ก่อนหน้านี้ผมได้โพสถามว่าในนี้
เพราะมีการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นแบบ AMR สามารถตรวจสอบแบบ ออนไลน์ได้ แต่ผิดสังเกตุที่ หน่วยไฟวิ่งเร็วผิดปกติ เลยมีการโพสถามคร่าวๆ แต่ได้คำตอบไม่ชัดเจน วันนี้ ผมได้เอาผลที่ตรวจสอบมาแจกแจง ฝากผู้รู้ช่วยตรวจสอบครับ
ผมขออนุญาตุแจกแจง มอเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า นะครับ
1. ตามเวลาปกติ หากไม่ได้ เปิดเครื่องจักรใดๆ ทั้งสิ้น ไฟ จะวิ่งอยู่ที่ 0.5-0.7 หน่วย ต่อ 15 นาที เท่ากับว่า 2-3 หน่วยต่อขั่วโมง
ซึ่ง อัตรานี้ ผมลอง ตรวจสอบการใช้งานภายในบ้าน และห้องพัก ของ พนักงาน พัดลมตั้งพื้นโดยประมาณ 7-8 ตัว ตู้เย็น 2 เครื่อง หลอดนีออน 3 หลอด
ตรวจสอบจาก เวลา ตี1-ตี 5 ซึ่งทุกคนนอนหลับหมด ซึ่ง ถ้าประเมิณออกมา ทั้งเดือน การที่นอนเปิดพัดลม 7 ตัว และตู้เย็น 2 เครื่อง นี้ จะกินไฟวันละ
60 หน่วย หรือเดือนละ 1800 หน่วย ยูนิตละ 2.7 บาท (โดยประมาณ) คิดแบบ OP ก็เท่ากับว่า 4860 บาท ครับ แบบนี้ ผิดปกติหรือเปล่า
2. ลองตรวจสอบในเวลาทำงาน ช่วง 9.00 น.-12.00 น. ในโรงงาน มีมอเตอร์ 3 สาย สำหรับเครื่องจกัรดังต่อไปนี้
1. มอเตอร์ขนาด 7.5 HP จำนวน 6 ตัว
2. มอเตอร์จนาด 10 HP จำนวน 1 ตัว
3. มอเตอร์ขนาด 5.5 HP จำนวน 2 ตัว (1 ตัว เป็นปั๊มลม ครับ)
ผมลองทำการเปิดเครื่องจักร 1 ตัว โดยใช้มอเตอร์ดังต่อไปนี้ 10 HP 1 ตัว, 7.5 HP 4 ตัว,5.5 HP 1ตัว โดยทั้งหมดเป็นไฟแบบ 3 เฟส โดยทำการไล่
เปิด ทีละตัว เพื่อป้องกันค่า peak ที่จะเกิดขึ้น หลังจากใช้งานไปครบ 1 ชม. ตามที่กล่าวมา ก็ทำการปิดเครื่อง แล้วทำการตรวจสอบ หน่วยไฟที่เกิดขึ้น
ก็แปลกใจ ว่า 15 นาที วิ่งไป 20 หน่วย ซึ่ง ถ้าครบ 1 ชั่วโมง ก็ประมาณ 80 หน่วย ซึ่ง ถ้านับกาารทำงาน ทั้งวัน 8 ชม. เท่ากับ 640 หน่วย ทำงานเดือน
ละ 20 วัน ตก 12800 หน่วย ค่าไฟ 4.2 บาท/หน่วย เท่ากับ 53760 บาท หลังจากครบเดือน บิลค่าไฟมา ก็ปรากฏ แบบที่คิดไว้ ค่า peak โผล่มา
82.56 หน่วย เป็นเงิน 2125.55 บาท อันนี้ถ้าผู้ที่ทราบ จะรู้ว่าเป็นค่าเสียเปล่า หรือที่เรียกว่า ความต้องการพลังงานไฟฟ้า ไม่เกี่ยวกับค่าไฟ ปกติ
**** ก่อนหน้านี้ สามสี่ปี ที่ผ่านมา ค่า peak ไม่เคยเกิน 25 หน่วย หลังจากเปลี่ยนเป็น amr ลองทำงาน 1 ชม. โผล่มา 82 มากกว่าเดิม 3 เท่าเกือบ 4
เท่าตัว ผมเลยสงสัยว่าคนที่เปลี่ยนเป็น amr เคยเจอแบบผมกันบ้างไหมครับ
ค่า peak มาแบบนี้ ผิดปกติหรือเปล่าครับ
เพราะมีการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นแบบ AMR สามารถตรวจสอบแบบ ออนไลน์ได้ แต่ผิดสังเกตุที่ หน่วยไฟวิ่งเร็วผิดปกติ เลยมีการโพสถามคร่าวๆ แต่ได้คำตอบไม่ชัดเจน วันนี้ ผมได้เอาผลที่ตรวจสอบมาแจกแจง ฝากผู้รู้ช่วยตรวจสอบครับ
ผมขออนุญาตุแจกแจง มอเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า นะครับ
1. ตามเวลาปกติ หากไม่ได้ เปิดเครื่องจักรใดๆ ทั้งสิ้น ไฟ จะวิ่งอยู่ที่ 0.5-0.7 หน่วย ต่อ 15 นาที เท่ากับว่า 2-3 หน่วยต่อขั่วโมง
ซึ่ง อัตรานี้ ผมลอง ตรวจสอบการใช้งานภายในบ้าน และห้องพัก ของ พนักงาน พัดลมตั้งพื้นโดยประมาณ 7-8 ตัว ตู้เย็น 2 เครื่อง หลอดนีออน 3 หลอด
ตรวจสอบจาก เวลา ตี1-ตี 5 ซึ่งทุกคนนอนหลับหมด ซึ่ง ถ้าประเมิณออกมา ทั้งเดือน การที่นอนเปิดพัดลม 7 ตัว และตู้เย็น 2 เครื่อง นี้ จะกินไฟวันละ
60 หน่วย หรือเดือนละ 1800 หน่วย ยูนิตละ 2.7 บาท (โดยประมาณ) คิดแบบ OP ก็เท่ากับว่า 4860 บาท ครับ แบบนี้ ผิดปกติหรือเปล่า
2. ลองตรวจสอบในเวลาทำงาน ช่วง 9.00 น.-12.00 น. ในโรงงาน มีมอเตอร์ 3 สาย สำหรับเครื่องจกัรดังต่อไปนี้
1. มอเตอร์ขนาด 7.5 HP จำนวน 6 ตัว
2. มอเตอร์จนาด 10 HP จำนวน 1 ตัว
3. มอเตอร์ขนาด 5.5 HP จำนวน 2 ตัว (1 ตัว เป็นปั๊มลม ครับ)
ผมลองทำการเปิดเครื่องจักร 1 ตัว โดยใช้มอเตอร์ดังต่อไปนี้ 10 HP 1 ตัว, 7.5 HP 4 ตัว,5.5 HP 1ตัว โดยทั้งหมดเป็นไฟแบบ 3 เฟส โดยทำการไล่
เปิด ทีละตัว เพื่อป้องกันค่า peak ที่จะเกิดขึ้น หลังจากใช้งานไปครบ 1 ชม. ตามที่กล่าวมา ก็ทำการปิดเครื่อง แล้วทำการตรวจสอบ หน่วยไฟที่เกิดขึ้น
ก็แปลกใจ ว่า 15 นาที วิ่งไป 20 หน่วย ซึ่ง ถ้าครบ 1 ชั่วโมง ก็ประมาณ 80 หน่วย ซึ่ง ถ้านับกาารทำงาน ทั้งวัน 8 ชม. เท่ากับ 640 หน่วย ทำงานเดือน
ละ 20 วัน ตก 12800 หน่วย ค่าไฟ 4.2 บาท/หน่วย เท่ากับ 53760 บาท หลังจากครบเดือน บิลค่าไฟมา ก็ปรากฏ แบบที่คิดไว้ ค่า peak โผล่มา
82.56 หน่วย เป็นเงิน 2125.55 บาท อันนี้ถ้าผู้ที่ทราบ จะรู้ว่าเป็นค่าเสียเปล่า หรือที่เรียกว่า ความต้องการพลังงานไฟฟ้า ไม่เกี่ยวกับค่าไฟ ปกติ
**** ก่อนหน้านี้ สามสี่ปี ที่ผ่านมา ค่า peak ไม่เคยเกิน 25 หน่วย หลังจากเปลี่ยนเป็น amr ลองทำงาน 1 ชม. โผล่มา 82 มากกว่าเดิม 3 เท่าเกือบ 4
เท่าตัว ผมเลยสงสัยว่าคนที่เปลี่ยนเป็น amr เคยเจอแบบผมกันบ้างไหมครับ