= เปิดเผยเนื้อหาบางส่วน =
ความสดใหม่ ฉายภาพ “ด้านมืด” ของโซเชียล
เราอาจจะเห็นหนังไทยในแนวทริลเลอร์กันมาบ้าง แต่ “อวสานโลกสวย” มีความน่าสนใจและแตกต่างจากทริลเลอร์ไทยเรื่องอื่นๆ ก็ตรงที่ น่าจะเป็น Psychological Thriller เรื่องแรกของไทยเลยก็ว่าได้ที่หยิบยกเอา “ด้านมืด” ของการลุ่มหลงโซเชียลมีเดียมาถ่ายทอดอย่างเป็นเรื่องเป็นราว และเล่าเรื่องผ่านความรุนแรงที่เสมือนเป็นการจำลอง “โลกออนไลน์” มาสู่ความโหดร้ายใน “โลกความเป็นจริง”
ประเด็นหนังมีความสดใหม่ เข้ายุคเข้าสมัย และตบหน้าสังคมเสพติดโซเชียลอย่างจัง สังคมที่หลายคนโหยหา “การมีตัวตน” ในโลกออนไลน์ อยากเป็น Somebody อยากเด่น อยากดัง อยากเป็นที่รู้จัก และอยากได้รับการยอมรับจากสังคม จนเป็นที่มาของการเสพติด “ยอดไลค์” และคลั่งไคล้การเป็น “กระแส” เหมือนตัวละครในเรื่องอย่าง “เกรซ” อดีตสาวคอสเพลย์ “เปิ้ล” บล็อกเกอร์นิยายโลกสวย และ “แคร์” เน็ตไอดอลลุคน่ารัก
การคืบคลานสู่ความมืดบอดใน “โลกของเกรซ”
โลกสวย > โลกสีเทา > โลกมืด
หนังให้น้ำหนักถ่ายเทไปที่เรื่องราวของเกรซ ด้วยการบอกเล่าประสบการณ์อันเลวร้ายที่เธอเคยประสบ รวมไปถึงสิ่งที่เธอกำลังจะทำด้วยความสะใจ อาจจะเรียกว่าอวสานโลกสวยเป็นเรื่อง “All About Grace” ก็ว่าได้ เกรซจึงเป็นตัวละครที่เราเห็นตัวตนของเธอมากที่สุด ส่วนตัวละครอื่นๆ หนังมอบหมายให้เราได้รู้จักแค่เพียงผิวเผินเท่านั้น
ก่อนจะแสดงอาการป่วยทางจิตและตามมาด้วยการกระทำที่รุนแรง “โลกของเกรซ” เคยเป็นโลกที่สวยงามมาก่อน แต่ค่อยๆ ถูกความมืดบอดเข้าครอบงำ เมื่อตัวตนบน “โลกโซเชียล” และ “โลกความเป็นจริง” ของเธอถูกทำลายไปพร้อมๆ กัน หนังจึงแบ่งโลกของเกรซออก 3 ส่วน คือ โลกสวย โลกเทา และโลกมืด โดยใช้การเล่าเรื่องแบบตัดสลับช่วงเวลากัน
“โลกสวย” : ก่อนที่เกรซจะลากแคร์กับเพื่อนมาทรมานอย่างโหดร้ายทารุณ เธอเคยเป็นเน็ตไอดอลด้วยการแต่งตัวคอสเพลย์เรียกยอดไลค์มาก่อน เธอมีความสุขกับการมี “ตัวตน” บนโลกโซเชียล เป็นช่วงที่เกรซมีชีวิตอยู่กับ “ยอดไลค์” และ “คอมเมนต์” ต่างๆ ซึ่งเป็นเสมือนภาพลวงตาที่ทำให้ตัวเองเป็นที่สนใจและถูกพูดถึง
“โลกสีเทา” : จุดเริ่มต้นของเงามืดที่เริ่มเข้ามาบดบังโลกสวยๆ ของเกรซ เริ่มมาจากความดังของเธอเองที่เกินหน้าเกินตาเพื่อน จนเป็นบ่อเกิดของความหมั่นไส้ริษยา ถูกแฟนกระทำชำเราและถูกเพื่อนสาวแบล็คเมล์จนเป็นเรื่องฉาวบนโลกอินเตอร์เน็ต ประกอบกับพื้นฐานครอบครัวที่ขาดความรัก ความอบอุ่น และเต็มไปด้วยความรุนแรง ในตอนนี้โลกสวยๆ ของเกรซ จึงทลายลงทั้งในความเป็นจริงและในโลกโซเชียล
“โลกมืด” : เกรซตอกกลับเน็ตไอดอลโลกสวยเหมือนที่เพื่อนสาวเคยอิจฉาและทำกับเธอ ด้วยการจับแคร์และเพื่อนมาทรมานอย่างโหดร้าย โลกมืดของเกรซเต็มไปด้วยความรุนแรง และไปไกลเกินกว่ามนุษย์ทั่วไปเขาทำกัน จนถึงขั้นมีปัญหาทางจิต และทำทุกอย่างด้วยความแค้นสะใจ ซึ่งในตอนนี้เองก็ทำให้เรารู้ว่า โลกสวยๆ ที่เธอเคยมีได้ถึงกาล “อวสาน” ไปหมดแล้ว
Like, Share & Comment “ดาบสองคม” ของโลกโซเชียล
เรามองเห็นจุดร่วมบางอย่างของการทำตัวเรียกยอดไลค์และสร้างกระแส นั่นก็คือ “การปรุงแต่งตัวตน” เพื่อให้คนสนใจ ส่วนหนึ่งเพราะโลกความจริงมันไม่ได้สวยงามแบบในโลกโซเชียล และอีกส่วนคือโลกโซเชียลเองก็เป็นโลกที่ใครจะแต่งเติมตัวเองให้สวยงามให้น่าสนใจอย่างไรก็ได้
“เกรซ” นอกจากจะแปลงโฉมตัวเองจากเด็กสาวธรรมดาเป็นสาวคอสเพลย์เซ็กซี่แล้ว เธอยังเปลี่ยนชื่อตัวเองจาก “ก้อย” เป็น “เกรซ” ซึ่งดูหรู ดูแกรนด์ และมีความหมายในทางที่ดีงามขึ้น
“เปิ้ล” ที่แต่งนิยายโลกสวย เนื้อเรื่องเพ้อฝันเกินโลกความจริง อ่านแล้วมีสุขสบายใจ จนมีคนติดตาม
“แคร์” กับคาแรกเตอร์แอ๊บแบ๊วด้วยการสร้างบุคลิกน่ารักสดใสมาเป็นภาพจำ ซึ่งเราเองก็ไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเธอ “ใสจริง” หรือ “เสแสร้ง” อย่างที่เกรซพูด
Like, Share และ Comment มีความหมายกับพวกเธอทั้ง 3 คนอย่างมาก เพราะมันเป็นเครื่องยืนยัน “ความมีตัวตน” และ “การเป็นที่ยอมรับ” จากโลกโซเชียล ซึ่งเรามองว่าฟังก์ชั่นสำคัญ 3 อย่างของ Facebook มีส่วนเกี่ยวพันกับเนื้อเรื่องอย่างมีความหมาย ในทางหนึ่งมันอาจจะเป็นเครื่องวัดที่เป็นรูปธรรม สำหรับคนที่อยากเป็น Somebody แต่ขณะเดียวกันมันเป็นเสมือน “ดาบสองคม” ที่สวนกลับโลกสวยในลักษณะตรงกันข้าม ซึ่งแสดงออกด้วยความรู้สึกอิจฉาริษยา การทำอะไรด้วยความสะใจ และการสะท้อนความรุนแรง
LIKE : “ความชอบ” อาจเป็นบ่อเกิดของ “ความเกลียดชัง”
การแย่งชิงยอดไลค์และความเด่นดังที่ข้ามหน้าข้ามตาคนอื่น ทำให้เกิดความหมั่นไส้ และตามมาด้วยความเกลียดชัง เหมือนที่เกรซถูกเพื่อนสาวกระทำ แต่สำหรับกรณีที่เกรซทำกับแคร์ มันน่าจะอะไรมากกว่า “อิจฉา” เรื่องยอดไลค์เพียงอย่างเดียว ซึ่งตัวหนังเองก็พอจะมีหลักฐานไว้ให้เราปะติดปะต่อได้เหมือนกัน
เริ่มต้นจากการที่แคร์มาแย่งความสนใจจาก “แจ๊ค” แฟนหนุ่มของเกรซที่หื่นกระหายทางเพศ และหมกหมุ่นกับการติดตามความน่ารักของเน็ตไอดอล ถึงแม้ว่าเกรซจะไม่ได้แสดงความรักหวานชื่นกับแจ๊คมากนัก และน่าจะอยู่กันด้วยผลประโยชน์ต่างตอบแทนมากกว่า แต่แจ๊คก็เป็นแค่คนเดียวที่ทำให้เกรซรู้สึกมีตัวตนขึ้นมาบ้าง หลังจากโลกสวยๆ ของเธอได้อวสานไปแล้ว
อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ เกรซอิจฉาแคร์ เพราะแคร์เป็นเน็ตไอดอลที่เกรซเป็นไม่ได้แล้ว และแคร์เองก็มีความเพียบพร้อมในสิ่งที่เกรซ (หรือก้อยในอดีต) ไม่เคยมี ทั้งครอบครัวที่อบอุ่น ฐานะทางบ้านที่ดีมีพร้อมทุกอย่าง มีเพื่อนมีคนคอยให้ความรักและเอาใจใส่ ในขณะที่เกรซเติบโตมากับครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น ชอบใช้ความรุนแรง ฐานะไม่สู้ดี เธอต้องทำงานตัดเย็บเสื้อผ้าช่วยที่บ้าน ถูกเพื่อนและคนรักหักหลัง และไม่มีใครให้ความสำคัญกับเธอ
SHARE : เมื่อ “ความเจ็บใจ” กลายเป็นการแบ่งปัน “ความเจ็บปวด”
“ชั้นเจ็บ...แกก็ต้องเจ็บ!!” ....เกรซเจ็บและโดนกระทำมามากแค่ไหน คนที่ทำให้เธอต้องเจ็บใจ ก็ต้องได้รับ “ความเจ็บปวด” เหมือนที่เธอถูกกระทำจากครอบครัว จากเพื่อน และจากสังคม การที่เกรซพาตัวแคร์กับเพื่อนมาทำร้ายด้วยความรุนแรง พร้อมกับถ่ายคลิป Share ลง Facebook อย่างสนุกสนานโลกสวย นอกจากจะเป็นการสอนสั่งด้วยความสะใจ โทษฐานที่แคร์มาแย่งความสนใจแล้ว ยังเป็นการแบ่งปันความเจ็บปวดให้คนอื่นด้วยความคิดและอาการทางจิตที่เห็นชัดว่าเริ่มจะ “ป่วย” แล้วแน่ๆ
จะว่าไปก็เปรียบเสมือนการที่เรา Share เรื่องต่างๆ ลง Facebook ให้คนอื่นได้รับรู้ ซึ่งบางเรื่องก็อาจสร้างความเจ็บปวดให้กับคนอื่น บางครั้งการ Share เรื่องไม่จริงโดย “ไม่คิดไตร่ตรอง” ก็สร้างความเสียหายให้กับคนอื่นได้ หรือบางครั้งการ Share ด้วย “ความสนุกคึกคะนอง” ก็ทำให้คนอื่นเจ็บปวดและอับอาย เหมือนอย่างที่เกรซเคยโดน Share คลิปฉาวจนไม่กล้าสู้หน้าสังคม และเธอเองก็เลือกใช้วิธีเดียวกันนี้สร้าง “บาดแผล” ให้กับแคร์บ้าง
COMMENT : “ความรุนแรง” ที่หยิบยกมาจาก Comment บนโลกโซเชียล
การหาทางออกด้วยความรุนแรงของเกรซ รวมไปถึงพฤติกรรมการแสดงออกในเรื่องเพศของแจ๊ค ไม่ต่างจากการจำลอง “Comment” ของ “นักเลงคีย์บอร์ด” บนโซเชียลมีเดียมานำเสนอ เพราะโลกในโซเชียลมันเต็มไปด้วยความสวยงาม จะปั้นแต่ง จะแสดงความเห็นอย่างไรกันก็ได้ ซึ่งบ่อยครั้ง Comment ในโลกโซเชียลก็เต็มไปด้วยความรุนแรงสะใจ ไร้เหตุผล ขาดสามัญสำนึก คึกคะนอง หรือเยาะเย้ยด้วยความสนุกสนาน
- เกรซ เป็นตัวอย่างของ Comment ที่แสดงความสะใจและอิจฉาริษยา เช่น อยู่ไปก็รกโลก, สมน้ำหน้า, สมควรโดน, น่าสมเพช หรือคิดว่าตัวเองสวยนักเหรอ ฯลฯ
- แจ๊ค เป็นตัวแทนของ Comment ผู้ชายที่สะท้อนค่านิยมหื่นกระหายทางเพศและการลวนลามทางภาษา เช่น ซาลาเปาน่ากิน แต่น้องแคร์น่าเซี้ยะกว่า, น่ารักขนาดนี้มาหาผมที่บ้านหน่อยสิ ฯลฯ
- รวมไปถึง Comment จากพันทิปในตอนท้ายเรื่องที่กล่าวในเชิงนิยมชมชอบผู้ต้องหาเพราะหน้าตาดี ก็เป็นตัวอย่างของ Comment โลกสวยที่เอาสนุกเข้าว่า แต่ขาดการกลั่นกรองในเชิงศีลธรรม
“การมีตัวตน” บนโลกโซเชียลน่าภูมิใจจริงหรือ?
การเข้ามาของ Social Media ทำให้วิถีคิดและพฤติกรรมการสื่อสารของคนเรา “Change” ไปทั้งระบบ
คำถามที่น่าสนใจ คือ การเป็น “Somebody” หรือการมี “ตัวตน” บนโลกโซเชียลเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจจริงหรือ? หรือจริงๆ แล้วมันเป็นแค่เรื่อง “ปลอมเปลือก” ที่ทำให้เราหลงงมงายไปกับ “ภาพมายา” ที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เท่านั้น
อวสานโลกสวยพยายามสื่อสารกับเราว่า บางทีการลุ่มหลงไปโลกโซเชียลมากเกินไปก็อาจจะกลายเป็น “ภัย” ได้เช่นกัน การเป็น Somebody ซักคนมีโอกาสสร้างความ “อิจฉาริษยา” เหมือนพฤติกรรมการแสดงออกของเกรซที่เต็มไปด้วย “รุนแรง”
นอกจากนี้เป็นตัวกระตุ้น “ความหื่นกระหายทางเพศ” ที่แสดงผ่านตัวละครอย่างแจ๊ค มีบทสนทนาสั้นๆ แต่น่าสนใจระหว่างที่เกรซจับแคร์มาทรมาน... ถ้าผู้ชายที่ชื่นชอบเน็ตไอดอลอย่างแจ๊คสำเร็จความใคร่ระหว่างที่นั่งคลั่งไคล้แคร์อยู่หน้าจอคอม การเป็นเน็ตไอดอลจะยังน่าภูมิใจอีกหรือไม่
ผู้หญิงมองก็ “อิจฉา” ผู้ชายมองก็เหมือน “ของเล่นทางเพศ” บางทีการโหยหาความเป็น Somebody อาจจะ “น่าสมเพช” มากกว่า “น่าภูมิใจ" แบบที่เกรซกล่าวหาแคร์ก็ได้ แต่ความน่าสมเพชก็ตอกกลับไปที่เกรซเข้าอย่างจัง ไม่ต่างจากที่เธอกล่าวหาแคร์เลย เพราะลึกๆ แล้ว เธอเองก็อยากมี “ตัวตน” บนโลกโซเชียล และการทำของเธอก็บ่งบอกว่าเธอโหยหาเรื่องนี้มากแค่ไหน
เกรซ “อยากมี” และ “อยากเป็น” ในแบบแคร์ที่เป็น เพียงแต่ว่าเธอ “เป็นไม่ได้”
วิเคราะห์ “อวสานโลกสวย” อีกด้านที่ดำมืดของโลกโซเชียล Like-ความเกลียดชัง Share-ความเจ็บปวด Comment-ความรุนแรง
= เปิดเผยเนื้อหาบางส่วน =
ความสดใหม่ ฉายภาพ “ด้านมืด” ของโซเชียล
เราอาจจะเห็นหนังไทยในแนวทริลเลอร์กันมาบ้าง แต่ “อวสานโลกสวย” มีความน่าสนใจและแตกต่างจากทริลเลอร์ไทยเรื่องอื่นๆ ก็ตรงที่ น่าจะเป็น Psychological Thriller เรื่องแรกของไทยเลยก็ว่าได้ที่หยิบยกเอา “ด้านมืด” ของการลุ่มหลงโซเชียลมีเดียมาถ่ายทอดอย่างเป็นเรื่องเป็นราว และเล่าเรื่องผ่านความรุนแรงที่เสมือนเป็นการจำลอง “โลกออนไลน์” มาสู่ความโหดร้ายใน “โลกความเป็นจริง”
ประเด็นหนังมีความสดใหม่ เข้ายุคเข้าสมัย และตบหน้าสังคมเสพติดโซเชียลอย่างจัง สังคมที่หลายคนโหยหา “การมีตัวตน” ในโลกออนไลน์ อยากเป็น Somebody อยากเด่น อยากดัง อยากเป็นที่รู้จัก และอยากได้รับการยอมรับจากสังคม จนเป็นที่มาของการเสพติด “ยอดไลค์” และคลั่งไคล้การเป็น “กระแส” เหมือนตัวละครในเรื่องอย่าง “เกรซ” อดีตสาวคอสเพลย์ “เปิ้ล” บล็อกเกอร์นิยายโลกสวย และ “แคร์” เน็ตไอดอลลุคน่ารัก
การคืบคลานสู่ความมืดบอดใน “โลกของเกรซ”
โลกสวย > โลกสีเทา > โลกมืด
หนังให้น้ำหนักถ่ายเทไปที่เรื่องราวของเกรซ ด้วยการบอกเล่าประสบการณ์อันเลวร้ายที่เธอเคยประสบ รวมไปถึงสิ่งที่เธอกำลังจะทำด้วยความสะใจ อาจจะเรียกว่าอวสานโลกสวยเป็นเรื่อง “All About Grace” ก็ว่าได้ เกรซจึงเป็นตัวละครที่เราเห็นตัวตนของเธอมากที่สุด ส่วนตัวละครอื่นๆ หนังมอบหมายให้เราได้รู้จักแค่เพียงผิวเผินเท่านั้น
ก่อนจะแสดงอาการป่วยทางจิตและตามมาด้วยการกระทำที่รุนแรง “โลกของเกรซ” เคยเป็นโลกที่สวยงามมาก่อน แต่ค่อยๆ ถูกความมืดบอดเข้าครอบงำ เมื่อตัวตนบน “โลกโซเชียล” และ “โลกความเป็นจริง” ของเธอถูกทำลายไปพร้อมๆ กัน หนังจึงแบ่งโลกของเกรซออก 3 ส่วน คือ โลกสวย โลกเทา และโลกมืด โดยใช้การเล่าเรื่องแบบตัดสลับช่วงเวลากัน
“โลกสวย” : ก่อนที่เกรซจะลากแคร์กับเพื่อนมาทรมานอย่างโหดร้ายทารุณ เธอเคยเป็นเน็ตไอดอลด้วยการแต่งตัวคอสเพลย์เรียกยอดไลค์มาก่อน เธอมีความสุขกับการมี “ตัวตน” บนโลกโซเชียล เป็นช่วงที่เกรซมีชีวิตอยู่กับ “ยอดไลค์” และ “คอมเมนต์” ต่างๆ ซึ่งเป็นเสมือนภาพลวงตาที่ทำให้ตัวเองเป็นที่สนใจและถูกพูดถึง
“โลกสีเทา” : จุดเริ่มต้นของเงามืดที่เริ่มเข้ามาบดบังโลกสวยๆ ของเกรซ เริ่มมาจากความดังของเธอเองที่เกินหน้าเกินตาเพื่อน จนเป็นบ่อเกิดของความหมั่นไส้ริษยา ถูกแฟนกระทำชำเราและถูกเพื่อนสาวแบล็คเมล์จนเป็นเรื่องฉาวบนโลกอินเตอร์เน็ต ประกอบกับพื้นฐานครอบครัวที่ขาดความรัก ความอบอุ่น และเต็มไปด้วยความรุนแรง ในตอนนี้โลกสวยๆ ของเกรซ จึงทลายลงทั้งในความเป็นจริงและในโลกโซเชียล
“โลกมืด” : เกรซตอกกลับเน็ตไอดอลโลกสวยเหมือนที่เพื่อนสาวเคยอิจฉาและทำกับเธอ ด้วยการจับแคร์และเพื่อนมาทรมานอย่างโหดร้าย โลกมืดของเกรซเต็มไปด้วยความรุนแรง และไปไกลเกินกว่ามนุษย์ทั่วไปเขาทำกัน จนถึงขั้นมีปัญหาทางจิต และทำทุกอย่างด้วยความแค้นสะใจ ซึ่งในตอนนี้เองก็ทำให้เรารู้ว่า โลกสวยๆ ที่เธอเคยมีได้ถึงกาล “อวสาน” ไปหมดแล้ว
Like, Share & Comment “ดาบสองคม” ของโลกโซเชียล
เรามองเห็นจุดร่วมบางอย่างของการทำตัวเรียกยอดไลค์และสร้างกระแส นั่นก็คือ “การปรุงแต่งตัวตน” เพื่อให้คนสนใจ ส่วนหนึ่งเพราะโลกความจริงมันไม่ได้สวยงามแบบในโลกโซเชียล และอีกส่วนคือโลกโซเชียลเองก็เป็นโลกที่ใครจะแต่งเติมตัวเองให้สวยงามให้น่าสนใจอย่างไรก็ได้
“เกรซ” นอกจากจะแปลงโฉมตัวเองจากเด็กสาวธรรมดาเป็นสาวคอสเพลย์เซ็กซี่แล้ว เธอยังเปลี่ยนชื่อตัวเองจาก “ก้อย” เป็น “เกรซ” ซึ่งดูหรู ดูแกรนด์ และมีความหมายในทางที่ดีงามขึ้น
“เปิ้ล” ที่แต่งนิยายโลกสวย เนื้อเรื่องเพ้อฝันเกินโลกความจริง อ่านแล้วมีสุขสบายใจ จนมีคนติดตาม
“แคร์” กับคาแรกเตอร์แอ๊บแบ๊วด้วยการสร้างบุคลิกน่ารักสดใสมาเป็นภาพจำ ซึ่งเราเองก็ไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเธอ “ใสจริง” หรือ “เสแสร้ง” อย่างที่เกรซพูด
Like, Share และ Comment มีความหมายกับพวกเธอทั้ง 3 คนอย่างมาก เพราะมันเป็นเครื่องยืนยัน “ความมีตัวตน” และ “การเป็นที่ยอมรับ” จากโลกโซเชียล ซึ่งเรามองว่าฟังก์ชั่นสำคัญ 3 อย่างของ Facebook มีส่วนเกี่ยวพันกับเนื้อเรื่องอย่างมีความหมาย ในทางหนึ่งมันอาจจะเป็นเครื่องวัดที่เป็นรูปธรรม สำหรับคนที่อยากเป็น Somebody แต่ขณะเดียวกันมันเป็นเสมือน “ดาบสองคม” ที่สวนกลับโลกสวยในลักษณะตรงกันข้าม ซึ่งแสดงออกด้วยความรู้สึกอิจฉาริษยา การทำอะไรด้วยความสะใจ และการสะท้อนความรุนแรง
LIKE : “ความชอบ” อาจเป็นบ่อเกิดของ “ความเกลียดชัง”
การแย่งชิงยอดไลค์และความเด่นดังที่ข้ามหน้าข้ามตาคนอื่น ทำให้เกิดความหมั่นไส้ และตามมาด้วยความเกลียดชัง เหมือนที่เกรซถูกเพื่อนสาวกระทำ แต่สำหรับกรณีที่เกรซทำกับแคร์ มันน่าจะอะไรมากกว่า “อิจฉา” เรื่องยอดไลค์เพียงอย่างเดียว ซึ่งตัวหนังเองก็พอจะมีหลักฐานไว้ให้เราปะติดปะต่อได้เหมือนกัน
เริ่มต้นจากการที่แคร์มาแย่งความสนใจจาก “แจ๊ค” แฟนหนุ่มของเกรซที่หื่นกระหายทางเพศ และหมกหมุ่นกับการติดตามความน่ารักของเน็ตไอดอล ถึงแม้ว่าเกรซจะไม่ได้แสดงความรักหวานชื่นกับแจ๊คมากนัก และน่าจะอยู่กันด้วยผลประโยชน์ต่างตอบแทนมากกว่า แต่แจ๊คก็เป็นแค่คนเดียวที่ทำให้เกรซรู้สึกมีตัวตนขึ้นมาบ้าง หลังจากโลกสวยๆ ของเธอได้อวสานไปแล้ว
อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ เกรซอิจฉาแคร์ เพราะแคร์เป็นเน็ตไอดอลที่เกรซเป็นไม่ได้แล้ว และแคร์เองก็มีความเพียบพร้อมในสิ่งที่เกรซ (หรือก้อยในอดีต) ไม่เคยมี ทั้งครอบครัวที่อบอุ่น ฐานะทางบ้านที่ดีมีพร้อมทุกอย่าง มีเพื่อนมีคนคอยให้ความรักและเอาใจใส่ ในขณะที่เกรซเติบโตมากับครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น ชอบใช้ความรุนแรง ฐานะไม่สู้ดี เธอต้องทำงานตัดเย็บเสื้อผ้าช่วยที่บ้าน ถูกเพื่อนและคนรักหักหลัง และไม่มีใครให้ความสำคัญกับเธอ
SHARE : เมื่อ “ความเจ็บใจ” กลายเป็นการแบ่งปัน “ความเจ็บปวด”
“ชั้นเจ็บ...แกก็ต้องเจ็บ!!” ....เกรซเจ็บและโดนกระทำมามากแค่ไหน คนที่ทำให้เธอต้องเจ็บใจ ก็ต้องได้รับ “ความเจ็บปวด” เหมือนที่เธอถูกกระทำจากครอบครัว จากเพื่อน และจากสังคม การที่เกรซพาตัวแคร์กับเพื่อนมาทำร้ายด้วยความรุนแรง พร้อมกับถ่ายคลิป Share ลง Facebook อย่างสนุกสนานโลกสวย นอกจากจะเป็นการสอนสั่งด้วยความสะใจ โทษฐานที่แคร์มาแย่งความสนใจแล้ว ยังเป็นการแบ่งปันความเจ็บปวดให้คนอื่นด้วยความคิดและอาการทางจิตที่เห็นชัดว่าเริ่มจะ “ป่วย” แล้วแน่ๆ
จะว่าไปก็เปรียบเสมือนการที่เรา Share เรื่องต่างๆ ลง Facebook ให้คนอื่นได้รับรู้ ซึ่งบางเรื่องก็อาจสร้างความเจ็บปวดให้กับคนอื่น บางครั้งการ Share เรื่องไม่จริงโดย “ไม่คิดไตร่ตรอง” ก็สร้างความเสียหายให้กับคนอื่นได้ หรือบางครั้งการ Share ด้วย “ความสนุกคึกคะนอง” ก็ทำให้คนอื่นเจ็บปวดและอับอาย เหมือนอย่างที่เกรซเคยโดน Share คลิปฉาวจนไม่กล้าสู้หน้าสังคม และเธอเองก็เลือกใช้วิธีเดียวกันนี้สร้าง “บาดแผล” ให้กับแคร์บ้าง
COMMENT : “ความรุนแรง” ที่หยิบยกมาจาก Comment บนโลกโซเชียล
การหาทางออกด้วยความรุนแรงของเกรซ รวมไปถึงพฤติกรรมการแสดงออกในเรื่องเพศของแจ๊ค ไม่ต่างจากการจำลอง “Comment” ของ “นักเลงคีย์บอร์ด” บนโซเชียลมีเดียมานำเสนอ เพราะโลกในโซเชียลมันเต็มไปด้วยความสวยงาม จะปั้นแต่ง จะแสดงความเห็นอย่างไรกันก็ได้ ซึ่งบ่อยครั้ง Comment ในโลกโซเชียลก็เต็มไปด้วยความรุนแรงสะใจ ไร้เหตุผล ขาดสามัญสำนึก คึกคะนอง หรือเยาะเย้ยด้วยความสนุกสนาน
- เกรซ เป็นตัวอย่างของ Comment ที่แสดงความสะใจและอิจฉาริษยา เช่น อยู่ไปก็รกโลก, สมน้ำหน้า, สมควรโดน, น่าสมเพช หรือคิดว่าตัวเองสวยนักเหรอ ฯลฯ
- แจ๊ค เป็นตัวแทนของ Comment ผู้ชายที่สะท้อนค่านิยมหื่นกระหายทางเพศและการลวนลามทางภาษา เช่น ซาลาเปาน่ากิน แต่น้องแคร์น่าเซี้ยะกว่า, น่ารักขนาดนี้มาหาผมที่บ้านหน่อยสิ ฯลฯ
- รวมไปถึง Comment จากพันทิปในตอนท้ายเรื่องที่กล่าวในเชิงนิยมชมชอบผู้ต้องหาเพราะหน้าตาดี ก็เป็นตัวอย่างของ Comment โลกสวยที่เอาสนุกเข้าว่า แต่ขาดการกลั่นกรองในเชิงศีลธรรม
“การมีตัวตน” บนโลกโซเชียลน่าภูมิใจจริงหรือ?
การเข้ามาของ Social Media ทำให้วิถีคิดและพฤติกรรมการสื่อสารของคนเรา “Change” ไปทั้งระบบ
คำถามที่น่าสนใจ คือ การเป็น “Somebody” หรือการมี “ตัวตน” บนโลกโซเชียลเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจจริงหรือ? หรือจริงๆ แล้วมันเป็นแค่เรื่อง “ปลอมเปลือก” ที่ทำให้เราหลงงมงายไปกับ “ภาพมายา” ที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เท่านั้น
อวสานโลกสวยพยายามสื่อสารกับเราว่า บางทีการลุ่มหลงไปโลกโซเชียลมากเกินไปก็อาจจะกลายเป็น “ภัย” ได้เช่นกัน การเป็น Somebody ซักคนมีโอกาสสร้างความ “อิจฉาริษยา” เหมือนพฤติกรรมการแสดงออกของเกรซที่เต็มไปด้วย “รุนแรง”
นอกจากนี้เป็นตัวกระตุ้น “ความหื่นกระหายทางเพศ” ที่แสดงผ่านตัวละครอย่างแจ๊ค มีบทสนทนาสั้นๆ แต่น่าสนใจระหว่างที่เกรซจับแคร์มาทรมาน... ถ้าผู้ชายที่ชื่นชอบเน็ตไอดอลอย่างแจ๊คสำเร็จความใคร่ระหว่างที่นั่งคลั่งไคล้แคร์อยู่หน้าจอคอม การเป็นเน็ตไอดอลจะยังน่าภูมิใจอีกหรือไม่
ผู้หญิงมองก็ “อิจฉา” ผู้ชายมองก็เหมือน “ของเล่นทางเพศ” บางทีการโหยหาความเป็น Somebody อาจจะ “น่าสมเพช” มากกว่า “น่าภูมิใจ" แบบที่เกรซกล่าวหาแคร์ก็ได้ แต่ความน่าสมเพชก็ตอกกลับไปที่เกรซเข้าอย่างจัง ไม่ต่างจากที่เธอกล่าวหาแคร์เลย เพราะลึกๆ แล้ว เธอเองก็อยากมี “ตัวตน” บนโลกโซเชียล และการทำของเธอก็บ่งบอกว่าเธอโหยหาเรื่องนี้มากแค่ไหน
เกรซ “อยากมี” และ “อยากเป็น” ในแบบแคร์ที่เป็น เพียงแต่ว่าเธอ “เป็นไม่ได้”
"เบิกโรงซินีม่า" https://www.facebook.com/BergRongCinema/
"ดูเถอะหนังไทย" https://www.facebook.com/DooTurNungThai/