อวกาศด้านเหนือและด้านใต้ของระบบสุริยจักรวาล

สงสัยมานานแล้วครับ
นักวิทยาศาสตร์รู้ได้อย่างไรว่า อวกาศด้านเหนือและด้านใต้ของระบบสุริยจักวาลไม่มีดวงดาวและเทหวัตถุใด ๆ ให้สำรวจ?
เพราะปกติมีการส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงดาว และเทหวัตถุในจักรวาล มักจะส่งไปในระนาบเดียวกับโลกตลอดทุกครั้ง ซึ่งเป็นการมองเห็นดวงดาวและเทหวัตถุด้วยตาเปล่ามากมาย
จักรวาลนั้นกว้างขวางและใหญ่โตในระดับ อินฟินิตี้ ( ∞ ) เกินกว่าที่จะสรุปได้ว่า อวกาศด้านเหนือและด้านใต้ของระบบสุริยะ จะไม่มีอะไรให้สำรวจ!!
สมมติว่า ถ้ามนุษย์พัฒนาแหล่งพลังงานขนาดเล็กที่ใช้ได้นานนับแสน นับล้าน ๆ ๆๆ ปี เอาบรรจุลงยานอวกาศแล้วส่งยานอวกาศออกไปในมุม 90 องศากับระนาบระบบสุริยะ  ให้พลังงานนั้นขับเคลื่อนยานไประดับตรงข้ามระนาบเดียวกับโลกด้านบนหรือล่าง เชื่อว่าน่าจะค้นพบความลี้ลับของจักรวาลได้อีกมากมายก่ายกอง มโหฬาร มากกว่าที่สิ้นเปลืองไปกับการสำรวจดวงดาวและเทหวัตถุ ในระนาบเดียวกับโลก แล้วยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ดังเช่นที่กำลังทำอยู่ทุกวันนี้ก็ได้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
นักวิทยาศาสตร์รู้ได้จากการ สำรวจ น่ะครับ   จึงรู้ได้ว่าอวกาศในแนวตั้งฉากกับระบบสุริยะนั้น  ไม่มีอะไรอยู่เลย

ไม่มีทั้งดาวเคราะห์  ดาวเคราะห์น้อย  และ  วัตถุอื่น ๆ ที่ใกล้มากพอที่จะสำรวจ  เพราะวัตถุทั้งหมดต่างก็โคจรรอบดวงอาทิตย์
ในระนาบสุริยะ (Solar ecliptic plane)  การส่งยานสำรวจทุกลำก็จะส่งไปในระนาบนี้เท่านั้น  เพราะมีดาวเคราะห์ และ วัตถุต่าง ๆ
ให้สำรวจมากมาย  แต่พื้นที่ในมุมตั้งฉาก นั้น  ไม่มีอะไรเลย  ส่วนดาวฤกษ์ที่อยู่ถัดไปก็ไกลมากถึง 4.2 ปีแสง

นี่คือภาพแผนที่ของดาวฤกษ์ใกล้เคียงดวงอาทิตย์  จะเห็นว่ามีหลายมุม และ หลายดวง  แต่มีระยะทางที่ไกลมากทั้งสิ้นครับ


การสำรวจอวกาศในแนว 90 องศาแบบที่ จขกท.คิดใว้  ก็ไม่ต่างอะไรกับการส่งยานในรูปแบบปัจจุบันครับ
เพราะว่า .... หากเรามีเจตนาจะส่งยานไปนานนับล้าน ๆ ปี  การส่งยานไปในทิศทางใหนก็เหมือนกันครับ
เพราะดาวฤกษ์ที่ถัด ๆ ไปจากดวงอาทิตย์ก็มีตำแหน่งอยู่ห้อมล้อมเราในทุกทิศทาง (ตามภาพบน) นั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่