สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ๒๕๕๘

กระทู้ข่าว


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์เป็นประธานในพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี ๒๕๕๘ โดย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งได้คัดเลือกบุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่ปฏบัติงานหรือมีงานวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขเป็นประโยชน์ต่อมาลมนุษยชาติ ในปีนี้จำนวน ๒ ราย สาขาการแพทย์ ได้แก่ ศ.นพ.มอร์ตัน เอ็ม มาวเวอร์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา และสาขาสาธารณสุขได้แก่ เซอร์ไมเคิล กิเตียน มาร์มอต จากสหราชอาณาจักร

สำหรับผู้ได้รับรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี ๒๕๕๘ ศ.นพ.มอร์ตัน เอ็ม มาวเวอร์ เป็น ศาสตรจารย์อายุศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา และศาสตราจารย์สรีรวิทยาและชีวฟิสิกส์ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยโฮเวอร์ด กรุงวอชิงตัน สหัรัฐอเมริกา โดยเป็นผู้ร่วมคิดค้นเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังร่างกาย หรือ "เอไอซีดี" (AICD : Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีและอุปกรณ์สำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติชนิดวีเอฟและวีที ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหัวใจและเป็นผู้คิดค้นหลักของเครื่องรักษาหัวใจด้วยวิธีให้จัวหวะ หรือ "ซีอาร์ที" (CRT : Cardiac Resynchronization Therapy) อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติในผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้ดีกว่าการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันมีการฝังอุปกรณ์นี้ประมาณปีละ ๒ แสนคน และมีผู้ใช้อุปกรณ์นี้แล้วประมาณ ๒ - ๓ ล้านคนทั่วโลก ซึ่งช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มาก รวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยที่รอดชีวิตมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

ขณะที่ เซอร์ไมเคิล กิเดียน มาร์มอต เป็น ผู้อำนวยการสถาบันความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ศาสตราจารย์ระบาดวิทยา ภาควิชาระบาดวิทยาและสาธารณสุข ยูนิเวอร์ซิตี้คอลเลจลอนดอน มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร และนายกแพทยสมาคมโลก มีผลงานสำคัญด้านการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยาอย่างเป็นระบบมานานกว่า ๓๕ ปี เน้นเกี่ยวกับบทบาทของเชื้อชาติ วิถึการดำเนินชีวิต เศรษฐานะ ความไม่เท่าเทียมกัน ปัจจัยทางสังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อสุขภาวะ ความอายุยืน และโอกาสในการเกิดโรคของประชากรในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงเสนอแนวทางการแก้ไขด้วยปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพ

เจ้าของรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทั้ง ๒ ท่าน ต่างรู้สึกเป็นเกียรติสูงสุดของชีวิต แม้ต้องฝ่าฟืนกับอุปสรรคต่างๆ มามาก โดย ศ.นพ.มอร์ตันยึดหลักมีความสุขกับงาน มองว่าสิ่งที่ทำนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่ต่างกับ เซอร์ไมเคิล มีความสนุกับสิ่งที่ทำและมีความสุขที่ผลงานวิจัยได้พัฒนาต่อและนำไปสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม

http://www.dailynews.co.th/women/376848
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่