สกู๊ปหน้า 1 นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 21 ม.ค. 2559 : สูตรเรียกสินสอด จ่ายเท่าไรลงตัว
.
.
ไม่ว่านิยามของความรักเป็นเช่นไร เมื่อความรักบ่มตัวจนสุกงอมได้ที่ หรือคู่รักพร้อมจะใช้ชีวีร่วมกัน...การแต่งงาน คือ ธรรมเนียมปฏิบัติดีงามที่ตามมา
.
แต่ก็มีคำถามจนได้ว่า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ หากคู่รักคิดจะแต่งงานกัน ฝ่ายเจ้าบ่าวควรต้องเตรียมเงินทองไว้เป็นค่าใช้จ่ายกี่มากน้อย หรืออีกนัย พ่อแม่ฝ่ายเจ้าสาวควรจะเรียกสินสอดเป็นจำนวนเท่าไร จึงจะสมน้ำสมเนื้อ แต่ไม่เป็นภาระกระอักเลือดแก่อีกฝ่าย
.
วันนี้ คอลัมน์สกู๊ปหน้า 1 มีข้อมูลน่าสนใจจาก
ภศุ ร่วมความคิด เจ้าของผลงานวิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) แห่งคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มาฝาก ในหัวข้อ
“ถ้าฉันจะแต่งงาน ควรได้รับ หรือต้องจ่ายสินสอดเท่าไร”
.
วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ ประเมินมูลค่าสินสอด โดยใช้แบบจำลองที่เรียกว่า เฮดโดนิค (Hedonic Pricing Model : HPM)
.
ภศุบอกว่า ในทางเศรษฐศาสตร์ การแต่งงานถือเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิงอย่างหนึ่ง (Binding Commitment) นอกจากนี้ ในวัฒนธรรมไทย
“การให้สินสอด” ยังถือเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของพิธีแต่งงาน
.
“สินสอด” จึงเป็นราคาในทางเศรษฐศาสตร์รูปแบบหนึ่งของข้อตกลงแต่งงาน (หรือหมั้น) เพียงแต่มิได้มีการซื้อขายผ่านตลาด (Non-Marketable Trade) จึงไม่มีราคาตลาด (Non-Market Price) รวมทั้งไม่สามารถใช้วิธีการทั่วไปในการประเมินมูลค่าได้
.
ราคาของสินสอด มักถูกกำหนดผ่านกระบวนการเจรจาต่อรอง เรียกว่า
“การเจรจาสินสอด” โดยในการเรียกสินสอดของฝ่ายหญิง มักมีการตกลงเบื้องต้นก่อนขั้นตอนการเจรจาสู่ขอจริง
.
ถ้าฝ่ายหญิงเรียกสินสอดที่สูงเกินไป ฝ่ายชายก็จะทำการต่อรอง จนกระทั่งได้มูลค่าสินสอดที่ฝ่ายหญิงพอใจ และฝ่ายชายสามารถจ่ายได้
.
เนื่องจาก
“สินสอด” ไม่มีราคาทางตลาด ภศุบอกว่า เขาจึงใช้แบบจำลอง เฮดโดนิค เข้ามาอธิบาย โดยผนวกเอาตัวแปรคุณลักษณะต่างๆของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเข้ามาวิเคราะห์ แทนที่จะเป็นตัวแปรของตลาด โดยคู่บ่าวสาว ก็ถือเป็นผู้ร่วมต่อรองราคาซึ่งกัน
.
ท้ายที่สุดแล้ว จะทำให้
“มูลค่าของสินสอด” หลังการต่อรองของทั้งสองฝ่าย อยู่ที่ระดับ
“ราคาดุลยภาพ” (Equilibrium Price)
.
ภศุบอกว่า มูลค่าและราคาของสินสอดเป็นสิ่งเดียวกัน แต่
“มูลค่าสินสอดที่ฝ่ายชายเต็มใจจะจ่าย” (Willingness to Pay) ไม่จำเป็นต้องมีค่าเท่ากับ
“มูลค่าสินสอดที่ฝ่ายหญิงพึงจะรับ” (Willingness to Accept)
.
เขาใช้แบบจำลองแยกวิเคราะห์ ศึกษา และเก็บข้อมูลตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามกับคู่แต่งงานจำนวน 220 คู่ หรือ 440 คน ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีข้อมูลของคู่แต่งงานตั้งแต่ปี 2526 ถึง 2550 ภายใต้ระยะเวลาที่คู่แต่งงานคบหากันก่อนแต่งงานนานที่สุด 18 ปี และสั้นที่สุด 1 ปี หรือมีค่าเฉลี่ยประมาณ 5 ปีครึ่ง
.
ภศุบอกว่า จากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาพบว่า มูลค่าของสินสอดที่ฝ่ายหญิงมีการเรียกจากฝ่ายชายสูงสุด มีมูลค่าเกือบ 6.7 ล้านบาท และต่ำสุดอยู่ที่ หมื่นกว่าบาท เมื่อคำนวณออกมาเป็นค่าเฉลี่ยของสินสอด จะอยู่ที่ประมาณ 5 แสนบาท
.
เขาบอกว่า จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาสินสอด ขึ้นอยู่กับระดับรายได้ การศึกษา ภาระรับผิดชอบต่อครอบครัว และการได้แต่งงานเป็นบุคคลลำดับที่เท่าไรของบ้าน
.
เช่น เมื่อคู่แต่งงาน (ฝ่ายชายหรือหญิง) มีระดับรายได้สูงขึ้น 1 บาท จะทำให้มูลค่าของสินสอดเพิ่มขึ้นไป 2 บาทเศษ เมื่ออายุของคู่แต่งงานสูงขึ้น 1 ปี จะทำให้มูลค่าสินสอดเพิ่มขึ้นไปอีก 8,986 บาท หากคู่แต่งงานมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ มูลค่าสินสอดจะเพิ่มขึ้นไปอีก 174,818 บาท
.
และหากคู่แต่งงานออกเรือนหรือแต่งงานเป็นคนแรกของครอบครัว จะทำให้มูลค่าของสินสอดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไปอีก 227,064 บาท
.
...ภศุบอก ดูเหมือนว่าการแต่งงานเร็วจะดี เพราะรายได้ยังต่ำ และอายุก็น้อย มูลค่าของสินสอดก็พลอยต่ำตามไปด้วย แต่จากการประมวลผลแบบแยกฝ่ายชายออกจากฝ่ายหญิง เขาว่า กลับให้ผลการศึกษาดังนี้
.
เมื่อฝ่ายชายมีรายได้สูงขึ้น 1 เท่า จะเต็มใจจ่ายค่าสินสอดให้ฝ่ายหญิงเพิ่มขึ้น 20% แต่ถ้าฝ่ายหญิงเป็นผู้มีรายได้สูงขึ้น 1 เท่า กลับต้องการจะเรียกค่าสินสอดจากฝ่ายชายเพิ่มขึ้นถึง 32%
.
นอกจากนี้ระยะเวลาในการคบหา และตำแหน่งหน้าที่การงานของฝ่ายหญิง ยังเป็นอีก 2 ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายค่าสินสอดเพิ่มขึ้นของฝ่ายชาย รวมทั้งความเป็นคนกรุงเทพฯของฝ่ายหญิงยังมีผลต่อการเรียกค่าสินสอดเพิ่มขึ้นของฝ่ายหญิงด้วย แต่ไม่มีผลกับฝ่ายชาย
.
ภศุยกตัวอย่าง หากคู่บ่าวสาว ต่างมีรายได้เฉลี่ยคนละ 20,000 บาทต่อเดือน มีอายุ 30 ปี ทั้งคู่เป็นคนกรุงเทพฯ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และแต่งงานเป็นคนแรกของครอบครัว โดยที่ต่างคนต่างไม่มีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัวของตน และทั้งคู่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง
.
ค่าสินสอดที่ถือว่าได้ดุลยภาพ จะคำนวณออกมาได้เป็น (2.2205 ×รายได้ต่อเดือน) + (8,986.92×อายุ) + (ถ้าเป็นคนกรุงเทพฯ 174,818.6) + (227,064.1 ถ้าแต่งงานเป็นลำดับแรกของครอบครัว)
.
หรือเท่ากับ (2.2205×20,000 บาท) + (8,986.92×30 ปี) + (174,818.6 เพราะเป็นคนกรุงเทพฯ) + (227,064.1 เพราะแต่งงานเป็นคนแรกของบ้าน) ค่าสินสอดที่เหมาะสม คือ 715,590.3 บาท
.
แต่ถ้าเปลี่ยนโจทย์ใหม่เป็นว่า คู่สมรส จบการศึกษาไม่เกินระดับมัธยม หรือ ปวช. ต่างมีรายได้เฉลี่ย 20,000 บาทต่อเดือน มีอายุ 30 ปี ทั้งคู่เป็นคนกรุงเทพฯและแต่งงานเป็นคนแรกของครอบครัว โดยที่ต่างคนต่าง มีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัวของตน แต่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง
.
มูลค่าของสินสอดที่เหมาะสมจะกลายเป็น (2.2205 × รายได้ต่อเดือน) + (8,986.92×อายุ) + (เพราะเป็นคนกรุงเทพฯ 174,818.6) - (454,350.5 เพราะจบการศึกษาไม่เกินมัธยม/ปวช.) + (227,064.1 เพราะแต่งงานเป็นลำดับแรกของครอบครัว) - (134,160.8 เพราะมีภาระต้องดูแลครอบครัวของตน) ค่าสินสอดที่เหมาะสมคือ 127,389 บาท
.
เขาบอกว่า จากตัวอย่างข้างต้น เป็นเพียง ค่าสินสอด อย่างเดียวเท่านั้น ยังไม่รวมค่าชุดแต่งงาน ค่าถ่ายรูปพรีเวดดิ้ง ค่าสถานที่จัดงานเลี้ยง ค่าขันหมาก ของชำร่วย ค่าแต่งหน้า ทำผม ค่าดนตรี ค่า อาหาร ฯลฯ
.
แต่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะท้ายที่สุดแล้ว ทั้งหลายทั้งปวงคงขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน หากตกลงกันได้บนพื้นฐานของความรักและความเข้าใจ มูลค่าของสินสอด อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญเลยก็ได้.
.
ที่มา :
http://www.thairath.co.th/content/565362
.
--------------------------------
.
สรุปสั้นๆ ก็ตรงที่เน้นตามตัวหนาและขีดเส้นใต้แหละครับ คือ
“ชาติกำเนิด รายได้ และตำแหน่งหน้าที่ของฝ่ายหญิง มีผลสอดคล้องกับอัตราสินสอด” ฉะนั้นชายใดอยาก
“เด็ดดอกฟ้า” ก็ต้องพยายามกันมากๆ หลายเท่าตัว
.
เอิกๆ
[สกู๊ปไทยรัฐ] นักเศรษฐศาสตร์ระบุ “ผู้หญิงชอบคนรวย” ผ่าน “ดัชนีสินสอด” ชี้ยิ่ง “สถานะสูง” ยิ่งเรียกมาก!!!
.
.
ไม่ว่านิยามของความรักเป็นเช่นไร เมื่อความรักบ่มตัวจนสุกงอมได้ที่ หรือคู่รักพร้อมจะใช้ชีวีร่วมกัน...การแต่งงาน คือ ธรรมเนียมปฏิบัติดีงามที่ตามมา
.
แต่ก็มีคำถามจนได้ว่า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ หากคู่รักคิดจะแต่งงานกัน ฝ่ายเจ้าบ่าวควรต้องเตรียมเงินทองไว้เป็นค่าใช้จ่ายกี่มากน้อย หรืออีกนัย พ่อแม่ฝ่ายเจ้าสาวควรจะเรียกสินสอดเป็นจำนวนเท่าไร จึงจะสมน้ำสมเนื้อ แต่ไม่เป็นภาระกระอักเลือดแก่อีกฝ่าย
.
วันนี้ คอลัมน์สกู๊ปหน้า 1 มีข้อมูลน่าสนใจจาก ภศุ ร่วมความคิด เจ้าของผลงานวิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) แห่งคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มาฝาก ในหัวข้อ “ถ้าฉันจะแต่งงาน ควรได้รับ หรือต้องจ่ายสินสอดเท่าไร”
.
วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ ประเมินมูลค่าสินสอด โดยใช้แบบจำลองที่เรียกว่า เฮดโดนิค (Hedonic Pricing Model : HPM)
.
ภศุบอกว่า ในทางเศรษฐศาสตร์ การแต่งงานถือเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิงอย่างหนึ่ง (Binding Commitment) นอกจากนี้ ในวัฒนธรรมไทย “การให้สินสอด” ยังถือเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของพิธีแต่งงาน
.
“สินสอด” จึงเป็นราคาในทางเศรษฐศาสตร์รูปแบบหนึ่งของข้อตกลงแต่งงาน (หรือหมั้น) เพียงแต่มิได้มีการซื้อขายผ่านตลาด (Non-Marketable Trade) จึงไม่มีราคาตลาด (Non-Market Price) รวมทั้งไม่สามารถใช้วิธีการทั่วไปในการประเมินมูลค่าได้
.
ราคาของสินสอด มักถูกกำหนดผ่านกระบวนการเจรจาต่อรอง เรียกว่า “การเจรจาสินสอด” โดยในการเรียกสินสอดของฝ่ายหญิง มักมีการตกลงเบื้องต้นก่อนขั้นตอนการเจรจาสู่ขอจริง
.
ถ้าฝ่ายหญิงเรียกสินสอดที่สูงเกินไป ฝ่ายชายก็จะทำการต่อรอง จนกระทั่งได้มูลค่าสินสอดที่ฝ่ายหญิงพอใจ และฝ่ายชายสามารถจ่ายได้
.
เนื่องจาก “สินสอด” ไม่มีราคาทางตลาด ภศุบอกว่า เขาจึงใช้แบบจำลอง เฮดโดนิค เข้ามาอธิบาย โดยผนวกเอาตัวแปรคุณลักษณะต่างๆของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเข้ามาวิเคราะห์ แทนที่จะเป็นตัวแปรของตลาด โดยคู่บ่าวสาว ก็ถือเป็นผู้ร่วมต่อรองราคาซึ่งกัน
.
ท้ายที่สุดแล้ว จะทำให้ “มูลค่าของสินสอด” หลังการต่อรองของทั้งสองฝ่าย อยู่ที่ระดับ “ราคาดุลยภาพ” (Equilibrium Price)
.
ภศุบอกว่า มูลค่าและราคาของสินสอดเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ “มูลค่าสินสอดที่ฝ่ายชายเต็มใจจะจ่าย” (Willingness to Pay) ไม่จำเป็นต้องมีค่าเท่ากับ “มูลค่าสินสอดที่ฝ่ายหญิงพึงจะรับ” (Willingness to Accept)
.
เขาใช้แบบจำลองแยกวิเคราะห์ ศึกษา และเก็บข้อมูลตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามกับคู่แต่งงานจำนวน 220 คู่ หรือ 440 คน ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีข้อมูลของคู่แต่งงานตั้งแต่ปี 2526 ถึง 2550 ภายใต้ระยะเวลาที่คู่แต่งงานคบหากันก่อนแต่งงานนานที่สุด 18 ปี และสั้นที่สุด 1 ปี หรือมีค่าเฉลี่ยประมาณ 5 ปีครึ่ง
.
ภศุบอกว่า จากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาพบว่า มูลค่าของสินสอดที่ฝ่ายหญิงมีการเรียกจากฝ่ายชายสูงสุด มีมูลค่าเกือบ 6.7 ล้านบาท และต่ำสุดอยู่ที่ หมื่นกว่าบาท เมื่อคำนวณออกมาเป็นค่าเฉลี่ยของสินสอด จะอยู่ที่ประมาณ 5 แสนบาท
.
เขาบอกว่า จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาสินสอด ขึ้นอยู่กับระดับรายได้ การศึกษา ภาระรับผิดชอบต่อครอบครัว และการได้แต่งงานเป็นบุคคลลำดับที่เท่าไรของบ้าน
.
เช่น เมื่อคู่แต่งงาน (ฝ่ายชายหรือหญิง) มีระดับรายได้สูงขึ้น 1 บาท จะทำให้มูลค่าของสินสอดเพิ่มขึ้นไป 2 บาทเศษ เมื่ออายุของคู่แต่งงานสูงขึ้น 1 ปี จะทำให้มูลค่าสินสอดเพิ่มขึ้นไปอีก 8,986 บาท หากคู่แต่งงานมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ มูลค่าสินสอดจะเพิ่มขึ้นไปอีก 174,818 บาท
.
และหากคู่แต่งงานออกเรือนหรือแต่งงานเป็นคนแรกของครอบครัว จะทำให้มูลค่าของสินสอดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไปอีก 227,064 บาท
.
...ภศุบอก ดูเหมือนว่าการแต่งงานเร็วจะดี เพราะรายได้ยังต่ำ และอายุก็น้อย มูลค่าของสินสอดก็พลอยต่ำตามไปด้วย แต่จากการประมวลผลแบบแยกฝ่ายชายออกจากฝ่ายหญิง เขาว่า กลับให้ผลการศึกษาดังนี้
.
เมื่อฝ่ายชายมีรายได้สูงขึ้น 1 เท่า จะเต็มใจจ่ายค่าสินสอดให้ฝ่ายหญิงเพิ่มขึ้น 20% แต่ถ้าฝ่ายหญิงเป็นผู้มีรายได้สูงขึ้น 1 เท่า กลับต้องการจะเรียกค่าสินสอดจากฝ่ายชายเพิ่มขึ้นถึง 32%
.
นอกจากนี้ระยะเวลาในการคบหา และตำแหน่งหน้าที่การงานของฝ่ายหญิง ยังเป็นอีก 2 ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายค่าสินสอดเพิ่มขึ้นของฝ่ายชาย รวมทั้งความเป็นคนกรุงเทพฯของฝ่ายหญิงยังมีผลต่อการเรียกค่าสินสอดเพิ่มขึ้นของฝ่ายหญิงด้วย แต่ไม่มีผลกับฝ่ายชาย
.
ภศุยกตัวอย่าง หากคู่บ่าวสาว ต่างมีรายได้เฉลี่ยคนละ 20,000 บาทต่อเดือน มีอายุ 30 ปี ทั้งคู่เป็นคนกรุงเทพฯ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และแต่งงานเป็นคนแรกของครอบครัว โดยที่ต่างคนต่างไม่มีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัวของตน และทั้งคู่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง
.
ค่าสินสอดที่ถือว่าได้ดุลยภาพ จะคำนวณออกมาได้เป็น (2.2205 ×รายได้ต่อเดือน) + (8,986.92×อายุ) + (ถ้าเป็นคนกรุงเทพฯ 174,818.6) + (227,064.1 ถ้าแต่งงานเป็นลำดับแรกของครอบครัว)
.
หรือเท่ากับ (2.2205×20,000 บาท) + (8,986.92×30 ปี) + (174,818.6 เพราะเป็นคนกรุงเทพฯ) + (227,064.1 เพราะแต่งงานเป็นคนแรกของบ้าน) ค่าสินสอดที่เหมาะสม คือ 715,590.3 บาท
.
แต่ถ้าเปลี่ยนโจทย์ใหม่เป็นว่า คู่สมรส จบการศึกษาไม่เกินระดับมัธยม หรือ ปวช. ต่างมีรายได้เฉลี่ย 20,000 บาทต่อเดือน มีอายุ 30 ปี ทั้งคู่เป็นคนกรุงเทพฯและแต่งงานเป็นคนแรกของครอบครัว โดยที่ต่างคนต่าง มีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัวของตน แต่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง
.
มูลค่าของสินสอดที่เหมาะสมจะกลายเป็น (2.2205 × รายได้ต่อเดือน) + (8,986.92×อายุ) + (เพราะเป็นคนกรุงเทพฯ 174,818.6) - (454,350.5 เพราะจบการศึกษาไม่เกินมัธยม/ปวช.) + (227,064.1 เพราะแต่งงานเป็นลำดับแรกของครอบครัว) - (134,160.8 เพราะมีภาระต้องดูแลครอบครัวของตน) ค่าสินสอดที่เหมาะสมคือ 127,389 บาท
.
เขาบอกว่า จากตัวอย่างข้างต้น เป็นเพียง ค่าสินสอด อย่างเดียวเท่านั้น ยังไม่รวมค่าชุดแต่งงาน ค่าถ่ายรูปพรีเวดดิ้ง ค่าสถานที่จัดงานเลี้ยง ค่าขันหมาก ของชำร่วย ค่าแต่งหน้า ทำผม ค่าดนตรี ค่า อาหาร ฯลฯ
.
แต่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะท้ายที่สุดแล้ว ทั้งหลายทั้งปวงคงขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน หากตกลงกันได้บนพื้นฐานของความรักและความเข้าใจ มูลค่าของสินสอด อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญเลยก็ได้.
.
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/565362
.
--------------------------------
.
สรุปสั้นๆ ก็ตรงที่เน้นตามตัวหนาและขีดเส้นใต้แหละครับ คือ “ชาติกำเนิด รายได้ และตำแหน่งหน้าที่ของฝ่ายหญิง มีผลสอดคล้องกับอัตราสินสอด” ฉะนั้นชายใดอยาก “เด็ดดอกฟ้า” ก็ต้องพยายามกันมากๆ หลายเท่าตัว
.
เอิกๆ