คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ในหมายบังคับคดี ให้ลองอ่านดู เขาจะมีบอกว่าเป็นการประมูลแบบ "ปลอดจำนอง" หรือไม่ปลอดจำนอง
ถ้าปลอดจำนองหมายถึงว่า ผู้ประมูลได้ไม่ต้องไปจ่ายหนี้แบงค์อีกแล้ว ทางกรมดำเนินการให้หมด แต่ถ้าเป็น
แบบไม่ปลอด หมายความว่า ผู้ประมูลได้ ต้องไปเคลียร์หนี้กับแบงค์แทนลูกหนี้ค่ะ ซึ่งถ้าเป็นเคสแบบหลังนี้
ก็มักไม่มีใครสนใจ หรือประมูลได้ราคาต่ำมากๆ
เงินที่ได้จากการประมูล จ่ายหนี้แบงค์ก่อนนั้นถูกแล้ว เพราะแบงค์เขาเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ ถ้ามีเงินเหลือจึงจ่ายคุณ
และเจ้าหนี้อื่นๆ (ถ้ามีคนฟ้องร่วม) ดังนั้นโอกาสที่คุณจะไม่ได้รับการจ่ายหนี้มีมากค่ะ ซึ่งมีอีกวิธีนึงก็คือ
ถ้าเป็นการประมูลแบบปลอดจำนอง คุณควรไปประมูลขึ้นมา (ถ้าราคาไม่แพง) แล้วไปขายเอง เพื่อให้ได้เงินบ้าง
ส่วนการประมูลมีทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งแรกๆ อาจไม่มีใครเข้าประมูลก็ได้ ขึ้นกับสภาพบ้านและทำเล ฝ่ายเจ้าหนี้
คือคุณและแบงค์ มักเข้าไปดูการประมูลด้วย (โดยการมอบอำนาจให้ใครไปก็ได้) เผื่อว่าประมูลได้ราคาต่ำมาก
ก็จะได้คัดค้าน ลูกหนี้และเจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านราคาได้ เพียงครั้งเดียว ไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งค้าน ก็หมดสิทธิค้านแล้ว
ถ้าประมูลแล้ว จ่ายหนี้แบงค์แล้ว ไม่พอ คุณอยากได้เงินคืนก็ต้องตามสืบทรัพย์ต่อไปอีกว่าเขามีอะไรอีกไหมที่แอบซ่อนอยู่
ถ้าเจอ ก็ไปยื่นกรมบังคับคดีใหม่ หรือถ้าเงินได้น้อยมาก ทางแบงค์อาจฟ้องล้มละลายเพื่อนคุณก็ได้ ถ้าเขาฟ้องล้มละลาย
ไม่แน่ใจว่าคุณสามารถไปยื่นเป็นโจทก์ร่วมได้ไหม ต้องลองศึกษาดู
เรื่องหนี้สินที่ลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายมันทำให้เจ้าหนี้ปวดใจจริงๆ เราก็ประสบมาแล้ว
ถ้าปลอดจำนองหมายถึงว่า ผู้ประมูลได้ไม่ต้องไปจ่ายหนี้แบงค์อีกแล้ว ทางกรมดำเนินการให้หมด แต่ถ้าเป็น
แบบไม่ปลอด หมายความว่า ผู้ประมูลได้ ต้องไปเคลียร์หนี้กับแบงค์แทนลูกหนี้ค่ะ ซึ่งถ้าเป็นเคสแบบหลังนี้
ก็มักไม่มีใครสนใจ หรือประมูลได้ราคาต่ำมากๆ
เงินที่ได้จากการประมูล จ่ายหนี้แบงค์ก่อนนั้นถูกแล้ว เพราะแบงค์เขาเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ ถ้ามีเงินเหลือจึงจ่ายคุณ
และเจ้าหนี้อื่นๆ (ถ้ามีคนฟ้องร่วม) ดังนั้นโอกาสที่คุณจะไม่ได้รับการจ่ายหนี้มีมากค่ะ ซึ่งมีอีกวิธีนึงก็คือ
ถ้าเป็นการประมูลแบบปลอดจำนอง คุณควรไปประมูลขึ้นมา (ถ้าราคาไม่แพง) แล้วไปขายเอง เพื่อให้ได้เงินบ้าง
ส่วนการประมูลมีทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งแรกๆ อาจไม่มีใครเข้าประมูลก็ได้ ขึ้นกับสภาพบ้านและทำเล ฝ่ายเจ้าหนี้
คือคุณและแบงค์ มักเข้าไปดูการประมูลด้วย (โดยการมอบอำนาจให้ใครไปก็ได้) เผื่อว่าประมูลได้ราคาต่ำมาก
ก็จะได้คัดค้าน ลูกหนี้และเจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านราคาได้ เพียงครั้งเดียว ไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งค้าน ก็หมดสิทธิค้านแล้ว
ถ้าประมูลแล้ว จ่ายหนี้แบงค์แล้ว ไม่พอ คุณอยากได้เงินคืนก็ต้องตามสืบทรัพย์ต่อไปอีกว่าเขามีอะไรอีกไหมที่แอบซ่อนอยู่
ถ้าเจอ ก็ไปยื่นกรมบังคับคดีใหม่ หรือถ้าเงินได้น้อยมาก ทางแบงค์อาจฟ้องล้มละลายเพื่อนคุณก็ได้ ถ้าเขาฟ้องล้มละลาย
ไม่แน่ใจว่าคุณสามารถไปยื่นเป็นโจทก์ร่วมได้ไหม ต้องลองศึกษาดู
เรื่องหนี้สินที่ลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายมันทำให้เจ้าหนี้ปวดใจจริงๆ เราก็ประสบมาแล้ว
แสดงความคิดเห็น
ขายบ้าน จาก กรมบังคับคดีโคราช