จากชีวิตมนุษย์เงินเดือน ต้องผกผันมาค้าขายทั้งแบบ Online และ Offline และจังหวะดีที่ จับสิ่งแรกที่ทำก็ เงินเข้า แบบไม่สะดุดเหมือนมีเงินเดือนเลย แต่เมื่อถึงช่วงที่ "ยอดขายตก" ชีวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงไป จึงได้เริ่มเข้าใจคำว่า "รายได้ไม่แน่นอน" นั้นต้องรับมืออย่างไร จากมีเงินเข้าทุกวัน กลายเป็นรายจ่ายมีทุกวันแต่เงินไม่เข้า จากมีเงินเก็บนอนนิ่งอยู่ในบัญชี ก็ต้องเริ่มดึงออกมาหมุนทั้งในร้าน และใช้จ่ายในครอบครัว
ค้าขายรอบแรก ยังเป็นมือใหม่ ไม่ได้ทำบัญชีละเอียด ไม่ได้แยกค่าจ้างตัวเองออกมา เหมือนที่หลายคนคงได้อ่านจากการแชร์ประสบการณ์ของหลาย ๆ คน พอเราไม่ได้แยก เห็นแต่เงินเข้า เงินออก ก็ไม่รู้ว่า จริง ๆ แล้วกำไรจริง ๆ มันเท่าไหร่กันแน่ หมุนกันไป หมุนกันมา จนต้องเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่ กับการเปลี่ยนแนวทางการทำมาหากิน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ .. เงินเก็บหมด หนี้สินเพิ่ม !!! จากไม่เคยเห็นหนี้บัตรเครดิต ก็ได้เป็นจนเข้าใจอารมณ์ของการต้องหาเงินมาจ่ายขั้นต่ำให้รอดทุกเดือน
ชีวิตเริ่มเปลี่ยน กลับมาถึงจุดที่ต้องนับหนึ่งกันใหม่ มนุษย์เงินเดือน ไม่เคยค้าขาย เริ่มมานั่งจับจุด ตั้งสติ ปรับปรุงกันอีกรอบในระยะเวลา 2 ปีแรกจากกิจการแรกที่ทำ เราก็มาเริ่มนับหนึ่งใหม่กับ อย่างที่สองที่ลงมือทำ แต่คราวนี้ มีบทเรียนแล้ว และสิ่งที่ค้นพบว่า เราควรทำคือ
1. แยกเงินค่าจ้างตัวเอง ออกมาให้ชัดเจน
2. ทำบัญชีต้นทุนร้านให้ชัดเจนขึ้น ทำต้นทุนให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. เริ่มทำบัญชีรายจ่าย สำหรับครอบครัวด้วย
จุดเปลี่ยนมันอยู่ที่ "บัญชีรายจ่าย" สำหรับครอบครัวนี่หละคะ .. จากที่คิดว่าเราไม่ได้ฟุ่มเฟือยนะ พอทำบัญชี ค้นพบว่า โห !! รายจ่ายบางอย่าง มันไม่น่าจะหมดไปขนาดนี้ เราก็ได้เห็น หลังจากนั้น พฤติกรรมของทุกคนในบ้านก็เริ่มถูกเปลี่ยนไป
1. เลิกใช้บัตรเครดิต ปัดทุกอย่างเข้าระบบเงินสดทั้งหมด : อะไรที่ยังไม่มีเงิน ก็ยังไม่ซื้อ อาการซื้อไว้ก่อน มันลดราคา ก็หายไปเลย ซื้อเท่าที่มีเงิน และจำเป็นต้องใช้เท่านั้น อันไหนหมด ค่อยซื้อ บัตรเครดิตมีไว้สำหรับ "กรณีฉุกเฉิน" จริง ๆ เช่น ป่วย เข้า รพ. หรือ รถเสีย เหตุสุดวิสัยที่ จำเป็นต้องจ่ายและเงินสดในมือไม่พอ
ผลที่เกิดขึ้นคือ ยอดเงินขั้นต่ำที่ต้องหามาจ่าย ค่อย ๆ ลดลงทุกเดือน เพราะไม่มีการสร้างหนี้ใหม่ จากอาการกระหืดกระหอบ ก็เริ่มหายใจทั่วท้องขึ้น
2. ใช้ทุกอย่างให้หมด ซื้อมากินให้หมด ของใช้ ต้องใช้ให้หมด ดังนั้น คิดก่อนซื้อ เพราะซื้อมาแล้วต้องรับผิดชอบ ของกินที่เคยหมดอายุ ทั้ง ๆที่ยังไม่ได้แกะกิน ตอนนี้ของสด หมดแล้วค่อยซื้อ อะไรที่ยังไม่แน่ใจว่าจะได้กินไหม ก็ยังไม่ซื้อ เห็นลดราคา เห็นแถม ก็เลิกซื้อ ไม่จำเป็น
สารพัดครีมที่ซื้อมาลอง แล้วใช้ครั้งสองครั้ง ถูกตั้งทิ้งไว้ ก็ถูกรื้อมาใช้จนหมด จะบอกว่า ตอนนี้ตั้งแต่เริ่มนโยบายนี้ ครีมทีมียังมีอีกเพียบเลย ไม่ได้เสียเงินกับครีม เซรั่มอะไรแบบนี้มา 6 เดือนได้
3. เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า งดซื้อ ใส่ที่มี รองเท้าไม่ขาด ไม่คับ ก็ไม่ซื้อ ซึ่งมีมากพอที่จะใส่อยู่แล้ว สบาย ๆ
4. จะออกจากบ้านไปทำอะไร วางแผนหลายตลบเลยทีนี้ อะไรที่ต้องไปจ่าย ไปทำ ในเส้นทางเดียวกัน เตรียมไปให้หมด แล้วอะไรที่ไม่ใช่เรื่องจำเป็น ก็ไม่ไป เก็บเนื้อเก็บตัว งดพบปะเพื่อนฝูงถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ผลที่เกิดขึ้นคือ จากค่าน้ำมัน + ค่าทางด่วน เยอะที่สุดที่เคยจดไว้คือ 6 พันกว่าบาท ตอนนี้ต่ำสุดคือ 850 บาท แต่โดยเฉลี่ยปกติ ก็จะเหลือเดือนละ พันปลาย ๆ สองพันต้น ๆ
5. เริ่มทำกับข้าวกินเอง ให้โคว้ต้าการไปกินข้าวนอกบ้านได้ เดือนละ 1 ครั้ง ในงบไม่เกิน 1,000.- สำหรับ 3 คน พ่อ แม่ ลูก แล้วก็เริ่มการหัดทำกับข้าวกินเอง จนได้พบว่า มีเมนูประหยัดมากมาย ที่อร่อยได้ด้วยเงินไม่กี่บาท เช่น ยำปลากระป๋อง ต้มยำปลากระป๋อง น้ำพริก+ไข่ต้ม ผัดผัก ผักกะเพรา
6. เริ่มปลูกอะไรที่ใช้บ่อย ๆ เองในบ้าน เช่น กะเพราะ โหระพา ผักชีฝรั่ง จะกินเมื่อไหร่ก็เดินไปเด็ด จากที่ต้องซื้อกะเพรา โหระพา กำละ 5 บาท ก็ไม่ต้องซื้อ ตอนนี้ก็ค่อย ๆ พยายามปลูกอย่างอื่นเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ
7. งดไปเที่ยวต่างจังหวัดก่อน .. หาที่เที่ยวใกล้ ๆ ที่ไปก็สนุกได้แบบประหยัด หรือกิจกรรมที่ทำร่วมกันแล้วสนุกได้แบบไม่ต้องใช้เงินมากมาย
จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังจากได้เห็นรายจ่าย ที่น่าตกใจภายในบ้าน ในช่วงวิกฤตแล้ว อีกอย่างที่นำมาใช้ จากการได้อ่านกระทู้แชร์ประสบการณ์จากการเก็บเงินจากในพันทิพ ที่ จขกท เก็บแบงค์ 50 บาท ไว้เรื่อย ๆ เลยนำมาลองทำตามบ้าง แต่ประยุกต์เป็นการเก็บแบงค์ 50 20 และเหรียญที่เข้ามาในกระเป๋าสตางค์ทุกวัน ออกแยกเป็นเงินออม
เริ่มต้นทำมาเมื่อ มิ.ย. 58 จนตอนนี้ มีเงินออมเดือนละ พันนิด ๆ ทุกเดือน ก็นำไปซื้อสลากออมสินเก็บไว้ทุกเดือน โดยเอาแบงค์และเหรียญที่เก็บไว้นั่นหละคะไปซื้อ ซึ่ง 6 เดือนที่ผ่านมาถูกรางวัลได้มา 150.- คือไม่ได้หวังอะไรกับเงินรางวัลมาก (แต่ตรวจตรงเวลเป๊ะทุกงวดเลยนะ วะฮ่าฮ่า) แค่อยากมีเงินเก็บแบบที่ไม่ต้องไปแตะต้องเลยยาว ๆ
จากการเริ่มต้น "จดบัญชีรายจ่าย" โดยที่มีพี่ที่เคารพท่านนึงแนะนำมา ตั้งแต่เดือน พ.ค. 58 เวลา ประมาณ 6 เดือน ทำให้ครอบครัวเราเปลี่ยนพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างไปได้อย่างมากมาย ภาวะด้านหนี้สินดีขึ้น ถึงแม้จะยังไม่ได้มากมาย แต่ก็เห็นทิศทางของการดีขึ้น เงินออมที่หมด ก็เริ่มต้นเก็บกันใหม่ ถึงแม้จะยังน้อย แต่ถ้าในภาวะเช่นนี้ มีเก็บได้ก็ดีใจมากแล้ว
ปี 59 นี้ เริ่มทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ที่ละเอียดขึ้น เริ่มจดรายรับ ที่ได้รับการแยกค่าจ้างตัวเอง จากกิจการที่ทำอยู่อย่างชัดเจนขึ้น เริ่มเห็นตัวเลขว่า รับเท่านี้ จ่ายเท่านี้ มันยังเขย่งกันอยู่เท่าไหร่ คาดว่า ปี 59 นี้ ชีวิตครอบครัวเราน่าจะดีขึ้นเรื่อย ๆ และผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ในที่สุด
แวะมาแชร์ประสบการณ์เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับ ๆ หลาย ๆ คนหากกำลังอยู่ในภาวะแบบเดียวกันนะคะ ถ้าเริ่มจัดการทุกอย่างเร็วเท่าไหร่ ทุกอย่างก็จะถูกสะสางเร็วขึ้นเท่านั้นนะคะ เห็นหลายคน รอบตัว ยังบ่นกันเรื่องเป็นหนี้บัตรเครดิต แต่ยังคงมีพฤติกรรมการใช้เงินแบบเดิม ไม่ปรับ ไม่เปลี่ยน หรือไม่ยอมหักดิบ มันก็ยากที่จะเครียก้อนดินที่พอกหางอยู่นะ
และถ้าท่านใดมีวิธีการ ออมเงิน ที่ดีกว่าที่ทำอยู่นี้ แนะนำได้นะคะ กำลังเริ่มศึกษาข้อมูลอยู่เหมือนกัน แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี
#แม่บ้านหัวโต
ชีวิตดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ "เมื่อเริ่มต้นจดบัญชีรายจ่าย" ใครยังไม่ได้ลอง ลองดูแล้วจะรู้ว่า น่าจะทำตั้งนานแล้ว
ค้าขายรอบแรก ยังเป็นมือใหม่ ไม่ได้ทำบัญชีละเอียด ไม่ได้แยกค่าจ้างตัวเองออกมา เหมือนที่หลายคนคงได้อ่านจากการแชร์ประสบการณ์ของหลาย ๆ คน พอเราไม่ได้แยก เห็นแต่เงินเข้า เงินออก ก็ไม่รู้ว่า จริง ๆ แล้วกำไรจริง ๆ มันเท่าไหร่กันแน่ หมุนกันไป หมุนกันมา จนต้องเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่ กับการเปลี่ยนแนวทางการทำมาหากิน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ .. เงินเก็บหมด หนี้สินเพิ่ม !!! จากไม่เคยเห็นหนี้บัตรเครดิต ก็ได้เป็นจนเข้าใจอารมณ์ของการต้องหาเงินมาจ่ายขั้นต่ำให้รอดทุกเดือน
ชีวิตเริ่มเปลี่ยน กลับมาถึงจุดที่ต้องนับหนึ่งกันใหม่ มนุษย์เงินเดือน ไม่เคยค้าขาย เริ่มมานั่งจับจุด ตั้งสติ ปรับปรุงกันอีกรอบในระยะเวลา 2 ปีแรกจากกิจการแรกที่ทำ เราก็มาเริ่มนับหนึ่งใหม่กับ อย่างที่สองที่ลงมือทำ แต่คราวนี้ มีบทเรียนแล้ว และสิ่งที่ค้นพบว่า เราควรทำคือ
1. แยกเงินค่าจ้างตัวเอง ออกมาให้ชัดเจน
2. ทำบัญชีต้นทุนร้านให้ชัดเจนขึ้น ทำต้นทุนให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. เริ่มทำบัญชีรายจ่าย สำหรับครอบครัวด้วย
จุดเปลี่ยนมันอยู่ที่ "บัญชีรายจ่าย" สำหรับครอบครัวนี่หละคะ .. จากที่คิดว่าเราไม่ได้ฟุ่มเฟือยนะ พอทำบัญชี ค้นพบว่า โห !! รายจ่ายบางอย่าง มันไม่น่าจะหมดไปขนาดนี้ เราก็ได้เห็น หลังจากนั้น พฤติกรรมของทุกคนในบ้านก็เริ่มถูกเปลี่ยนไป
1. เลิกใช้บัตรเครดิต ปัดทุกอย่างเข้าระบบเงินสดทั้งหมด : อะไรที่ยังไม่มีเงิน ก็ยังไม่ซื้อ อาการซื้อไว้ก่อน มันลดราคา ก็หายไปเลย ซื้อเท่าที่มีเงิน และจำเป็นต้องใช้เท่านั้น อันไหนหมด ค่อยซื้อ บัตรเครดิตมีไว้สำหรับ "กรณีฉุกเฉิน" จริง ๆ เช่น ป่วย เข้า รพ. หรือ รถเสีย เหตุสุดวิสัยที่ จำเป็นต้องจ่ายและเงินสดในมือไม่พอ
ผลที่เกิดขึ้นคือ ยอดเงินขั้นต่ำที่ต้องหามาจ่าย ค่อย ๆ ลดลงทุกเดือน เพราะไม่มีการสร้างหนี้ใหม่ จากอาการกระหืดกระหอบ ก็เริ่มหายใจทั่วท้องขึ้น
2. ใช้ทุกอย่างให้หมด ซื้อมากินให้หมด ของใช้ ต้องใช้ให้หมด ดังนั้น คิดก่อนซื้อ เพราะซื้อมาแล้วต้องรับผิดชอบ ของกินที่เคยหมดอายุ ทั้ง ๆที่ยังไม่ได้แกะกิน ตอนนี้ของสด หมดแล้วค่อยซื้อ อะไรที่ยังไม่แน่ใจว่าจะได้กินไหม ก็ยังไม่ซื้อ เห็นลดราคา เห็นแถม ก็เลิกซื้อ ไม่จำเป็น
สารพัดครีมที่ซื้อมาลอง แล้วใช้ครั้งสองครั้ง ถูกตั้งทิ้งไว้ ก็ถูกรื้อมาใช้จนหมด จะบอกว่า ตอนนี้ตั้งแต่เริ่มนโยบายนี้ ครีมทีมียังมีอีกเพียบเลย ไม่ได้เสียเงินกับครีม เซรั่มอะไรแบบนี้มา 6 เดือนได้
3. เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า งดซื้อ ใส่ที่มี รองเท้าไม่ขาด ไม่คับ ก็ไม่ซื้อ ซึ่งมีมากพอที่จะใส่อยู่แล้ว สบาย ๆ
4. จะออกจากบ้านไปทำอะไร วางแผนหลายตลบเลยทีนี้ อะไรที่ต้องไปจ่าย ไปทำ ในเส้นทางเดียวกัน เตรียมไปให้หมด แล้วอะไรที่ไม่ใช่เรื่องจำเป็น ก็ไม่ไป เก็บเนื้อเก็บตัว งดพบปะเพื่อนฝูงถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ผลที่เกิดขึ้นคือ จากค่าน้ำมัน + ค่าทางด่วน เยอะที่สุดที่เคยจดไว้คือ 6 พันกว่าบาท ตอนนี้ต่ำสุดคือ 850 บาท แต่โดยเฉลี่ยปกติ ก็จะเหลือเดือนละ พันปลาย ๆ สองพันต้น ๆ
5. เริ่มทำกับข้าวกินเอง ให้โคว้ต้าการไปกินข้าวนอกบ้านได้ เดือนละ 1 ครั้ง ในงบไม่เกิน 1,000.- สำหรับ 3 คน พ่อ แม่ ลูก แล้วก็เริ่มการหัดทำกับข้าวกินเอง จนได้พบว่า มีเมนูประหยัดมากมาย ที่อร่อยได้ด้วยเงินไม่กี่บาท เช่น ยำปลากระป๋อง ต้มยำปลากระป๋อง น้ำพริก+ไข่ต้ม ผัดผัก ผักกะเพรา
6. เริ่มปลูกอะไรที่ใช้บ่อย ๆ เองในบ้าน เช่น กะเพราะ โหระพา ผักชีฝรั่ง จะกินเมื่อไหร่ก็เดินไปเด็ด จากที่ต้องซื้อกะเพรา โหระพา กำละ 5 บาท ก็ไม่ต้องซื้อ ตอนนี้ก็ค่อย ๆ พยายามปลูกอย่างอื่นเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ
7. งดไปเที่ยวต่างจังหวัดก่อน .. หาที่เที่ยวใกล้ ๆ ที่ไปก็สนุกได้แบบประหยัด หรือกิจกรรมที่ทำร่วมกันแล้วสนุกได้แบบไม่ต้องใช้เงินมากมาย
จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังจากได้เห็นรายจ่าย ที่น่าตกใจภายในบ้าน ในช่วงวิกฤตแล้ว อีกอย่างที่นำมาใช้ จากการได้อ่านกระทู้แชร์ประสบการณ์จากการเก็บเงินจากในพันทิพ ที่ จขกท เก็บแบงค์ 50 บาท ไว้เรื่อย ๆ เลยนำมาลองทำตามบ้าง แต่ประยุกต์เป็นการเก็บแบงค์ 50 20 และเหรียญที่เข้ามาในกระเป๋าสตางค์ทุกวัน ออกแยกเป็นเงินออม
เริ่มต้นทำมาเมื่อ มิ.ย. 58 จนตอนนี้ มีเงินออมเดือนละ พันนิด ๆ ทุกเดือน ก็นำไปซื้อสลากออมสินเก็บไว้ทุกเดือน โดยเอาแบงค์และเหรียญที่เก็บไว้นั่นหละคะไปซื้อ ซึ่ง 6 เดือนที่ผ่านมาถูกรางวัลได้มา 150.- คือไม่ได้หวังอะไรกับเงินรางวัลมาก (แต่ตรวจตรงเวลเป๊ะทุกงวดเลยนะ วะฮ่าฮ่า) แค่อยากมีเงินเก็บแบบที่ไม่ต้องไปแตะต้องเลยยาว ๆ
จากการเริ่มต้น "จดบัญชีรายจ่าย" โดยที่มีพี่ที่เคารพท่านนึงแนะนำมา ตั้งแต่เดือน พ.ค. 58 เวลา ประมาณ 6 เดือน ทำให้ครอบครัวเราเปลี่ยนพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างไปได้อย่างมากมาย ภาวะด้านหนี้สินดีขึ้น ถึงแม้จะยังไม่ได้มากมาย แต่ก็เห็นทิศทางของการดีขึ้น เงินออมที่หมด ก็เริ่มต้นเก็บกันใหม่ ถึงแม้จะยังน้อย แต่ถ้าในภาวะเช่นนี้ มีเก็บได้ก็ดีใจมากแล้ว
ปี 59 นี้ เริ่มทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ที่ละเอียดขึ้น เริ่มจดรายรับ ที่ได้รับการแยกค่าจ้างตัวเอง จากกิจการที่ทำอยู่อย่างชัดเจนขึ้น เริ่มเห็นตัวเลขว่า รับเท่านี้ จ่ายเท่านี้ มันยังเขย่งกันอยู่เท่าไหร่ คาดว่า ปี 59 นี้ ชีวิตครอบครัวเราน่าจะดีขึ้นเรื่อย ๆ และผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ในที่สุด
แวะมาแชร์ประสบการณ์เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับ ๆ หลาย ๆ คนหากกำลังอยู่ในภาวะแบบเดียวกันนะคะ ถ้าเริ่มจัดการทุกอย่างเร็วเท่าไหร่ ทุกอย่างก็จะถูกสะสางเร็วขึ้นเท่านั้นนะคะ เห็นหลายคน รอบตัว ยังบ่นกันเรื่องเป็นหนี้บัตรเครดิต แต่ยังคงมีพฤติกรรมการใช้เงินแบบเดิม ไม่ปรับ ไม่เปลี่ยน หรือไม่ยอมหักดิบ มันก็ยากที่จะเครียก้อนดินที่พอกหางอยู่นะ
และถ้าท่านใดมีวิธีการ ออมเงิน ที่ดีกว่าที่ทำอยู่นี้ แนะนำได้นะคะ กำลังเริ่มศึกษาข้อมูลอยู่เหมือนกัน แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี
#แม่บ้านหัวโต