'สื่อ'จาก'บิ๊ก ดีทูบี'ถึง'ปอ-ทฤษฎี'
“สื่อ”จากบิ๊ก ดีทูบี ถึง “ปอ” ทฤษฎี : คอลัมน์ มองผ่านเลนส์คม โดย... นันทพร ไวศยะสุวรรณ์
แม้วันนี้ร่างและดวงวิญญาณของพระเอกหนุ่ม "ปอ" ทฤษฎี จะไปสู่สรวงสวรรค์แล้ว ทว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่เขาทิ้งให้เราได้จดจำ ได้รำลึกถึง รวมไปถึงบทเรียนให้เราได้แก้ไขด้วย
ในพิธีพระราชทานเพลิงศพของเขา ทั้งงดงาม ทั้งยิ่งใหญ่ มีคนมากมายมาร่วมไว้อาลัย แม้บางคนจะเป็นเพียงผู้ชมผ่านหน้าจอเท่านั้น
พร้อมกันนั้น การจากไปของเขาก็สอนเราหลายๆ อย่าง....
สำหรับดิฉัน ภาพวันเคลื่อนศพจากโรงพยาบาลไป จ.บุรีรัมย์ ยังจำได้ติดตา
การเบียดเสียดแก่งแย่งของผู้สื่อข่าวและช่างภาพวันนั้น เป็นพฤติกรรมที่ละเมิดจริยธรรมพื้นฐานของสื่อมวลชนอย่างหาข้อแก้ตัวไม่ขึ้น
หลายกระทงที่ตกอยู่ในอาการสาหัส ทั้งการไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การละเมิดความเป็นส่วนตัวและคนในครอบครัวผู้เสียชีวิต เรื่อยไปถึงการเบียดเข้าไปดันพระสงฆ์ที่กำลังทำพิธีออกไปจนติดรั้ว ทั้งขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อีกด้วย
หลังจากถูกประณามอย่างหนัก หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ตั้งวงเสวนาหาทางแก้ไขอย่างกว้างขวาง ทั้งจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ, บรรณาธิการ, นักข่าว-ช่างภาพ มุมของนักวิชาการ และเสียงมหาชน เพื่อร่วมแก้ “ปัญหาสื่อละเมิดสิทธิ”
สิ่งที่หลายฝ่ายสะท้อนออกมา ทำให้เห็นถึงช่องว่าง และต้นเหตุ ที่ทำให้เกิดกรณีนี้
ปัจจุบันนักข่าวสายบันเทิงที่มีจำนวนมากขึ้น นักข่าวที่ไม่มีสังกัด ที่เรียกว่า “นักข่าวผี” ก็มีไม่น้อย สื่อออนไลน์ก็มากมายจนเกินที่จะนับจำนวนได้แน่นอน แถมคนทั่วไปที่เล่นโซเชียลมีเดียก็สามารถเป็นนักข่าวมือถือได้ไม่ยากนัก
เท่าที่ประมวลดู ได้เห็นความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง ก็มีความหวังว่าจะมีการจัดระเบียบการทำงานในอนาคตได้
แม้ออกจะเชื่อว่า มันอาจไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์!
ดิฉันไม่ได้ปรามาส แต่ที่ผ่านมามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
กรณีคนดัง คนที่อยู่ในใจประชาชนหลายคน ที่พอเกิดเหตุร้ายแรง มักจะเกิดความชุลมุนวุ่นวายจนกลายเป็นเรื่องปกติ
อย่างกรณี “บิ๊ก ดีทูบี” นักร้องหนุ่มที่ป่วยมานานหลายปี ทั้งรักษาตัวที่โรงพยาบาล และกลับมาทำกายภาพต่อที่บ้าน
บิ๊ก เป็นคนดัง เป็นที่รักของแฟนคลับ และประชาชนให้ความสนใจ ติดตามข่าวของเขาอย่างมาก
ซึ่งในจุลสารโรงพยาบาลวิชัยยุทธ เมื่อปี 2546 ได้เขียนบทความไว้น่าสนใจทีเดียว
ชื่อ บทเรียน “บิ๊ก” สอนใจเด็ก, นักข่าว และหมอ
ดิฉันขอคัดตอนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสื่ออย่างตรงไปตรงมา
...ระหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ 2 ทำให้เกิดความโกลาหลในหลายด้าน ตั้งแต่กองทัพแฟนเพลง ไปถึงกองทัพนักข่าว!!
รวมถึงกรณีอื่นๆ ที่จะเอามาเป็นตัวอย่าง เพื่อจะสร้างแนวทางแก้ไขต่อไปในอนาคตได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำความสะอาดคูน้ำ ไปจนถึงเรื่องนโยบายของโรงพยาบาลเอกชน และจริยธรรมของนักข่าว และเรื่องพฤติกรรมของบรรดาแฟนเพลง
หนังสือพิมพ์เหล่านี้ได้ข่าว ได้รูป เล่มนี้ก็ต้องเสมอกัน วันไหนพลาดขึ้นมาก็ต้องทำรายงานถึงหัวหน้าข่าว และถูกภาคทัณฑ์ รายงานว่า “หลับ” ก็มีปรากฏมาแล้ว!!
เจอแรงกดดันมากๆ เข้า วินาทีนั้นเลยตัดสินใจโยนจริยธรรมไปที่ถนนพระราม 6
พยาบาลเข็นเตียงบิ๊กไปผ่าตัดสมอง ลูกล้อเตียงก็ไม่ขัดข้อง แต่...เข็นไม่ได้!! เพราะนักข่าวหัวใส ดันไปเอาเท้าสอดไว้
ช่างภาพบางคนกระโดดขวางรถ “บีม" กวี ตันจรารักษ์ จนเสียงเบรกเอี๊ยด!!
เพราะต้องการแชะรูปสักใบเท่านั้นเอง...
จากตัวอย่างที่ยกมา ดิฉันคิดว่าเป็นการทำงานของสื่อเพียงบางคน ขณะที่ยังเชื่อมั่นว่า เพื่อนสื่อด้วยกัน ยังมีจริยธรรม จรรยาบรรณ และยึดบรรทัดฐานการทำงานให้เหนียวแน่น
เราต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา และเตือนกัน อย่าให้คนส่วนน้อยมาทำลายภาพลักษณ์ของอาชีพ “สื่อสารมวลชน”
เพราะอาชีพนี้ มาพร้อมกับเกียรติและความน่าเชื่อถือค่ะ
'สื่อ'จาก'บิ๊ก ดีทูบี'ถึง'ปอ-ทฤษฎี' คอลัมน์ มองผ่านเลนส์คม โดย... นันทพร ไวศยะสุวรรณ์
'สื่อ'จาก'บิ๊ก ดีทูบี'ถึง'ปอ-ทฤษฎี'
“สื่อ”จากบิ๊ก ดีทูบี ถึง “ปอ” ทฤษฎี : คอลัมน์ มองผ่านเลนส์คม โดย... นันทพร ไวศยะสุวรรณ์
แม้วันนี้ร่างและดวงวิญญาณของพระเอกหนุ่ม "ปอ" ทฤษฎี จะไปสู่สรวงสวรรค์แล้ว ทว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่เขาทิ้งให้เราได้จดจำ ได้รำลึกถึง รวมไปถึงบทเรียนให้เราได้แก้ไขด้วย
ในพิธีพระราชทานเพลิงศพของเขา ทั้งงดงาม ทั้งยิ่งใหญ่ มีคนมากมายมาร่วมไว้อาลัย แม้บางคนจะเป็นเพียงผู้ชมผ่านหน้าจอเท่านั้น
พร้อมกันนั้น การจากไปของเขาก็สอนเราหลายๆ อย่าง....
สำหรับดิฉัน ภาพวันเคลื่อนศพจากโรงพยาบาลไป จ.บุรีรัมย์ ยังจำได้ติดตา
การเบียดเสียดแก่งแย่งของผู้สื่อข่าวและช่างภาพวันนั้น เป็นพฤติกรรมที่ละเมิดจริยธรรมพื้นฐานของสื่อมวลชนอย่างหาข้อแก้ตัวไม่ขึ้น
หลายกระทงที่ตกอยู่ในอาการสาหัส ทั้งการไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การละเมิดความเป็นส่วนตัวและคนในครอบครัวผู้เสียชีวิต เรื่อยไปถึงการเบียดเข้าไปดันพระสงฆ์ที่กำลังทำพิธีออกไปจนติดรั้ว ทั้งขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อีกด้วย
หลังจากถูกประณามอย่างหนัก หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ตั้งวงเสวนาหาทางแก้ไขอย่างกว้างขวาง ทั้งจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ, บรรณาธิการ, นักข่าว-ช่างภาพ มุมของนักวิชาการ และเสียงมหาชน เพื่อร่วมแก้ “ปัญหาสื่อละเมิดสิทธิ”
สิ่งที่หลายฝ่ายสะท้อนออกมา ทำให้เห็นถึงช่องว่าง และต้นเหตุ ที่ทำให้เกิดกรณีนี้
ปัจจุบันนักข่าวสายบันเทิงที่มีจำนวนมากขึ้น นักข่าวที่ไม่มีสังกัด ที่เรียกว่า “นักข่าวผี” ก็มีไม่น้อย สื่อออนไลน์ก็มากมายจนเกินที่จะนับจำนวนได้แน่นอน แถมคนทั่วไปที่เล่นโซเชียลมีเดียก็สามารถเป็นนักข่าวมือถือได้ไม่ยากนัก
เท่าที่ประมวลดู ได้เห็นความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง ก็มีความหวังว่าจะมีการจัดระเบียบการทำงานในอนาคตได้
แม้ออกจะเชื่อว่า มันอาจไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์!
ดิฉันไม่ได้ปรามาส แต่ที่ผ่านมามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
กรณีคนดัง คนที่อยู่ในใจประชาชนหลายคน ที่พอเกิดเหตุร้ายแรง มักจะเกิดความชุลมุนวุ่นวายจนกลายเป็นเรื่องปกติ
อย่างกรณี “บิ๊ก ดีทูบี” นักร้องหนุ่มที่ป่วยมานานหลายปี ทั้งรักษาตัวที่โรงพยาบาล และกลับมาทำกายภาพต่อที่บ้าน
บิ๊ก เป็นคนดัง เป็นที่รักของแฟนคลับ และประชาชนให้ความสนใจ ติดตามข่าวของเขาอย่างมาก
ซึ่งในจุลสารโรงพยาบาลวิชัยยุทธ เมื่อปี 2546 ได้เขียนบทความไว้น่าสนใจทีเดียว
ชื่อ บทเรียน “บิ๊ก” สอนใจเด็ก, นักข่าว และหมอ
ดิฉันขอคัดตอนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสื่ออย่างตรงไปตรงมา
...ระหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ 2 ทำให้เกิดความโกลาหลในหลายด้าน ตั้งแต่กองทัพแฟนเพลง ไปถึงกองทัพนักข่าว!!
รวมถึงกรณีอื่นๆ ที่จะเอามาเป็นตัวอย่าง เพื่อจะสร้างแนวทางแก้ไขต่อไปในอนาคตได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำความสะอาดคูน้ำ ไปจนถึงเรื่องนโยบายของโรงพยาบาลเอกชน และจริยธรรมของนักข่าว และเรื่องพฤติกรรมของบรรดาแฟนเพลง
หนังสือพิมพ์เหล่านี้ได้ข่าว ได้รูป เล่มนี้ก็ต้องเสมอกัน วันไหนพลาดขึ้นมาก็ต้องทำรายงานถึงหัวหน้าข่าว และถูกภาคทัณฑ์ รายงานว่า “หลับ” ก็มีปรากฏมาแล้ว!!
เจอแรงกดดันมากๆ เข้า วินาทีนั้นเลยตัดสินใจโยนจริยธรรมไปที่ถนนพระราม 6
พยาบาลเข็นเตียงบิ๊กไปผ่าตัดสมอง ลูกล้อเตียงก็ไม่ขัดข้อง แต่...เข็นไม่ได้!! เพราะนักข่าวหัวใส ดันไปเอาเท้าสอดไว้
ช่างภาพบางคนกระโดดขวางรถ “บีม" กวี ตันจรารักษ์ จนเสียงเบรกเอี๊ยด!!
เพราะต้องการแชะรูปสักใบเท่านั้นเอง...
จากตัวอย่างที่ยกมา ดิฉันคิดว่าเป็นการทำงานของสื่อเพียงบางคน ขณะที่ยังเชื่อมั่นว่า เพื่อนสื่อด้วยกัน ยังมีจริยธรรม จรรยาบรรณ และยึดบรรทัดฐานการทำงานให้เหนียวแน่น
เราต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา และเตือนกัน อย่าให้คนส่วนน้อยมาทำลายภาพลักษณ์ของอาชีพ “สื่อสารมวลชน”
เพราะอาชีพนี้ มาพร้อมกับเกียรติและความน่าเชื่อถือค่ะ