มูลค่า “สินสอด” ในงานแต่งควรเป็นเท่าไหร่ดี?
ในงานแต่งงาน หัวข้อที่ผู้หญิงมักหยิบยกขึ้นมาคือ “ควรจะเรียกสินสอดเท่าใด” เช่นเดียวกับผู้ชายว่า “ควรจะให้สินสอดเท่าใด” และเราเองก็มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก การศึกษาเชิงประจักษ์ชิ้นนี้จะช่วยให้แนวทางกับเรา
“การแต่งงาน” ในทางเศรษฐศาสตร์ นับว่าเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกัน (Binding Commitment) ระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และในวัฒนธรรมไทย “การให้สินสอด” ถือเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการแต่งงาน
“สินสอด” จัดเป็นราคาในทางเศรษฐศาสตร์ในรูปแบบหนึ่งของข้อตกลงแต่งงาน(หรือหมั้น) แต่ไม่ได้มีการซื้อขายผ่านตลาด (Non-Marketable Trade) จึงไม่มีราคาตลาด (Non-Market Price) และก็ไม่สามารถใช้วิธีการทั่วไปในการประเมินมูลค่าได้ ราคาของสินสอดจึงถูกกำหนดผ่านกระบวนการเจรจาต่อรอง เรียกว่า “การเจรจาสินสอด” โดยในการเรียกสินสอดของฝ่ายหญิง มักมีการตกลงเบื้องต้นก่อนขั้นตอนการเจรจาสู่ขอจริง ถ้าฝ่ายหญิงเรียกสินสอดที่สูงเกินไป ฝ่ายชายก็จะทำการต่อรอง จนกระทั่งได้มูลค่าสินสอดที่ฝ่ายหญิงพอใจ และฝ่ายชายสามารถจ่ายได้ ซึ่งปกติแล้ว การสร้างข้อตกลงร่วมกันก็สามารถนำไปสู่ความมีประสิทธิภาพได้ (Lundberg and Pollak, 2001)
เนื่องจาก “สินสอด” ไม่มีราคาทางตลาด ภศุ (2549) จึงใช้แบบจำลองเฮดโดนิค (Hedonic Pricing Model: HPM) เข้ามาอธิบาย โดยเป็นการผนวกเอาตัวแปรคุณลักษณะต่างๆ ของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงเข้ามาวิเคราะห์แทนที่จะเป็นตัวแปรของตลาด เพราะหาข้อมูลไม่ได้ และคู่บ่าวสาวก็ถือเป็นผู้ร่วมต่อรองราคาซึ่งกันและกัน
“มูลค่าของสินสอด” ภายหลังจากการต่อรองของทั้งสองฝ่ายจะอยู่ที่ระดับ “ราคาดุลยภาพ” (Equilibrium Price) [ในงานของภศุ มูลค่าและราคาของสินสอดเป็นสิ่งเดียวกัน] ขณะที่ “มูลค่าสินสอดที่ฝ่ายชายเต็มใจจะจ่าย” (Willingness to Pay) ก็จะไม่ได้จำเป็นต้องมีค่าเท่ากันกับ “มูลค่าสินสอดที่ฝ่ายหญิงพึงจะรับ” (Willingness to Accept) โดยแบบจำลองแยกวิเคราะห์ได้
……….
การศึกษาทำการเก็บข้อมูลในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยแบบสอบถามจากคู่แต่งงานจำนวน 220 คู่ หรือ 440 คน ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีข้อมูลของคู่แต่งงานตั้งแต่ปี 2526 ถึง 2550 ระยะเวลาที่คบหากันก่อนแต่งงานนานที่สุด 18 ปี และสั้นที่สุด 1 ปี เฉลี่ยประมาณ 5 ปีครึ่ง
“ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างคู่บ่าวสาว (จากบทความ)”
[เนื่องจากเป็นการเก็บข้อมูลในช่วงปี 2549 ซึ่งราคาทองคำยังไม่สูงเท่าปัจจุบัน] มูลค่าสินสอดสูงที่สุดคือเกือบ 6.7 ล้านบาท และต่ำที่สุดคือ 1 หมื่นกว่าบาท เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5 แสนบาท จำแนกลงรายละเอียดได้ว่า มูลค่าเงินสดสูงที่สุดคือ 1.7 ล้านบาท เฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 แสนบาท และทอง 99 บาท เฉลี่ยอยู่ที่ 10 บาท
“ข้อมูลทั่วไปของสินสอด (จากบทความ)”
……….
ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่มีผลต่อมูลค่าสินสอด ได้แก่ ระดับรายได้ ระดับการศึกษา การมีภาระรับผิดชอบต่อครอบครัว และการแต่งงานเป็นลำดับแรกของครอบครัว
ขณะที่ทรัพย์สินมีผลน้อยมาก และภาระความรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการแต่งงานและอาชีพไม่มีผลต่อมูลค่าสินสอด
“ผลการประมาณค่าสมการมูลค่าสินสอด (จากบทความ)”
* ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 ** ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
โดยที่ แบบจำลองที่ 1 คือ แบบจำลองสมการเส้นตรงจากข้อมูลรวมฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
แบบจำลองที่ 2 คือ แบบจำลองสมการลอการึทึมจากข้อมูลรวมฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
แบบจำลองที่ 3 คือ แบบจำลองสมการลอการึทึมจากข้อมูลฝ่ายชาย
แบบจำลองที่ 4 คือ แบบจำลองสมการลอการึทึมจากข้อมูลฝ่ายหญิง
……….
ในแบบจำลองสมการเส้นตรง (สมการที่หนึ่ง) พบว่า เมื่อคู่แต่งงาน (ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง) มีระดับรายได้สูงขึ้น 1 บาท จะทำให้มูลค่าสินสอดเพิ่มขึ้น 2.205 บาท และเมื่ออายุของคู่แต่งงานสูงขึ้น 1 ปี จะทำให้มูลค่าสินสอดเพิ่มขึ้น 8,986.92 บาท หรือถ้าภูมิลำเนา เป็นคนกรุงเทพฯ มูลค่าสินสอดจะเพิ่มขึ้น 174,818.6 บาท
[ดูเหมือนว่าแต่งงานเร็วๆ ก็จะดี เพราะรายได้จะต่ำ และอายุก็น้อย มูลค่าของสินสอดก็จะต่ำไปด้วย]
การประมวลผลแบบแยกฝ่ายชายและฝ่ายหญิง(ของแบบจำลองสมการลอการึทึมแบบจำลองที่สามและสี่) ให้ผลการศึกษาบางประเด็นที่น่าสนใจ
เมื่อฝ่ายชายมีรายได้สูงขึ้น 1 เท่า จะเต็มใจจ่ายค่าสินสอดเพิ่มขึ้น 20% ขณะที่หากฝ่ายหญิงมีรายได้สูงขึ้น 1 เท่า จะต้องการเรียกค่าสินสอดเพิ่มขึ้น 32%
ระยะเวลาในการคบหา และ ตำแหน่งหน้าที่การงาน มีผลต่อความเต็มใจจ่ายค่าสินสอดเพิ่มขึ้นสำหรับฝ่ายชาย โดยไม่มีผลกับฝ่ายหญิง
ความเป็นคนกรุงเทพ และ ภาระความรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน มีผลต่อความเต็มใจเรียกค่าสินสอดเพิ่มขึ้นสำหรับฝ่ายหญิง โดยไม่มีผลกับฝ่ายชาย
สำหรับคู่ที่กำลังจะแต่งงาน ขอเสนอให้ลองใช้แบบจำลองที่หนึ่งคำนวณมูลค่าสินสอด โดยการแทน”ค่าเฉลี่ย”ของคู่บ่าวสาวเข้าไปในสมการ
มูลค่าสินสอด = (2.2205 x รายได้ต่อเดือน) + (8986.92 x อายุ) + (174818.6 หากเป้นคนกรุงเทพฯ) – (454350.5 หากจบการศึกษาไม่เกินมัธยม/ปวช.) + (227064.1 หากแต่งงานเป็นลำดับแรกของครอบครัว) – (134160.8 หากมีภาระต้องดูแลครอบครัวอยู่) + (1890610 หากเป็นผู้บริหารระดับสูง)
[[เสด-ถะ-สาด].com ขอขอบคุณ Nanosoft ที่ได้เขียนโปรแกรมคำนวณมูลค่าสินสอดตามสมการข้างต้น เพื่อให้เพื่อนๆ ได้คำนวณกันง่ายๆ ลองดาวน์โหลดกันมาใช้ได้ ที่นี่ (สำหรับ windows เท่านั้นครับ) ^^]
……….
ยกตัวอย่างเช่น หากคู่บ่าวสาวมีรายได้เฉลี่ย 20,000 บาทต่อเดือน อายุเฉลี่ย 30 ปี ทั้งคู่เป็นคนกรุงเทพฯ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และแต่งงานเป็นคนแรกของครอบครัว แต่ต่างคนต่างก็ไม่ต้องเลี้ยงดูครอบครัวของตัวเอง และไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง
ค่าสินสอดดุลยภาพก็จะอยู่ที่
(2.2205 x 20000) + (8986.92 x 30) + (174818.6) + (227064.1) = 715590.3 บาท
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองของทั้งสองฝ่ายด้วย เช่น รูปร่างหน้าตาที่ต่างกันของคู่บ่าวสาว หรือความเจ้ากี้เจ้าการที่ต่างกันของพ่อแม่คู่บ่าวสาว ก็อาจทำให้มูลค่าสินสอดดุลยภาพเปลี่ยนแปลงไป
[อ้อ...อย่าลืมปรับเงินเฟ้อด้วยนะครับ ผ่านมา 5 ปีแล้วนับจากงานศึกษาชิ้นนี้สำเร็จ เงินเฟ้อปีละประมาณสัก 3.5% ก็จะเท่ากับ 715590.3x(1+0.035)^5 = 849896.8 บาท หรือประมาณ 8.5 แสนบาท ซึ่งคู่บ่าวสาวต้องตกลงกันให้ดีด้วยว่าจะเอาอัตราเงินเฟ้อประเภทใดมาคิด]
รวมทั้ง คู่ที่แต่งงานไปแล้ว ลองแทนค่าข้อมูลในวันแต่งงานดูเล่นๆ แล้วจะรู้ว่า ณ เวลานั้น ใครเป็นต่อ ใครเป็นรอง ใครชอบใครมากกว่ากัน ผ่านมุมมองของอำนาจต่อรอง แต่ก็แค่แทนค่ากันดูเล่นๆ นะครับ เพราะแม้เราอาจจะเคยเป็นรองมาเมื่อวันนั้น การใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขจนถึงวันนี้ ย่อมคุ้มกว่าแบบหาที่เปรียบไม่ได้นะครับ ^^
ขอขอบคุณ คุณดุสิต อิชยพฤกษ์ ที่แนะนำเอกสารฉบับนี้ และ รศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา สำหรับคำชี้แนะครับ
ที่มา: ภศุ ร่วมความคิด (2549) “ถ้าฉันจะแต่งงาน ควรจะได้รับ/จ่ายสินสอดเท่าไร” การศึกษาเชิงประจักษ์การประเมินมูลค่าสินสอดด้วยแบบจำลองเฮดโดนิค, วิทยานิพนธ์ หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ที่มา
http://setthasat.com/2011/09/20/wedding/
มูลค่า “สินสอด” ในงานแต่งควรเป็นเท่าไหร่ดี?
ในงานแต่งงาน หัวข้อที่ผู้หญิงมักหยิบยกขึ้นมาคือ “ควรจะเรียกสินสอดเท่าใด” เช่นเดียวกับผู้ชายว่า “ควรจะให้สินสอดเท่าใด” และเราเองก็มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก การศึกษาเชิงประจักษ์ชิ้นนี้จะช่วยให้แนวทางกับเรา
“การแต่งงาน” ในทางเศรษฐศาสตร์ นับว่าเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกัน (Binding Commitment) ระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และในวัฒนธรรมไทย “การให้สินสอด” ถือเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการแต่งงาน
“สินสอด” จัดเป็นราคาในทางเศรษฐศาสตร์ในรูปแบบหนึ่งของข้อตกลงแต่งงาน(หรือหมั้น) แต่ไม่ได้มีการซื้อขายผ่านตลาด (Non-Marketable Trade) จึงไม่มีราคาตลาด (Non-Market Price) และก็ไม่สามารถใช้วิธีการทั่วไปในการประเมินมูลค่าได้ ราคาของสินสอดจึงถูกกำหนดผ่านกระบวนการเจรจาต่อรอง เรียกว่า “การเจรจาสินสอด” โดยในการเรียกสินสอดของฝ่ายหญิง มักมีการตกลงเบื้องต้นก่อนขั้นตอนการเจรจาสู่ขอจริง ถ้าฝ่ายหญิงเรียกสินสอดที่สูงเกินไป ฝ่ายชายก็จะทำการต่อรอง จนกระทั่งได้มูลค่าสินสอดที่ฝ่ายหญิงพอใจ และฝ่ายชายสามารถจ่ายได้ ซึ่งปกติแล้ว การสร้างข้อตกลงร่วมกันก็สามารถนำไปสู่ความมีประสิทธิภาพได้ (Lundberg and Pollak, 2001)
เนื่องจาก “สินสอด” ไม่มีราคาทางตลาด ภศุ (2549) จึงใช้แบบจำลองเฮดโดนิค (Hedonic Pricing Model: HPM) เข้ามาอธิบาย โดยเป็นการผนวกเอาตัวแปรคุณลักษณะต่างๆ ของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงเข้ามาวิเคราะห์แทนที่จะเป็นตัวแปรของตลาด เพราะหาข้อมูลไม่ได้ และคู่บ่าวสาวก็ถือเป็นผู้ร่วมต่อรองราคาซึ่งกันและกัน
“มูลค่าของสินสอด” ภายหลังจากการต่อรองของทั้งสองฝ่ายจะอยู่ที่ระดับ “ราคาดุลยภาพ” (Equilibrium Price) [ในงานของภศุ มูลค่าและราคาของสินสอดเป็นสิ่งเดียวกัน] ขณะที่ “มูลค่าสินสอดที่ฝ่ายชายเต็มใจจะจ่าย” (Willingness to Pay) ก็จะไม่ได้จำเป็นต้องมีค่าเท่ากันกับ “มูลค่าสินสอดที่ฝ่ายหญิงพึงจะรับ” (Willingness to Accept) โดยแบบจำลองแยกวิเคราะห์ได้
……….
การศึกษาทำการเก็บข้อมูลในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยแบบสอบถามจากคู่แต่งงานจำนวน 220 คู่ หรือ 440 คน ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีข้อมูลของคู่แต่งงานตั้งแต่ปี 2526 ถึง 2550 ระยะเวลาที่คบหากันก่อนแต่งงานนานที่สุด 18 ปี และสั้นที่สุด 1 ปี เฉลี่ยประมาณ 5 ปีครึ่ง
“ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างคู่บ่าวสาว (จากบทความ)”
[เนื่องจากเป็นการเก็บข้อมูลในช่วงปี 2549 ซึ่งราคาทองคำยังไม่สูงเท่าปัจจุบัน] มูลค่าสินสอดสูงที่สุดคือเกือบ 6.7 ล้านบาท และต่ำที่สุดคือ 1 หมื่นกว่าบาท เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5 แสนบาท จำแนกลงรายละเอียดได้ว่า มูลค่าเงินสดสูงที่สุดคือ 1.7 ล้านบาท เฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 แสนบาท และทอง 99 บาท เฉลี่ยอยู่ที่ 10 บาท
“ข้อมูลทั่วไปของสินสอด (จากบทความ)”
……….
ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่มีผลต่อมูลค่าสินสอด ได้แก่ ระดับรายได้ ระดับการศึกษา การมีภาระรับผิดชอบต่อครอบครัว และการแต่งงานเป็นลำดับแรกของครอบครัว
ขณะที่ทรัพย์สินมีผลน้อยมาก และภาระความรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการแต่งงานและอาชีพไม่มีผลต่อมูลค่าสินสอด
“ผลการประมาณค่าสมการมูลค่าสินสอด (จากบทความ)”
* ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 ** ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
โดยที่ แบบจำลองที่ 1 คือ แบบจำลองสมการเส้นตรงจากข้อมูลรวมฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
แบบจำลองที่ 2 คือ แบบจำลองสมการลอการึทึมจากข้อมูลรวมฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
แบบจำลองที่ 3 คือ แบบจำลองสมการลอการึทึมจากข้อมูลฝ่ายชาย
แบบจำลองที่ 4 คือ แบบจำลองสมการลอการึทึมจากข้อมูลฝ่ายหญิง
……….
ในแบบจำลองสมการเส้นตรง (สมการที่หนึ่ง) พบว่า เมื่อคู่แต่งงาน (ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง) มีระดับรายได้สูงขึ้น 1 บาท จะทำให้มูลค่าสินสอดเพิ่มขึ้น 2.205 บาท และเมื่ออายุของคู่แต่งงานสูงขึ้น 1 ปี จะทำให้มูลค่าสินสอดเพิ่มขึ้น 8,986.92 บาท หรือถ้าภูมิลำเนา เป็นคนกรุงเทพฯ มูลค่าสินสอดจะเพิ่มขึ้น 174,818.6 บาท
[ดูเหมือนว่าแต่งงานเร็วๆ ก็จะดี เพราะรายได้จะต่ำ และอายุก็น้อย มูลค่าของสินสอดก็จะต่ำไปด้วย]
การประมวลผลแบบแยกฝ่ายชายและฝ่ายหญิง(ของแบบจำลองสมการลอการึทึมแบบจำลองที่สามและสี่) ให้ผลการศึกษาบางประเด็นที่น่าสนใจ
เมื่อฝ่ายชายมีรายได้สูงขึ้น 1 เท่า จะเต็มใจจ่ายค่าสินสอดเพิ่มขึ้น 20% ขณะที่หากฝ่ายหญิงมีรายได้สูงขึ้น 1 เท่า จะต้องการเรียกค่าสินสอดเพิ่มขึ้น 32%
ระยะเวลาในการคบหา และ ตำแหน่งหน้าที่การงาน มีผลต่อความเต็มใจจ่ายค่าสินสอดเพิ่มขึ้นสำหรับฝ่ายชาย โดยไม่มีผลกับฝ่ายหญิง
ความเป็นคนกรุงเทพ และ ภาระความรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน มีผลต่อความเต็มใจเรียกค่าสินสอดเพิ่มขึ้นสำหรับฝ่ายหญิง โดยไม่มีผลกับฝ่ายชาย
สำหรับคู่ที่กำลังจะแต่งงาน ขอเสนอให้ลองใช้แบบจำลองที่หนึ่งคำนวณมูลค่าสินสอด โดยการแทน”ค่าเฉลี่ย”ของคู่บ่าวสาวเข้าไปในสมการ
มูลค่าสินสอด = (2.2205 x รายได้ต่อเดือน) + (8986.92 x อายุ) + (174818.6 หากเป้นคนกรุงเทพฯ) – (454350.5 หากจบการศึกษาไม่เกินมัธยม/ปวช.) + (227064.1 หากแต่งงานเป็นลำดับแรกของครอบครัว) – (134160.8 หากมีภาระต้องดูแลครอบครัวอยู่) + (1890610 หากเป็นผู้บริหารระดับสูง)
[[เสด-ถะ-สาด].com ขอขอบคุณ Nanosoft ที่ได้เขียนโปรแกรมคำนวณมูลค่าสินสอดตามสมการข้างต้น เพื่อให้เพื่อนๆ ได้คำนวณกันง่ายๆ ลองดาวน์โหลดกันมาใช้ได้ ที่นี่ (สำหรับ windows เท่านั้นครับ) ^^]
……….
ยกตัวอย่างเช่น หากคู่บ่าวสาวมีรายได้เฉลี่ย 20,000 บาทต่อเดือน อายุเฉลี่ย 30 ปี ทั้งคู่เป็นคนกรุงเทพฯ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และแต่งงานเป็นคนแรกของครอบครัว แต่ต่างคนต่างก็ไม่ต้องเลี้ยงดูครอบครัวของตัวเอง และไม่ได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง
ค่าสินสอดดุลยภาพก็จะอยู่ที่
(2.2205 x 20000) + (8986.92 x 30) + (174818.6) + (227064.1) = 715590.3 บาท
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองของทั้งสองฝ่ายด้วย เช่น รูปร่างหน้าตาที่ต่างกันของคู่บ่าวสาว หรือความเจ้ากี้เจ้าการที่ต่างกันของพ่อแม่คู่บ่าวสาว ก็อาจทำให้มูลค่าสินสอดดุลยภาพเปลี่ยนแปลงไป
[อ้อ...อย่าลืมปรับเงินเฟ้อด้วยนะครับ ผ่านมา 5 ปีแล้วนับจากงานศึกษาชิ้นนี้สำเร็จ เงินเฟ้อปีละประมาณสัก 3.5% ก็จะเท่ากับ 715590.3x(1+0.035)^5 = 849896.8 บาท หรือประมาณ 8.5 แสนบาท ซึ่งคู่บ่าวสาวต้องตกลงกันให้ดีด้วยว่าจะเอาอัตราเงินเฟ้อประเภทใดมาคิด]
รวมทั้ง คู่ที่แต่งงานไปแล้ว ลองแทนค่าข้อมูลในวันแต่งงานดูเล่นๆ แล้วจะรู้ว่า ณ เวลานั้น ใครเป็นต่อ ใครเป็นรอง ใครชอบใครมากกว่ากัน ผ่านมุมมองของอำนาจต่อรอง แต่ก็แค่แทนค่ากันดูเล่นๆ นะครับ เพราะแม้เราอาจจะเคยเป็นรองมาเมื่อวันนั้น การใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขจนถึงวันนี้ ย่อมคุ้มกว่าแบบหาที่เปรียบไม่ได้นะครับ ^^
ขอขอบคุณ คุณดุสิต อิชยพฤกษ์ ที่แนะนำเอกสารฉบับนี้ และ รศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา สำหรับคำชี้แนะครับ
ที่มา: ภศุ ร่วมความคิด (2549) “ถ้าฉันจะแต่งงาน ควรจะได้รับ/จ่ายสินสอดเท่าไร” การศึกษาเชิงประจักษ์การประเมินมูลค่าสินสอดด้วยแบบจำลองเฮดโดนิค, วิทยานิพนธ์ หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ที่มา http://setthasat.com/2011/09/20/wedding/