เป็นทริปของพี่น้องสาธารณสุข...ไปเยือนภูแว แล้วนำมาต่อยอดการทำงานด้านสุขภาพ...บนฐานบริบทชุมชน
ซึ่งการไปครั้งนี้ พวกเรานำรถยนต์ไปจอดไว้ที่บ้านห้วยปูด ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ ...แล้วเดินขึ้นภูแว....ซึ่งเป็นเส้นทางที่ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวใช้กัน สภาพเส้นทางจะรกนิดหนึ่ง
แต่หลังจากไปสัมผัสมาแล้ว ต้องบอกว่าสุดยอด ทั้งความมันส์ วิวที่สวยในช่วงภูแวน้อย ไปยังยอดภูแว ...ภาพวิวทิวทัศน์ สวยมาก
หลังจากพวกเรากลับมาแล้ว...มีข้อเสนอต่อชุมชน สำหรับจัดการการท่องเที่ยว ดังนี้
1. การสร้างให้ชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติอันสำคัญแห่งนี้อย่างแท้จริง อย่าให้พวกเขาคิดแต่เพียงเป็นผู้อยู่อาศัยเท่านั้น
2. ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การตั้งกฎกติกาการท่องเที่ยว คุณภาพมาตรฐานการบริการ กำหนดราคาที่เป็นธรรม การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เสี่ยงต่อการปีนเขา ชุดความรู้เรื่องราวแหล่งท่องเที่ยว และที่สำคัญการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวด้วยความหวงแหน และรู้สึกถึงคุณค่าของดอยภูแวเอาไว้ให้นานเท่านาน
3. กฎกติกา การรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม เส้นเดิน จุดพักกางเต็นท์ มาตรฐาน บริเวณแหล่งท่องเที่ยวดอยภูแว ที่ควรคำนึง
1) การจัดการขยะที่เหมาะสม
2) การจัดการสิ่งปฏิกูลที่ไม่ส่งกระทบต่อสถานที่
3) ห้ามขีดเขียนหรือการกระทำที่ทำลายแหล่งท่องเที่ยว
4) ไม่ควรเสาะหาฟืนจากป่าใกล้ๆดอยแว แต่ควรนำมาจำหน่ายจากแหล่งอื่นในราคาที่เป็นธรรม
5) การกระทำที่ไม่ลบหลู่สถานที่ท่องเที่ยว
6) ป้ายเตือนจุดอันตราย ห้ามนักท่องเที่ยวเข้าไปใกล้หุบเหว หรือการปีนป่ายไปถ่ายรูปในจุดที่อันตราย
4. การยกระดับ “ลูกหาบ” ให้เป็น “มัคคุเทศก์ท้องถิ่น” ลูกหาบควรมีมาตรฐานในการบริการ มากกว่าการทำหน้าที่แค่รับจ้างหาบสิ่งของ หรือการนำทาง เพราะลูกหาบมีข้อมูลในท้องถิ่นมากมาย ที่จะบอกเล่า แบ่งปันให้กับผู้ที่มาเยือน
5. มาตรฐานที่ลูกหาบควรจะมีนอกจากพละกำลังการแบกหาม ได้แก่ บอกกฎกติกาการท่องเที่ยว การสื่อสารข้อมูลการท่องเที่ยว(ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี พันธุ์พืช สัตว์ ฯลฯ) การถ่ายภาพเบื้องต้น ไม่ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ มีความสุภาพเรียบร้อย มีจิตใจที่พร้อมบริการ
6. ชุมชนควรปลูกไม้หายาก หรือไม้ในท้องถิ่นเพิ่มความสวยงาม และความสมบูรณ์ของธรรมชาติ เช่น ต้นพญาเสือโคร่ง ต้นไทร ต้นหว้า หรือต้นไม้ที่ให้นกหรือสัตว์ป่าได้อาศัยเป็นอาหาร
7. สถานที่ท่องเที่ยว “ดอยภูแว” ความเป็นเอกลักษณ์หรือเสน่ห์ของแห่งนี้คือ การเดินเท้าทางเข้าไป ไม่ใช่การใช้รถ ฉะนั้นไม่ควรตัดถนนทุกรูปแบบเข้าไปสถานที่ท่องเที่ยว ไม่เช่นนั้นกระแสความนิยมก็จะลดลงไปอย่างแน่นอน
เมื่อนักสาธารณสุข...ไปเยือนภูแว
เป็นทริปของพี่น้องสาธารณสุข...ไปเยือนภูแว แล้วนำมาต่อยอดการทำงานด้านสุขภาพ...บนฐานบริบทชุมชน
ซึ่งการไปครั้งนี้ พวกเรานำรถยนต์ไปจอดไว้ที่บ้านห้วยปูด ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ ...แล้วเดินขึ้นภูแว....ซึ่งเป็นเส้นทางที่ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวใช้กัน สภาพเส้นทางจะรกนิดหนึ่ง
แต่หลังจากไปสัมผัสมาแล้ว ต้องบอกว่าสุดยอด ทั้งความมันส์ วิวที่สวยในช่วงภูแวน้อย ไปยังยอดภูแว ...ภาพวิวทิวทัศน์ สวยมาก
หลังจากพวกเรากลับมาแล้ว...มีข้อเสนอต่อชุมชน สำหรับจัดการการท่องเที่ยว ดังนี้
1. การสร้างให้ชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติอันสำคัญแห่งนี้อย่างแท้จริง อย่าให้พวกเขาคิดแต่เพียงเป็นผู้อยู่อาศัยเท่านั้น
2. ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การตั้งกฎกติกาการท่องเที่ยว คุณภาพมาตรฐานการบริการ กำหนดราคาที่เป็นธรรม การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เสี่ยงต่อการปีนเขา ชุดความรู้เรื่องราวแหล่งท่องเที่ยว และที่สำคัญการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวด้วยความหวงแหน และรู้สึกถึงคุณค่าของดอยภูแวเอาไว้ให้นานเท่านาน
3. กฎกติกา การรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม เส้นเดิน จุดพักกางเต็นท์ มาตรฐาน บริเวณแหล่งท่องเที่ยวดอยภูแว ที่ควรคำนึง
1) การจัดการขยะที่เหมาะสม
2) การจัดการสิ่งปฏิกูลที่ไม่ส่งกระทบต่อสถานที่
3) ห้ามขีดเขียนหรือการกระทำที่ทำลายแหล่งท่องเที่ยว
4) ไม่ควรเสาะหาฟืนจากป่าใกล้ๆดอยแว แต่ควรนำมาจำหน่ายจากแหล่งอื่นในราคาที่เป็นธรรม
5) การกระทำที่ไม่ลบหลู่สถานที่ท่องเที่ยว
6) ป้ายเตือนจุดอันตราย ห้ามนักท่องเที่ยวเข้าไปใกล้หุบเหว หรือการปีนป่ายไปถ่ายรูปในจุดที่อันตราย
4. การยกระดับ “ลูกหาบ” ให้เป็น “มัคคุเทศก์ท้องถิ่น” ลูกหาบควรมีมาตรฐานในการบริการ มากกว่าการทำหน้าที่แค่รับจ้างหาบสิ่งของ หรือการนำทาง เพราะลูกหาบมีข้อมูลในท้องถิ่นมากมาย ที่จะบอกเล่า แบ่งปันให้กับผู้ที่มาเยือน
5. มาตรฐานที่ลูกหาบควรจะมีนอกจากพละกำลังการแบกหาม ได้แก่ บอกกฎกติกาการท่องเที่ยว การสื่อสารข้อมูลการท่องเที่ยว(ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี พันธุ์พืช สัตว์ ฯลฯ) การถ่ายภาพเบื้องต้น ไม่ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ มีความสุภาพเรียบร้อย มีจิตใจที่พร้อมบริการ
6. ชุมชนควรปลูกไม้หายาก หรือไม้ในท้องถิ่นเพิ่มความสวยงาม และความสมบูรณ์ของธรรมชาติ เช่น ต้นพญาเสือโคร่ง ต้นไทร ต้นหว้า หรือต้นไม้ที่ให้นกหรือสัตว์ป่าได้อาศัยเป็นอาหาร
7. สถานที่ท่องเที่ยว “ดอยภูแว” ความเป็นเอกลักษณ์หรือเสน่ห์ของแห่งนี้คือ การเดินเท้าทางเข้าไป ไม่ใช่การใช้รถ ฉะนั้นไม่ควรตัดถนนทุกรูปแบบเข้าไปสถานที่ท่องเที่ยว ไม่เช่นนั้นกระแสความนิยมก็จะลดลงไปอย่างแน่นอน