ถ้าผมเอาโทรศัพท์แช่ช่องฟิต จะพังไหมครับ?

คือช่วงนี้เห็นใน facebook เค้าโพสต์กันเรื่องอากาศหนาวเยอะมาก และก็แคปหน้าจออุณหภูมิ 12-14 องศามาอวดกัน คือผมก็อยู่ภาคใต้ อากาศแมร่งก็ร้อนสลัดอยากจะเอาอุณหภูมิเย็นๆ ในช่องฟิตไปอวดบ้าง ถ้าผมเอาโทรศัพท์ไปแช่ช่องฟิตสักชั่วโมง จะพังไหมครับ?
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ข้างบนตอบไปเรื่องที่ยังไงคุณก็คงไม่ทำแล้ว เพราะไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ของคุณ
แต่ถ้ามันได้ คือมันอ่านอุณหภูมิได้ แล้วคุณอยากทำ

มันมีความเสี่ยงอยู่บ้าง จากความชื้น เพราะอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ อ่อนไหวต่อความชื้น
ถ้าเอาของอะไรก็ตามจากเย็นๆ เปลี่ยนมาร้อนทันทีทันใด มันจะทำให้ไอน้ำรอบๆ ตัวในอากาศกลั่นตัว แล้วกลายเป็นหยดน้ำมาเกาะ
ก็แบบที่เราเรียนวิทย์ม.ต้น เราเอาแก้วมาใส่น้ำแข็ง วางเฉยๆ น้ำไม่ได้รั่วออก แต่มีน้ำเกาะข้างนอกแก้ว เราคงเห็นในชีวิตประจำวันกันแล้ว
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

เรื่องนี้ คนที่เป็นคนเล่นกล้อง มักได้รับคำเตือนอยู่บ่อยๆ หลายคนที่อ่านอยู่ที่ชอบเที่ยว ก็อาจเคยเจอด้วยตัวเองแล้ว เวลาไปเที่ยวเมืองหนาว ต้องให้กล้องปรับค่อยๆ ปรับอุณหภูมิ มิเช่นนั้น จะเห็นเลนส์เป็นฝ้า แล้วจะเซ็ง เพราะถ่ายรูปไปไม่ได้อีกนานกว่าจะคืนสภาพเดิม บางทีเป็นข้างในเลนส์ด้วย เพราะในเลนส์ ก็มีอากาศที่มีส่วนประกอบของน้ำอยู่ ยิ่งภายนอกเลนส์ กับภายในเลนส์ได้รับอุณหภูมิต่างกัน เหมือนกระจกรถยนต์ที่มีไอน้ำเกาะเวลาฝนตก... แบบนี้ เคยเจอกันบ่อย หลังจากนั้นเกิดราด้วยก็มาี ถ้าไม่กลับมาดูแลดูดความชื้นให้ดี
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

มือถือก็เช่นกัน ถ้ามันถูก "ช๊อค" ด้วยการเปลี่ยนอุณหภูมิทันทีทันใด ก็ "มีความเสี่ยง" ที่จะเกิดความชื้นที่กลั่นตัวจากไอน้ำในอากาศ แล้วช๊อตได้

นอกจากนี้ ความเสี่ยงอีกอย่าง แต่อาจเสี่ยงน้อยกว่าเรื่องความชื้น คือ จอ LCD ที่ย่อมาจาก "Liquid Crystal" Display มันทำงานโดยใช้ไฟฟ้าไปบังคับของเหลว นั่นคือภายในจอ มีสารผสม "Liquid Crystal" กึ่งของแข็งกึ่งของเหลว ใช้ไฟฟ้าบังคับ แบบที่ตอนเราเอามือไปกดแรง บางทีเห็นบนจอมันรวนๆ เพราะสารนี้เปลี่ยนรูป
ถ้าของเหลวพวกนี้ ถูกแช่ช่องฟรีซนานๆ จนมันจัดรูปใหม่ พอมันกลับสูู่อุณหภูมิปกติ ถ้าไม่คืนเหมือนเดิม ปล่อยไฟเข้าไปบังคับได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็คือจอพัง
แต่ที่ว่าเสี่ยงน้อยกว่า เพราะทราบมาว่า จุดเยือกแข็งมันสูงกว่าของเหลวปกติ เพราะไม่ใช่ของเหลวบริสุทธิ์แบบน้ำ แต่ผมไม่มีตัวเลข spec แค่นั้นเอง





อันนี้เป็นจอ TV หลักการเดียวกัน ข้ามไปดูตรงนาทีที่ 4
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่