หลังจากที่ละครแห่งปี 2015 เรื่องสุดท้ายซึ่งมีเรตติ้งสูงเกือบ 20 ตอกย้ำประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกที่เคเบิ้ลทีวีอย่าง tvN ได้มาเทียบชั้นช่องใหญ่สามสถานีครั้งแรกและเป็นฐานละครที่ใช้วัดเรตติ้งความสำเร็จละครไพรม์ไทม์ในปี 2016 โดยใช้แผนการสร้างกระแสที่เรียกว่า hunting husband
พล๊อตเดาพระนาง ที่จริงไม่ใช่แผนละครแบบดั้งเดิม แต่ถ้าเราบอกว่าเป็นแบบหนึ่งของละครแนวรักสามเส้า ถึงสี่เส้าขึ้นไป ก็พอนึกตามออกได้ ในตามปรกติพล๊อตเราจะวางให้ตัวเอกชาย-หญิง มีน้ำหนักละครที่ไม่เท่ากันแบ่งลำดับให้ตัวเอกสองฝ่ายมากที่สุด จากนั้นลดหลั่นลงมาตามความสำคัญ
สำหรับพล๊อตนี้จะใช้หลักให้ตัวคู่แข่งบางเรื่องสองคน บางเรื่องใช้แข่งถึงสี่คนเลยด้วยซ้ำ
โดยให้ฝ่าย A และ B มีน้ำหนักในเรื่องที่พอๆกันสร้าง love story ในแบบฉบับที่ต่างกันโดยมีตัวกลางเป็นตัวเกี่ยวของทั้งสองฝ่าย การใช้พล๊อตสไตล์นี้มักจะได้เป็นการสร้างคำถาม ความสงสัย และการสร้างคำตอบในใจแก่คนดู เพื่อให้เลือกว่าตอบถูกหรือตอบผิดซึ่งท้าทายคนเขียนด้วยว่าคำตอบตรงกับคนดูหรือไม่
ในบางครั้งคนเขียนเลือกทำคำตอบเปิดไว้ก่อนเพื่อรอกระแสคนดูจากนั้นจบแบบที่คนดูต้องการอย่างเรื่อง producer
หลายๆครั้งคนเขียนคำตอบไม่ตรงใจคนดูเลือกที่จะเปลี่ยนคำตอบตัวเองให้ตรงกับคนดูหรือ แฟนเซอร์วิส เช่น queen seondeok /empress ki /what happen in bail
แต่หลายๆครั้งคนเขียนเลือกตอบแบบตามใจตัวเองซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับดู เช่นละครตระกูล reply /fashion king/
การเล่นความรู้สึกคนดูบางครั้งแล้วแต่คนทำละครว่าต้องการใช้ประเด็นนี้มากหรือน้อย บางเรื่องไม่ได้ใช้มากมายนัก
เช่น I hear your voice ก็มีการเดาพระเอกแต่เพราะใช้เลเวลที่เบามากๆมันเลยทำให้สองฝายยอมรับผลต่อกันได้
49 days อันนี้เดาพระนางเหมือนกันแต่ความรู้สึกคนดูกลับแทบไม่สนใจว่าใครคู่ใครเพราะคนเขียนเดินเรื่องได้ดีมากและจบอย่างสมเหตุสมผล
สำหรับละครที่ใช้ประเด็นนี้หนักมากจนกลายเป็นดราม่าระดับประเทศแม้แต่ระหว่างประเทศมากแล้วก็คือ doctor stranger อันนี้น่าเป็นตัวอย่างละครเดาพระนางที่ดีเรื่องหนึ่งว่าคำตอบไม่ตรงตามใจคนดูแต่จบได้อย่างลงดีกับทุกคนทำให้เสียงด่าที่มีต้นๆเรื่องมาเบาลงตอนอวสานเพราะการจบที่หาทางที่ดีร่วมกันแม้ไม่ถูกใจทุกคนแต่คนไม่สามารถตำหนิได้
สำหรับเราการจบที่หาทางออกที่ดีร่วมกันสำคัญสำหรับละครแนวนี้มากๆ เพราะมันคือการให้เกียรติคนดูทุกฝ่ายที่ถือคำตอบไม่ว่าจะถูกหรือผิด ทางออกที่ดีคือคนแพ้ได้รับการจบอย่างสง่างาม คนชนะได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์และไม่ตะขิดตะขวงใจ
ตัวอย่างที่จบแบบหาทางลงที่ดีคือ Queen seondeok และ จูมง ที่สามารถหาทางออกในรักสามเส้าในแบบเดาว่ารักใครได้ดีคนชนะ(พีดาม ด็อกมาน)(จูมง โซยา) และ การให้เกียรติคนแพ้ที่ต้องชื่นชม(ยูชิน)(ซอซาโน)
พล๊อตเดาพระนางกับการสร้างกระแสและเรตติ้ง
ต้องยอมรับพล๊อตเดาพระนางในปัจจุบันคือพล๊อตที่นิยมมากที่สุดในละครเกาหลี มาแทนมุขความจำเสื่อม และน่าเป็นธีมสำคัญเทียบเท่ากับความรักแบบนางซินด้วย
การใช้หลักสร้างเรื่องเพื่อให้คนปักใจเชื่อและก่อการทะเลาะเบาะแว้งเพื่อปั่นกระแสและเรตติ้ง วิธีการทำละครแบบนี้มันง่ายแต่ได้ผลดีมาหลายครั้ง
เราว่าการกระตุ้นคนดูแบบนี้มันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนเรามากเพราะคนบ้านเราเองก็เคยถูกการใช้วิธีเอาเหตุผลตัวเองหักล้างฝั่งตรงข้ามคล้ายเน้นการให้คนดูยึดคำตอบตัวเองแทน
มันมีผลทำให้คนติดกับและต้องดูเพื่อรู้ว่าตัวเองจะชนะไหม มันต้องดูเพื่อให้หายคาใจว่าใครชนะใครแพ้พอจบเกมแล้วบางครั้งเกิดการทะเลาะวิวาทกันต่อจนละครซาลง
การลากเรื่องแนวนี้ยิ่งลากได้ยาวไกลแค่ไหนยิ่งสามารถทำให้เรตติ้งสูงมากเห็นละครช่วงหลังๆแนวนี้เฉลยในเกือบสุดท้ายเสียส่วนมากเพราะรั้งคนดูให้สุดทาง แล้วถูกด่าหรือชมจากนั้นก็ต้องยอมรับเพราะนี่คือวิธีการรั้งลูกค้าไว้ให้นานที่สุดสำหรับแผนละครแนวนี้
ผลข้างเคียงของยาแรงแบบนี้มีหรือเปล่า
ยาแรงตัวนี้ไปมีกับคนรับบทแสดงค่ะ นักแสดงเองอาจได้รับความรักหรือความเกลียดชังได้พอๆกันมันอยู่ที่บทจะทำออกมา ยิ่งแสดงดีผลอาจออกได้ทั้งสองแบบ นักแสดงบางคนได้ผลกระทบจากละครแนวนี้เหมือนกัน ซึ่งต้องการพิสูจน์ตัวเองในงานครั้งต่อไป ส่วนคนที่ชนะใจคนส่วนมากมักได้รับแรงหนุนที่มากขึ้นหลังจากละครจบ
ตราบใดที่แนวนี้และคนยังเลือกที่จะชอบแนวละครนี้คิดว่าแนวนี้น่าจะยังอยู่ในละครไปอีกนานเท่านานยังสมรภูมิสงครามน้ำลายให้รบอีกหลายรอบ
การทำละครไม่ใช่แค่ทำเพื่อทำแค่คนดูเสพคนทำได้รับคำชม แต่คือการทำให้ละครประสบความสำเร็จในแง่การค้าที่รูปธรรมสำหรับธุรกิจบันเทิงต่างหาก
(พลีชีพ) พล๊อตเดาพระนางยาวิเศษเรียกรายได้ของละครเกาหลีในยุคนี้จริงหรือ
พล๊อตเดาพระนาง ที่จริงไม่ใช่แผนละครแบบดั้งเดิม แต่ถ้าเราบอกว่าเป็นแบบหนึ่งของละครแนวรักสามเส้า ถึงสี่เส้าขึ้นไป ก็พอนึกตามออกได้ ในตามปรกติพล๊อตเราจะวางให้ตัวเอกชาย-หญิง มีน้ำหนักละครที่ไม่เท่ากันแบ่งลำดับให้ตัวเอกสองฝ่ายมากที่สุด จากนั้นลดหลั่นลงมาตามความสำคัญ
สำหรับพล๊อตนี้จะใช้หลักให้ตัวคู่แข่งบางเรื่องสองคน บางเรื่องใช้แข่งถึงสี่คนเลยด้วยซ้ำ
โดยให้ฝ่าย A และ B มีน้ำหนักในเรื่องที่พอๆกันสร้าง love story ในแบบฉบับที่ต่างกันโดยมีตัวกลางเป็นตัวเกี่ยวของทั้งสองฝ่าย การใช้พล๊อตสไตล์นี้มักจะได้เป็นการสร้างคำถาม ความสงสัย และการสร้างคำตอบในใจแก่คนดู เพื่อให้เลือกว่าตอบถูกหรือตอบผิดซึ่งท้าทายคนเขียนด้วยว่าคำตอบตรงกับคนดูหรือไม่
ในบางครั้งคนเขียนเลือกทำคำตอบเปิดไว้ก่อนเพื่อรอกระแสคนดูจากนั้นจบแบบที่คนดูต้องการอย่างเรื่อง producer
หลายๆครั้งคนเขียนคำตอบไม่ตรงใจคนดูเลือกที่จะเปลี่ยนคำตอบตัวเองให้ตรงกับคนดูหรือ แฟนเซอร์วิส เช่น queen seondeok /empress ki /what happen in bail
แต่หลายๆครั้งคนเขียนเลือกตอบแบบตามใจตัวเองซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับดู เช่นละครตระกูล reply /fashion king/
การเล่นความรู้สึกคนดูบางครั้งแล้วแต่คนทำละครว่าต้องการใช้ประเด็นนี้มากหรือน้อย บางเรื่องไม่ได้ใช้มากมายนัก
เช่น I hear your voice ก็มีการเดาพระเอกแต่เพราะใช้เลเวลที่เบามากๆมันเลยทำให้สองฝายยอมรับผลต่อกันได้
49 days อันนี้เดาพระนางเหมือนกันแต่ความรู้สึกคนดูกลับแทบไม่สนใจว่าใครคู่ใครเพราะคนเขียนเดินเรื่องได้ดีมากและจบอย่างสมเหตุสมผล
สำหรับละครที่ใช้ประเด็นนี้หนักมากจนกลายเป็นดราม่าระดับประเทศแม้แต่ระหว่างประเทศมากแล้วก็คือ doctor stranger อันนี้น่าเป็นตัวอย่างละครเดาพระนางที่ดีเรื่องหนึ่งว่าคำตอบไม่ตรงตามใจคนดูแต่จบได้อย่างลงดีกับทุกคนทำให้เสียงด่าที่มีต้นๆเรื่องมาเบาลงตอนอวสานเพราะการจบที่หาทางที่ดีร่วมกันแม้ไม่ถูกใจทุกคนแต่คนไม่สามารถตำหนิได้
สำหรับเราการจบที่หาทางออกที่ดีร่วมกันสำคัญสำหรับละครแนวนี้มากๆ เพราะมันคือการให้เกียรติคนดูทุกฝ่ายที่ถือคำตอบไม่ว่าจะถูกหรือผิด ทางออกที่ดีคือคนแพ้ได้รับการจบอย่างสง่างาม คนชนะได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์และไม่ตะขิดตะขวงใจ
ตัวอย่างที่จบแบบหาทางลงที่ดีคือ Queen seondeok และ จูมง ที่สามารถหาทางออกในรักสามเส้าในแบบเดาว่ารักใครได้ดีคนชนะ(พีดาม ด็อกมาน)(จูมง โซยา) และ การให้เกียรติคนแพ้ที่ต้องชื่นชม(ยูชิน)(ซอซาโน)
พล๊อตเดาพระนางกับการสร้างกระแสและเรตติ้ง
ต้องยอมรับพล๊อตเดาพระนางในปัจจุบันคือพล๊อตที่นิยมมากที่สุดในละครเกาหลี มาแทนมุขความจำเสื่อม และน่าเป็นธีมสำคัญเทียบเท่ากับความรักแบบนางซินด้วย
การใช้หลักสร้างเรื่องเพื่อให้คนปักใจเชื่อและก่อการทะเลาะเบาะแว้งเพื่อปั่นกระแสและเรตติ้ง วิธีการทำละครแบบนี้มันง่ายแต่ได้ผลดีมาหลายครั้ง
เราว่าการกระตุ้นคนดูแบบนี้มันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนเรามากเพราะคนบ้านเราเองก็เคยถูกการใช้วิธีเอาเหตุผลตัวเองหักล้างฝั่งตรงข้ามคล้ายเน้นการให้คนดูยึดคำตอบตัวเองแทน
มันมีผลทำให้คนติดกับและต้องดูเพื่อรู้ว่าตัวเองจะชนะไหม มันต้องดูเพื่อให้หายคาใจว่าใครชนะใครแพ้พอจบเกมแล้วบางครั้งเกิดการทะเลาะวิวาทกันต่อจนละครซาลง
การลากเรื่องแนวนี้ยิ่งลากได้ยาวไกลแค่ไหนยิ่งสามารถทำให้เรตติ้งสูงมากเห็นละครช่วงหลังๆแนวนี้เฉลยในเกือบสุดท้ายเสียส่วนมากเพราะรั้งคนดูให้สุดทาง แล้วถูกด่าหรือชมจากนั้นก็ต้องยอมรับเพราะนี่คือวิธีการรั้งลูกค้าไว้ให้นานที่สุดสำหรับแผนละครแนวนี้
ผลข้างเคียงของยาแรงแบบนี้มีหรือเปล่า
ยาแรงตัวนี้ไปมีกับคนรับบทแสดงค่ะ นักแสดงเองอาจได้รับความรักหรือความเกลียดชังได้พอๆกันมันอยู่ที่บทจะทำออกมา ยิ่งแสดงดีผลอาจออกได้ทั้งสองแบบ นักแสดงบางคนได้ผลกระทบจากละครแนวนี้เหมือนกัน ซึ่งต้องการพิสูจน์ตัวเองในงานครั้งต่อไป ส่วนคนที่ชนะใจคนส่วนมากมักได้รับแรงหนุนที่มากขึ้นหลังจากละครจบ
ตราบใดที่แนวนี้และคนยังเลือกที่จะชอบแนวละครนี้คิดว่าแนวนี้น่าจะยังอยู่ในละครไปอีกนานเท่านานยังสมรภูมิสงครามน้ำลายให้รบอีกหลายรอบ
การทำละครไม่ใช่แค่ทำเพื่อทำแค่คนดูเสพคนทำได้รับคำชม แต่คือการทำให้ละครประสบความสำเร็จในแง่การค้าที่รูปธรรมสำหรับธุรกิจบันเทิงต่างหาก