นี่คือผืนแผ่นดินไทยที่งดงาม ด้วยตลอดสองข้างทางที่มุ่งขึ้นสู่ดอยแม่สลองนั้น รายล้อมไปด้วยดอกพญาเสือโคร่ง หรือ ดอกซากุระเมืองไทย ที่บานสะพรั่งในช่วงเดือนธันวาคม พร้อมรับนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ จากเมืองไกลให้มาเยือน ซึ่งเมื่อได้มายืนเด่นตระหง่านอยู่บนยอดดอยสูงแห่งนี้ แทบจะไม่อยากเชื่อสายตาเลยว่า นี่มันแผ่นดินไทยจริงๆ หรือ เพราะด้วยบรรยากาศที่หนาวเย็นจับใจในช่วงเหมันต์ ตลอดจนบรรยากาศ และทิวทัศน์ที่เห็นอยู่ตรงหน้า มันช่างให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในชนบทของประเทศจีนไม่มีผิดเพี้ยน เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจาก ยอดดอยแม่สลองเป็นที่ลงหลักปักฐานของชาวจีนฮ่อแถบมณฑลยูนาน ที่ลี้ภัยมาหลบอาศัยอยู่ตั้งแต่ครั้งอดีต และพากันประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยปลูกชา และพืชผักเมืองหนาวเป็นหลัก ซึ่งชาที่โด่งดังจนเป็นที่รู้จักกันดีคือ ชาอู่หลง
นอกจากนี้ ดอยแม่สลอง ยังอบอวลไปด้วยวัฒนธรรมชาวจีน ไม่ว่าจะการแต่งกาย หรือ อาหารการกิน ซึ่งโดยเฉพาะอาหารนั้น จะเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาเป็นอย่างยิ่ง อย่างเช่น ขาหมูยูนาน ที่เสริฟมาในจานใหญ่ และต้องกินเคียงคู่กับหมั่นโถเท่านั้น ถึงจะเรียกว่าต้นตำหรับ
ประวัติของแดนดินถิ่นดอยสูงนี้มีอยู่ว่า ในอดีตเคยเป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่ยังชีพด้วยการทำไล่เลื่อนลอย จนเป็นเหตุให้ดอยแห่งนี้เตียนโล่ง ต่อมาดอยแม่สลองเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปีพ.ศ.2504 จากการอพยพเข้ามาของทหารจีนกองพล 93 จากมณฑลยูนาน ที่ทำการรบอยู่ทางตอนใต้ของจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เมื่อจีนถูกพรรคคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจสำเร็จ จึงทำให้ทหารกองพล 93 กลายเป็นกองกำลังพลัดถิ่น และถูกกดดันอย่างหนัก จนถอยร่นเข้ามาในเขตพม่า แต่ก็ถูกทางฝ่ายพม่ากดดันจนถอยร่นมาถึงดอยตุงเขตแดนไทย ทางฝ่ายพม่าก็ได้ร้องเรียนกับทางสหประชาชาติ ให้กองกำลังพลัดถิ่นอพยพไปยังประเทศใต้หวัน แต่เนื่องจากผู้นำกองกำลังพล 93 โดย นายพลหลีเหวินฝาน และ นายพลต้วยซีเหวิน ได้ทำเรื่องร้องเรียนขอลี้ภัยในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่แน่ใจในอนาคต เพราะใต้หวันเป็นเพียงเกาะเล็กๆ รัฐบาลไทยจึงอนุญาต โดยจัดแบ่งเป็นสองกอง โดยให้ทหารของนายพลหลีเหวินฝานไปอยู่ที่ ถ้ำงอบ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และทหารของนายพลต้วนซีเหวินอยู่บนดอยแม่สลอง
จนกระทั่งในปีพ.ศ.2515 ครม. มีมติให้รับทหารจีนอาศัยบนผืนแผ่นดินไทยอย่างเป็นทางการ และได้ยุติการค้าฝิ่น มีการปลดอาวุธ และให้หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยได้ริเริ่มโครงการปลูกชา และปลูกต้นสนสามใบเพื่อเป็นการพลิกฟื้นผืนป่าให้กลับมามีความสมบูรณ์อีกครั้ง และได้มีการเปลี่ยนชื่อชุมชนบนดอยแม่สลองใหม่ โดยใช้ชื่อว่า บ้านสันติคีรี จึงทำให้ดอยแม่สลองจึงมีความสงบ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สถานที่ท่องเที่ยวบนดอยแม่สลองยังมีอีกหลายแห่ง เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทร์สถิตมหาสันติคีรี ตั้งอยู่จุดสูงสุดบนดอยแม่สลอง ที่ความสูง 1,500 เมตร ซึ่งห่างจากหมู่บ้านขึ้นไปประมาณ 4 กิโลเมตร เส้นทางขึ้นคดเคี้ยว สูงชัน พระธาตุสร้างแล้วเสร็จเมื่อประมาณปีพ.ศ.2539 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จย่า เป็นเจดีย์แบบล้านนาประยุกต์ บนฐานสี่เหลี่ยมลดชั้น สูงประมาณ 30 เมตร ประดับกระเบื้องสีเทา นอกจากนั้น บริเวณนี้ยังเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม โดยเฉพาะในยามเย็น ซึ่งองค์พระธาตุเองก็สามารถที่จะมองเห็นมาแต่ไกลด้วยเช่นกัน จึงพูดได้ว่า พระบรมธาตุเจดีย์แห่งนี้ เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของดอยแม่สลองอีกด้วย
อีกหนึ่งสถานที่คือ สุสานนายพลต้วน ผู้นำทหารชาวจีนฮ่อแห่งกองพล 93 ที่ได้นำกองกำลังอพยพมาตั้งหลักปักฐานบนผืนแผ่นดินไทย ตัวสุสานทำด้วยหินอ่อนทั้งหมด มีแท่นหินอ่อนที่บรรจุร่างของนายพลต้วน อยู่ภายในเก๋งจีนสีขาวขนาดใหญ่
การเดินทางขึ้นมาเที่ยวบนยอดดอยแม่สลองนั้น สิ่งที่พลาดไม่ได้คือ การลิ้มลองชาพันธุ์แท้ ตลอดจนชมวิธีการชงชาแบบต้นตำหรับชาวจีนฮ่อ ซึ่งการเดินทางก็มาได้สะดวก หากมีโอกาสช่วงปลายปีนี้ ลองแวะไปสัมผัสบรรยากาศที่หนาวเย็น แล้วจิบชาอุ่นๆ บนถนนพญาเสือโคร่งกันดู รับรองว่าสัมผัสที่สุดประทับใจกำลังรอคุณอยู่ และนี่คือ ผืนดินถิ่นไทยจริงๆ
ถนนพญาเสือโคร่ง ดอยแม่สลอง
นอกจากนี้ ดอยแม่สลอง ยังอบอวลไปด้วยวัฒนธรรมชาวจีน ไม่ว่าจะการแต่งกาย หรือ อาหารการกิน ซึ่งโดยเฉพาะอาหารนั้น จะเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาเป็นอย่างยิ่ง อย่างเช่น ขาหมูยูนาน ที่เสริฟมาในจานใหญ่ และต้องกินเคียงคู่กับหมั่นโถเท่านั้น ถึงจะเรียกว่าต้นตำหรับ
ประวัติของแดนดินถิ่นดอยสูงนี้มีอยู่ว่า ในอดีตเคยเป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่ยังชีพด้วยการทำไล่เลื่อนลอย จนเป็นเหตุให้ดอยแห่งนี้เตียนโล่ง ต่อมาดอยแม่สลองเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปีพ.ศ.2504 จากการอพยพเข้ามาของทหารจีนกองพล 93 จากมณฑลยูนาน ที่ทำการรบอยู่ทางตอนใต้ของจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เมื่อจีนถูกพรรคคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจสำเร็จ จึงทำให้ทหารกองพล 93 กลายเป็นกองกำลังพลัดถิ่น และถูกกดดันอย่างหนัก จนถอยร่นเข้ามาในเขตพม่า แต่ก็ถูกทางฝ่ายพม่ากดดันจนถอยร่นมาถึงดอยตุงเขตแดนไทย ทางฝ่ายพม่าก็ได้ร้องเรียนกับทางสหประชาชาติ ให้กองกำลังพลัดถิ่นอพยพไปยังประเทศใต้หวัน แต่เนื่องจากผู้นำกองกำลังพล 93 โดย นายพลหลีเหวินฝาน และ นายพลต้วยซีเหวิน ได้ทำเรื่องร้องเรียนขอลี้ภัยในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่แน่ใจในอนาคต เพราะใต้หวันเป็นเพียงเกาะเล็กๆ รัฐบาลไทยจึงอนุญาต โดยจัดแบ่งเป็นสองกอง โดยให้ทหารของนายพลหลีเหวินฝานไปอยู่ที่ ถ้ำงอบ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และทหารของนายพลต้วนซีเหวินอยู่บนดอยแม่สลอง
จนกระทั่งในปีพ.ศ.2515 ครม. มีมติให้รับทหารจีนอาศัยบนผืนแผ่นดินไทยอย่างเป็นทางการ และได้ยุติการค้าฝิ่น มีการปลดอาวุธ และให้หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยได้ริเริ่มโครงการปลูกชา และปลูกต้นสนสามใบเพื่อเป็นการพลิกฟื้นผืนป่าให้กลับมามีความสมบูรณ์อีกครั้ง และได้มีการเปลี่ยนชื่อชุมชนบนดอยแม่สลองใหม่ โดยใช้ชื่อว่า บ้านสันติคีรี จึงทำให้ดอยแม่สลองจึงมีความสงบ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สถานที่ท่องเที่ยวบนดอยแม่สลองยังมีอีกหลายแห่ง เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทร์สถิตมหาสันติคีรี ตั้งอยู่จุดสูงสุดบนดอยแม่สลอง ที่ความสูง 1,500 เมตร ซึ่งห่างจากหมู่บ้านขึ้นไปประมาณ 4 กิโลเมตร เส้นทางขึ้นคดเคี้ยว สูงชัน พระธาตุสร้างแล้วเสร็จเมื่อประมาณปีพ.ศ.2539 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จย่า เป็นเจดีย์แบบล้านนาประยุกต์ บนฐานสี่เหลี่ยมลดชั้น สูงประมาณ 30 เมตร ประดับกระเบื้องสีเทา นอกจากนั้น บริเวณนี้ยังเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม โดยเฉพาะในยามเย็น ซึ่งองค์พระธาตุเองก็สามารถที่จะมองเห็นมาแต่ไกลด้วยเช่นกัน จึงพูดได้ว่า พระบรมธาตุเจดีย์แห่งนี้ เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของดอยแม่สลองอีกด้วย
อีกหนึ่งสถานที่คือ สุสานนายพลต้วน ผู้นำทหารชาวจีนฮ่อแห่งกองพล 93 ที่ได้นำกองกำลังอพยพมาตั้งหลักปักฐานบนผืนแผ่นดินไทย ตัวสุสานทำด้วยหินอ่อนทั้งหมด มีแท่นหินอ่อนที่บรรจุร่างของนายพลต้วน อยู่ภายในเก๋งจีนสีขาวขนาดใหญ่
การเดินทางขึ้นมาเที่ยวบนยอดดอยแม่สลองนั้น สิ่งที่พลาดไม่ได้คือ การลิ้มลองชาพันธุ์แท้ ตลอดจนชมวิธีการชงชาแบบต้นตำหรับชาวจีนฮ่อ ซึ่งการเดินทางก็มาได้สะดวก หากมีโอกาสช่วงปลายปีนี้ ลองแวะไปสัมผัสบรรยากาศที่หนาวเย็น แล้วจิบชาอุ่นๆ บนถนนพญาเสือโคร่งกันดู รับรองว่าสัมผัสที่สุดประทับใจกำลังรอคุณอยู่ และนี่คือ ผืนดินถิ่นไทยจริงๆ