*** เขียนวิเคราะห์แบบเปิดเผยเนื้อหานะครับ แต่ว่าท่อนที่พูดถึงตอนจบผมซ่อนไว้ในสปอยล์เรียบร้อยครับ ***
หลังดูอวสานโลกสวยจบ เรามีประเด็นบางอย่างที่รู้สึกว่ามันน่าสนใจมากคือการพูดถึงหญิงสาวทั้งหลายที่คลั่งไคล้การลงรูปเพื่อเรียกยอดไลค์จากใน Facebook ซึ่งคำว่าโลกสวยอาจจะไม่ได้หมายถึงความแอ๊บแบ๊วไร้เดียงสาเพียงอย่างเดียว แต่อาจรวมถึงโลก social media ที่สวยงามกว่าโลกจริงที่ใช้ชีวิตอยู่ โดยหนังเล่าผ่านตัวละคร 'ก้อย' (
สายป่าน อภิญญา) เด็กสาวเย็บผ้าท่าทางบ้าน ๆ และ 'เกรซ' ก็คือก้อยคนเดิมเพิ่มเติมคือแต่งคอสเพลย์ลงรูปออกงานอีเว้นต์จนป็อปปูล่า
เรามองว่าการเสพติดยอดไลค์ใน social media มันไม่ได้ต่างอะไรจากเด็กติดเกมเลย มันเป็นเรื่องของการหาที่ยืนในสังคมที่ยอมรับให้คุณค่าการกระทำของเรา เหมือนเด็กที่ติดเกมเพราะชีวิตจริงไม่มีใครสนใจแต่เล่นเกมเก่งมีแต่คนเชิดชูจนมีชื่อเสียงในโลกดังกล่าว เช่นเดียวกับหญิงสาวหน้าตาน่ารักทั้งหลาย ซึ่งบางคนเช่นก้อยไม่ได้มีชีวิตจริงที่สวยงาม แต่ในโลกออนไลน์เธอกลายเป็นคนเด่น เธอได้รับการยอมรับในพื้นที่ดังกล่าวแม้ว่าจะเป็นจากกลุ่มชายหื่นก็ตาม ตรงนี้เองที่มันสะท้อนลึก ๆ ว่าการลงรูปวาบหวิวเรียกยอดไลค์ไม่ได้ต่างอะไรจากการเรียกร้องความสนใจจากเพศตรงข้าม ซึ่งมันได้ผลและมีผู้หญิงจำนวนมากที่ยังคงลงรูปเกือบโป๊โดยไม่ได้แคร์ความหื่นกระหายของเพศชาย
ช่วงพาร์ทที่ 'เกรซ' และ 'แจ็ค' (
เบส ณัฐสิทธิ์) จับตัว 'แคร์' (
มายด์ ณภศศิ) และ 'เปิ้ล' (
พิม ลัทธ์กมล) มาขังเอาไว้จึงเป็นช่วงที่หนังปั้นแต่งตัวละครให้แสดงความสุดโต่งถึงขีดสุด มันคือภาพสะท้อนของเพศชายที่มีความต้องการทางเพศกับเน็ตไอดอล และภาพสะท้อนจากเพศหญิงด้วยกันที่มีความริษยาไม่ว่าจะผ่านคำชมของเพศชายหรือการถูกจับไปเปรียบเทียบ หนังหยิบจับโลกการคอมเม้นต์บน Facebook ที่เราเห็นกันมาตลอดมานำเสนอเป็นความรุนแรงที่มีรูปแบบชัดเจนทั้งความหื่นกระหายของเพศชาย และความรู้สึกหมั่นไส้ในความแอ๊บแบ๊ว
จนเพศหญิงด้วยกันยังอยากตบให้เลิกแอ๊บ
รูปแบบความรุนแรงที่ชัดเจนในพาร์ทที่สองสาวถูกจับมาขังและทรมาน มันยังถูกเล่าในแบบเดียวกันในพาร์ทเล่าชีวิตของเกรซจากหญิงสาวไร้เดียงสาที่กลายมาเป็นผู้ป่วยทางจิต เธอเคยถูกทำร้ายจากเพศชายที่มีความต้องการทางเพศ และจากเพศหญิงด้วยกันที่แสดงออกถึงความหมั่นไส้ริษยาอย่างชัดเจน เราจึงเห็นจุดเชื่อมโยงของทั้งสองพาร์ทในหนังอย่างหนึ่งว่ามันคือเจตนาที่จะบอกเล่าด้านมืดอันเกิดขึ้นจากจุดเริ่มต้นเหมือนกันคือแรงขับทางเพศและความริษยา
เปิดเผยเนื้อหาฉากจบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อีกช่วงหนึ่งซึ่งอาจจะเฉลยหนังสักเล็กน้อยก็คือตอนจบของหนังที่ผู้กำกับปล่อยให้ 'เกรซ' จากเน็ตไอดอลสายคอสเพลย์ที่กลายเป็นอาชญากรเต็มตัวยังคงลอยนวลหนีการจับกุมของตำรวจไปได้ มันเป็นความตลกอย่างร้ายกาจที่หนังบรรจงนำเสนอภาพคอมเม้นต์ใน social media ที่คลั่งไคล้ความหล่อความสวยแทนที่จะต่อต้านพฤติกรรมเลวร้ายของอาชญากร ตรงนี้หนังไม่ได้ปั้นแต่งขึ้นมาเลย แต่มันคือเรื่องที่พบเห็นได้จริงตาม Facebook หรือเว็บบอร์ดต่าง ๆ เวลามีข่าวอาชญากรหน้าตาดีไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชายก็ตาม อาชญากรเหล่านี้จะได้รับความสนใจจากเพศตรงข้าม เราจะได้เห็นคอมเม้นต์ที่แสดงออกชัดเจนถึงความต้องการทางเพศ ซึ่งเรามองว่ามันคือส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัวตนใน social media ถูกจิกกัดว่าโลกสวย เพราะพฤติกรรมเชิดชูคนหน้าตาดีโดยไม่สนใจความเลวทรามมันไม่ใช่สิ่งที่จะยอมรับได้เลย
วิเคราะห์อวสานโลกสวย เมื่อโลกจริงไม่สวยเท่าใน social media กับสังคมเชิดชูอาชญากรที่สวยหล่อ
*** เขียนวิเคราะห์แบบเปิดเผยเนื้อหานะครับ แต่ว่าท่อนที่พูดถึงตอนจบผมซ่อนไว้ในสปอยล์เรียบร้อยครับ ***
หลังดูอวสานโลกสวยจบ เรามีประเด็นบางอย่างที่รู้สึกว่ามันน่าสนใจมากคือการพูดถึงหญิงสาวทั้งหลายที่คลั่งไคล้การลงรูปเพื่อเรียกยอดไลค์จากใน Facebook ซึ่งคำว่าโลกสวยอาจจะไม่ได้หมายถึงความแอ๊บแบ๊วไร้เดียงสาเพียงอย่างเดียว แต่อาจรวมถึงโลก social media ที่สวยงามกว่าโลกจริงที่ใช้ชีวิตอยู่ โดยหนังเล่าผ่านตัวละคร 'ก้อย' (สายป่าน อภิญญา) เด็กสาวเย็บผ้าท่าทางบ้าน ๆ และ 'เกรซ' ก็คือก้อยคนเดิมเพิ่มเติมคือแต่งคอสเพลย์ลงรูปออกงานอีเว้นต์จนป็อปปูล่า
เรามองว่าการเสพติดยอดไลค์ใน social media มันไม่ได้ต่างอะไรจากเด็กติดเกมเลย มันเป็นเรื่องของการหาที่ยืนในสังคมที่ยอมรับให้คุณค่าการกระทำของเรา เหมือนเด็กที่ติดเกมเพราะชีวิตจริงไม่มีใครสนใจแต่เล่นเกมเก่งมีแต่คนเชิดชูจนมีชื่อเสียงในโลกดังกล่าว เช่นเดียวกับหญิงสาวหน้าตาน่ารักทั้งหลาย ซึ่งบางคนเช่นก้อยไม่ได้มีชีวิตจริงที่สวยงาม แต่ในโลกออนไลน์เธอกลายเป็นคนเด่น เธอได้รับการยอมรับในพื้นที่ดังกล่าวแม้ว่าจะเป็นจากกลุ่มชายหื่นก็ตาม ตรงนี้เองที่มันสะท้อนลึก ๆ ว่าการลงรูปวาบหวิวเรียกยอดไลค์ไม่ได้ต่างอะไรจากการเรียกร้องความสนใจจากเพศตรงข้าม ซึ่งมันได้ผลและมีผู้หญิงจำนวนมากที่ยังคงลงรูปเกือบโป๊โดยไม่ได้แคร์ความหื่นกระหายของเพศชาย
ช่วงพาร์ทที่ 'เกรซ' และ 'แจ็ค' (เบส ณัฐสิทธิ์) จับตัว 'แคร์' (มายด์ ณภศศิ) และ 'เปิ้ล' (พิม ลัทธ์กมล) มาขังเอาไว้จึงเป็นช่วงที่หนังปั้นแต่งตัวละครให้แสดงความสุดโต่งถึงขีดสุด มันคือภาพสะท้อนของเพศชายที่มีความต้องการทางเพศกับเน็ตไอดอล และภาพสะท้อนจากเพศหญิงด้วยกันที่มีความริษยาไม่ว่าจะผ่านคำชมของเพศชายหรือการถูกจับไปเปรียบเทียบ หนังหยิบจับโลกการคอมเม้นต์บน Facebook ที่เราเห็นกันมาตลอดมานำเสนอเป็นความรุนแรงที่มีรูปแบบชัดเจนทั้งความหื่นกระหายของเพศชาย และความรู้สึกหมั่นไส้ในความแอ๊บแบ๊วจนเพศหญิงด้วยกันยังอยากตบให้เลิกแอ๊บ
รูปแบบความรุนแรงที่ชัดเจนในพาร์ทที่สองสาวถูกจับมาขังและทรมาน มันยังถูกเล่าในแบบเดียวกันในพาร์ทเล่าชีวิตของเกรซจากหญิงสาวไร้เดียงสาที่กลายมาเป็นผู้ป่วยทางจิต เธอเคยถูกทำร้ายจากเพศชายที่มีความต้องการทางเพศ และจากเพศหญิงด้วยกันที่แสดงออกถึงความหมั่นไส้ริษยาอย่างชัดเจน เราจึงเห็นจุดเชื่อมโยงของทั้งสองพาร์ทในหนังอย่างหนึ่งว่ามันคือเจตนาที่จะบอกเล่าด้านมืดอันเกิดขึ้นจากจุดเริ่มต้นเหมือนกันคือแรงขับทางเพศและความริษยา
เปิดเผยเนื้อหาฉากจบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้