คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
แนะแนวทางเบื้องต้นในการสอบแข่งขันเพื่อเป็น ข้าราชการ/ พนักงานฯ ในหน่วยงานของรัฐ ครับ
การสอบแข่งขันเป็นข้าราชการหรือบุคลากรของรัฐบางประเภท จะมีการสอบอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
1. การสอบความรู้ความสามารถทั่วไป หรือที่เรียกกันว่าสอบ ภาด ก.
การสอบวัดความสามารถทั่วไป จะมีเนื้อหาที่ใช้สอบ เช่น คณิต อนุกรม ตรรกะ อนุมาน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
ทั้งนี้ข้าราชการก็มีหลายประเภท เช่น ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ฯลฯ
ขรก.พลเรือนสามัญ และ ขรก. บางประเภท จะใช้ผลการสอบภาค ก. ของ ก.พ. (หรือที่เรียกว่าสอบ ก.พ.)
ขรก.ครูฯ, ขรก.กทม., พนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ จะมีการสอบภาค ก. ของตนเอง ซึ่งอาจมีเนื้อหาข้อสอบเพิ่มเติมจากของ ก.พ.
เช่น พ.ร.บ., ระเบียบ, ฯลฯ ขององค์กรนั้นๆ หรือความรู้เฉพาะอื่นๆ
การสอบแข่งขันบรรจุเข้าราชการการเป็น "ข้าราชการพลเรือนสามัญ" 99% ต้องสอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ.
ภาค ก. ของ ก.พ. คือ การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
1.1 ภาค ก. ปกติ ประจำปี คือ ภาค ก. ที่เปิดสอบเป็นประจำทุกปี ปีละครั้ง
รับสมัครสอบทางอินเตอร์เน็ต ประมาณ มีนาคม
สอบประมาณ กรกฎาคม - สิงหาคม
ประกาศผลสอบประมาณ พฤศจิกายน
1.2 ภาค ก. พิเศษ หรือ ภาค ก. สำหรับส่วนราชการ คือภาค ก. ที่เปิดสอบให้กับหน่วยงานราชการต่างๆเป็นการเฉพาะ
โดยเริ่มจากหน่วยงานราชการนั้นๆ
ประกาศรับสมัครสอบภาค ข. โดยต้องเปิดรับสมัครผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านภาค ก. ให้มีสิทธิเข้าสอบภาค ข. ด้วย
เมื่อผ่านภาค ข. แล้ว ผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านภาค ก. จึงมีสิทธิสมัครสอบ ภาค ก. รอบพิเศษทีหลัง
เช่น ในกรณีนี้กรมนำร่องกรมแรกคือ กรมพินิจฯ เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการเมื่อปลายปี 57
โดยเปิดรับทั้งคนที่ผ่าน ภาค ก. และ ยังไม่ผ่าน ภาค ก. ปกติ
ซึ่งจะทำการสอบภาค ข. ของกรมพินิจก่อน
พอมีผู้สอบผ่านข้อเขียนภาค ข. ทางสำนักงาน ก.พ. ก็จะเปิดสอบภาค ก. พิเศษ
ให้กับผู้สอบผ่านข้อเขียน (ภาค ข.) ของกรมพินิจ ที่ยังสอบไม่ผ่าน ภาค ก. ปกติ
สำหรับคนที่ผ่าน ภาค ก. ปกติมาแล้ว ก็ไม่ต้องสอบ ภาค ก. พิเศษ อีก รอสัมภาษณ์ได้เลย
ทั้งนี้ ภาค ก. รอบพิเศษ สามารถนำผลไปใช้กับหน่วยงานราชการอื่นได้เหมือนภาค ก. ปกติ
เพียงแต่จะไม่มีรอบการสอบซ่อมภาษาอังกฤษครับ
2. การสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง หรือ การสอบ ภาค ข.
คือ การสอบความรู้เฉพาะตำแหน่งนั้นๆ เช่น ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร ก็ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร
ตำแหน่งนิติกร ก็สอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย เป็นต้น
อาจจะมีการสอบปฏิบัติ หรือ ทดสอบร่างกาย ก็ได้
สำหรับข้าราชการ, บุคลากรของรัฐบางระเภท จะบังคับต้องผ่านภาค ก. มาก่อนจึงจะมีสิทธิสมัครสอบภาค ข.
หรือบางหน่วยงานอาจจะจัดสอบพร้อมกันทั้ง ก. และ ข. ก็ได้
การสอบภาค ข. หน่วยงานของรัฐนั้นๆ จะประกาศสอบออกมาต่างหาก
3. การสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง หรือ การสอบภาค ค. คือ การสอบสัมภาษณ์
ต้องสอบผ่าน ภาค ก. และ ข. หรือตามเงื่อนไขกำหนด มาก่อน จึงจะมีสิทธิสอบภาค ค.
งานราชการ จะมีประกาศรับสมัครสอบเรื่อยๆตลอดทั้งปี
แต่ละครั้ง ตำแหน่งที่รับสมัครสอบ หน่วยงานที่เปิดสอบ จะไม่แน่นอนต้องดูเป็นคราวๆไป
เว้นแต่บางหน่วยงาน บางตำแหน่งที่เปิดสอบเป็นวงรอบอยู่แล้ว ยังพอคาดเดาการเปิดรับสมัครสอบได้
เช่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร, นักวิชาการพัฒนาชุมชน, ปลัดอำเภอ ฯลฯ
ผู้มีสิทธิสมัครสอบงานราชการต่างๆ ต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ข้าราชการฝ่ายพลเรือน (สังกัด กระทรวง กรม ท้องถิ่น ฯลฯ) ส่วนใหญ่จะไม่กำหนดอายุขั้นสูง ขอเพียงอายุยังไม่ถึง 60 ปี ก็สมัครได้
ข้าราชการทหาร, ตำรวจ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อาจกำหนดอายุขั้นสูงไว้ เช่น ต้องมีอายุไม่เกิน 35 ปี
ยกตัวอย่าง กรณี ผู้สมัครสอบตำรวจ ชั้นประทวนอายุต้องไม่เกิน 27 ปี, ชั้นสัญญาบัตรอายุต้องไม่เกิน 35 ปี เป็นต้น
ขั้นตอนแรกจะเป็นเรื่องการติดตามข่าวสาร แนะนำให้พิมพ์คำว่า "งานราชการ" ลงใน Google
จะมีเว็บขึ้นมาเยอะแยะเลย เว็บหลักๆที่อัพเดท ก็คือเว็บแรกๆที่ขึ้นมานั่นแหละครับ
เวลามีข่าวสารใหม่ ก็ลองเข้าไปอ่านประกาศ ย้ำว่าให้อ่านประกาศของหน่วยงานให้ละเอียด
ดูว่าตัวเรามีคุณสมบัติครบหรือไม่ ทั้งคุณวุฒิ ทั้งการผ่านภาค ก. ฯลฯ และ บรรจุลงที่ไหน เป็นต้น
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของการสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการคือ “วุฒิการศึกษา”
ต้องมีวุฒิการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัคร โดยสามารถตรวจสอบผลการรับรองคุณวุฒิของเราได้ที่
http://e-accreditation.ocsc.go.th/acc/index.html
ด้วยการนำชื่อหลักสูตรที่เราจบการศึกษา (หรือชื่อปริญญาที่เรารับ) มาตรวจสอบ
โดยการรับรองคุณวุฒิในการในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หลักๆจะอ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.
(สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
ทาง ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิเป็น “สาขา” และ “ทาง” เช่น
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกวิศวกรรมโยธา
ผลการรับรอง: คุณวุฒิสาขา"วิศวกรรมศาสตร์" ทาง"วิศวกรรมโยธา"
“สาขา” คือ สาขาหลักในการศึกษา เช่น สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ เป็นต้น
“ทาง” คือ วิชาเอกที่เรียน เช่น ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางบริหารรัฐกิจ ทางชีววิทยา เป็นต้น
ทีนี้ประกาศรับสมัครสอบงานราชการ จะเห็นได้ว่ามีเยอะแยะไปหมด จะสอบอะไรดี
ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักประเภทบุคลากรของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจก่อนครับ จะได้รู้และเข้าใจว่าควรสมัครตามประกาศไหน
ผมขอจัดกลุ่มประเภทบุคลากรที่ประกาศรับสมัครสอบไว้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามประเภทองค์กรนะครับ คือ
1. ส่วนราชการ (กระทรวง, กรม และหน่วยงานราชการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น)
2. รัฐวิสาหกิจ (การไฟฟ้า การประปา การรถไฟ ธกส. ธอส. สกย. ฯลฯ)
ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่ต้องสอบแข่งขันเข้าตามกระบวนการ
ลูกจ้าง, พนักงานจ้าง อาจไม่ต้องสอบแข่งขันก็ได้ แล้วแต่กรณี
- ส่วนราชการจะมีบุคลากรของหน่วยงาน 6 + 1 ประเภทหลักๆ คือ
1. ข้าราชการ (เป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของงานราชการ มียศขั้น สามารถก้าวหน้าขึ้นเป็น ระดับอำนวยการ และ ระดับบริหารได้ มีสิทธิสวัสดิการเต็ม รักษาพยาบาล บำเหน็จบำนาญ ฯลฯ)
2. พนักงานราชการ (เป็นตำแหน่งบรรจุแทนที่ลูกจ้างประจำ ฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ แต่ไม่มีสวัสดิการใดๆ จากหน่วยงาน ใช้ระบบประกันสังคม และเป็นลูกน้องข้าราชการตลอดชีพ ไม่มียศขั้น)
3. ลูกจ้างประจำ (เป็นลูกน้องข้าราชการเช่นกัน แต่มีสวัสดิการเทียบเท่าข้าราชการ จะถูกบรรจุจากลูกจ้างชั่วคราว ปัจจุบันไม่มีบรรจุเพิ่มแล้ว (เว้นแต่ในบางหน่วยงานยังมีบรรจุอยู่ เช่น กทม. เป็นต้น))
4. พนักงานมหาวิทยาลัย (ฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ สถานะเทียบเท่าใกล้เคียงกับพนักงานราชการคือมีการต่อสัญญา แต่มีระดับ/ขั้นแบบข้าราชการ ถูกบรรจุแทนที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ของมหาวิทยาลัยต่างๆ สิทธิประโยชน์สวัสดิการแตกต่างกันตามมหาวิทยาลัยที่สังกัด มี 2 ประเภท คือ พนักงานฯเงินงบประมาณ กับ พนักงานฯเงินรายได้)
5. พนักงานทุนหมุนเวียน, พนักงานกองทุน, ลูกจ้างชั่วคราวเงินทุนหมุนเวียน ฯลฯ (จะใช้ระเบียบเดียวกันกับ พนักงานราชการ หรือ ลูกจ้างโดยอนุโลม โดยได้รับค่าจ้างจากเงินทุนหมุนเวียน หรือกองทุน ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับภารกิจของทุนหมุนเวียน)
6. ลูกจ้างชั่วคราว (เป็นตำแหน่งที่จะสามารถบรรจุเป็นลูกจ้างประจำได้ต่อไป ปัจจุบันก็ไม่ค่อยมีเปิดรับแล้ว เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ)
7. พนักงานจ้างเหมา (เป็นผู้รับจ้างตามโครงการ/ ภารกิจ ที่ทำด้วยสัญญาจ้างทำของ คือการจ้างเหมาเข้าทำงานเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้ ถ้าหมดสัญญาอาจจะไม่จ้างต่อ ไม่มีความมั่นคง ไม่มีสิทธิประโยชน์ใดๆ ได้แต่เงินเดือน ไม่อยู่ในฐานนะลูกจ้าง-นายจ้าง กับทางราชการ เพราะไม่ได้ทำสัญญาด้วยสัญญาจ้างแรงงาน ถือเป็นบุคลากรสถานะล่างสุดในหน่วยงานราชการ)
- รัฐวิสาหกิจ จะมีบุคลากรอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และ ลูกจ้าง
1. พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีสิทธิสวัสดิการคล้ายข้าราชการ มีขั้นและตำแหน่ง ก้าวหน้าเติบโตได้ตามลำดับขั้น
2. ลูกจ้าง เป็นฝ่ายสนับสนุนพนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่มีความก้าวหน้า แต่อาจมีโอกาสบรรจุเป็นพนักงานได้เป็นการภายใน แล้วแต่บางองค์กร
ต่อ คห. ถัดไป
การสอบแข่งขันเป็นข้าราชการหรือบุคลากรของรัฐบางประเภท จะมีการสอบอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
1. การสอบความรู้ความสามารถทั่วไป หรือที่เรียกกันว่าสอบ ภาด ก.
การสอบวัดความสามารถทั่วไป จะมีเนื้อหาที่ใช้สอบ เช่น คณิต อนุกรม ตรรกะ อนุมาน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
ทั้งนี้ข้าราชการก็มีหลายประเภท เช่น ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ฯลฯ
ขรก.พลเรือนสามัญ และ ขรก. บางประเภท จะใช้ผลการสอบภาค ก. ของ ก.พ. (หรือที่เรียกว่าสอบ ก.พ.)
ขรก.ครูฯ, ขรก.กทม., พนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ จะมีการสอบภาค ก. ของตนเอง ซึ่งอาจมีเนื้อหาข้อสอบเพิ่มเติมจากของ ก.พ.
เช่น พ.ร.บ., ระเบียบ, ฯลฯ ขององค์กรนั้นๆ หรือความรู้เฉพาะอื่นๆ
การสอบแข่งขันบรรจุเข้าราชการการเป็น "ข้าราชการพลเรือนสามัญ" 99% ต้องสอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ.
ภาค ก. ของ ก.พ. คือ การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
1.1 ภาค ก. ปกติ ประจำปี คือ ภาค ก. ที่เปิดสอบเป็นประจำทุกปี ปีละครั้ง
รับสมัครสอบทางอินเตอร์เน็ต ประมาณ มีนาคม
สอบประมาณ กรกฎาคม - สิงหาคม
ประกาศผลสอบประมาณ พฤศจิกายน
1.2 ภาค ก. พิเศษ หรือ ภาค ก. สำหรับส่วนราชการ คือภาค ก. ที่เปิดสอบให้กับหน่วยงานราชการต่างๆเป็นการเฉพาะ
โดยเริ่มจากหน่วยงานราชการนั้นๆ
ประกาศรับสมัครสอบภาค ข. โดยต้องเปิดรับสมัครผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านภาค ก. ให้มีสิทธิเข้าสอบภาค ข. ด้วย
เมื่อผ่านภาค ข. แล้ว ผู้ที่ยังสอบไม่ผ่านภาค ก. จึงมีสิทธิสมัครสอบ ภาค ก. รอบพิเศษทีหลัง
เช่น ในกรณีนี้กรมนำร่องกรมแรกคือ กรมพินิจฯ เปิดรับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการเมื่อปลายปี 57
โดยเปิดรับทั้งคนที่ผ่าน ภาค ก. และ ยังไม่ผ่าน ภาค ก. ปกติ
ซึ่งจะทำการสอบภาค ข. ของกรมพินิจก่อน
พอมีผู้สอบผ่านข้อเขียนภาค ข. ทางสำนักงาน ก.พ. ก็จะเปิดสอบภาค ก. พิเศษ
ให้กับผู้สอบผ่านข้อเขียน (ภาค ข.) ของกรมพินิจ ที่ยังสอบไม่ผ่าน ภาค ก. ปกติ
สำหรับคนที่ผ่าน ภาค ก. ปกติมาแล้ว ก็ไม่ต้องสอบ ภาค ก. พิเศษ อีก รอสัมภาษณ์ได้เลย
ทั้งนี้ ภาค ก. รอบพิเศษ สามารถนำผลไปใช้กับหน่วยงานราชการอื่นได้เหมือนภาค ก. ปกติ
เพียงแต่จะไม่มีรอบการสอบซ่อมภาษาอังกฤษครับ
2. การสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง หรือ การสอบ ภาค ข.
คือ การสอบความรู้เฉพาะตำแหน่งนั้นๆ เช่น ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร ก็ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร
ตำแหน่งนิติกร ก็สอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย เป็นต้น
อาจจะมีการสอบปฏิบัติ หรือ ทดสอบร่างกาย ก็ได้
สำหรับข้าราชการ, บุคลากรของรัฐบางระเภท จะบังคับต้องผ่านภาค ก. มาก่อนจึงจะมีสิทธิสมัครสอบภาค ข.
หรือบางหน่วยงานอาจจะจัดสอบพร้อมกันทั้ง ก. และ ข. ก็ได้
การสอบภาค ข. หน่วยงานของรัฐนั้นๆ จะประกาศสอบออกมาต่างหาก
3. การสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง หรือ การสอบภาค ค. คือ การสอบสัมภาษณ์
ต้องสอบผ่าน ภาค ก. และ ข. หรือตามเงื่อนไขกำหนด มาก่อน จึงจะมีสิทธิสอบภาค ค.
งานราชการ จะมีประกาศรับสมัครสอบเรื่อยๆตลอดทั้งปี
แต่ละครั้ง ตำแหน่งที่รับสมัครสอบ หน่วยงานที่เปิดสอบ จะไม่แน่นอนต้องดูเป็นคราวๆไป
เว้นแต่บางหน่วยงาน บางตำแหน่งที่เปิดสอบเป็นวงรอบอยู่แล้ว ยังพอคาดเดาการเปิดรับสมัครสอบได้
เช่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร, นักวิชาการพัฒนาชุมชน, ปลัดอำเภอ ฯลฯ
ผู้มีสิทธิสมัครสอบงานราชการต่างๆ ต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ข้าราชการฝ่ายพลเรือน (สังกัด กระทรวง กรม ท้องถิ่น ฯลฯ) ส่วนใหญ่จะไม่กำหนดอายุขั้นสูง ขอเพียงอายุยังไม่ถึง 60 ปี ก็สมัครได้
ข้าราชการทหาร, ตำรวจ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อาจกำหนดอายุขั้นสูงไว้ เช่น ต้องมีอายุไม่เกิน 35 ปี
ยกตัวอย่าง กรณี ผู้สมัครสอบตำรวจ ชั้นประทวนอายุต้องไม่เกิน 27 ปี, ชั้นสัญญาบัตรอายุต้องไม่เกิน 35 ปี เป็นต้น
ขั้นตอนแรกจะเป็นเรื่องการติดตามข่าวสาร แนะนำให้พิมพ์คำว่า "งานราชการ" ลงใน Google
จะมีเว็บขึ้นมาเยอะแยะเลย เว็บหลักๆที่อัพเดท ก็คือเว็บแรกๆที่ขึ้นมานั่นแหละครับ
เวลามีข่าวสารใหม่ ก็ลองเข้าไปอ่านประกาศ ย้ำว่าให้อ่านประกาศของหน่วยงานให้ละเอียด
ดูว่าตัวเรามีคุณสมบัติครบหรือไม่ ทั้งคุณวุฒิ ทั้งการผ่านภาค ก. ฯลฯ และ บรรจุลงที่ไหน เป็นต้น
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของการสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการคือ “วุฒิการศึกษา”
ต้องมีวุฒิการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัคร โดยสามารถตรวจสอบผลการรับรองคุณวุฒิของเราได้ที่
http://e-accreditation.ocsc.go.th/acc/index.html
ด้วยการนำชื่อหลักสูตรที่เราจบการศึกษา (หรือชื่อปริญญาที่เรารับ) มาตรวจสอบ
โดยการรับรองคุณวุฒิในการในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการ หลักๆจะอ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.
(สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
ทาง ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิเป็น “สาขา” และ “ทาง” เช่น
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกวิศวกรรมโยธา
ผลการรับรอง: คุณวุฒิสาขา"วิศวกรรมศาสตร์" ทาง"วิศวกรรมโยธา"
“สาขา” คือ สาขาหลักในการศึกษา เช่น สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ เป็นต้น
“ทาง” คือ วิชาเอกที่เรียน เช่น ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางบริหารรัฐกิจ ทางชีววิทยา เป็นต้น
ทีนี้ประกาศรับสมัครสอบงานราชการ จะเห็นได้ว่ามีเยอะแยะไปหมด จะสอบอะไรดี
ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักประเภทบุคลากรของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจก่อนครับ จะได้รู้และเข้าใจว่าควรสมัครตามประกาศไหน
ผมขอจัดกลุ่มประเภทบุคลากรที่ประกาศรับสมัครสอบไว้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามประเภทองค์กรนะครับ คือ
1. ส่วนราชการ (กระทรวง, กรม และหน่วยงานราชการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น)
2. รัฐวิสาหกิจ (การไฟฟ้า การประปา การรถไฟ ธกส. ธอส. สกย. ฯลฯ)
ข้าราชการ, พนักงานราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่ต้องสอบแข่งขันเข้าตามกระบวนการ
ลูกจ้าง, พนักงานจ้าง อาจไม่ต้องสอบแข่งขันก็ได้ แล้วแต่กรณี
- ส่วนราชการจะมีบุคลากรของหน่วยงาน 6 + 1 ประเภทหลักๆ คือ
1. ข้าราชการ (เป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของงานราชการ มียศขั้น สามารถก้าวหน้าขึ้นเป็น ระดับอำนวยการ และ ระดับบริหารได้ มีสิทธิสวัสดิการเต็ม รักษาพยาบาล บำเหน็จบำนาญ ฯลฯ)
2. พนักงานราชการ (เป็นตำแหน่งบรรจุแทนที่ลูกจ้างประจำ ฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ แต่ไม่มีสวัสดิการใดๆ จากหน่วยงาน ใช้ระบบประกันสังคม และเป็นลูกน้องข้าราชการตลอดชีพ ไม่มียศขั้น)
3. ลูกจ้างประจำ (เป็นลูกน้องข้าราชการเช่นกัน แต่มีสวัสดิการเทียบเท่าข้าราชการ จะถูกบรรจุจากลูกจ้างชั่วคราว ปัจจุบันไม่มีบรรจุเพิ่มแล้ว (เว้นแต่ในบางหน่วยงานยังมีบรรจุอยู่ เช่น กทม. เป็นต้น))
4. พนักงานมหาวิทยาลัย (ฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ สถานะเทียบเท่าใกล้เคียงกับพนักงานราชการคือมีการต่อสัญญา แต่มีระดับ/ขั้นแบบข้าราชการ ถูกบรรจุแทนที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ของมหาวิทยาลัยต่างๆ สิทธิประโยชน์สวัสดิการแตกต่างกันตามมหาวิทยาลัยที่สังกัด มี 2 ประเภท คือ พนักงานฯเงินงบประมาณ กับ พนักงานฯเงินรายได้)
5. พนักงานทุนหมุนเวียน, พนักงานกองทุน, ลูกจ้างชั่วคราวเงินทุนหมุนเวียน ฯลฯ (จะใช้ระเบียบเดียวกันกับ พนักงานราชการ หรือ ลูกจ้างโดยอนุโลม โดยได้รับค่าจ้างจากเงินทุนหมุนเวียน หรือกองทุน ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับภารกิจของทุนหมุนเวียน)
6. ลูกจ้างชั่วคราว (เป็นตำแหน่งที่จะสามารถบรรจุเป็นลูกจ้างประจำได้ต่อไป ปัจจุบันก็ไม่ค่อยมีเปิดรับแล้ว เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ)
7. พนักงานจ้างเหมา (เป็นผู้รับจ้างตามโครงการ/ ภารกิจ ที่ทำด้วยสัญญาจ้างทำของ คือการจ้างเหมาเข้าทำงานเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้ ถ้าหมดสัญญาอาจจะไม่จ้างต่อ ไม่มีความมั่นคง ไม่มีสิทธิประโยชน์ใดๆ ได้แต่เงินเดือน ไม่อยู่ในฐานนะลูกจ้าง-นายจ้าง กับทางราชการ เพราะไม่ได้ทำสัญญาด้วยสัญญาจ้างแรงงาน ถือเป็นบุคลากรสถานะล่างสุดในหน่วยงานราชการ)
- รัฐวิสาหกิจ จะมีบุคลากรอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และ ลูกจ้าง
1. พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีสิทธิสวัสดิการคล้ายข้าราชการ มีขั้นและตำแหน่ง ก้าวหน้าเติบโตได้ตามลำดับขั้น
2. ลูกจ้าง เป็นฝ่ายสนับสนุนพนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่มีความก้าวหน้า แต่อาจมีโอกาสบรรจุเป็นพนักงานได้เป็นการภายใน แล้วแต่บางองค์กร
ต่อ คห. ถัดไป
แสดงความคิดเห็น
สอบ ภาค ก ผ่าน แล้วจะทำยังไงต่อไป ??
ถามเพราะความไม่รู้ จริงๆค่ะ แต่ถ้าจะเป็นข้าราชการ จริงๆยากไหมค่ะ