นกับความรักอย่างไร? เชื่อว่าหลายต่อหลายคนฟังเพลงเพื่อ ‘รู้สึก’ รู้สึกยังไงนี่ก็แล้วแต่ เจ็บปวด, พองโต, มีความหวัง, เหงาหงอย, หน่วงๆ, เศร้าเคล้าสุข ฯลฯ ความรักก็เป็นเรื่องของความรู้สึกครับ เวลาเรามีรักอยู่เต็มอก ไม่ว่าจะเป็นรักที่สมหวังหรือผิดหวังหรือยังไม่รู้ชะตากรรม(รอ) เพลงจึงเป็นเพื่อนที่ดียามมนุษย์มีความรัก ทุกคนหยิบเพลงขึ้นมาฟังเมื่อกำลังหาอะไรสักอย่างมาร่วมดื่มด่ำความรู้สึกไปด้วยกัน เพราะเพลงเหมือนเป็นเพื่อนที่เข้าใจเราที่สุด เพลงกระทบความรู้สึกขณะมีรัก เป็นความรู้สึกที่ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ มันก็เป็นความรู้สึกที่งดงามเสมอ เพราะความรักสวยงาม และเพลงขับเน้นความรักเราให้สวยงามยิ่งขึ้น
ทีนี้คำถามที่ตามมาคือ อ่าว เช่นนี้แล้วลูกทุ่งก็ไม่ต่างกับเพลงแนวอื่นๆสิ เพลงแนวๆอื่นก็มีลักษณะแบบนี้นี่นา ไม่ว่าจะเพลงแนวไหนก็ช่วยให้เราอินกับรักมากขึ้นกันทั้งนั้น ถูกต้องที่สุดเลยครับ เพลงทุกแนวก็พูดถึงความรักกันทั้งนั้น ดังนั้น ในแง่ของเนื้อหาและความรู้สึกแล้ว เพลงทุกแนวจึงไม่ได้มีความแตกต่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ ผกก พยายามสื่อสารตั้งแต่ก่อนเปิดเรื่องโดยยกคำพูดของประภาส ชลศรานนท์ ที่ว่า “คลาสสิคอย่าดูถูกแจ๊ส แจ๊สอย่าดูแคลนป๊อป ป๊อปอย่ารังเกียจลูกทุ่ง ลูกทุ่งเองก็อย่ารังงอนหมอลำ หมอลำก็อย่าคิดว่าคลาสสิคมันสูงส่ง” มันสื่อถึงการเหยียดรสนิยมกัน หรืออธิบายได้ว่า มันเป็นการบอกว่า ไม่ว่าจะเป็นเพลงแนวใด(รวมถึงลูกทุ่ง) ก็สามารถกระทบความรู้สึกเกี่ยวกับความรักของเราได้ ดังนั้น เราจึงไม่ควรตัดสินฟังหรือไม่ฟังเพลงใด หรือหนักกว่า วิพากษ์เพลงใดๆ จากเพียงแค่แนวเพลงของมัน นี่จึงเป็นภาพยนตร์ที่กระตุ้นให้คนที่ไม่เคยมองเพลงแนวอื่นๆนอกจากแนวที่ตนชอบมาก่อน(ไม่ใช่แค่ลูกทุ่ง) หันกลับมาลองฟังและพิจารณาดูใหม่
3. เอาล่ะ ได้เวลาพูดถึงเนื้อหาหลักสักที หนังนำเสนอหลากหลายลักษณะความรักผ่านหลากหลายเรื่องราวผ่านตัวละครหลากหลายชนชั้นหลากหลายขวบวัย ตัดสลับกันไปมา เพื่อบอกว่าแม้ความรักจะมีหลากหลายลักษณะ แต่มันก็สามารถซ้อนทับและใกล้เคียงกัน ทว่าเพื่อความง่ายในการบรรยาย เราจะขอสรุปแนวคิดเกี่ยวกับความรักทีละเรื่องราวจะดีกว่า
3.1 ‘สมบัติ-พิศมัย’ เรามาพูดถึงตัวละครสูงอายุกันก่อน เรื่องราวเกี่ยวกับรักแรกพบที่จำฝังใจมาจนถึงวัยชรา สมบัติป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม พิสมัยตัดพ้อในใจไหนว่าจะไม่ลืมกัน? นี่คือตอนที่เราสัมผัสได้และเจ็บปวดถึงที่สุด(ตอนนี้เป็นตอนที่ลงตัวที่สุดด้วย) เมื่อมันพูดถึงสัจธรรมขีดจำกัดทางกายภาพ วันหนึ่งเราอาจลืมคนรักหรือเหตุการณ์ระหว่างเราสอง แม้เราจะรักเธอมากเพียงใด แต่เราไม่เคยลืมความรู้สึก ‘ความรัก’ ที่มันเคยเกิดขึ้น และขีดจำกัดทางสังคม บนโลกแห่งความเป็นจริง มีสิ่งกีดขวางมากมายที่ความรักไม่อาจข้ามผ่านได้ หลายๆครั้ง โลกโหดร้ายเกินกว่าจะมีที่ว่างให้ความสวยงามแห่งรัก
3.2 ‘รปภ.สาว-ชาคริต’ ตรงข้ามกับตอนที่แล้ว ซึ่งดูจริงที่สุด ตอนนี้ดูจริงน้อยที่สุด พูดถึง ‘ความรักที่เป็นไปไม่ได้’ ทางหนึ่งมันอาจเป็นการเสียดสีแฟนคลับคลั่งดารา แต่อีกทางมันก็กระตุกเตือนกลุ่มคนที่ตกหลุมรักกับคนที่เรารู้ทั้งรู้ว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยข้อจำกัดใดๆก็ตาม เช่น เค้ามีเจ้าของแล้ว ฯลฯ แต่นั่นแหละครับคือความรัก บางที ความรักของเราก็ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าการมอบความรู้สึกดีๆให้กับอีกคน
3.3 ‘หนุ่มแท็กซี่-แฟนที่หายไป’ เราจะรอคนรักได้อีกนานแค่ไหนกัน? แต่นั่นคงไม่สำคัญเท่ากับ ตอนนี้เธอเป็นยังไงบ้าง? เธอจะสบายดีมั้ย? นับเป็นคราวโชคของหนุ่มแท็กซี่เมื่อผู้โดยสารเป็นสุเมธ หรือนี่คือรางวัลแห่งความพยายาม? จริงๆตอนนี้ไม่มีเนื้อหาอะไรนัก นอกจากพลังของสื่อ ซึ่งเราจะมาพูดกันในหัวข้อที่ 4
3.4 ‘พ่อค้าเฉาก๊วย-สาวหน้าผี’ บางทีความรักก็อาจมีจุดเริ่มต้นมาจากการเติมเต็มความเหงา ความโดดเดี่ยวขาดหายเรียกร้องให้เราโหยหาใครสักคน เมื่อรูปลักษณ์ภายนอกกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนกลั่นกรอง นี่คือตอนที่สะท้อนให้เห็นว่า ความรัก เป็นเรื่องของหัวใจล้วนๆ เรามองข้ามทุกอย่างกระทั่งสิ่งที่มองเห็นชัดเจนตรงหน้าเรา อาจเพราะเราไม่ได้ใช้ตามอง แต่ใช้ใจ
3.5 ‘นนท์-เด็กสาวปริศนา’ เรารู้สึกว่าตอนนี้ปัญญาอ่อน อาจเพราะ ผกก จงใจให้เป็นแบบนั้น มองจากสายตาคนนอก หลายๆครั้ง ความรักเป็นเรื่องปัญญาอ่อน กระทั่งมองด้วยสายตาของเราเองแต่ต่างเวลาออกไป เมื่อเราทำใจได้ หันกลับไปมองสิ่งที่เราทำเพื่อรักครั้นหนหลัง มันกลายเป็นแค่เรื่องตลกๆที่ก็งงเหมือนกันว่าจะทำไปทำไม? เรามักหน้ามืดตามัวปล่อยให้ความรักเป็นทุกอย่างของชีวิต แต่ใช่ว่าการทุ่มเทให้มันไม่ใช่เรื่องดี เรื่องราวตอนนี้ทำให้เรานึกถึงเพลง The Man Who Can’t Be Moved ของ The Script(ถึงบอกว่า แนวเพลงหรือกระทั่งชาติพันธุ์ของเพลงไม่ได้สร้างกรอบให้เนื้อหา) ขณะที่มันดูบ้างมงายเพ้อเจ้อ แต่มันก็มีแต่ความหวังเต็มไปหมด
3.6 ‘ความสัมพันธ์ในกองถ่าย’ ความรัก กับ การจีบ เป็นของคู่กัน และขณะที่หนังถ่ายทอดสภาวะระหว่างนั้นของความรักวัยรุ่น หนังยังนำเสนอความรักของมนุษย์ที่มีต่ออะไรสักอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ด้วยกัน และสำหรับตอนนี้มันคือการทำระเบิดแบบเก่าและเพลงลูกทุ่งสมัยรุ่นปู่รุ่นพ่อ มันไม่ต่างอะไรเลยกับรักวัยรุ่นที่เราไม่เคยคำนึงถึงอะไรนอกจากความรู้สึก เราไม่เคยต้องมานั่งหาเหตุผลให้มากมายว่าทำไมถึงรักการทำระเบิดแบบเก่าหรือเพลงลูกทุ่งสมัยรุ่นปู่รุ่นพ่อ นอกจากว่ามันเป็นซิกเนเจอร์ ปัญหาสังคมมันอยู่ตรงนี้ อยู่ตรงที่คนภายนอกไม่เข้าใจว่าทำไมเราถึงหลงรักอะไรสักอย่างหัวปักหัวปำ และพยายามชี้ให้เห็นถึงโทษโดยความไม่เข้าใจอะไรเลย
3.7 ‘น้อยวงพรู-แม่บ้านในห้องน้ำ’ เป็นตอนที่เซอร์เรียลที่สุด เสียงร้องที่น้อยตามหาก็คือความรัก ความรักที่เรารออยู่เฉยๆไม่ยอมเผชิญหน้า ชักช้า และในที่สุดมันก็สายเกินไปก้าวนึงเสมอ มันตามหลอกหลอน เราหมกมุ่น แต่เรากลับไม่กล้าเจอกับมันตรงๆ
3.8 ‘เบน-เพลงลูกทุ่ง’ ดูจะเป็นตอนที่ห่างไกลกับความรักที่สุด แต่มันก็ยังสามารถสะท้อนภาพของคนที่ติดอยู่กับความคุ้นเคยเก่าๆ(อดีต) ไม่อยากก้าวสู่แนวทางใหม่ๆ(ปัจจุบันและอนาคต) แน่นอนว่ามันยากเย็นในการจะเริ่มต้นและปรับตัวต่อสิ่งที่ต่างออกไป แต่อย่าลืมสิ เราเคยผ่านอะไรที่คล้ายๆกันมาก่อน หรืออีกนัยหนึ่ง เราเคยผ่านความรักมาก่อน ความรักที่ทั้งเคยสำเร็จ และ ล้มเหลว
4. ซิกเนเจอร์ของลูกทุ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า ซิกเนเจอร์ของชีวิต จึงเป็นความรัก มันกลมกลืนและเกี่ยวโยงทุกชีวิตในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะดีหรือแย่แต่ที่แน่ๆความรักมีพลังเสมอ หลักฐานยืนยันสำคัญคือความรักมีพลังผลักดันพอให้ตัวความรักเองมีบทบาทผ่านสื่อต่างๆ เช่น ตอน ‘พ่อค้าเฉาก๊วย-สาวหน้าผี’ ซาบซึ้งผ่านทีวี, ตอน ‘นนท์-เด็กสาวปริศนา’ มีการติดตามรวมถึงให้กำลังใจ ผ่านทาง นสพ. และสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค, ตอน ‘หนุ่มแท็กซี่-แฟนที่หายไป’ สังคมออนไลน์ให้ความช่วยเหลือ ฯลฯ แต่ที่สำคัญที่สุดคือความรักกลายเป็นเชื้อเพลิงให้เกิดบทเพลงอันไพเราะมากมาย และสื่ออย่างเพลงลูกทุ่งจึงเป็นตัวอย่างที่งดงามและนำเสนอความรักได้ทรงพลังที่สุดอีกรูปแบบหนึ่ง