ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๑
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หน้าที่ ๑๐๓
หน้าที่ 103
ลิงก์สำหรับจดจำหรือแบ่งปันหน้านี้
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หมวดที่ ๖
ว่าด้วย การหละหลวมในธรรม
____________
นกแก้ว นกขุนทอง๑
ภิกษุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ ; แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยปริยัติ (นักเรียน) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมา แก่คนอื่นโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการบัญญัติ (นักแต่ง) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ ทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).
๑. บาลี พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๐๐/๗๔, ตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้ทูลถามเรื่องนี้.
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ คิดพล่านไปในธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการคิด (นักคิด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).
นกแก้ว นกขุนทอง
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หน้าที่ ๑๐๓
หน้าที่ 103
ลิงก์สำหรับจดจำหรือแบ่งปันหน้านี้
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หมวดที่ ๖
ว่าด้วย การหละหลวมในธรรม
____________
นกแก้ว นกขุนทอง๑
ภิกษุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเล่าเรียนปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ ; แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยปริยัติ (นักเรียน) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมา แก่คนอื่นโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการบัญญัติ (นักแต่ง) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ ทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).
๑. บาลี พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๐๐/๗๔, ตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้ทูลถามเรื่องนี้.
อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ คิดพล่านไปในธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมา, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการคิด (นักคิด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม).