คำพูดที่ว่า "คนจนยิ่งจน คนรวยยิ่งรวย" เพราะ...

กระทู้สนทนา
ในบทความนี้ผมจะอธิบายเรื่อง ทำไมหนอ... คนจนยิ่งจน คนรวยยิ่งรวย
ปัจจัยที่ทำให้คนจน ยิ่งจนหนักขึ้น ต่อให้เขาทำงานมากแค่ไหน หรือ คนรวยยิ่งรวยมากขึ้น โดยแทบไม่ต้องทำงาน

ปัจจัยที่สำคัญมาจาก "กำไร" กำไรเป็นสิ่งที่ไม่ยุธิธรรม  ไม่ควรมี
อ่าวพออ่านมาถึงบรรทัดนี้ เพื่อนๆ ก็เริ่มสงสัยแล้วซิว่า ฉันขายของเอากำไรมันผิดด้วยหรอ?
ทำมาค้าขาย ไม่มีกำไร แล้วจะอยู่ได้อย่างไร บ้าป่าว.... เพื่อนๆ อย่าพึ่งคิดไปไกล กำไรในที่นี้หมายถึงกำไรทางเศรษศาสตร์

แล้วกำไรทางเศรฐศาสตร์มันคืออะไรกันละ วิชาการอีกละ ยากไปป่าว จะเข้าใจไหม?
กำไรมี 2 ชนิด คือ
1 กำไรทางบัญชี
   คือ การหัก ต้นทุนทางตรง ที่มองเห็นเป็นตัวเงินแล้ว
เช่น ขายหมูปิ้ง ไม้ละ 10 บาท  ต้นทุน หมูและแก๊ส คือ 8 บาท ส่วนเกิน 2 บาท นั้นคือกำไรทางบัญชี
(เราเป็นเจ้าของกิจการคนเดียว ไม่จ้างลูกจ้าง เราขายเอง)

สิ่งนี้เพื่อนๆ หลายๆคนที่ทำมาค้าขาย คงคุ้นเคยกันดี ใช่ไหมครับ
2. กำไรทางเศรฐศาสตร์
    คือหัก ต้นทุนทางอ้อมที่สามารถแปลงเป็นตัวเงินแล้ว
เช่น จากข้อ 1 ด้านบน ขายหมูปิ้งไม้ละ 10 บาท ต้นทุนหมูและแก๊ส คือ 8 บาท ค่าจ้างตัวเอง 2 บาท ไม่มีส่วนเกิน
นั้นคือ ขายหมู ปิง ราคา เท่าทุน นั้นเอง นั้นหมายความว่าไม่ได้กำไรเลยทางเศรษฐศษสตร์


อ่าวแล้วกำไรทางเศรษฐศาสตร์มันผิดตรงไหน?
สมมติ ต่อไปอีกว่า ขายหมูปิ้งราคา 14 บาท จากโจทย์ข้อสอง
ต้นทุนหมูและแก๊สคือ 8 บาท ค่าจ้างที่ตัวเองต้องลงน้ำพักน้ำแรง ทำหมูปิ้ง(ค่าจ้างตัวเอง) 2 บาท ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์คือ 10บาท
แต่ขาย 14 บาท ส่วนเกิน 4 บาท กำไรทางเศรฐศาสตร์ คือ 4 บาท

ลองสังเกตดู มูลค่าที่แท้จริงของหมูปิ้ง คือ 10 บาท เราเอาหมูปิ้งมูลค่า 10 บาท ไปแลกเป็นเงินได้มูลค่า 14 บาท แล้ว4บาทนั้น มันเกิดจากอะไรละ
เราไม่ได้ทำอะไรลงทุนอะไรเลย มันมาได้อย่างไร
ถ้าเข้าใจแล้วก็ข้ามวงเล็บไปเลย
(เหมือนเรา เอาทอง 1 เหรียญ ไปแลก ทอง 1เหรียญ +เงินอีก1 ก้อนนั้นละ ขายของมูลค่า10บาท แต่ ขโมยเงินผู้ซื้อหรือขูดรีดมา 4บาท ฟรีๆไม่ได้ลงทุนลงแรงอะไรเลย ประมาณนี้)

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นการยกตัวอย่างง่ายๆ ของมูลค่าสินค้าแค่ 10 บาท
เราจะมาดูตัวอย่างประเทศที่ มีคนรวย ล้นฟ้า และคนจน มากมาย ซึ่งแตกต่างกันอย่างมาก โดยมองจาก
ข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว แต่มองในด้านธุรกิจมีลูกจ้าง นั้นคือ...........

ประเทศ อินเดีย เพื่อนๆที่เคยดูสารคดีคนจนในอินเดีย หรือ เคยไปเยือน อินเดีย จะได้กลิ่นอายของหมู่คนจำนานมากที่แตกต่างกันอย่างมากก
นอกจากจะมีประเพณีชนชั้นแล้วคนว่างงานยังมีจำนวนมาก
เช่นกิจการซักผ้าในอินเดีย ลูกจ้างต้องทำงานทั้งวัน เพื่อแลกค่าจ้างอันน้อยนิดที่ได้รับ แต่เขาเหล่านั้นจำเป็นต้องทำ เพราะไม่มีทางเลือก(จำนวนแรงงานชั้นล่างมีมากงานมีน้อยกว่าแรงงาน) ทำให้นายจ้างมีอำนวจสูงเกินกว่าที่ลูกจ้างจะต่อรองได้ นายจ้าง จ้าง ลูกจ้าง สมมติว่า ให้วันละ 80บาท/10 ชม
แต่มูลค่าที่แท้จริงของลูกจ้างในการทำงานซักผ้า 10 ชม คือ 100 บาท  เงินที่นายจ่างไม่ต้องลงทุนทำอะไรแต่กลับมา ขูดรีดจากลูกจ้างแทนคือ 20บาท
พอเป็นปี ผ่านไป นายจ้าง ขูดรีดจากลูกจ้างได้ 365*20 =7300 ลูกจ่างเงินหายไปคือ =7300 บาท นั้นเอง


นั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ คนรวยยิงรวยล้นฟ้า คนจนยิ่งจนติดดิน ซึ่งผู้ที่เคยได้อธิบายไว้คือ คาร์ลมาร์กซ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่