สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ผมครับ ผมเคยไปประมูล
ประมาณ สิบสองปีแล้ว
ตอนนั้นผมเช่าตึกเปิดร้าน อยู่ ค่าเช่าแพงพอควร พอเขาเห็นเรากิจการดี ก็จะขึ้นค่าเช่า หน้าบ้านเขาก็เอาของๆเขามาวางขาย เมียผมกำลังท้องผมก็พยายามหาซื้อตึก เป็นของตัวเอง เพื่อจะได้ย้ายออกซักที
ขั้นตอนคือ
1. ตอนแรกเปิดดูในเวบของกรมบังคับคดีครับ เปิดเป็นร้อยๆเคส เจอทำเลที่ใกล้เคียงที่เดิมเพียงสองรายเท่านั้น
2. ไปดูหน้างานจริงว่าตึกที่เขามาประมูลนั้นอยู่ที่ไหนแน่ๆ เป็นตึกสามชั้นโดนประมูลไม่แพง แต่เจ้าของบ้าน (ลูกหนี้) aggressiveมาก ประมาณว่าถ้าผมประมูลเขาเผาบ้านทิ้งแน่ อีกหลังนึงบ้านเก่ามาก เด็กเล็กเด็กโตในบ้านเจ็ดแปดคน
ได้ข้อสรุปว่าไม่ไหวครับ จึงไม่ได้ประมูล
3. ต่อมาผมไปพบอาคารพานิชย์อีกหลัง อยู่ตรงข้ามร้านผมเลย ประกาศขายปกติ ไม่ได้ถูกขายทอดตลาดนะครับ จะซื้อขายธรรมดานี่แหละ ตกลงราคากัน สามล้านแปด บ้านหลังนี้ติดธนาคารอยู่ เจ้าบ้านก็ไป hair cut กับธนาคาร ว่าจะขายให้ผม สามล้านเพื่อว่าหักแล้ว เขายังเหลือเงินประมาณแปดแสน แต่ธนาคารไม่ยอม ทำให้การซื้อขายไม่สำเร็จ
ต่อมาอีกหนึ่งปี อาคารพานิชย์ดังกล่าวถูกฟ้องบังคับคดีขายทอดตลาด ผมจึงเข้าร่วมประมูล
4. ตอนประมูล สมัยปี 2546 เขาจัดเป็นงานมหกรรม ประมูลบ้านของกรมบังคับคดี ไปถึงต้องยื่นเงินสดสองหมื่นบาทเป็นหลักประกัน จึงจะให้เข้าประมูลได้ เขาจะต้องระบุชื่อด้วย ว่าชื่ออะไร ไม่ใช่ว่าเราไปแล้ว พอประมูลได้แล้วเปลี่ยนเป็นชื่อคนอื่นก็ไม่ได้นะครับ ป้องกันการโกง ขนาดผมประมูลได้ จะใส่ชื่อภรรยาร่วมด้วยยังไม่ได้เลยครับ
หลังจากนั้นก็เริ่มมีทรัพย์มาประมูลไปเรื่อยๆ จนถึงทรัพย์ที่ผมต้องการ ซึ่งประมูลเป็นครั้งแรก
"ทรัพย์ หมายเลข ....... เป็นอาคารพานิชย์ ........................................."
"ราคาประเมินของกรมบังคับคดี สองล้านห้าแสนบาท ราคาประมูลเริ่มต้น...........(ประมาณแปดสิบเปอร์เซนต์ของราคาประเมิน).......... มีใครต้องการประมูลบ้างครับ"
ในขั้นตอนนี้ถ้าไม่มีใครยกมือ ก็จบการประมูล ทรัพย์ดังกล่าวจะถูกนำไปประมูลคราวต่อไป
ก็มีคนยกมือกันสิบกว่าราย
ผู้ดำเนินการประมูลก็พูดต่อ
"มีผู้ประมูลหลายราย ธนาคารคัดค้านหรือไม่ "
ถ้าธนาคารไม่คัดค้าน เขาก็จะดำเนินการประมูลต่อที่ราคาคราวแรก
ถ้าธนาคารคัดค้าน เขาจะถามต่อว่า คัดค้านที่เท่าไหร่ ซึ่งธนาคารจะบอกราคาที่ธนาคารยอมรับได้ ซึ่งในกรณีนี้ธนาคารบอกว่า ธนาคารคัดค้านที่ สามล้านสองแสนบาท
ผู้ดำเนินการประมูลก็จะพูดต่อ
"ธนาคารคัดค้านที่ สามล้านสองแสนบาท เจ้าของบ้านคัดค้านหรือไม่"
หากเจ้าของบ้านไม่คัดค้าน การประมูลจะดำเนินต่อที่ราคา สามล้านสอง
หากเจ้าของบ้านคัดค้าน เขาจะถามต่อว่า คัดค้านที่เท่าไหร่ บางทีเจ้าของบ้านไม่อยากให้ประมูลมากๆ ก็จะบอกให้เว่อร์ไปเลย เช่นคัดค้านที่ยี่สิบล้าน
ราคาที่เจ้าของบ้านคัดค้านนี้จะเป็นราคาที่เริ่มประมูลต่อไป
5. ปรากฎว่าเจ้าของบ้าน ไม่มา เลยคัดค้านไม่ได้ จึงเริ่มต้นประมูลต่อที่ราคาสามล้านสอง
ผู้ดำเนินการประมูลก็จะพูดต่อ
"ราคาประมูลเริ่มต้นที่ สามล้านสองแสนบาท มีผู้ใดต้องการทรัพย์นี้บ้าง"
คราวนี้มีผมยกมือคนเดียว
ผู้ดำเนินการก็พูดต่อ
"มีผู้ต้องการทรัพย์ ที่ราคา สามล้านสองแสนบาท"
"สามล้านสองแสนบาท ครั้งที่หนึ่ง
สามล้านสองแสนบาท ครั้งที่สอง
สามล้านสองแสนบาท ครั้งที่สาม"
แล้วก็เคาะ ทรัพย์หมายเลข ........... ขายที่สามล้านสองแสนบาท
6. สรุปว่าได้ที่สามล้านสองแสนบาท ก็ไปเซ็นชื่อรับทราบ เขาจะออกหลักฐานให้ว่าผมประมูลทรัพย์นี้ได้ราคาเท่านี้
นำหลักฐานไปกู้แบงค์ ซึ่งต้องโอนให้เสร็จภายใน (ไม่แน่ใจ)รู้สึกจะหนี่งเดือน ผมก็กู้กับธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ต่อเลย ซึ่งเจ้าหน้าที่ธนาคารรู้เรื่องดีมาก จัดการเพียงสองสัปดาห์ก็ไปโอนได้ อาจเพราะผมกู้เเค่สองล้านก็ได้ เลยเร็ว
7. การโอน เราต้องเป็นผู้จ่ายทุกอย่าง เช่น ค่าโอน ภาษีต่างๆ กรณีนี้ผมเสียค่าโอนไป สองแสนบาทครับ
8. ได้มาแล้วผมถือว่าเป็นโชคนะเพราะราคาถูกไปประมาณ ห้าถึงหกแสนบาทเลยทีเดียว ก็ติดต่อหาเจ้าของบ้าน (หาทำไม) เพราะบ้านผมเขาสอนผมไว้แต่เด็กว่า เมื่อมีโชคดีต้องรู้จักแบ่งปันให้คนอื่นๆบ้าง ผมให้เงินเจ้าของบ้านไปสามหมื่นฟรีๆ (เมียไม่รู้นะ) แลกกับกุญแจบ้านพวงใหญ่ และ คำอวยพรอีกชุดใหญ่ ครับ
จบครับ
ประมาณ สิบสองปีแล้ว
ตอนนั้นผมเช่าตึกเปิดร้าน อยู่ ค่าเช่าแพงพอควร พอเขาเห็นเรากิจการดี ก็จะขึ้นค่าเช่า หน้าบ้านเขาก็เอาของๆเขามาวางขาย เมียผมกำลังท้องผมก็พยายามหาซื้อตึก เป็นของตัวเอง เพื่อจะได้ย้ายออกซักที
ขั้นตอนคือ
1. ตอนแรกเปิดดูในเวบของกรมบังคับคดีครับ เปิดเป็นร้อยๆเคส เจอทำเลที่ใกล้เคียงที่เดิมเพียงสองรายเท่านั้น
2. ไปดูหน้างานจริงว่าตึกที่เขามาประมูลนั้นอยู่ที่ไหนแน่ๆ เป็นตึกสามชั้นโดนประมูลไม่แพง แต่เจ้าของบ้าน (ลูกหนี้) aggressiveมาก ประมาณว่าถ้าผมประมูลเขาเผาบ้านทิ้งแน่ อีกหลังนึงบ้านเก่ามาก เด็กเล็กเด็กโตในบ้านเจ็ดแปดคน
ได้ข้อสรุปว่าไม่ไหวครับ จึงไม่ได้ประมูล
3. ต่อมาผมไปพบอาคารพานิชย์อีกหลัง อยู่ตรงข้ามร้านผมเลย ประกาศขายปกติ ไม่ได้ถูกขายทอดตลาดนะครับ จะซื้อขายธรรมดานี่แหละ ตกลงราคากัน สามล้านแปด บ้านหลังนี้ติดธนาคารอยู่ เจ้าบ้านก็ไป hair cut กับธนาคาร ว่าจะขายให้ผม สามล้านเพื่อว่าหักแล้ว เขายังเหลือเงินประมาณแปดแสน แต่ธนาคารไม่ยอม ทำให้การซื้อขายไม่สำเร็จ
ต่อมาอีกหนึ่งปี อาคารพานิชย์ดังกล่าวถูกฟ้องบังคับคดีขายทอดตลาด ผมจึงเข้าร่วมประมูล
4. ตอนประมูล สมัยปี 2546 เขาจัดเป็นงานมหกรรม ประมูลบ้านของกรมบังคับคดี ไปถึงต้องยื่นเงินสดสองหมื่นบาทเป็นหลักประกัน จึงจะให้เข้าประมูลได้ เขาจะต้องระบุชื่อด้วย ว่าชื่ออะไร ไม่ใช่ว่าเราไปแล้ว พอประมูลได้แล้วเปลี่ยนเป็นชื่อคนอื่นก็ไม่ได้นะครับ ป้องกันการโกง ขนาดผมประมูลได้ จะใส่ชื่อภรรยาร่วมด้วยยังไม่ได้เลยครับ
หลังจากนั้นก็เริ่มมีทรัพย์มาประมูลไปเรื่อยๆ จนถึงทรัพย์ที่ผมต้องการ ซึ่งประมูลเป็นครั้งแรก
"ทรัพย์ หมายเลข ....... เป็นอาคารพานิชย์ ........................................."
"ราคาประเมินของกรมบังคับคดี สองล้านห้าแสนบาท ราคาประมูลเริ่มต้น...........(ประมาณแปดสิบเปอร์เซนต์ของราคาประเมิน).......... มีใครต้องการประมูลบ้างครับ"
ในขั้นตอนนี้ถ้าไม่มีใครยกมือ ก็จบการประมูล ทรัพย์ดังกล่าวจะถูกนำไปประมูลคราวต่อไป
ก็มีคนยกมือกันสิบกว่าราย
ผู้ดำเนินการประมูลก็พูดต่อ
"มีผู้ประมูลหลายราย ธนาคารคัดค้านหรือไม่ "
ถ้าธนาคารไม่คัดค้าน เขาก็จะดำเนินการประมูลต่อที่ราคาคราวแรก
ถ้าธนาคารคัดค้าน เขาจะถามต่อว่า คัดค้านที่เท่าไหร่ ซึ่งธนาคารจะบอกราคาที่ธนาคารยอมรับได้ ซึ่งในกรณีนี้ธนาคารบอกว่า ธนาคารคัดค้านที่ สามล้านสองแสนบาท
ผู้ดำเนินการประมูลก็จะพูดต่อ
"ธนาคารคัดค้านที่ สามล้านสองแสนบาท เจ้าของบ้านคัดค้านหรือไม่"
หากเจ้าของบ้านไม่คัดค้าน การประมูลจะดำเนินต่อที่ราคา สามล้านสอง
หากเจ้าของบ้านคัดค้าน เขาจะถามต่อว่า คัดค้านที่เท่าไหร่ บางทีเจ้าของบ้านไม่อยากให้ประมูลมากๆ ก็จะบอกให้เว่อร์ไปเลย เช่นคัดค้านที่ยี่สิบล้าน
ราคาที่เจ้าของบ้านคัดค้านนี้จะเป็นราคาที่เริ่มประมูลต่อไป
5. ปรากฎว่าเจ้าของบ้าน ไม่มา เลยคัดค้านไม่ได้ จึงเริ่มต้นประมูลต่อที่ราคาสามล้านสอง
ผู้ดำเนินการประมูลก็จะพูดต่อ
"ราคาประมูลเริ่มต้นที่ สามล้านสองแสนบาท มีผู้ใดต้องการทรัพย์นี้บ้าง"
คราวนี้มีผมยกมือคนเดียว
ผู้ดำเนินการก็พูดต่อ
"มีผู้ต้องการทรัพย์ ที่ราคา สามล้านสองแสนบาท"
"สามล้านสองแสนบาท ครั้งที่หนึ่ง
สามล้านสองแสนบาท ครั้งที่สอง
สามล้านสองแสนบาท ครั้งที่สาม"
แล้วก็เคาะ ทรัพย์หมายเลข ........... ขายที่สามล้านสองแสนบาท
6. สรุปว่าได้ที่สามล้านสองแสนบาท ก็ไปเซ็นชื่อรับทราบ เขาจะออกหลักฐานให้ว่าผมประมูลทรัพย์นี้ได้ราคาเท่านี้
นำหลักฐานไปกู้แบงค์ ซึ่งต้องโอนให้เสร็จภายใน (ไม่แน่ใจ)รู้สึกจะหนี่งเดือน ผมก็กู้กับธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ต่อเลย ซึ่งเจ้าหน้าที่ธนาคารรู้เรื่องดีมาก จัดการเพียงสองสัปดาห์ก็ไปโอนได้ อาจเพราะผมกู้เเค่สองล้านก็ได้ เลยเร็ว
7. การโอน เราต้องเป็นผู้จ่ายทุกอย่าง เช่น ค่าโอน ภาษีต่างๆ กรณีนี้ผมเสียค่าโอนไป สองแสนบาทครับ
8. ได้มาแล้วผมถือว่าเป็นโชคนะเพราะราคาถูกไปประมาณ ห้าถึงหกแสนบาทเลยทีเดียว ก็ติดต่อหาเจ้าของบ้าน (หาทำไม) เพราะบ้านผมเขาสอนผมไว้แต่เด็กว่า เมื่อมีโชคดีต้องรู้จักแบ่งปันให้คนอื่นๆบ้าง ผมให้เงินเจ้าของบ้านไปสามหมื่นฟรีๆ (เมียไม่รู้นะ) แลกกับกุญแจบ้านพวงใหญ่ และ คำอวยพรอีกชุดใหญ่ ครับ
จบครับ
แสดงความคิดเห็น
ใครเคยซื้อบ้านที่ถูกธนาคารยึดบ้าง
แชร์ประสบการณ์กันหน่อย