ผมขอตั้งกระทู้ไว้ เพราะเคยมีประเด็นเรื่องกระทู้ยางพารา ที่มีภาพๆหนึ่ง เป็นประเด็นดราม่ายืดยาว
ว่า ใครปลูกยางเหนือชุมพร "ผิดกฏหมาย" นะ
ซึ่งก็มีการอธิบาย ว่ามันเคยมี มติ ครม. 2542 มีมติออกมา ว่าห้ามปลูกเกิน 12 ล้านไร่ ตามที่มีสมาชิกนำมาแสดงกันไปมากมาย
ตามที่เราเห็นกันคือ ได้มีฝ่ายหนึ่งกลุ่มหนึ่งในห้องนี้
ได้ยืนยันบอกว่า ใครจะปลูกก็ปลูกได้ = ไม่ผิดกฏหมาย
และ มติ ครม. ก็ไม่ใช่กฏหมาย และไม่มีบทบัญญัติกฏหมายเขียนไว้เช่นนั้น ตรงๆ นะ .... ใครมีก็ไปเอามาแสดง บลาๆๆๆ
แล้วใครก็ไปทำอะไรคนปลูกยางไม่ได้+เอาผิดไม่ได้ ใครจะปลูกเพิ่มเกิน 12 ล้านไร่ก็ปลูกเลย ไม่ต้องขออนุญาติด้วย!
กระทู้นี้ จึงอยากจะขอแสดงความเห็นส่วนตัว กับ ความหมายของคำว่า กฏหมาย
เพราะว่าถ้าเข้าใจไม่ตรงกันเท่าที่ควร ก็ถกเถียงคุยกันไม่รู้เรื่อง
กฎหมาย (กฎ)
น. (นาม)
กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิด
ขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหาร
ประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบ
แห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ)
ก. (กริยา)
จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ ไว้. (พงศ. อยุธยา)
, ทําหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือ ร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า)
; ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า)
; กฎหมาย งานพระบรมศพครั้งกรุงเก่า
; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์)
; กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
เสริม
บัญชีอักษรย่อและคำย่อที่ใช้ในพจนานุกรมนี้
http://rirs3.royin.go.th/wordbrief.html
จะเห็นว่า คำว่ากฏหมายจะมีความหมายกว้างกว่า ที่หลายคนอาจจะเข้าใจ
ว่าต้องหมายถึงบทบัญญัติ ตาม พรบ. , พรก., รัฐธรรมนูญ ฯ เท่านั้น
และจากความหมาย จะเห็นว่า ใช้เป็นคำ
"กริยา" ได้อีกด้วย .. แปลกหูไหมหล่ะ
เพียงแต่กาลเวลาผ่านไป ก็คงทำให้ความเข้าใจเปลี่ยนไป ตามความเคยชินได้
ดังนั้น มติ ครม.
ส่วนตัวผม ก็ต้อง
ถือว่าเป็นกฏหมาย
เพราะ กฏหมาย คือ กฎที่สถาบัน(กรณีนี้คือ ครม.) ทําหนังสือเป็นหลักฐาน หรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐ
ตราขึ้น
หรือที่เกิด ขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ (ครม. ก็ถูกตั้งขึ้นโดยจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ )
เพื่อใช้ในการบริหาร ประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบ
แห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ.
และ กฏหมาย ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อใครทำผิดแล้ว จะต้องมีความผิด+ต้องรับโทษ
ถ้ากฎหมายนั้นๆ ไม่ได้กำหนดบัญญัติบทกำหนดโทษเอาไว้ !
เช่น ตุลาคม 2558 ได้มีมติที่ประชุม ครม. เรื่อง มาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์
ให้ ลดค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2% เหลือ 0.01% และประกาศเป็นทางการ
http://www.dol.go.th/dol/images/medias/dol/file/MT281058.pdf
.
ถึงตรงนี้เราก็ถือว่ารัฐบาลได้
กฏหมาย(กริยา)ไปยังกรมที่ดิน ให้ปฎิบัติตาม
ถามว่า ถ้าผู้ซื้อ-ขาย ทรัพย์ ไม่ทำตาม มีผลอย่างไร?
ผมคิดว่า ถ้าผู้ซื้อ-ขายทรัพย์ ไม่ทำตามมติ ครม. โดยต้องการจะจ่าย 2% ตามเดิม (โง่) และสมมติได้มีการดำเนินการธุรกรรมไปแล้ว
กรณีนี้ผมก็ถือว่าประชาชนทำ ผิดกฏหมาย แต่ก็คงจะไม่มีความผิด+ไม่ต้องรับโทษ เพราะไม่มีบทกำหนดโทษ
แต่ถ้ามามองที่ตัว เจ้าพนักงานสำนักงานที่ดิน ... ผมก็ถือว่าทำผิดกฏหมาย เช่นกัน
ส่วนโทษนั้นผมเดาว่าก็จะถูกสำเร็จโทษทางวินัยข้าราชการ หรืออื่นๆ ฐานที่ไม่ทำตามคำสั่งตามประกาศข้างต้น
และถ้าถามว่า ธุรกรรมที่ผู้ซื้อขาย จะจ่าย 2 % นั้น ... ในความเป็นจริงจะเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ ?
ผมหรือใครคงฟันธงชัดๆเลย ว่า
มันก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยแม้แต่น้อย
เพราะ เจ้าพนักงานสำนักงานที่ดินไม่กล้าเสี่ยงดำเนินการเช่นนั้นให้ โดยเด็ดขาด
ทำนองเดียวกัน
เรื่อง มติ ครม. ห้ามปลูกยาง 2542 กรณีนี้ มติ ครม. ก็ต้องถือเป็นกฏหมาย
ที่กฏหมาย(กริยา)ให้ เจ้าพนักงาน หรือ รมต. ขณะนั้นต้องทำตาม
โดยต้องตรวจสอบข้อมูลสถิติพื้นที่ปลูก จำกัดไว้ไม่ให้เกิน 12 ล้านไร่
จนกว่าจะมี มติ ครม. ใหม่ ทำการกฏหมาย(กริยา)ยกเลิกมตินั้นเสีย
ส่วน รมต. หรือประชาชนที่ฝ่าฝืน ก็ต้องถือว่า
ผิดกฏหมาย เช่นกัน แต่ผมยังไม่พูดถึงว่ามีบทกำหนดโทษหรือไม่-อย่างไร
ซึ่งต่อมา ไม่กี่เดือนก็มีประกาศ
พรบ. ควบคุมยาง
ประกาศออกมากำกับบังคับอีกชั้นนึง ซึ่งมีบทกำหนดโทษอยู่ด้วยถ้าใครปลูกโดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าพนักงาน
ทำนองเดียวกัน จากมติ ครม. เรื่องโอนอสังหาริมทรัพย์
ถ้าเจ้าพนักงานไม่ดำเนินการอนุญาติให้ปลูกเพิ่ม ตามกำหนดของมติ ครม. 2542
การที่จะเกิดพื้นที่ปลูกยางที่เกิน 12 ล้านไร่ ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
สรุปว่า ภาพที่คุณจูกัดหลงนำมาแปะ ก็ไม่ได้ผิดหรือบิดเบือนในความหมายที่จะสื่อ แต่อย่างใด
เพียงแต่รูปแบบการเขียนพล๊อตเรื่องนั้น ได้ใช้การเขียนแบบย่อๆข้อความและความหมาย
ก็จึงทำให้ตีความได้แตกต่างกัน คงอยู่ที่คนที่ตีความว่ามีความแค้นใจสะสมมากับฝั่งไหน
ปล. ถ้าพิสูจน์ได้ชัดเจนว่าข้อมูลความเห็นส่วนตนของผม ไม่ถูกในจุดไหนหรือทั้งหมด ก็ให้ถือว่าผมผิดคนเดียว
อย่าใช้นิสัยไม่ดีๆแบบคนบางพวกเล่นเหมาด่าคนทั้งห้อง ครับ
ข้อมูลเสริม-ความเห็น จากแหล่งอื่นๆ
สถานะทางกฎหมายของ “มติคณะรัฐมนตรี”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
https://www.facebook.com/DroitAdministrative/posts/576069199075661
คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด ในทางตำราสามารถแยกการกระทำออกได้ เป็น 2 กรณี คือ ในกรณีที่กระทำโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ถือว่า กระทำการในฐานะที่เป็น “รัฐบาล” และกรณีที่การทำการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับระดับเดียวกับพระราชบัญญัติ ถือว่ากระทำการในฐานะที่เป็น “องค์กรฝ่ายปกครอง” หรือ “เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง” ซึ่งเฉพาะแต่การกระทำที่อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับระดับเดียวกับพระราชบัญญัติเท่านั้นที่ถือว่าเป็น “การกระทำทางปกครอง”
การกระทำของคณะรัฐมนตรีทั้งสองส่วนนี้ยากที่แยกออกจากันได้อย่างเด็ดขาด เพราะมีความเกี่ยวพันกันอยู่เสมอ จึงมีปัญหาสถานะและผลทางกฎหมายของมติคณะรัฐมนตรีว่ามีเพียงใด
นักกฎหมายไทยในอดีตมีความเข้าใจว่า “มติคณะรัฐมนตรีมิใช่กฎหมาย” เนื่องจากเข้าใจกันว่า “กฎหมาย” หมายถึงกฎที่มีศักดิ์ระดับสูง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง หรือกฎหมายลูกอื่นๆ อันเป็นกฎหมายในความหมายอย่างแคบ แต่ในปัจจุบันนักกฎหมายได้ยอมรับแล้วว่าหากมติคณะรัฐมนตรีใดมีลักษณะเป็นการสร้างกฎเกณฑ์และระบบกฎหมายยอมรับบังคับใช้กฎเกณฑ์ตามนั้น มติคณะรัฐมนตรีก็บ่อมเป็น “กฎ” อันถือว่าเป็นกฎหมายในความหมายอย่างกว้าง
คำว่า กฎ และ ข้อบังคับ มีลำดับเท่ากันหรือไม่ และตามความหมายทางกฎหมายปกครองนั้น
มีความหมายเหมือนกันหรือไม่อย่างไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.tulawcenter.org/law-clinic/content/43
ข้อเท็จจริงและประเด็นคำถาม:
ข้อเท็จจริง
คำว่า กฎ และ ข้อบังคับ มีลำดับเท่ากันหรือไม่ และตามความหมายทางกฎหมายปกครองนั้น
มีความหมายเหมือนกันหรือไม่อย่างไร
ประเด็นคำถาม
1. ลำดับศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร
2. กฎและข้อบังคับ มีลำดับศักดิ์กฎหมายเท่ากันหรือไม่
3. ในทางปกครองแล้วกฎและข้อบังคับมีความเหมือนและต่างกันอย่างไร
ความเห็นและข้อเสนอแนะ:
การพิจารณาเรื่องความมีค่าบังคับของกฎหมายแต่ละฉบับต้องพิจารณาเรื่องลำดับศักดิ์ของกฎหมายนั้น ๆ ซึ่งในระบบกฎหมายไทยอาจแบ่งลำดับศักดิ์ของกฎหมายได้เป็น 3 ลำดับกับ 1 ประเภท กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงสุดมีค่าบังคับสูงสุด กฎหมายฉบับอื่นจะบัญญัติเนื้อหาให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ กฎหมายที่มีลำดับศักดิ์รองลงจากรัฐธรรมนูญคือกฎหมายที่บัญญัติในรูปพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่ผ่านการรับรองโดยรัฐสภา ในกลุ่มความเห็นที่มองว่าระบบกฎหมายไทยมีลำดับศักดิ์กฎหมายเพียง 3 ลำดับกับ 1 ประเภทได้รวมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอยู่ในกลุ่มกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เดียวกับพระราชบัญญัติทั่วไปด้วย และกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำสุดคือกฎหมายลำดับรอง เช่น พระราชกฤษฎีกา, กฎกระทรวง, ข้อบังคับกระทรวง, ประกาศกระทรวง เป็นต้น การบัญญัติกฎหมายลำดับรองไม่ต้องผ่านกระบวนการของรัฐสภา แต่ให้อำนาจฝ่ายบริหารในการออกกฎหมายลำดับรองโดยอิงกับอำนาจของพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายลำดับรองแต่ละฉบับ สำหรับกฎหมายอีก 1 ประเภทคือ กฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีลำดับศักดิ์สูงสุดในเขตอำนาจและเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอำนาจของกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีฐานที่มาจากรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจระบุชัดว่าอยู่ในลำดับศักดิ์ใด
จากหลักกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น จึงสรุปได้ว่ากฎและข้อบังคับซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองเช่นเดียวกันนั้นมีลำดับศักดิ์กฎหมายเท่ากัน ในทางปกครองหรือในทางหลักกฎหมายทั่วไปจึงมองว่า ทั้งกฎและข้อบังคับมีความเหมือนกันคือมีลำดับศักดิ์เท่ากัน กฎและข้อบังคับจึงไม่อาจขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าอย่างรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติที่เป็นกฎหมายแม่บทของกฎหรือข้อบังคับนั้น ส่วนที่ต่างกันคือ เนื้อหาของกฎหมาย, องค์กรผู้มีอำนาจออกกฎหมาย และรูปแบบการออกกฎหมาย มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ กฎกระทรวงนั้นส่วนใหญ่ใช้กับการออกกฎหมายลำดับรองขยายความพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทในส่วนที่มีความสำคัญและกระทบต่อประชาชน องค์กรผู้มีอำนาจออกกฎกระทรวงคือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ มีขั้นตอนการออกกฎกระทรวงประการสำคัญคือ
ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สำหรับข้อบังคับนั้นส่วนใหญ่ใช้กับการออกกฎหมายลำดับรองขยายความพระราชบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวของกับแนวปฏิบัติภายในฝ่ายบริหารที่ต้องใช้หรืออาศัยอำนาจพระราชบัญญัติ องค์กรผู้มีอำนาจออกข้อบังคับอาจเป็นข้าราชการระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าก็ได้ ขั้นตอนการออกข้อบังคับเพียงได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิเศษตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ หรืออาจให้เป็นอำนาจของอธิบดีก็ได้
คำว่า "กฏหมาย" ความหมายคืออะไร สืบเนื่องจากกระทู้พิพาท เรื่องปลูกยางเกิน 12 ล้านไร่ แล้ว ผิดกฏหมาย?
ว่า ใครปลูกยางเหนือชุมพร "ผิดกฏหมาย" นะ
ซึ่งก็มีการอธิบาย ว่ามันเคยมี มติ ครม. 2542 มีมติออกมา ว่าห้ามปลูกเกิน 12 ล้านไร่ ตามที่มีสมาชิกนำมาแสดงกันไปมากมาย
ตามที่เราเห็นกันคือ ได้มีฝ่ายหนึ่งกลุ่มหนึ่งในห้องนี้
ได้ยืนยันบอกว่า ใครจะปลูกก็ปลูกได้ = ไม่ผิดกฏหมาย
และ มติ ครม. ก็ไม่ใช่กฏหมาย และไม่มีบทบัญญัติกฏหมายเขียนไว้เช่นนั้น ตรงๆ นะ .... ใครมีก็ไปเอามาแสดง บลาๆๆๆ
แล้วใครก็ไปทำอะไรคนปลูกยางไม่ได้+เอาผิดไม่ได้ ใครจะปลูกเพิ่มเกิน 12 ล้านไร่ก็ปลูกเลย ไม่ต้องขออนุญาติด้วย!
กระทู้นี้ จึงอยากจะขอแสดงความเห็นส่วนตัว กับ ความหมายของคำว่า กฏหมาย
เพราะว่าถ้าเข้าใจไม่ตรงกันเท่าที่ควร ก็ถกเถียงคุยกันไม่รู้เรื่อง
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ http://rirs3.royin.go.th/
กฎหมาย (กฎ)
น. (นาม)
กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิด
ขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหาร
ประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบ
แห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ)
ก. (กริยา)
จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ ไว้. (พงศ. อยุธยา)
, ทําหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือ ร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า)
; ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า)
; กฎหมาย งานพระบรมศพครั้งกรุงเก่า
; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์)
; กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
เสริม
จะเห็นว่า คำว่ากฏหมายจะมีความหมายกว้างกว่า ที่หลายคนอาจจะเข้าใจ
ว่าต้องหมายถึงบทบัญญัติ ตาม พรบ. , พรก., รัฐธรรมนูญ ฯ เท่านั้น
และจากความหมาย จะเห็นว่า ใช้เป็นคำ "กริยา" ได้อีกด้วย .. แปลกหูไหมหล่ะ
เพียงแต่กาลเวลาผ่านไป ก็คงทำให้ความเข้าใจเปลี่ยนไป ตามความเคยชินได้
ดังนั้น มติ ครม.
ส่วนตัวผม ก็ต้องถือว่าเป็นกฏหมาย
เพราะ กฏหมาย คือ กฎที่สถาบัน(กรณีนี้คือ ครม.) ทําหนังสือเป็นหลักฐาน หรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐ ตราขึ้น
หรือที่เกิด ขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ (ครม. ก็ถูกตั้งขึ้นโดยจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ )
เพื่อใช้ในการบริหาร ประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบ
แห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ.
และ กฏหมาย ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อใครทำผิดแล้ว จะต้องมีความผิด+ต้องรับโทษ
ถ้ากฎหมายนั้นๆ ไม่ได้กำหนดบัญญัติบทกำหนดโทษเอาไว้ !
เช่น ตุลาคม 2558 ได้มีมติที่ประชุม ครม. เรื่อง มาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์
ให้ ลดค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2% เหลือ 0.01% และประกาศเป็นทางการ http://www.dol.go.th/dol/images/medias/dol/file/MT281058.pdf
.
ถึงตรงนี้เราก็ถือว่ารัฐบาลได้กฏหมาย(กริยา)ไปยังกรมที่ดิน ให้ปฎิบัติตาม
ถามว่า ถ้าผู้ซื้อ-ขาย ทรัพย์ ไม่ทำตาม มีผลอย่างไร?
ผมคิดว่า ถ้าผู้ซื้อ-ขายทรัพย์ ไม่ทำตามมติ ครม. โดยต้องการจะจ่าย 2% ตามเดิม (โง่) และสมมติได้มีการดำเนินการธุรกรรมไปแล้ว
กรณีนี้ผมก็ถือว่าประชาชนทำ ผิดกฏหมาย แต่ก็คงจะไม่มีความผิด+ไม่ต้องรับโทษ เพราะไม่มีบทกำหนดโทษ
แต่ถ้ามามองที่ตัว เจ้าพนักงานสำนักงานที่ดิน ... ผมก็ถือว่าทำผิดกฏหมาย เช่นกัน
ส่วนโทษนั้นผมเดาว่าก็จะถูกสำเร็จโทษทางวินัยข้าราชการ หรืออื่นๆ ฐานที่ไม่ทำตามคำสั่งตามประกาศข้างต้น
และถ้าถามว่า ธุรกรรมที่ผู้ซื้อขาย จะจ่าย 2 % นั้น ... ในความเป็นจริงจะเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ ?
ผมหรือใครคงฟันธงชัดๆเลย ว่ามันก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยแม้แต่น้อย
เพราะ เจ้าพนักงานสำนักงานที่ดินไม่กล้าเสี่ยงดำเนินการเช่นนั้นให้ โดยเด็ดขาด
ทำนองเดียวกัน
เรื่อง มติ ครม. ห้ามปลูกยาง 2542 กรณีนี้ มติ ครม. ก็ต้องถือเป็นกฏหมาย
ที่กฏหมาย(กริยา)ให้ เจ้าพนักงาน หรือ รมต. ขณะนั้นต้องทำตาม
โดยต้องตรวจสอบข้อมูลสถิติพื้นที่ปลูก จำกัดไว้ไม่ให้เกิน 12 ล้านไร่
จนกว่าจะมี มติ ครม. ใหม่ ทำการกฏหมาย(กริยา)ยกเลิกมตินั้นเสีย
ส่วน รมต. หรือประชาชนที่ฝ่าฝืน ก็ต้องถือว่า ผิดกฏหมาย เช่นกัน แต่ผมยังไม่พูดถึงว่ามีบทกำหนดโทษหรือไม่-อย่างไร
ซึ่งต่อมา ไม่กี่เดือนก็มีประกาศ พรบ. ควบคุมยาง
ประกาศออกมากำกับบังคับอีกชั้นนึง ซึ่งมีบทกำหนดโทษอยู่ด้วยถ้าใครปลูกโดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าพนักงาน
ทำนองเดียวกัน จากมติ ครม. เรื่องโอนอสังหาริมทรัพย์
ถ้าเจ้าพนักงานไม่ดำเนินการอนุญาติให้ปลูกเพิ่ม ตามกำหนดของมติ ครม. 2542
การที่จะเกิดพื้นที่ปลูกยางที่เกิน 12 ล้านไร่ ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
สรุปว่า ภาพที่คุณจูกัดหลงนำมาแปะ ก็ไม่ได้ผิดหรือบิดเบือนในความหมายที่จะสื่อ แต่อย่างใด
เพียงแต่รูปแบบการเขียนพล๊อตเรื่องนั้น ได้ใช้การเขียนแบบย่อๆข้อความและความหมาย
ก็จึงทำให้ตีความได้แตกต่างกัน คงอยู่ที่คนที่ตีความว่ามีความแค้นใจสะสมมากับฝั่งไหน
ปล. ถ้าพิสูจน์ได้ชัดเจนว่าข้อมูลความเห็นส่วนตนของผม ไม่ถูกในจุดไหนหรือทั้งหมด ก็ให้ถือว่าผมผิดคนเดียว
อย่าใช้นิสัยไม่ดีๆแบบคนบางพวกเล่นเหมาด่าคนทั้งห้อง ครับ
สถานะทางกฎหมายของ “มติคณะรัฐมนตรี”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คำว่า กฎ และ ข้อบังคับ มีลำดับเท่ากันหรือไม่ และตามความหมายทางกฎหมายปกครองนั้น
มีความหมายเหมือนกันหรือไม่อย่างไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้