ออกตัวก่อนว่าผู้เขียนเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท ทำวิทยานิพนธ์ในประเด็นจริยธรรมสื่อท้องถิ่น โดยเลือกศึกษาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอายุเก่าแก่ในจังหวัดๆ หนึ่ง (โชคดีที่หนังสือเล่มนั้นแม้จะไม่รุ่งเรืองเท่าอดีต แต่มีความน่าชื่นชมในเรื่องจริยธรรมสูง) ทำให้มีความข้องใจในเรื่องจริยธรรมอย่างมาก จากกรณีที่นิตยสารท้องถิ่นฉบับหนึ่ง ออกมาอธิบายการเผยแพร่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเขียนระหว่างการท่องเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ ว่า
"...ปล2.ประเด็นที่ถกเถียงกันในกระทู้ มีการแต่งเติมเพื่อความสนุกสนานโดยผู้เขียนเองครับ..." , "เสริมแต่งเนื้อหาขึ้นเพื่ออรรถรสทางวรรณศิลป์" "เล่มนี้อาจมีเกินไปบ้างตามประสาสนุกเขียน.." (รวบรวมมาจากที่ตอบในเพจ)
ซึ่งขัดแย้งกับจริยธรรม และจรรยาบรรณของสื่อสิ่งพิมพ์หลายข้อ แต่จะขอยกมาเฉพาะที่มีติดตัว (ไม่ได้ค้นหาเพิ่มเติม) และระบุถึงนิตยสารโดยตรง
"...หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ควรดูแลไม่ให้มีการตีพิมพ์เรื่องที่ไม่เที่ยงตรง อันจะนำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือเรื่องราวอันบิดเบือน" คณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์หนังสือพิมพ์, 1993 อ้างถึงใน ปุณณรัตน์ พิงคานนท์ (2548)
นอกจากนั้นยังได้ขอความคิดเห็นจากอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมสื่อโดยตรง ท่านกรุณาวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าว และให้ข้อสังเกตมา 6 ประเด็น
"มีอย่างน้อย 6 ประเด็น
1.ความเหมาะสมของผู้เขียนในการหลอกฝรั่ง กรณีจริง
2.ความเหมาะสมของนิตยสารในการลงตีพิมพ์เรื่องไม่เหมาะสม กรณีจริง
3. ความเหมาะสมของผู้เขียนในการแต่งเติมเนื้อหา กรณีหลอก
4.ความเหมาะสมของนิตยสารในการลงตีพิมพ์เรื่องไม่จริง กรณีหลอก
5. กรณีหลอก นิตยสารนั้นตีพิมพ์โดยทราบหรือไม่ว่าเป็นเรื่องไม่จริง
6. ผู้เขียนถือเป็นนักข่าว หรือคอลัมนิสต์ประจำหรือไม่
โดยข้อที่เกี่ยวกับจริยธรรมสื่อโดยตรงสำหรับนิตยสาร คือ 2,4,5 แต่ถ้าผู้เขียนเป็นนักข่าวด้วย ก็เกี่ยวข้องทุกข้อ
แต่ละกรณี ก็พิจารณาต่างกัน ต้องพิจารณาบริบทและรายละเอียดด้วย เพราะเรื่องจริยธรรม เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เฉดสีของความเข้มอ่อนนั้นต่างกันไป"
สังเกตจากการตั้งคำถามและพูดคุยในเพจ พบว่าหลายคนมุ่งเน้นไปที่ประเด็นพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมมากกว่า จึงอยากตั้งกระทู้นี้มาเพื่อพูดคุยกันว่า แล้วประเด็น "จริยธรรมอันไม่เหมาะสม" ล่ะ โดยเฉพาะการบิดเบือนเรื่องราว
นอกจากนี้ ยังได้ถกประเด็นนี้กับเพื่อนซึ่งศึกษาด้านวารสามาด้วยกัน และเคยทำงานด้านวารสาร เพื่อนตั้งข้อสังเกตว่า มีงานเขียนประเภทไม่จริง และก่อให้เกิดทัศนะคติที่ไม่ดีอยู่ในหลายนิตยสาร เคสที่เพื่อนยกมาคือ เป็นบทความที่เล่าถึง
"เขียนเรื่องประมาณว่าเจอลูกค้าแพ้แป้งนมแต่อยากกินเค้ก เลยจัดหนักใส่ทุกสิ่งที่มันแพ้ลงไปเป็นการแก้แค้น ข้อหาเรื่องมาก ถึงจะเขียนขำๆแต่มันคือปลูกฝังว่าแพ้อาหารคือกระแดะ ซึ่งผิดมากกกกกก คนแพ้คือแพ้ คือ-ไม่ได้ อาจถึงตาย ไม่ได้กระแดะ"
ปล1 จริงๆ มีกรณีการขอสวิสพาส และขอภาพจากการท่องเที่ยวด้วย ว่าขอในนามอะไร หากขอในนามผู้สื่อข่าว ก็เท่ากับว่าการกระทำดังกล่าว เกี่ยวข้องกับจริยธรรมทุกข้อ แต่ในเมื่อไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จึงไม่ขอยกประเด็นนี้ขึ้นมาถก
ปล2 ไม่มีเจตนาโจมตีนิตยสารฉบับใดฉบับหนึ่ง เพียงอยากยกเรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นกรณีศึกษา และตั้งคำถามถึงจริยธรรมสื่อ โดยส่วนตัวมีความเข้าใจว่า การสื่อข่าวใดๆ ก็ตามสามารถผิดพลาดกันได้ เพียงแต่ไม่ควรทำเป็นปกติวิสัย ดังคำอธิบายที่เพจนิตยสารได้ยกขึ้นมา ว่ามีการทำเป็นปกติ
รบกวนทุกท่านแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว ซึ่งแม้อาจจะไม่เกิดประโยชน์หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในวงการสื่อ แต่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิทยานิพนธ์ของเรา
เราให้ความสำคัญกับจริยธรรมสื่อแค่ไหน จากกรณีการอธิบายของนิตยสารท้องถิ่นในบทความ"รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี"
"...ปล2.ประเด็นที่ถกเถียงกันในกระทู้ มีการแต่งเติมเพื่อความสนุกสนานโดยผู้เขียนเองครับ..." , "เสริมแต่งเนื้อหาขึ้นเพื่ออรรถรสทางวรรณศิลป์" "เล่มนี้อาจมีเกินไปบ้างตามประสาสนุกเขียน.." (รวบรวมมาจากที่ตอบในเพจ)
ซึ่งขัดแย้งกับจริยธรรม และจรรยาบรรณของสื่อสิ่งพิมพ์หลายข้อ แต่จะขอยกมาเฉพาะที่มีติดตัว (ไม่ได้ค้นหาเพิ่มเติม) และระบุถึงนิตยสารโดยตรง
"...หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ควรดูแลไม่ให้มีการตีพิมพ์เรื่องที่ไม่เที่ยงตรง อันจะนำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือเรื่องราวอันบิดเบือน" คณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์หนังสือพิมพ์, 1993 อ้างถึงใน ปุณณรัตน์ พิงคานนท์ (2548)
นอกจากนั้นยังได้ขอความคิดเห็นจากอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมสื่อโดยตรง ท่านกรุณาวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าว และให้ข้อสังเกตมา 6 ประเด็น
"มีอย่างน้อย 6 ประเด็น
1.ความเหมาะสมของผู้เขียนในการหลอกฝรั่ง กรณีจริง
2.ความเหมาะสมของนิตยสารในการลงตีพิมพ์เรื่องไม่เหมาะสม กรณีจริง
3. ความเหมาะสมของผู้เขียนในการแต่งเติมเนื้อหา กรณีหลอก
4.ความเหมาะสมของนิตยสารในการลงตีพิมพ์เรื่องไม่จริง กรณีหลอก
5. กรณีหลอก นิตยสารนั้นตีพิมพ์โดยทราบหรือไม่ว่าเป็นเรื่องไม่จริง
6. ผู้เขียนถือเป็นนักข่าว หรือคอลัมนิสต์ประจำหรือไม่
โดยข้อที่เกี่ยวกับจริยธรรมสื่อโดยตรงสำหรับนิตยสาร คือ 2,4,5 แต่ถ้าผู้เขียนเป็นนักข่าวด้วย ก็เกี่ยวข้องทุกข้อ
แต่ละกรณี ก็พิจารณาต่างกัน ต้องพิจารณาบริบทและรายละเอียดด้วย เพราะเรื่องจริยธรรม เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เฉดสีของความเข้มอ่อนนั้นต่างกันไป"
สังเกตจากการตั้งคำถามและพูดคุยในเพจ พบว่าหลายคนมุ่งเน้นไปที่ประเด็นพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมมากกว่า จึงอยากตั้งกระทู้นี้มาเพื่อพูดคุยกันว่า แล้วประเด็น "จริยธรรมอันไม่เหมาะสม" ล่ะ โดยเฉพาะการบิดเบือนเรื่องราว
นอกจากนี้ ยังได้ถกประเด็นนี้กับเพื่อนซึ่งศึกษาด้านวารสามาด้วยกัน และเคยทำงานด้านวารสาร เพื่อนตั้งข้อสังเกตว่า มีงานเขียนประเภทไม่จริง และก่อให้เกิดทัศนะคติที่ไม่ดีอยู่ในหลายนิตยสาร เคสที่เพื่อนยกมาคือ เป็นบทความที่เล่าถึง
"เขียนเรื่องประมาณว่าเจอลูกค้าแพ้แป้งนมแต่อยากกินเค้ก เลยจัดหนักใส่ทุกสิ่งที่มันแพ้ลงไปเป็นการแก้แค้น ข้อหาเรื่องมาก ถึงจะเขียนขำๆแต่มันคือปลูกฝังว่าแพ้อาหารคือกระแดะ ซึ่งผิดมากกกกกก คนแพ้คือแพ้ คือ-ไม่ได้ อาจถึงตาย ไม่ได้กระแดะ"
ปล1 จริงๆ มีกรณีการขอสวิสพาส และขอภาพจากการท่องเที่ยวด้วย ว่าขอในนามอะไร หากขอในนามผู้สื่อข่าว ก็เท่ากับว่าการกระทำดังกล่าว เกี่ยวข้องกับจริยธรรมทุกข้อ แต่ในเมื่อไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จึงไม่ขอยกประเด็นนี้ขึ้นมาถก
ปล2 ไม่มีเจตนาโจมตีนิตยสารฉบับใดฉบับหนึ่ง เพียงอยากยกเรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นกรณีศึกษา และตั้งคำถามถึงจริยธรรมสื่อ โดยส่วนตัวมีความเข้าใจว่า การสื่อข่าวใดๆ ก็ตามสามารถผิดพลาดกันได้ เพียงแต่ไม่ควรทำเป็นปกติวิสัย ดังคำอธิบายที่เพจนิตยสารได้ยกขึ้นมา ว่ามีการทำเป็นปกติ
รบกวนทุกท่านแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว ซึ่งแม้อาจจะไม่เกิดประโยชน์หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในวงการสื่อ แต่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิทยานิพนธ์ของเรา