สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
case นี้เอาถ่านกระดุม( disk battery )ออกมาแล้ว ตอนนี้ก็น่าจะปลอดภัยแล้ว
กรณีนี้ก็น่าคิดต่อไปว่าเราได้อยากจะได้บทเรียนอะไรจากกรณีนี้
การฟ้องร้องมีประโยชน์อะไรจากกรณีนี้
มันมีข้อดีที่จะทำให้หมอที่ตรวจระมัดระวังขึ้นกว่าไม่ฟ้องหรือไม่
ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นคืออะไร
กรณีสิ่งแปลกปลอม ( foreign body ) ในจมูก
อาการที่นำมาพบแพทย์มีอะไรบ้าง
( ขออ้างอิงจาก Nelson ที่เป็น standard Textbook Ed 20th ที่กุมารแพทย์ทั่วโลกใช้เป็นหนังสืออ้างอิงนะครับ )
พบว่าบ่อยที่สุด 86% คือ การที่มีประวัติเอาอะไรยัดใส่จมูกมานั่นแหละครับ
เพราะส่วนใหญ่จะเกิดในวัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่ผู้ปกครองยังต้องใส่ใจดูแลใกล้ชิดอยู่
24% มาด้วยมีนำ้มูกปนหนองไหลออกมา
9% มาด้วยจมูกมีกลิ่นเหม็น
6% มาด้วยมีเลือดไหลจากจมูก
3% มาด้วยจมูกอุดตัน
2% มาด้วยอาการหายใจทางปาก
ที่บวกกันเกิน 100 ไม่ต้องแปลกใจครับ
เพราะหลายๆคนมาด้วยอาการนำมากกว่า 1 อาการได้
เช่นมีมาด้วยนำ้มูกปนหนองไหลออกมาและมีกลิ่นเหม็น
จะเห็นว่ารายที่มาด้วยเลือดไหลออกจากจมูกมีน้อย แค่ 6%
ถ้าร่วมกับการที่ไม่มีประวัติเอาอะไรใส่จมูกมาด้วยแล้ว
อาจทำให้แพทย์ที่ตรวจคิดไม่ถึงภาวะนี้
ไปคิดถึงภาวะอื่นที่ทำให้มีเลือดกำเดาไหลได้บ่อยกว่าภาวะนี้ก่อน
และการที่มีเลือดออกมันจะไปทำให้การส่องดูในจมูก
อาจจะไม่เห็นสิ่งแปลกปลอมเพราะถูกเลือดกลบอยู่
โดยเฉพาะถ้าหมอที่ตรวจได้ส่องดูแล้วไม่เห็น
ก็คงจะไม่เห็นเพราะก้อนเลือดบังจริงๆ(ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการไม่ส่องดู)
ถามว่าแล้วทำไมคนตรวจทีหลังถึงเจอ
เป็นได้ทั้งจากการที่รักษามาแล้วไม่ดีขึ้น
ทำให้แพทย์ที่ตรวจทีหลังสงสัยว่าอาจจะไม่ใช่ภาวะที่วินิจฉัยไว้ตอนแรก
ก็จะต้องพยายามมองหามากขึ้น
เลือดที่ออกเมื่อมีการสั่งนำ้มูกออกมา
บางทีก้อนเลือดมันหลุดไปบางส่วน
ทำให้โชคดีเห็นส่วนที่เป็นโลหะวาวๆโผล่ขึ้นมาให้เห็น
หรือมีการดูดหรือซับเลือดที่ออกมาทำให้เห็นชัดขึ้น
ประสบการณ์ของแพทย์ที่ตรวจทีหลังในกรณีที่เป็น case มีปัญหารักษามาแล้วไม่ดีขึ้น
ก็มักจะได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์มากกว่า
จะว่าหมอที่รักษาคนแรกว่าไม่มีจรรยาบรรณอันนี้น่าจะเกินเลยไปมาก
และไม่น่าจะถึงกับประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงด้วย
กรณีนี้ถ้าเป็นกรณีศึกษาที่มีประโยชน์
ก็เริ่มจาก
1 ที่บ้านเลย
ซึ่งการป้องกัน ( สำคัญที่สุด )
คือบ้านที่มีเด็กเล็กที่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราว
ต้องมีผู้ปกครองดูแลใกล้ชิด
(ไม่เฉพาะกรณีเอาอะไรเข้าจมูก
เราจะเห็นข่าวบ่อยๆว่ามีเด็กเล็กที่ผู้ปกครองคลาดสายตาไปไม่นาน
เกิดอุบัติเหตุทั้งจมนำ้เสียชีวิต
หรือเดินออกไปนอกบ้านถูกรถชน)
ของที่มีลักษณะเล็กๆพอเข้ามือเข้าปากได้
โดยเฉพาะที่มีสีสรรสวยงามดึงดูดความสนใจ
ไม่ควรให้เด็กเล่น(ซึ่งเป็นหลักการเลือกของเล่นให้เด็กเล็กด้วย)
โดยเฉพาะ disk battery นี่มีเขียนถึงในตำราเป็นพิเศษเลยครับ
อันนี้สังคมควรจะได้เรียนรู้ด้วย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อันตรายจาก disk battery ที่ capture มาว่ามันเป็นกรดนี่ไม่ถูกนะครับ
ที่จริงมันเป็นด่าง แต่ก็มีฤทธิ์กัดกร่อนเช่นกัน
อันตรายของมันมาหลักๆมาจาก
1 ด่างที่รั่วออกมาที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
2 ภาวะ burn จากกระแสไฟฟ้าและความร้อนจากตัว disk battery
3 เกิดเนื้อตายจากการกดทับโดยตรง ( pressure necrosis )อันนี้เกิดได้น้อยที่สุด
2 แพทย์ที่ตรวจ
อาจต้องนึกถึง foreign body ให้มากขึ้นในเด็กเล็ก
โดยเฉพาะรายที่มาด้วยอาการนำดังกล่าว
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยิ่งถ้าเป็นกับรูจมูกข้างเดียวยิ่งต้องสงสัยให้มากๆ
ถ้าสงสัย ในเด็กที่พอให้ความร่วมมือได้ก็ลองดูดนำ้มูกหรือเลือดที่บังอยู่ออกดู
ถ้ายังเห็นไม่ชัด หรือมีอะไรที่ไม่แน่ใจในสาเหตุ
อย่าเกรงใจ
อย่าแบกรับภาระของมนุษยชาติไว้เพียงผู้เดียว
เพราะเราไม่ได้อยู่ทีม Avengers
consult specialist ENT ไปเลยครับ
ยุค social media ที่มีการ share กันไว้ก่อนพ่อสอนไว้
พลาดไปสังคมพร้อมจะกระหนำ่ซ้ำเติมให้จมดินได้อยู่แล้วครับ
ฟ้องแล้วได้อะไร
กรณีนี้มองว่าโอกาสตรวจพลาดมีได้เพราะมาด้วยอาการนำที่ไม่ได้พบบ่อยเท่าไหร่
ร่วมกับไม่มีประวัติการเอาของใส่จมูก ( อันนี้คงต้องเป็นความรับผิดชอบของผู้ดูแลร่วมด้วย )
ถ้าได้ตรวจแล้วมองไม่เห็นในตอนแรก( อาจจากมีเลือดบัง )
outcome ออกมาเด็กก็ปลอดภัย
ก็ยังจะฟ้องกันให้ถึงที่สุด
(ถึงตรงนี้ขอสงสารหมอที่ตรวจคนแรกหน่อย
ความหวังดีปลอบใจว่าแม่ไม่ต้องกังวล
จะย้อนกลับมาทำร้ายได้)
และขอเตือนถึงการสื่อสารกับผู้ป่วยของแพทย์คนถัดไปด้วย
การพูดว่ามาช้ากว่านี้จะจมูกเน่า
หรือกัดไปถึงกระดูกอะไรนั่น
ถ้าพูดจริงก็ขอให้ระมัดระวังเรื่องการใช้คำพูดด้วยครับ
ควรต้องรู้ว่าอาชีพนี้มีโอกาสพลาดได้เสมอ
และเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีใครไม่เคยผิดพลาด
ถ้าเกิดการผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ
เป็นเรื่องที่เราจะนำมาศึกษาร่วมกันเพื่อลดความผิดพลาดนั้นในอนาคต
ไม่ใช่ขยายเรื่องให้ลุกลามบานปลาย
การปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญ
ถ้ามีครูอาจารย์ท่านไหนเจอลูกศิษย์พูดแบบนี้
(ประมาณมาช้ากว่านี้อีกนิดจะแย่ มาช้าอีกนิดจะตาย)
ช่วยสั่งสอนมารยาทที่ควรมีต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพด้วยนะครับ
การฟ้องร้องจะนำไปสู่ defensive medicine
การที่ไม่มีนำ้ใจหรือการให้อภัยต่อกัน
สิ่งใดที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของหมอ
อีกหน่อยจะไม่ค่อยมีหมอที่ยอมตรวจถ้าไม่ใช่อยู่ในเวลาที่รับผิดชอบโดยตรง
รอก็รอไป หมอออกเวรแล้วนี่
หมอไม่ใช่หมอเฉพาะทางด้านนี้ รอพบหมอเฉพาะทางอีก 3 วันนะครับ
ถ้าไม่อยากรอ นั่งรถไปรพ.นั้นเลยนะครับ ที่นั่นมีหมอเฉพาะทางอยู่
การ refer case เกินจำเป็น เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกิดขึ้น
ผู้ป่วยจะเสียเวลารอตรวจนานขึ้น
บางทีรอจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นก็มี
ต้องเดินทางไปเพื่อพบแพทย์หลายครั้งมากขึ้น
ถ้ายังสนับสนุนให้ฟ้องร้องกันมากๆแบบนี้
ผลที่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่สังคมต้องรับผิดชอบร่วมกันครับ
กรณีนี้ก็น่าคิดต่อไปว่าเราได้อยากจะได้บทเรียนอะไรจากกรณีนี้
การฟ้องร้องมีประโยชน์อะไรจากกรณีนี้
มันมีข้อดีที่จะทำให้หมอที่ตรวจระมัดระวังขึ้นกว่าไม่ฟ้องหรือไม่
ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นคืออะไร
กรณีสิ่งแปลกปลอม ( foreign body ) ในจมูก
อาการที่นำมาพบแพทย์มีอะไรบ้าง
( ขออ้างอิงจาก Nelson ที่เป็น standard Textbook Ed 20th ที่กุมารแพทย์ทั่วโลกใช้เป็นหนังสืออ้างอิงนะครับ )
พบว่าบ่อยที่สุด 86% คือ การที่มีประวัติเอาอะไรยัดใส่จมูกมานั่นแหละครับ
เพราะส่วนใหญ่จะเกิดในวัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่ผู้ปกครองยังต้องใส่ใจดูแลใกล้ชิดอยู่
24% มาด้วยมีนำ้มูกปนหนองไหลออกมา
9% มาด้วยจมูกมีกลิ่นเหม็น
6% มาด้วยมีเลือดไหลจากจมูก
3% มาด้วยจมูกอุดตัน
2% มาด้วยอาการหายใจทางปาก
ที่บวกกันเกิน 100 ไม่ต้องแปลกใจครับ
เพราะหลายๆคนมาด้วยอาการนำมากกว่า 1 อาการได้
เช่นมีมาด้วยนำ้มูกปนหนองไหลออกมาและมีกลิ่นเหม็น
จะเห็นว่ารายที่มาด้วยเลือดไหลออกจากจมูกมีน้อย แค่ 6%
ถ้าร่วมกับการที่ไม่มีประวัติเอาอะไรใส่จมูกมาด้วยแล้ว
อาจทำให้แพทย์ที่ตรวจคิดไม่ถึงภาวะนี้
ไปคิดถึงภาวะอื่นที่ทำให้มีเลือดกำเดาไหลได้บ่อยกว่าภาวะนี้ก่อน
และการที่มีเลือดออกมันจะไปทำให้การส่องดูในจมูก
อาจจะไม่เห็นสิ่งแปลกปลอมเพราะถูกเลือดกลบอยู่
โดยเฉพาะถ้าหมอที่ตรวจได้ส่องดูแล้วไม่เห็น
ก็คงจะไม่เห็นเพราะก้อนเลือดบังจริงๆ(ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการไม่ส่องดู)
ถามว่าแล้วทำไมคนตรวจทีหลังถึงเจอ
เป็นได้ทั้งจากการที่รักษามาแล้วไม่ดีขึ้น
ทำให้แพทย์ที่ตรวจทีหลังสงสัยว่าอาจจะไม่ใช่ภาวะที่วินิจฉัยไว้ตอนแรก
ก็จะต้องพยายามมองหามากขึ้น
เลือดที่ออกเมื่อมีการสั่งนำ้มูกออกมา
บางทีก้อนเลือดมันหลุดไปบางส่วน
ทำให้โชคดีเห็นส่วนที่เป็นโลหะวาวๆโผล่ขึ้นมาให้เห็น
หรือมีการดูดหรือซับเลือดที่ออกมาทำให้เห็นชัดขึ้น
ประสบการณ์ของแพทย์ที่ตรวจทีหลังในกรณีที่เป็น case มีปัญหารักษามาแล้วไม่ดีขึ้น
ก็มักจะได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์มากกว่า
จะว่าหมอที่รักษาคนแรกว่าไม่มีจรรยาบรรณอันนี้น่าจะเกินเลยไปมาก
และไม่น่าจะถึงกับประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงด้วย
กรณีนี้ถ้าเป็นกรณีศึกษาที่มีประโยชน์
ก็เริ่มจาก
1 ที่บ้านเลย
ซึ่งการป้องกัน ( สำคัญที่สุด )
คือบ้านที่มีเด็กเล็กที่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราว
ต้องมีผู้ปกครองดูแลใกล้ชิด
(ไม่เฉพาะกรณีเอาอะไรเข้าจมูก
เราจะเห็นข่าวบ่อยๆว่ามีเด็กเล็กที่ผู้ปกครองคลาดสายตาไปไม่นาน
เกิดอุบัติเหตุทั้งจมนำ้เสียชีวิต
หรือเดินออกไปนอกบ้านถูกรถชน)
ของที่มีลักษณะเล็กๆพอเข้ามือเข้าปากได้
โดยเฉพาะที่มีสีสรรสวยงามดึงดูดความสนใจ
ไม่ควรให้เด็กเล่น(ซึ่งเป็นหลักการเลือกของเล่นให้เด็กเล็กด้วย)
โดยเฉพาะ disk battery นี่มีเขียนถึงในตำราเป็นพิเศษเลยครับ
อันนี้สังคมควรจะได้เรียนรู้ด้วย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อันตรายจาก disk battery ที่ capture มาว่ามันเป็นกรดนี่ไม่ถูกนะครับ
ที่จริงมันเป็นด่าง แต่ก็มีฤทธิ์กัดกร่อนเช่นกัน
อันตรายของมันมาหลักๆมาจาก
1 ด่างที่รั่วออกมาที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
2 ภาวะ burn จากกระแสไฟฟ้าและความร้อนจากตัว disk battery
3 เกิดเนื้อตายจากการกดทับโดยตรง ( pressure necrosis )อันนี้เกิดได้น้อยที่สุด
2 แพทย์ที่ตรวจ
อาจต้องนึกถึง foreign body ให้มากขึ้นในเด็กเล็ก
โดยเฉพาะรายที่มาด้วยอาการนำดังกล่าว
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยิ่งถ้าเป็นกับรูจมูกข้างเดียวยิ่งต้องสงสัยให้มากๆ
ถ้าสงสัย ในเด็กที่พอให้ความร่วมมือได้ก็ลองดูดนำ้มูกหรือเลือดที่บังอยู่ออกดู
ถ้ายังเห็นไม่ชัด หรือมีอะไรที่ไม่แน่ใจในสาเหตุ
อย่าเกรงใจ
อย่าแบกรับภาระของมนุษยชาติไว้เพียงผู้เดียว
เพราะเราไม่ได้อยู่ทีม Avengers
consult specialist ENT ไปเลยครับ
ยุค social media ที่มีการ share กันไว้ก่อนพ่อสอนไว้
พลาดไปสังคมพร้อมจะกระหนำ่ซ้ำเติมให้จมดินได้อยู่แล้วครับ
ฟ้องแล้วได้อะไร
กรณีนี้มองว่าโอกาสตรวจพลาดมีได้เพราะมาด้วยอาการนำที่ไม่ได้พบบ่อยเท่าไหร่
ร่วมกับไม่มีประวัติการเอาของใส่จมูก ( อันนี้คงต้องเป็นความรับผิดชอบของผู้ดูแลร่วมด้วย )
ถ้าได้ตรวจแล้วมองไม่เห็นในตอนแรก( อาจจากมีเลือดบัง )
outcome ออกมาเด็กก็ปลอดภัย
ก็ยังจะฟ้องกันให้ถึงที่สุด
(ถึงตรงนี้ขอสงสารหมอที่ตรวจคนแรกหน่อย
ความหวังดีปลอบใจว่าแม่ไม่ต้องกังวล
จะย้อนกลับมาทำร้ายได้)
และขอเตือนถึงการสื่อสารกับผู้ป่วยของแพทย์คนถัดไปด้วย
การพูดว่ามาช้ากว่านี้จะจมูกเน่า
หรือกัดไปถึงกระดูกอะไรนั่น
ถ้าพูดจริงก็ขอให้ระมัดระวังเรื่องการใช้คำพูดด้วยครับ
ควรต้องรู้ว่าอาชีพนี้มีโอกาสพลาดได้เสมอ
และเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีใครไม่เคยผิดพลาด
ถ้าเกิดการผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ
เป็นเรื่องที่เราจะนำมาศึกษาร่วมกันเพื่อลดความผิดพลาดนั้นในอนาคต
ไม่ใช่ขยายเรื่องให้ลุกลามบานปลาย
การปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญ
ถ้ามีครูอาจารย์ท่านไหนเจอลูกศิษย์พูดแบบนี้
(ประมาณมาช้ากว่านี้อีกนิดจะแย่ มาช้าอีกนิดจะตาย)
ช่วยสั่งสอนมารยาทที่ควรมีต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพด้วยนะครับ
การฟ้องร้องจะนำไปสู่ defensive medicine
การที่ไม่มีนำ้ใจหรือการให้อภัยต่อกัน
สิ่งใดที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของหมอ
อีกหน่อยจะไม่ค่อยมีหมอที่ยอมตรวจถ้าไม่ใช่อยู่ในเวลาที่รับผิดชอบโดยตรง
รอก็รอไป หมอออกเวรแล้วนี่
หมอไม่ใช่หมอเฉพาะทางด้านนี้ รอพบหมอเฉพาะทางอีก 3 วันนะครับ
ถ้าไม่อยากรอ นั่งรถไปรพ.นั้นเลยนะครับ ที่นั่นมีหมอเฉพาะทางอยู่
การ refer case เกินจำเป็น เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกิดขึ้น
ผู้ป่วยจะเสียเวลารอตรวจนานขึ้น
บางทีรอจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นก็มี
ต้องเดินทางไปเพื่อพบแพทย์หลายครั้งมากขึ้น
ถ้ายังสนับสนุนให้ฟ้องร้องกันมากๆแบบนี้
ผลที่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่สังคมต้องรับผิดชอบร่วมกันครับ
ความคิดเห็นที่ 2
ถามต่อ แล้วแม่ของเด็กที่ปล่อยให้เด็กเล่นถ่านจะรับผิดชอบลูกตัวเองอย่างไร
ลูกตัวเองไม่สนใจเลี้ยงให้ดี จนลูกเอาถ่านแหย่ใส่ไปในจมูกยังไม่รู้
คาดว่ามัวแต่เล่นเฟซนั่นแหละ
มารพ ด้วยลูกมีเลือดออกจากจมูก ปกติถ้าไม่มีประวัติมาก่อน หมอเค้าก็ต้องสงสัยไปในทางโรคที่เจอบ่อยสุด
ก็พวกโพรงจมูกอักเสบนั่นแหละครับ ยิ่งถ้าแม่ไม่บอกว่าลูกเล่นอะไรมาก่อนด้วย
แถมบอกว่าถ่านอันตรายปล่อยไว้จมูกจะเน่า กินถึงกระดูกไรนั่น
ถ้ารู้ขนาดนี้แล้วเอาของอันตรายขนาดนี้มาวางไว้ใกล้เด็กได้อย่างไร
ตัวเองอยู่กับลูกทั้งวันยังไม่รู้ว่าลูกเล่นอะไร ยังไง
หมอมีเวลาตรวจเด็กห้านาที ได้ประวัติตามแม่บอก
คุณคาดหวังอะไรจากสังคมครับ
งานนี้บัตรทองไม่เกี่ยวครับ ดราม่าแม่ล้วนๆ
ไม่โทษตัวเองเลยว่าเลี้ยงลูกยังไง
แถมยังจะมาเอาเรื่อง ซึ่งก็คงจะฟ้องหมออีกนั่นแหละ
หมอคงเช็งอะครับ เลี้ยงลูกไม่ระวัง ปล่อยให้ลูกเอาถ่านแหย่จมูกจนเลือดไหล
แต่ยังได้ค่าเสียหายจากการที่หมอหาไม่เจอ แถมพาลด่าจรรยาบรรณที่สะกดผิดอีก
จรรยาบรรณแม่มีป่าวเนี่ย
ลูกตัวเองไม่สนใจเลี้ยงให้ดี จนลูกเอาถ่านแหย่ใส่ไปในจมูกยังไม่รู้
คาดว่ามัวแต่เล่นเฟซนั่นแหละ
มารพ ด้วยลูกมีเลือดออกจากจมูก ปกติถ้าไม่มีประวัติมาก่อน หมอเค้าก็ต้องสงสัยไปในทางโรคที่เจอบ่อยสุด
ก็พวกโพรงจมูกอักเสบนั่นแหละครับ ยิ่งถ้าแม่ไม่บอกว่าลูกเล่นอะไรมาก่อนด้วย
แถมบอกว่าถ่านอันตรายปล่อยไว้จมูกจะเน่า กินถึงกระดูกไรนั่น
ถ้ารู้ขนาดนี้แล้วเอาของอันตรายขนาดนี้มาวางไว้ใกล้เด็กได้อย่างไร
ตัวเองอยู่กับลูกทั้งวันยังไม่รู้ว่าลูกเล่นอะไร ยังไง
หมอมีเวลาตรวจเด็กห้านาที ได้ประวัติตามแม่บอก
คุณคาดหวังอะไรจากสังคมครับ
งานนี้บัตรทองไม่เกี่ยวครับ ดราม่าแม่ล้วนๆ
ไม่โทษตัวเองเลยว่าเลี้ยงลูกยังไง
แถมยังจะมาเอาเรื่อง ซึ่งก็คงจะฟ้องหมออีกนั่นแหละ
หมอคงเช็งอะครับ เลี้ยงลูกไม่ระวัง ปล่อยให้ลูกเอาถ่านแหย่จมูกจนเลือดไหล
แต่ยังได้ค่าเสียหายจากการที่หมอหาไม่เจอ แถมพาลด่าจรรยาบรรณที่สะกดผิดอีก
จรรยาบรรณแม่มีป่าวเนี่ย
แสดงความคิดเห็น
จวก! หมอ รพ.ดัง ตรวจพลาด บอกเป็นฝีแต่ดันเจอถ่านในจมูก.........นี่ระบบสาธารณะสุขของประเทศไทยเดินทางมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร