คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ถามแบบนี้แปลว่ายังไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ ยาวไปหน่อยแต่อยากให้ลองไปอ่านดูครับ
งานราชการ จะมีประกาศรับสมัครสอบเรื่อยๆตลอดทั้งปี
แต่ละครั้ง ตำแหน่งที่รับสมัครสอบ หน่วยงานที่เปิดสอบ จะไม่แน่นอนต้องดูเป็นคราวๆไป
เว้นแต่บางหน่วยงาน บางตำแหน่งที่เปิดสอบเป็นวงรอบอยู่แล้ว ยังพอคาดเดาการเปิดรับสมัครสอบได้
เช่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร, นักวิชาการพัฒนาชุมชน, ปลัดอำเภอ ฯลฯ
ผู้มีสิทธิสมัครสอบงานราชการต่างๆ ต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ข้าราชการฝ่ายพลเรือน (สังกัด กระทรวง กรม ท้องถิ่น ฯลฯ) ส่วนใหญ่จะไม่กำหนดอายุขั้นสูง ขอเพียงอายุยังไม่ถึง 60 ปี ก็สมัครได้
ข้าราชการทหาร, ตำรวจ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อาจกำหนดอายุขั้นสูงไว้ เช่น ต้องมีอายุไม่เกิน 35 ปี
ยกตัวอย่าง กรณี ผู้สมัครสอบตำรวจ ชั้นประทวนอายุต้องไม่เกิน 27 ปี, ชั้นสัญญาบัตรอายุต้องไม่เกิน 35 ปี เป็นต้น
ขั้นตอนแรกจะเป็นเรื่องการติดตามข่าวสาร แนะนำให้พิมพ์คำว่า "งานราชการ" ลงใน Google
จะมีเว็บขึ้นมาเยอะแยะเลย เว็บหลักๆที่อัพเดท ก็คือเว็บแรกๆที่ขึ้นมานั่นแหละครับ
เวลามีข่าวสารใหม่ ก็ลองเข้าไปอ่านประกาศ ย้ำว่าให้อ่านประกาศของหน่วยงานให้ละเอียด
ดูว่าตัวเรามีคุณสมบัติครบหรือไม่ ทั้งคุณวุฒิ ทั้งการผ่านภาค ก. ฯลฯ และ บรรจุลงที่ไหน เป็นต้น
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของการสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการคือ “วุฒิการศึกษา”
ต้องมีวุฒิการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัคร โดยสามารถตรวจสอบผลการรับรองคุณวุฒิของเราได้ที่
http://e-accreditation.ocsc.go.th/acc/index.html
ด้วยการนำชื่อหลักสูตรที่เราจบการศึกษา (หรือชื่อปริญญาที่เรารับ) มาตรวจสอบ
โดยการรับรองคุณวุฒิในการในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หลักๆจะอ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.
(สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
ทาง ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิเป็น “สาขา” และ “ทาง” เช่น
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกวิศวกรรมโยธา
ผลการรับรอง: คุณวุฒิสาขา"วิศวกรรมศาสตร์" ทาง"วิศวกรรมโยธา"
“สาขา” คือ สาขาการศึกษา เช่น สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ เป็นต้น
“ทาง” คือ วิชาเอก เช่น ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางบริหารรัฐกิจ ทางชีววิทยา เป็นต้น
ทีนี้ประกาศรับสมัครสอบงานราชการ จะเห็นได้ว่ามีเยอะแยะไปหมด จะสอบอะไรดี
ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักประเภทบุคลากรของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจก่อนครับ จะได้รู้และเข้าใจว่าควรสมัครตามประกาศไหน
ผมขอจัดกลุ่มประเภทบุคลากรที่ประกาศรับสมัครสอบไว้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามประเภทองค์กรนะครับ คือ
1. ส่วนราชการ (กระทรวง, กรม และหน่วยงานราชการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น)
2. รัฐวิสาหกิจ (การไฟฟ้า การประปา การรถไฟ ธกส. ธอส. สกย. ฯลฯ)
ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่ต้องสอบแข่งขันเข้าตามกระบวนการ
ลูกจ้าง, พนักงานจ้าง อาจไม่ต้องสอบแข่งขันก็ได้ แล้วแต่กรณี
- ส่วนราชการจะมีบุคลากรของหน่วยงาน 6 ประเภทหลักๆ คือ
1. ข้าราชการ (เป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของงานราชการ มียศขั้น สามารถก้าวหน้าขึ้นเป็น ระดับอำนวยการ และ ระดับบริหารได้ มีสิทธิสวัสดิการเต็ม รักษาพยาบาล บำเหน็จบำนาญ ฯลฯ)
2. พนักงานราชการ (เป็นตำแหน่งบรรจุแทนที่ลูกจ้างประจำ ฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ แต่ไม่มีสวัสดิการใดๆ จากหน่วยงาน ใช้ระบบประกันสังคม และเป็นลูกน้องข้าราชการตลอดชีพ ไม่มียศขั้น)
3. ลูกจ้างประจำ (เป็นลูกน้องข้าราชการเช่นกัน แต่มีสวัสดิการเทียบเท่าข้าราชการ ปัจจุบันไม่มีบรรจุเพิ่มแล้ว (แต่ในบางหน่วยงานยังมีบรรจุอยู่ เช่น กทม. เป็นต้น))
4. ลูกจ้างชั่วคราว (เป็นตำแหน่งที่จะบรรจุเป็นลูกจ้างประจำต่อไป ปัจจุบันก็ไม่มีเปิดรับแล้วเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ)
5. พนักงานจ้างเหมา (เป็นพนักงานจ้างตามโครงการ ที่ทำด้วยสัญญาจ้างทำของ เป็นการจ้างเหมาเข้าทำงานเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้ ถ้าหมดสัญญาอาจจะไม่จ้างต่อ ไม่มีความมั่นคง ไม่มีสิทธิประโยชน์ใดๆ ได้แต่เงินเดือน ไม่อยู่ในฐานนะลูกจ้าง-นายจ้าง กับราชการ เพราะไม่ได้ทำสัญญาด้วยสัญญาจ้างแรงงาน)
6. พนักงานมหาวิทยาลัย (จะเทียบเท่าใกล้เคียงกับพนักงานราชการคือมีการต่อสัญญา แต่มีระดับขั้นได้แบบข้าราชการ ถูกบรรจุแทนข้าราชการประจำในมหาวิทยาลัย สิทธิสวัสดิการแล้วแต่มหาวิทยาลัย มี 2 ประเภท คือ พนักงานฯเงินงบประมาณ กับ พนักงานฯเงินรายได้)
- รัฐวิสาหกิจ จะมีบุคลากรอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และ ลูกจ้าง
1. พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีสิทธิสวัสดิการคล้ายข้าราชการ มีขั้นและตำแหน่ง ก้าวหน้าเติบโตได้ตามลำดับขั้น
2. ลูกจ้าง เป็นฝ่ายสนับสนุนพนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่มีความก้าวหน้า แต่อาจมีโอกาสบรรจุเป็นพนักงานได้เป็นการภายใน แล้วแต่บางองค์กร
ตามประกาศรับสมัครส่วนมากจะรับสมัครสอบอยู่ 3 ประเภทครับ คือ ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ข้าราชการ ส่วนมาก จะบังคับต้องสอบผ่านภาค ก. (ความรู้ความสามารถทั่วไป) ของ ก.พ. มาก่อน
ถึงจะมีสิทธิสมัครสอบภาค ข. (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) และ ค. (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง)
แต่ทั้งนี้ ข้าราชการเอง ก็มีหลายประเภท ทั้ง ขรก.พลเรือน, ขรก.กทม., ขรก.ท้องถิ่น, ขรก.รัฐสภา, ขรก.ครู, ขรก.ศาลฯ, ขรก.ตำรวจ ฯลฯ
ข้าราชการบางประเภทไม่ต้องสอบผ่าน ภาค ก. ของ ก.พ. เช่น ข้าราชการทหาร/ตำรวจ
แต่ถึงอย่างไรก็จะมีการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปที่คล้ายๆ ภาค ก. ของ ก.พ. อยู่ดี
ข้าราชการบางประเภทจะมีการสอบ ภาค ก. ของตัวเอง เช่น กทม., ท้องถิ่น, ศาล, ครู ฯลฯ จะไม่ใช้ ภาค ก. ของ ก.พ.
ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญ (ข้าราชการที่สังกัด กระทรวง กรม ฯลฯ ต่างๆ) จะใช้ผลสอบภาค ก. ของ ก.พ. ครับ
แต่จะมีข้าราชการส่วนน้อยมากๆอยู่เหมือนกันที่บรรจุแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ ไม่ต้องสอบผ่าน ภาค ก.
เช่นในกรณี บรรจุในสาขาขาดแคลน, บรรจุด้วยสัญญาผูกพักกับราชการ ฯลฯ ซึ่งกรณีนี้หายากมากครับ
ข้าราชการมีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง
มีฐานเงินเดือนปัจจุบันก่อนปรับ 4% ในรัฐบาล คสช. ตามนี้ครับ
ระดับ ปวส. 11,500 บาท/เดือน
ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน
ระดับปริญญาโท 17,500 บาท/เดือน
ระดับปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน
บางตำแหน่งในทุกส่วนราชการ อาจะจะมีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้
เช่น นิติกร ได้รับ 3,000 - 6,000 บาท แล้วแต่ระดับ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/salary/w2-2554.pdf
บางองค์กร อาจจะมีเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษ หรือที่เรียกอย่างอื่นให้
เช่น ศาล, ปปช., กรมสอบสวนคดีพิเศษ, รัฐสภา ฯลฯ
ทำให้รายรับรวมจะมากกว่าข้าราชการบางกลุ่มครับ เช่น
พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ เงินเดือน 15,000 +
ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับตำแหน่ง 7,000 +
เงินส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการที่ดีของข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง 6,000
รวม พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ ทำงานครบ 1 ปี รวมรายรับ/เดือน 28,000 บาท
http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1681.pdf
http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1682.pdf
ข้อมูล เปรียบเทียบเงินเพิ่มพิเศษ, เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ
http://www.vichakankunapab.com/forum/index.php?topic=81.0
ทั้งนี้ข้าราชการถือเป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของสายงานราชการ
หากคิดจะเอาดีทางสายงานราชการ ต้องเป็นข้าราชการให้ได้ครับ
พนักงานราชการ ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก็สามารถสมัครสอบภาค ข. ได้
พนักงานราชการ เป็นลูกจ้างสัญญาจ้าง
โดยจะเป็นฝ่ายสนับสนุนข้าราชการเท่านั้น ไม่มีการสั่งสมประสบการณ์เพื่อเลื่อนขั้น
เทียบได้เป็นทหารที่ไม่มียศ (ข้าราชการจะเทียบเท่าชั้นยศทหารตั้งแต่ สิบตรี - พลเอก)
เป็นลูกน้องข้าราชการตลอดอายุงาน เงินเดือนขึ้นปีละ 1 ครั้ง
ไม่มีสิทธิสวัสดิการใดๆทั้งสิ้น ใช้ระบบประกันสังคม (ด้อยกว่านายสิบที่เป็นข้าราชการทหารอีกครับ)
ต่อสัญญาจ้างไม่เกินคราวละ 4 ปี มีความมั่นคงพอสมควร แต่ก็แล้วแต่ผู้บริหารด้วย
โดยหน่วยงานสามารถไล่เราออกอย่างถูกต้องตามสัญญาได้โดยการไม่ต่อสัญญา (กรณีนี้มีน้อยครับ)
ไม่สามารถเลื่อนเป็นข้าราชการจากตำแหน่งพนักงานราชการได้ หากจะเป็นข้าราชการต้องสอบบรรจุใหม่
ฐานเงินเดือนพนักงานราชการจะสูงกว่าข้าราชการ ดังนี้ครับ (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557)
ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557 (ยังไม่รวม 4% รัฐบาล คสช.)
วุฒิ ปวช. 11,280 บาท
วุฒิ ปวส. 13,800 บาท
วุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี บริหารทั่วไป 18,000 บ.
วุฒิปริญญาโท บริหารทั่วไป 21,000 บ.
วุฒิปริญญาเอก บริหารทั่วไป 25,200 บ.
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/GEIS/PrakardSalary6.pdf
ต่อ คห. ถัดไป
งานราชการ จะมีประกาศรับสมัครสอบเรื่อยๆตลอดทั้งปี
แต่ละครั้ง ตำแหน่งที่รับสมัครสอบ หน่วยงานที่เปิดสอบ จะไม่แน่นอนต้องดูเป็นคราวๆไป
เว้นแต่บางหน่วยงาน บางตำแหน่งที่เปิดสอบเป็นวงรอบอยู่แล้ว ยังพอคาดเดาการเปิดรับสมัครสอบได้
เช่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร, นักวิชาการพัฒนาชุมชน, ปลัดอำเภอ ฯลฯ
ผู้มีสิทธิสมัครสอบงานราชการต่างๆ ต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ข้าราชการฝ่ายพลเรือน (สังกัด กระทรวง กรม ท้องถิ่น ฯลฯ) ส่วนใหญ่จะไม่กำหนดอายุขั้นสูง ขอเพียงอายุยังไม่ถึง 60 ปี ก็สมัครได้
ข้าราชการทหาร, ตำรวจ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อาจกำหนดอายุขั้นสูงไว้ เช่น ต้องมีอายุไม่เกิน 35 ปี
ยกตัวอย่าง กรณี ผู้สมัครสอบตำรวจ ชั้นประทวนอายุต้องไม่เกิน 27 ปี, ชั้นสัญญาบัตรอายุต้องไม่เกิน 35 ปี เป็นต้น
ขั้นตอนแรกจะเป็นเรื่องการติดตามข่าวสาร แนะนำให้พิมพ์คำว่า "งานราชการ" ลงใน Google
จะมีเว็บขึ้นมาเยอะแยะเลย เว็บหลักๆที่อัพเดท ก็คือเว็บแรกๆที่ขึ้นมานั่นแหละครับ
เวลามีข่าวสารใหม่ ก็ลองเข้าไปอ่านประกาศ ย้ำว่าให้อ่านประกาศของหน่วยงานให้ละเอียด
ดูว่าตัวเรามีคุณสมบัติครบหรือไม่ ทั้งคุณวุฒิ ทั้งการผ่านภาค ก. ฯลฯ และ บรรจุลงที่ไหน เป็นต้น
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของการสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการคือ “วุฒิการศึกษา”
ต้องมีวุฒิการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัคร โดยสามารถตรวจสอบผลการรับรองคุณวุฒิของเราได้ที่
http://e-accreditation.ocsc.go.th/acc/index.html
ด้วยการนำชื่อหลักสูตรที่เราจบการศึกษา (หรือชื่อปริญญาที่เรารับ) มาตรวจสอบ
โดยการรับรองคุณวุฒิในการในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หลักๆจะอ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.
(สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
ทาง ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิเป็น “สาขา” และ “ทาง” เช่น
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกวิศวกรรมโยธา
ผลการรับรอง: คุณวุฒิสาขา"วิศวกรรมศาสตร์" ทาง"วิศวกรรมโยธา"
“สาขา” คือ สาขาการศึกษา เช่น สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ เป็นต้น
“ทาง” คือ วิชาเอก เช่น ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางบริหารรัฐกิจ ทางชีววิทยา เป็นต้น
ทีนี้ประกาศรับสมัครสอบงานราชการ จะเห็นได้ว่ามีเยอะแยะไปหมด จะสอบอะไรดี
ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักประเภทบุคลากรของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจก่อนครับ จะได้รู้และเข้าใจว่าควรสมัครตามประกาศไหน
ผมขอจัดกลุ่มประเภทบุคลากรที่ประกาศรับสมัครสอบไว้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามประเภทองค์กรนะครับ คือ
1. ส่วนราชการ (กระทรวง, กรม และหน่วยงานราชการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น)
2. รัฐวิสาหกิจ (การไฟฟ้า การประปา การรถไฟ ธกส. ธอส. สกย. ฯลฯ)
ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่ต้องสอบแข่งขันเข้าตามกระบวนการ
ลูกจ้าง, พนักงานจ้าง อาจไม่ต้องสอบแข่งขันก็ได้ แล้วแต่กรณี
- ส่วนราชการจะมีบุคลากรของหน่วยงาน 6 ประเภทหลักๆ คือ
1. ข้าราชการ (เป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของงานราชการ มียศขั้น สามารถก้าวหน้าขึ้นเป็น ระดับอำนวยการ และ ระดับบริหารได้ มีสิทธิสวัสดิการเต็ม รักษาพยาบาล บำเหน็จบำนาญ ฯลฯ)
2. พนักงานราชการ (เป็นตำแหน่งบรรจุแทนที่ลูกจ้างประจำ ฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ แต่ไม่มีสวัสดิการใดๆ จากหน่วยงาน ใช้ระบบประกันสังคม และเป็นลูกน้องข้าราชการตลอดชีพ ไม่มียศขั้น)
3. ลูกจ้างประจำ (เป็นลูกน้องข้าราชการเช่นกัน แต่มีสวัสดิการเทียบเท่าข้าราชการ ปัจจุบันไม่มีบรรจุเพิ่มแล้ว (แต่ในบางหน่วยงานยังมีบรรจุอยู่ เช่น กทม. เป็นต้น))
4. ลูกจ้างชั่วคราว (เป็นตำแหน่งที่จะบรรจุเป็นลูกจ้างประจำต่อไป ปัจจุบันก็ไม่มีเปิดรับแล้วเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ)
5. พนักงานจ้างเหมา (เป็นพนักงานจ้างตามโครงการ ที่ทำด้วยสัญญาจ้างทำของ เป็นการจ้างเหมาเข้าทำงานเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้ ถ้าหมดสัญญาอาจจะไม่จ้างต่อ ไม่มีความมั่นคง ไม่มีสิทธิประโยชน์ใดๆ ได้แต่เงินเดือน ไม่อยู่ในฐานนะลูกจ้าง-นายจ้าง กับราชการ เพราะไม่ได้ทำสัญญาด้วยสัญญาจ้างแรงงาน)
6. พนักงานมหาวิทยาลัย (จะเทียบเท่าใกล้เคียงกับพนักงานราชการคือมีการต่อสัญญา แต่มีระดับขั้นได้แบบข้าราชการ ถูกบรรจุแทนข้าราชการประจำในมหาวิทยาลัย สิทธิสวัสดิการแล้วแต่มหาวิทยาลัย มี 2 ประเภท คือ พนักงานฯเงินงบประมาณ กับ พนักงานฯเงินรายได้)
- รัฐวิสาหกิจ จะมีบุคลากรอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และ ลูกจ้าง
1. พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีสิทธิสวัสดิการคล้ายข้าราชการ มีขั้นและตำแหน่ง ก้าวหน้าเติบโตได้ตามลำดับขั้น
2. ลูกจ้าง เป็นฝ่ายสนับสนุนพนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่มีความก้าวหน้า แต่อาจมีโอกาสบรรจุเป็นพนักงานได้เป็นการภายใน แล้วแต่บางองค์กร
ตามประกาศรับสมัครส่วนมากจะรับสมัครสอบอยู่ 3 ประเภทครับ คือ ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ข้าราชการ ส่วนมาก จะบังคับต้องสอบผ่านภาค ก. (ความรู้ความสามารถทั่วไป) ของ ก.พ. มาก่อน
ถึงจะมีสิทธิสมัครสอบภาค ข. (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) และ ค. (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง)
แต่ทั้งนี้ ข้าราชการเอง ก็มีหลายประเภท ทั้ง ขรก.พลเรือน, ขรก.กทม., ขรก.ท้องถิ่น, ขรก.รัฐสภา, ขรก.ครู, ขรก.ศาลฯ, ขรก.ตำรวจ ฯลฯ
ข้าราชการบางประเภทไม่ต้องสอบผ่าน ภาค ก. ของ ก.พ. เช่น ข้าราชการทหาร/ตำรวจ
แต่ถึงอย่างไรก็จะมีการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปที่คล้ายๆ ภาค ก. ของ ก.พ. อยู่ดี
ข้าราชการบางประเภทจะมีการสอบ ภาค ก. ของตัวเอง เช่น กทม., ท้องถิ่น, ศาล, ครู ฯลฯ จะไม่ใช้ ภาค ก. ของ ก.พ.
ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญ (ข้าราชการที่สังกัด กระทรวง กรม ฯลฯ ต่างๆ) จะใช้ผลสอบภาค ก. ของ ก.พ. ครับ
แต่จะมีข้าราชการส่วนน้อยมากๆอยู่เหมือนกันที่บรรจุแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ ไม่ต้องสอบผ่าน ภาค ก.
เช่นในกรณี บรรจุในสาขาขาดแคลน, บรรจุด้วยสัญญาผูกพักกับราชการ ฯลฯ ซึ่งกรณีนี้หายากมากครับ
ข้าราชการมีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง
มีฐานเงินเดือนปัจจุบันก่อนปรับ 4% ในรัฐบาล คสช. ตามนี้ครับ
ระดับ ปวส. 11,500 บาท/เดือน
ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน
ระดับปริญญาโท 17,500 บาท/เดือน
ระดับปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน
บางตำแหน่งในทุกส่วนราชการ อาจะจะมีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้
เช่น นิติกร ได้รับ 3,000 - 6,000 บาท แล้วแต่ระดับ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/salary/w2-2554.pdf
บางองค์กร อาจจะมีเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษ หรือที่เรียกอย่างอื่นให้
เช่น ศาล, ปปช., กรมสอบสวนคดีพิเศษ, รัฐสภา ฯลฯ
ทำให้รายรับรวมจะมากกว่าข้าราชการบางกลุ่มครับ เช่น
พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ เงินเดือน 15,000 +
ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับตำแหน่ง 7,000 +
เงินส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการที่ดีของข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง 6,000
รวม พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ ทำงานครบ 1 ปี รวมรายรับ/เดือน 28,000 บาท
http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1681.pdf
http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1682.pdf
ข้อมูล เปรียบเทียบเงินเพิ่มพิเศษ, เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ
http://www.vichakankunapab.com/forum/index.php?topic=81.0
ทั้งนี้ข้าราชการถือเป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของสายงานราชการ
หากคิดจะเอาดีทางสายงานราชการ ต้องเป็นข้าราชการให้ได้ครับ
พนักงานราชการ ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก็สามารถสมัครสอบภาค ข. ได้
พนักงานราชการ เป็นลูกจ้างสัญญาจ้าง
โดยจะเป็นฝ่ายสนับสนุนข้าราชการเท่านั้น ไม่มีการสั่งสมประสบการณ์เพื่อเลื่อนขั้น
เทียบได้เป็นทหารที่ไม่มียศ (ข้าราชการจะเทียบเท่าชั้นยศทหารตั้งแต่ สิบตรี - พลเอก)
เป็นลูกน้องข้าราชการตลอดอายุงาน เงินเดือนขึ้นปีละ 1 ครั้ง
ไม่มีสิทธิสวัสดิการใดๆทั้งสิ้น ใช้ระบบประกันสังคม (ด้อยกว่านายสิบที่เป็นข้าราชการทหารอีกครับ)
ต่อสัญญาจ้างไม่เกินคราวละ 4 ปี มีความมั่นคงพอสมควร แต่ก็แล้วแต่ผู้บริหารด้วย
โดยหน่วยงานสามารถไล่เราออกอย่างถูกต้องตามสัญญาได้โดยการไม่ต่อสัญญา (กรณีนี้มีน้อยครับ)
ไม่สามารถเลื่อนเป็นข้าราชการจากตำแหน่งพนักงานราชการได้ หากจะเป็นข้าราชการต้องสอบบรรจุใหม่
ฐานเงินเดือนพนักงานราชการจะสูงกว่าข้าราชการ ดังนี้ครับ (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557)
ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557 (ยังไม่รวม 4% รัฐบาล คสช.)
วุฒิ ปวช. 11,280 บาท
วุฒิ ปวส. 13,800 บาท
วุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี บริหารทั่วไป 18,000 บ.
วุฒิปริญญาโท บริหารทั่วไป 21,000 บ.
วุฒิปริญญาเอก บริหารทั่วไป 25,200 บ.
http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/GEIS/PrakardSalary6.pdf
ต่อ คห. ถัดไป
แสดงความคิดเห็น
สอบภาคก.ผ่านแล้ว ต้องทำไงต่อคะ (กำลังเดือดร้อนค่ะ)
ยังไม่ได้ใบรับรองเลย ต้องไปเอาที่ไหนคะ แล้วสอบภาคข.ต้องทำไงบ้างคะ รบกวนด้วยค่า