ความหลังริมคลองเปรม
พระอนุสาวรีย์ในดวงใจ
“ วชิรพักตร์ “
เมื่อกรมการทหารสื่อสารได้ตกลงใจที่จะก่อสร้าง และประดิษฐานพระอนุสาวรีย์ ณ ค่ายสะพานแดง กรุงเทพมหานคร กับ ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน ที่กระทุ่มแบน สมุทรสาคร ใน พ.ศ.๒๕๒๙ นั้น พลตรี ประจวบ อ่ำพันธุ์ เป็นเจ้ากรมการทหารสื่อสาร ที่ประชุมหน่วยขึ้นตรง ได้เลือกแบบพระรูปจากภาพถ่ายของพระองค์ท่าน หลายแบบมาผสมผสานกัน เป็นพระรูปแต่งเครื่องแบบเต็มยศพลเอก ถอดพระมาลาพักไว้ที่พระเพลาขวา สูง ๒.๓๐ เมตร ประทับยืน อยู่บนแท่นฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ ๑.๗๐ เมตร สูง ๓.๖๐ เมตร ตั้งบนลานหินวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๑.๔๐ เมตร
ในการนี้ได้มอบให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สันต์ สารากรบริรักษ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประติมากร พันตรี สมเกียรติ หอมเอนก เป็นผู้ออกแบบแท่นฐานและภูมิทัศน์รอบพระอนุสาวรีย์ นายบุญเพ็ง โสณโชติ นายช่างโยธา กองหัตถศิลป กรมศิลปากร เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง
และได้ตั้งกรรมการตรวจการจ้างปั้นหล่อพระรูป มี พันเอก วิทยา งามกาละ เป็นประธาน กับกรรมการตรวจการจ้างการก่อสร้างแท่นฐานพระอนุสาวรีย์ มี พันเอก ประเสริฐ โล่ห์ทอง เป็นประธาน
กรมการทหารสื่อสารได้ดำเนินการ ขอคำแนะนำในการสร้างพระอนุสาวรีย์ จากกรมศิลปากร ขอประทานอนุญาตจาก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร รายงานกองทัพบก ขออนุมัติสร้างพระอนุสาวรีย์ และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต สร้างพระอนุสาวรีย์ ผ่านกรมศิลปากร จนได้รับพระมหากรุณา พระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามลำดับตั้งแต่ เมษายน ๒๕๒๙ ถึง พฤษภาคม ๒๕๓๐
และได้ดำเนินการปั้นหล่อพระอนุสาวรีย์ ตั้งแต่ มกราคม ๒๕๓๐ ถึง ธันวาคม ๒๕๓๐ ซึ่งขณะนั้น พลตรี ประจวบ อ่ำพันธุ์ เจ้ากรมการทหารสื่อสาร ได้แต่งตั้งให้ พันเอก จารุพันธุ์ บูรณสงคราม รองเจ้ากรมการทหารสื่อสาร เป็น ประธานกรรมการจัดงานพิธีประดิษฐานพระอนุสาวรีย์ และได้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์ เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ เวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา
พระอนุสาวรีย์ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จึงได้ปรากฎเป็นศรีสง่าแก่เหล่าทหารสื่อสาร มาตั้งแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้ เป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้ว
ส่วนการปั้นพระรูปนั้น เมื่อแรกได้เลือกที่จะสร้างโรงปั้นหล่อ บริเวณหลังห้องเยี่ยมญาติ ตรงข้ามกองรักษาการณ์ ซึ่งเป็นที่ดินว่างซึ่งจะต้องเทพื้นคอนกรีตอย่างแข็งแรง เพื่อรองรับพระรูปที่มีน้ำหนักมาก และจะต้องทุบพื้นทิ้งเมื่อทำงานเสร็จแล้ว ให้เป็นสนามหญ้าดังเดิม อีกทั้งอยู่ใกล้ถนนพระราม ๕ อาจเกิดแรงสั่นสะเทือนจากรถที่แล่นบนถนน จึงย้ายไปสร้างโรงบนสนามบาสเกตบอล ข้างสโมสรนายสิบสื่อสาร ซึ่งมีพื้นคอนกรีตแข็งแรงอยู่แล้ว
ขั้นตอนการดำเนินการปั้นนั้น ประติมากรได้เล่าไว้ว่า หลังจากได้ทำสัญญากับกรมการทหารสื่อสารแล้ว ท่านเจ้ากรมได้กรุณาสร้างโรงปั้นให้ และได้รับความสะดวกทุก ๆ ด้าน จึงได้เริ่มงานปั้นพระรูป โดยใช้ดินเหนียวปั้นหุ่น ก่อนที่จะขึ้นดินเป็นรูป ก็จะต้องผูกเหล็กโดยดัดเหล็กให้เป็นไปตามโครงสร้าง ของกายวิภาคมนุษย์ จากนั้นก็ผูกคลอสเพื่อยึดดินไม่ให้ร่วงหล่น
ขนาดพระรูปเป็นขนาดใหญ่กว่าจริงคือเท่าครึ่ง ส่วนพระรูปนี้ตั้งใจให้สูงกว่าเท่าครึ่งไปอีกประมาณ ๑๐ ซ.ม. เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ซึ่งมีบริเวณกว้างขวาง เมื่อปั้นดินตามลักษณะกายวิภาคแล้ว ก็มีคณะกรรมการจากกรมศิลปากรมาตรวจ ซึ่งได้ติและแก้ไขจนพอใจแล้ว จึงปั้นการแต่งกาย สวมเครื่องแบบและเครื่องประดับต่าง ๆ เช่น ครุย เหรียญ สายสะพาย สายยงยศ กระบี่ หมวก รองเท้า และรายละเอียดอื่น ๆ ตลอดจนความเหมือนของพระพักตร์ คณะกรรมการชุดที่สองก็มาตรวจอีกครั้ง เมื่อเห็นว่าดีแล้วก็อนุมัติให้หล่อเป็นปลาสเตอร์ เพื่อเตรียมหล่อเป็นทองเหลืองต่อไป
สิ่งที่ต้องระวังมากในการทำงาน คือการรักษาดินเหนียวให้อยู่ในสภาพที่ปั้นได้ดี ไม่แข็งตัวและไม่ร่วงหล่น เวลานั้นเป็นระยะเดือนเมษายน อากาศร้อนอบอ้าวมาก ดินมีรอยร้าวต้องคอยนวดและรักษาดิน ด้วยผ้าชุบน้ำและคลุมด้วยผ้าพลาสติก อุปสรรคอีกประการหนึ่งคือมีพระรูปอยู่ด้านเดียว จึงต้องใช้จินตนาการทางด้านข้างและด้านหลัง ต้องใช้ภาพใน อิริยาบท อื่น ๆ มาประกอบ แม้พระพักตร์ของท่านก็ยังต้องอาศัยพระรูป ตอนที่มีพระชันษามากแล้วมาประกอบ ซึ่งก็พอแก้ปัญหาไปได้ ทำให้ปั้นพระพักตร์ได้ไม่ขัดตา แลดูเหมือนพระองค์จริงด้วย
ในระยะนี้ท่านเจ้ากรมได้กรุณามาติชม และได้ทูลเชิญพระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระธิดาของ พลเอก กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน มาทอดพระเนตรด้วย พระองค์เจ้าหญิงวิมลฉัตร ทรงพอพระทัยมาก และตรัสชมว่าปั้นได้เหมือนเสด็จพ่อ ทำให้ดีใจจนหายเหนื่อย
พระรูปที่ได้ปั้นนี้ ดูแล้วมีความรู้สึกไม่ขัดตาในท่ายืน และการแสดงอิริยาบทสบาย ๆ มีองค์ประกอบที่สวยงาม และแปลกกว่าอนุสาวรีย์อื่น ๆ อยู่บ้าง ตั้งแต่พระพักตร์ที่ดูหนุ่มแน่น มีพระลักษณะเป็นนักปราชญ์ ทรงภูมิรู้ พระทัยดีมีเมตตา โดยเฉพาะท่ายืนจับกระบี่ ทรงเสื้อคลุมครุย มีลักษณะองอาจสง่าผ่าเผย และดูกระฉับกระเฉงมีชีวิต เมื่อประกอบกับแท่นฐาน ที่ตั้งเด่นอยู่ท่ามกลางพื้นที่โล่งกว้าง คาดว่าจะเป็นอนุสาวรีย์ที่ประทับตาประทับใจแก่ผู้พบเห็น ชวนให้เกิดความเลื่อมใส น่าเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนผมเป็นเพียงผู้ช่วยทางด้านธุรการ และติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง กับบันทึกภาพการดำเนินงาน ตั้งแต่ต้นจนจบเท่านั้น แต่ผมก็มีความภูมิใจยิ่งที่ได้นำพระรูปต้นแบบ ซึ่งเป็นปูนปลาสเตอร์ มาตั้งไว้เป็นวัตถุพิพิธภัณฑ์ นานกว่าสิบปีแล้ว และยังคงอยู่จนกระทั่ง พลตรี วิทยา งามกาละ เจ้ากรมการทหารสื่อสาร ได้สั่งการให้ดำเนินการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ทหารสื่อสารให้สวยงาม เหมาะสมที่จะเปิดให้ผู้สนใจเข้าชม และได้กรุณาเชิญผมไปเป็นที่ปรึกษา ของคณะกรรมการปรับปรุง จนสำเร็จ เรียบร้อยลงเมื่อ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕ อันเป็นวันทหาร สื่อสาร ครบรอบ ๗๘ ปี
และพระรูปปูนปลาสเตอร์ในพิพิธภัณฑ์ ก็ได้รับการปรับปรุงให้สวยงาม เป็นศรีสง่าแก่พิพิธภัณฑ์ทหารสื่อสาร ต่อไปอีกนับสิบปี
นั่นคือเบื้องหลังของพระอนุสาวรีย์ พระบิดาของทหารสื่อสารพระองค์นี้ ที่ผมได้มีโอกาสรู้เห็น และร่วมดำเนินการด้วย
แม้จะไม่มีชื่อติดอยู่ที่ฐานอนุสาวรีย์ เช่นเดียวกับทหารสื่อสารที่มีส่วนร่วมในงานนี้ อีกมากมาย รวมทั้งผู้ร่างคำจารึกบนแท่นฐานพระอนุสาวรีย์ ทั้งสี่ด้านด้วย ก็ตาม
############
นิตยสารทหารสื่อสาร
พฤษภาคม ๒๕๔๖
พระอนุสาวรีย์ในดวงใจ ๓๐ ม.ค.๕๙
พระอนุสาวรีย์ในดวงใจ
“ วชิรพักตร์ “
เมื่อกรมการทหารสื่อสารได้ตกลงใจที่จะก่อสร้าง และประดิษฐานพระอนุสาวรีย์ ณ ค่ายสะพานแดง กรุงเทพมหานคร กับ ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน ที่กระทุ่มแบน สมุทรสาคร ใน พ.ศ.๒๕๒๙ นั้น พลตรี ประจวบ อ่ำพันธุ์ เป็นเจ้ากรมการทหารสื่อสาร ที่ประชุมหน่วยขึ้นตรง ได้เลือกแบบพระรูปจากภาพถ่ายของพระองค์ท่าน หลายแบบมาผสมผสานกัน เป็นพระรูปแต่งเครื่องแบบเต็มยศพลเอก ถอดพระมาลาพักไว้ที่พระเพลาขวา สูง ๒.๓๐ เมตร ประทับยืน อยู่บนแท่นฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ ๑.๗๐ เมตร สูง ๓.๖๐ เมตร ตั้งบนลานหินวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๑.๔๐ เมตร
ในการนี้ได้มอบให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สันต์ สารากรบริรักษ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประติมากร พันตรี สมเกียรติ หอมเอนก เป็นผู้ออกแบบแท่นฐานและภูมิทัศน์รอบพระอนุสาวรีย์ นายบุญเพ็ง โสณโชติ นายช่างโยธา กองหัตถศิลป กรมศิลปากร เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง
และได้ตั้งกรรมการตรวจการจ้างปั้นหล่อพระรูป มี พันเอก วิทยา งามกาละ เป็นประธาน กับกรรมการตรวจการจ้างการก่อสร้างแท่นฐานพระอนุสาวรีย์ มี พันเอก ประเสริฐ โล่ห์ทอง เป็นประธาน
กรมการทหารสื่อสารได้ดำเนินการ ขอคำแนะนำในการสร้างพระอนุสาวรีย์ จากกรมศิลปากร ขอประทานอนุญาตจาก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร รายงานกองทัพบก ขออนุมัติสร้างพระอนุสาวรีย์ และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต สร้างพระอนุสาวรีย์ ผ่านกรมศิลปากร จนได้รับพระมหากรุณา พระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามลำดับตั้งแต่ เมษายน ๒๕๒๙ ถึง พฤษภาคม ๒๕๓๐
และได้ดำเนินการปั้นหล่อพระอนุสาวรีย์ ตั้งแต่ มกราคม ๒๕๓๐ ถึง ธันวาคม ๒๕๓๐ ซึ่งขณะนั้น พลตรี ประจวบ อ่ำพันธุ์ เจ้ากรมการทหารสื่อสาร ได้แต่งตั้งให้ พันเอก จารุพันธุ์ บูรณสงคราม รองเจ้ากรมการทหารสื่อสาร เป็น ประธานกรรมการจัดงานพิธีประดิษฐานพระอนุสาวรีย์ และได้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์ เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ เวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา
พระอนุสาวรีย์ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จึงได้ปรากฎเป็นศรีสง่าแก่เหล่าทหารสื่อสาร มาตั้งแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้ เป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้ว
ส่วนการปั้นพระรูปนั้น เมื่อแรกได้เลือกที่จะสร้างโรงปั้นหล่อ บริเวณหลังห้องเยี่ยมญาติ ตรงข้ามกองรักษาการณ์ ซึ่งเป็นที่ดินว่างซึ่งจะต้องเทพื้นคอนกรีตอย่างแข็งแรง เพื่อรองรับพระรูปที่มีน้ำหนักมาก และจะต้องทุบพื้นทิ้งเมื่อทำงานเสร็จแล้ว ให้เป็นสนามหญ้าดังเดิม อีกทั้งอยู่ใกล้ถนนพระราม ๕ อาจเกิดแรงสั่นสะเทือนจากรถที่แล่นบนถนน จึงย้ายไปสร้างโรงบนสนามบาสเกตบอล ข้างสโมสรนายสิบสื่อสาร ซึ่งมีพื้นคอนกรีตแข็งแรงอยู่แล้ว
ขั้นตอนการดำเนินการปั้นนั้น ประติมากรได้เล่าไว้ว่า หลังจากได้ทำสัญญากับกรมการทหารสื่อสารแล้ว ท่านเจ้ากรมได้กรุณาสร้างโรงปั้นให้ และได้รับความสะดวกทุก ๆ ด้าน จึงได้เริ่มงานปั้นพระรูป โดยใช้ดินเหนียวปั้นหุ่น ก่อนที่จะขึ้นดินเป็นรูป ก็จะต้องผูกเหล็กโดยดัดเหล็กให้เป็นไปตามโครงสร้าง ของกายวิภาคมนุษย์ จากนั้นก็ผูกคลอสเพื่อยึดดินไม่ให้ร่วงหล่น
ขนาดพระรูปเป็นขนาดใหญ่กว่าจริงคือเท่าครึ่ง ส่วนพระรูปนี้ตั้งใจให้สูงกว่าเท่าครึ่งไปอีกประมาณ ๑๐ ซ.ม. เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ซึ่งมีบริเวณกว้างขวาง เมื่อปั้นดินตามลักษณะกายวิภาคแล้ว ก็มีคณะกรรมการจากกรมศิลปากรมาตรวจ ซึ่งได้ติและแก้ไขจนพอใจแล้ว จึงปั้นการแต่งกาย สวมเครื่องแบบและเครื่องประดับต่าง ๆ เช่น ครุย เหรียญ สายสะพาย สายยงยศ กระบี่ หมวก รองเท้า และรายละเอียดอื่น ๆ ตลอดจนความเหมือนของพระพักตร์ คณะกรรมการชุดที่สองก็มาตรวจอีกครั้ง เมื่อเห็นว่าดีแล้วก็อนุมัติให้หล่อเป็นปลาสเตอร์ เพื่อเตรียมหล่อเป็นทองเหลืองต่อไป
สิ่งที่ต้องระวังมากในการทำงาน คือการรักษาดินเหนียวให้อยู่ในสภาพที่ปั้นได้ดี ไม่แข็งตัวและไม่ร่วงหล่น เวลานั้นเป็นระยะเดือนเมษายน อากาศร้อนอบอ้าวมาก ดินมีรอยร้าวต้องคอยนวดและรักษาดิน ด้วยผ้าชุบน้ำและคลุมด้วยผ้าพลาสติก อุปสรรคอีกประการหนึ่งคือมีพระรูปอยู่ด้านเดียว จึงต้องใช้จินตนาการทางด้านข้างและด้านหลัง ต้องใช้ภาพใน อิริยาบท อื่น ๆ มาประกอบ แม้พระพักตร์ของท่านก็ยังต้องอาศัยพระรูป ตอนที่มีพระชันษามากแล้วมาประกอบ ซึ่งก็พอแก้ปัญหาไปได้ ทำให้ปั้นพระพักตร์ได้ไม่ขัดตา แลดูเหมือนพระองค์จริงด้วย
ในระยะนี้ท่านเจ้ากรมได้กรุณามาติชม และได้ทูลเชิญพระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระธิดาของ พลเอก กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน มาทอดพระเนตรด้วย พระองค์เจ้าหญิงวิมลฉัตร ทรงพอพระทัยมาก และตรัสชมว่าปั้นได้เหมือนเสด็จพ่อ ทำให้ดีใจจนหายเหนื่อย
พระรูปที่ได้ปั้นนี้ ดูแล้วมีความรู้สึกไม่ขัดตาในท่ายืน และการแสดงอิริยาบทสบาย ๆ มีองค์ประกอบที่สวยงาม และแปลกกว่าอนุสาวรีย์อื่น ๆ อยู่บ้าง ตั้งแต่พระพักตร์ที่ดูหนุ่มแน่น มีพระลักษณะเป็นนักปราชญ์ ทรงภูมิรู้ พระทัยดีมีเมตตา โดยเฉพาะท่ายืนจับกระบี่ ทรงเสื้อคลุมครุย มีลักษณะองอาจสง่าผ่าเผย และดูกระฉับกระเฉงมีชีวิต เมื่อประกอบกับแท่นฐาน ที่ตั้งเด่นอยู่ท่ามกลางพื้นที่โล่งกว้าง คาดว่าจะเป็นอนุสาวรีย์ที่ประทับตาประทับใจแก่ผู้พบเห็น ชวนให้เกิดความเลื่อมใส น่าเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนผมเป็นเพียงผู้ช่วยทางด้านธุรการ และติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง กับบันทึกภาพการดำเนินงาน ตั้งแต่ต้นจนจบเท่านั้น แต่ผมก็มีความภูมิใจยิ่งที่ได้นำพระรูปต้นแบบ ซึ่งเป็นปูนปลาสเตอร์ มาตั้งไว้เป็นวัตถุพิพิธภัณฑ์ นานกว่าสิบปีแล้ว และยังคงอยู่จนกระทั่ง พลตรี วิทยา งามกาละ เจ้ากรมการทหารสื่อสาร ได้สั่งการให้ดำเนินการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ทหารสื่อสารให้สวยงาม เหมาะสมที่จะเปิดให้ผู้สนใจเข้าชม และได้กรุณาเชิญผมไปเป็นที่ปรึกษา ของคณะกรรมการปรับปรุง จนสำเร็จ เรียบร้อยลงเมื่อ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕ อันเป็นวันทหาร สื่อสาร ครบรอบ ๗๘ ปี
และพระรูปปูนปลาสเตอร์ในพิพิธภัณฑ์ ก็ได้รับการปรับปรุงให้สวยงาม เป็นศรีสง่าแก่พิพิธภัณฑ์ทหารสื่อสาร ต่อไปอีกนับสิบปี
นั่นคือเบื้องหลังของพระอนุสาวรีย์ พระบิดาของทหารสื่อสารพระองค์นี้ ที่ผมได้มีโอกาสรู้เห็น และร่วมดำเนินการด้วย
แม้จะไม่มีชื่อติดอยู่ที่ฐานอนุสาวรีย์ เช่นเดียวกับทหารสื่อสารที่มีส่วนร่วมในงานนี้ อีกมากมาย รวมทั้งผู้ร่างคำจารึกบนแท่นฐานพระอนุสาวรีย์ ทั้งสี่ด้านด้วย ก็ตาม
############
นิตยสารทหารสื่อสาร
พฤษภาคม ๒๕๔๖