อ่านข่าวตามที่ต่างๆมาหลายที่แล้วสงสัยเกี่ยวกับ LIGO ตรงที่ว่า ตอนที่ คลื่นความโน้มถ่วงผ่านมายังโลกทำให้ Space-Time ยืดและหด
(ขอพูดถึงหลักการของ LIGO ตามที่ผมเข้าใจไปด้วยเลยนะครับ ผิดถูกตรงไหนแนะนำเลยครับ)
1. การยืดและหดนั้นเป็นการยืดหดของ Space-Time เท่านั้น ไม่ได้ยืดและหดกันในทางกายภาพ ใช่รึเปล่าครับ
- คือผมอ่านจากเว็บต่างๆ แล้วยังชวนสับสนตรงที่บอกว่า ท่อ(ของ LIGO)ที่ยาว 4 กม. ทั้งสอง ยืดและหด ทำให้ความยาว(ทางกายภาพ)จริงๆของท่อต่างกันเล็กน้อย
หรือจริงๆแล้วท่อยังยาวเท่าเดิม แต่ Space-Time บริเวณท่อทั้งสอง ยืด/หด ผมเลยเข้าใจต่อว่า มันเลยทำให้แสงในท่อทั้งสองใช้เวลาเดินทางนานขึ้น/น้อยลง (เพราะ Space-Time ที่เปลี่ยนแปลงมีผลต่อการเดินทางของแสง) ทำให้สะท้อนกลับมาหักล้างที่ปลายทาง ไม่พร้อมหรือไม่หักล้างกัน
2. ทำไม คลื่นความโน้มถ่วงนี้ ถึงไม่ได้ทำให้ท่อทั้งสอง ยืดและหดเท่าๆกัน จนตรวจจับไม่ได้? หรือว่าโอกาสเกิดแบบนี้มันน้อยมาก
3. แสงสะท้อนที่จะมาหักล้างกัน มันหักล้างกันได้อย่างไรครับ เป็นแสงที่เฟสตรงข้ามกันอะไรแบบนี้รึเปล่า พอมันต่างเฟสกัน แล้วคลื่นความโน้มถ่วงไปรบกวน มันเลยมีผลต่างเล็ดลอดจนจับได้
สงสัยเกี่ยวกับ LIGO ครับ
(ขอพูดถึงหลักการของ LIGO ตามที่ผมเข้าใจไปด้วยเลยนะครับ ผิดถูกตรงไหนแนะนำเลยครับ)
1. การยืดและหดนั้นเป็นการยืดหดของ Space-Time เท่านั้น ไม่ได้ยืดและหดกันในทางกายภาพ ใช่รึเปล่าครับ
- คือผมอ่านจากเว็บต่างๆ แล้วยังชวนสับสนตรงที่บอกว่า ท่อ(ของ LIGO)ที่ยาว 4 กม. ทั้งสอง ยืดและหด ทำให้ความยาว(ทางกายภาพ)จริงๆของท่อต่างกันเล็กน้อย
หรือจริงๆแล้วท่อยังยาวเท่าเดิม แต่ Space-Time บริเวณท่อทั้งสอง ยืด/หด ผมเลยเข้าใจต่อว่า มันเลยทำให้แสงในท่อทั้งสองใช้เวลาเดินทางนานขึ้น/น้อยลง (เพราะ Space-Time ที่เปลี่ยนแปลงมีผลต่อการเดินทางของแสง) ทำให้สะท้อนกลับมาหักล้างที่ปลายทาง ไม่พร้อมหรือไม่หักล้างกัน
2. ทำไม คลื่นความโน้มถ่วงนี้ ถึงไม่ได้ทำให้ท่อทั้งสอง ยืดและหดเท่าๆกัน จนตรวจจับไม่ได้? หรือว่าโอกาสเกิดแบบนี้มันน้อยมาก
3. แสงสะท้อนที่จะมาหักล้างกัน มันหักล้างกันได้อย่างไรครับ เป็นแสงที่เฟสตรงข้ามกันอะไรแบบนี้รึเปล่า พอมันต่างเฟสกัน แล้วคลื่นความโน้มถ่วงไปรบกวน มันเลยมีผลต่างเล็ดลอดจนจับได้